Cultural-Creative Design in Big Picture December 23, 2010
Dr. Gideon Loewy, Assistant Professor,
Chaoyang University of Technology
1. บทนำ
สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องการจะมีคือมีความแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อยกระดับตัวเองในตลาดให้เอาตัวรอดได้ในภาวะที่ตลาดมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน และสึ่งที่จะสร้างความแตกต่างนี้ ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเรื่องของการออกแบบ แต่การออกแบบไม่ใช่คำตอบของทุกปัญหา และที่สำคัญการออกแบบกับศิลปะเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกันซึ่งเราจะต้องแยกสองสิ่งนี้ให้ออกจากกันให้ได้ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะละเลยที่จะทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ถึงตัวตนที่แท้จริงขององค์กร หรือบทบาทของการออกแบบที่มีต่อองค์กร จนทาให้ตกอยู่ในภาวะวนเวียนอยู่กับที่เป็นงูกินหางหรือพายเรือในอ่าง
ทั้งนี้ แนวคิดที่เกี่ยวกับ Culture-Creative Industries กำเนิดขึ้นในดินแดนของสหราชอาณาจักร และได้รับการต่อยอดอย่างแข็งแกร่งในประเทศแถบยุโรปเหนือ ซึ่งในปี 2009 ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมของไต้หวันหรือ ITRI (Industry Technology Research Institute) ได้เชิญกลุ่มนักออกแบบชั้นนำจากประเทศแถบสแกนดิเนเวียเดินทางมาไต้หวันเพื่อสร้างโมเดลตัวอย่าง (Benchmark Model) สำหรับไต้หวันในการพัฒนาอุตสาหกรรม Culture & Creative ซึ่งนักออกแบบกลุ่มนี้ได้ทาการศึกษาการออกแบบของสหราชอาณาจักรและสวีเดน โดยเทียบเคียงกับในเดนมาร์ก นอร์เวย์และฟินแลนด์ รวมทั้งศึกษากลยุทธ์การออกแบบในยุโรปและภาวะโดยรวมในไต้หวันก่อนจะพบว่า 1) ในส่วนของยุโรปเหนือนั้น มีการยกระดับสภาพสังคมจากรูปแบบที่เน้นการบริการมาเป็นสังคมแห่งนวัตกรรมและการคิดค้น โดยมีความคิดสร้างสรรค์เป็นกุญแจสำคัญ และมีสภาพแวดล้อมของประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เป็นอย่างมาก และ 2) การออกแบบถือเป็นสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรม นอกจากนี้แล้ว ยังพบอีกว่ารูปแบบการพัฒนาของสหราชอาณาจักรและยุโรปเหนือมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหราชอาณาจักรประสบความสาเร็จในการนำเอาแนวคิดของ Culture- Creative Industries มาใช้ ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ได้ก้าวสู่อีกระดับหนึ่งกับการยกระดับผู้ประกอบการสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ผ่านทางเครือข่ายที่ผนวกการสรรค์สร้างเข้ากับนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น ในขณะที่ประเทศแถบยุโรปเหนือซึ่งมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์อยู่แล้วนั้น จะแยกความสามารถในการออกแบบออกจากปัจจัยทางธุรกิจอื่นๆ โดยสิ่งที่แตกต่างระหว่างประเทศใน 2 พื้นที่นี้คือ การให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรม หรือให้ความสำคัญกับการสร้างงานออกแบบผ่านความคิดสร้างสรรค์
2. ภาวะโดยรวม
และเพื่อทำความเข้าใจกับภาวะปัจจุบันของไต้หวันจึงได้มีการศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของการออกแบบและความตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบของไต้หวัน ที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของการออกแบบ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงทรัพยากรด้านการออกแบบซึ่งเป็นต้นน้ำ และการให้การยอมรับต่อการออกแบบที่อยู่ทางปลายน้ำ ก่อนจะพบว่า ด้วยการที่วัฒนธรรมพื้นเมืองฝังรากค่อนข้างลึกในไต้หวัน จึงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการปรับตัวอย่างรวดเร็วของทั้งตลาดและผู้ประกอบการ ทำให้ความแตกต่างของรูปแบบของการออกแบบมีไม่มากนัก โดยปัญหาใหญ่ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม Creative & Culture ของไต้หวันคือ
1) ขาดกลยุทธ์ในแบบบูรณาการ
2) ขาดแคลนบุคลากรที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม
3) ขาดคลังความรู้ที่ต่อเนื่อง
4) ขาดการวางแผนและประสานงานที่ดีในองค์กรจนเกิดเป็น Conflict of Interest ระหว่างหน่วยงานภายในขึ้น ทั้งระหว่างผู้บริหาร R&D หรือฝ่ายการตลาด
5) ขาดการบริหารการออกแบบที่มีประสิทธิภาพ
การแก้ปัญหาในชั้นต้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารงานให้สอดคล้องกันทั้งองค์กร เพิ่มการค้นหาทรัพยากรบุคคล และกระตุ้นบุคคลในองค์กรให้มีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างความสำเร็จ ก่อนจะสร้างเป็นแบบอย่างเพื่อการปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบต่อไป
จริงๆ แล้ว แนวคิดเกี่ยวกับการ Copy ถือเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาการออกแบบ เพราะการลอกเลียนผู้อื่นที่ประสบความสำเร็จนั้น ก็ถือเป็นขั้นตอนสำคัญของการเรียนรู้ ตราบใดที่เป็นการเลียนแบบเพื่อพัฒนาตัวเอง เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วผู้ที่ลอกเลียนแบบก็มักจะสามารถต่อยอดและแตกแขนงออกมากลายเป็นผู้ออกแบบเอง ซึ่งหลักการเกี่ยวกับ Benchmarking ก็เป็นสิ่งที่ผู้คนให้การยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งในชั้นต้นนั้น ไต้หวันมีข้อได้เปรียบไม่น้อยในส่วนของการเป็นผู้ผลิตในรูปแบบ OEM ที่มีความเชี่ยวชาญจนสามารถผลักดันตัวเองให้มาสู่ขั้นตอนการเป็น ODM ได้ และมีผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยที่สามารถพัฒนาจนกลายมาเป็นผู้ประกอบการในระดับ OBM ไปแล้ว
3. ปัญหาและอุปสรรค
อย่างไรก็ดี ปัญหาอย่างหนึ่งในการพัฒนาอุสาหกรรม Cultural-Creative ของไต้หวันคือการที่มีความพยายามในการเน้นวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองมากเกินไป ทั้งๆที่พลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชนเชื้อสายจีน เพราะเราต้องอย่าลืมว่าวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในประเทศไม่สามารถเป็นตัวแทนของคนทั้งประเทศได้ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมที่เป็นตัวตนจริงๆ ของตัวเอง จึงถือเป็นรากฐานของปัจจัยสำคัญในการพัฒนาต่อไป
นอกจากนี้แล้ว การไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในท้องที่ก็อาจทำให้เราไม่สามารถค้นพบสิ่งที่คิดว่าใช่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ เช่นภูเขาอาลีซานซึ่งตั้งอยู่ในเขตจังหวัดเจียอี้ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกใบชาที่มีชื่อเสียงในระดับโลก หากแต่เมื่อไปเดินเที่ยวตามย่านการค้าในเมืองหรือตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอื่นๆ เช่น Night Market ของเจียอี้ กลับแทบไม่เห็นใบชาของอาลีซานวางขายอยู่เลย
4. ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ
ที่ผ่านมา ด้วยปัจจัยด้านการเมืองระหว่างประเทศ (ปัญหาจีน-ไต้หวัน) ทาให้รัฐบาลไต้หวันเอง พยายามที่จะไม่ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมจีนที่ฝังรากอย่างลึกซึ้งอยู่ในตัวพลเมืองส่วนใหญ่ ดังที่ Dr. Loewy พยายามชี้ให้เห็นว่าการนำเอาวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองที่เป็นเพียงชนกลุ่มน้อยในประเทศมาสร้างเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมของประเทศนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก อย่างไรก็ดี จุดเด่นอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการไต้หวันที่ผู้ประกอบการไทยไม่มีคือความได้เปรียบและความเข้าใจในตลาดจีน ที่ในภาวะซึ่งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และเศรษฐกิจยุโรปยังคงมีปัญหาอยู่นี้ จะกลายมาเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูง นอกจากนี้แล้ว จากการที่ความสำเร็จในตลาดไต้หวัน จะเป็นโอกาสให้สามารถต่อยอดทางธุรกิจสู่ตลาดคนจีนทั่วโลกได้ง่าย การแสวงหาความร่วมมือกับผู้ประกอบการไต้หวัน โดยอาศัยการออกแบบที่ถือเป็นจุดแข็งของไทยมาผนวกกับการตลาดของไต้หวันเพื่อเข้าสู่ตลาดคนจีน จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
E-Mail : thaicom.taipei@msa.hinet.net
Tel : (886 2) 2723-1800
Fax : (886 2) 2723-1821
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)
ที่มา: http://www.depthai.go.th