อุตสาหกรรมสปาในสหราชอาณาจักร

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 6, 2011 14:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมอุตสาหกรรมสปาในสหราชอาณาจักร

1.1 จากการสำรวจของ Spa Business Association ซึ่งเป็น trade body ของอุตสาหกรรมสปาใน สหราชอาณาจักร พบว่า จากการที่สปาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสหราชอาณาจักร ทาให้มีธุรกิจให้บริการสปาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยมีความแตกต่างอย่างมากทั้งในส่วนของ size, facility type, และ overall performance โดยสถานบริการประเภท hotels spa มีจำนวนมากที่สุด (กว่าร้อยละ 40) ตามด้วย day spas นอกจากนี้ พบว่า สถานบริการกว่าร้อยละ 50 จะมีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายแบบยิมนาสติก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า สถานบริการส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างการออกกำลังกายและการผ่อนคลาย จึงจัด spa และ fitness ควบคู่กันไปในโปรแกรมเพื่อสุขภาพ อย่างไรก็ดี มีผู้ประกอบการบางรายมองสปาว่าเป็นบริการเสริมมากว่าเป็นธุรกิจเต็มตัว ทำให้ไม่มีการจ้าง full-time manager ส่งผลให้สปาหลายแห่งมีผลดำเนินการไม่ดีเท่าที่ควร

นอกจากนี้ การสำรวจพบว่า สถานบริการสปาหลายแห่งขาดแคลน therapist รวมทั้ง support staff ความต้องการในส่วนนี้จึงมีสูง และที่สำคัญ เนื่องจาก ปัจจุบัน มีการจ้างงาน overseas workers ในธุรกิจสปาเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการปะปนระหว่างคุณวุฒิในประเทศและต่างประเทศ จึงต้องกำหนดมาตรฐานของคุณวุฒิในทุกระดับของเจ้าหน้าที่

การสำรวจพบอีกว่า การนวด และ facials treatment ได้รับความนิยมมากที่สุด และได้กำไรมากที่สุด นอกจากนี้ สถานบริการสปาหลายแห่งเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สปาหลากหลายยี่ห้อที่ complement กันและกัน

1.2 จากการสำรวจของ The Good Spa Guide Limited ปัจจุบัน มีสถานบริการสปาในสหราชอาณาจักรที่จัดเป็นสถานบริการที่ดีได้มาตรฐานรวมทั้งสิ้น 791 แห่ง ในรูปแบบต่างๆ คือ

  • Hotel Spa 448 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 56.63 ของสถานบริการสปาทั้งหมด) เป็นสปาที่ตั้งอยู่ภายใน หรือในบริเวณเดียวกันกับโรงแรมหรือรีสอร์ท
  • Treatment rooms 179 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 22.62)
  • Day Spa 132 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 16.68) เป็นสปาที่ไม่มีห้องพักค้างคืน ใช้ระยะเวลาสั้น ส่วนใหญ่เน้นเรื่องความสวยงามและผ่อนคลาย
  • Spa Retreat หรือ destination spa 29 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 3.66) เป็นสปาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับหรือฟื้นฟูสุขภาพของผู้ใช้บริการให้ดีขึ้น เป็นสถานบริการสปาแบบองค์รวม มีบริการครบวงจร
  • Medi-Spa 3 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 0.37) เป็นการนำธรรมชาติบำบัดมาผสมผสานกับวิทยาการทางการแพทย์ เป็นโปรแกรมการบำบัดรักษาและดูแลสุขภาพโดยแพทย์และบุคคลที่เชี่ยวชาญเฉพาะ

Website ของ The Good Spa Guide Limited จัดตั้งโดยนักข่าวสายสุขภาพ เพื่อให้บริการข้อมูลที่เป็นอิสระ เกี่ยวกับสถานบริการสปาที่ได้มาตรฐานทั้งหมดในสหราชอาณาจักร โดยสามารถค้นหาจาก website www.goodspaguide.co.uk โดย click ที่ A-Z of UK spa ที่ นอกจากนี้ ยังมีการให้รางวัล The Good Spa Guide Awards เป็นประจำทุกปี โดยในปี 2553 สถานบริการที่ได้รางวัลประเภท The Most Marvellous Massage คือ SenSpa ซึ่งตั้งอยู่ที่ Carey’s Manor (www.careysmanor.com) ใน New Forest แคว้น Hampshire โดยบริการที่ได้รับรางวัล คือ นวดแผนไทย

ปัจจุบัน สปาและนวดแผนไทยได้รับความนิยมอย่างมากในสหราชอาณาจักร โดยสาเหตุสำคัญมาจากนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย (นักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรเดินทางมาไทยเป็นอันดับ 1 ในยุโรป) และได้ใช้บริการสปาและนวดแผนไทย ทำให้รู้จักและมีความต้องการใช้บริการเมื่อเดินทางกลับประเทศ ผลของความต้องการที่เพิ่มขึ้น จึงมีการจัดตั้งสถานบริการสปาและนวดแผนไทยขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดใหญ่ ทั้งที่ได้มาตรฐานสูงและมาตรฐานไม่สูง ในส่วนของสถานบริการสปาไทยที่ได้รับเลือกให้อยู่ใน The Good Spa Guide มีอยู่ 6 แห่ง คือ

  • SenSpa (hotel spa) : ตั้งอยู่ที่ Carey’s Manor (www.careysmanor.com) ใน New Forest แคว้น Hampshire เป็นกิจการของต่างชาติแต่ให้บริการนวดแผนไทย
  • Sabai Leela (day spa) : ตั้งอยู่ที่ Earls Court ลอนดอน ใช้ผลิตภัณฑ์สปาของ Thann (http://www.sabaileela.com/)
  • Thai Square Spa (day spa) : ตั้งอยู่ที่ Covent Garden ลอนดอน (http://www.thaisquarespa.com/) ใช้ผลิตภัณฑ์สปาของ Erb
  • Thai Wellbeing (treatment rooms) : ตั้งอยู่ที่ Norwich (http://www.thaiwellbeing.com/)
  • White Post Retreat (treatment rooms) : ตั้งอยู่ที่ Essex (http://www.whitepostretreat.co.uk/ ) เป็นกิจการของชาวต่างชาติแต่ใช้ผลิตภัณฑ์สปาไทยยี่ห้อ Erb โดย Erb ได้ business partner เป็นชาวอังกฤษที่มีความสามารถสูง เริ่มต้นจากนำเข้าผลิตภัณฑ์สปาของ Erb มาใช้ที่ White Post Retreat ซึ่งเป็นสถานบริการความงาม และสปาของ business partner ดังกล่าว ต่อมาได้เข้าห้างสรรพสินค้า Harrods โดยมีบริการนวดพร้อมผลิตภัณฑ์สปาของ Erb ณ super salon Urban Retreat ของห้าง Harrods และล่าสุด ได้เข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ Fenwick ที่ Canterbury ด้วย
  • Five Senses Thai Day Spa (treatment rooms) ตั้งอยู่ที่เมือง York ใช้ผลิตภัณฑ์สปาของ Harnn และ Thann (http://www.5sensesspa.com/)

2. กฎระเบียบ/ข้อกำหนดและขั้นตอนในการจัดตั้งธุรกิจ

2.1 การจัดตั้งธุรกิจสปาและนวดแผนไทย

2.1.1 London Local Authorities Act ( Part IV : Licensing ) กำหนดให้สถานบริการ (establishments) ที่ให้บริการประเภท special treatment ต้องยื่นขอใบอนุญาตใช้อาคารสถานที่ในการดำเนินธุรกิจประเภทนี้กับหน่วยงานท้องถิ่น (Local Authority : Council) ในเขตพื้นที่นั้นๆ

2.1.2 Special treatment establishments มีความหมายครอบคลุม สถานบริการที่ให้บริการด้านต่างๆ ดังนี้

  • massage, pedicure chiropody
  • acupuncture, tattooing, cosmetic piercing of any part of the body;
  • beauty treatments involving the application of light, electric or vapour;
  • sauna, steam baths or other baths
  • รวมถึง aromatherapy, reflexology and shiatsu, ultra violet tanning, faradic, galvanic, thread vein, infra-red, laser and ultra high frequency treatments, electrolysis and vacuum suction, nail extensions and pedicure; facials and eyebrow/eyelash treatments; semi-permanent makeup; flotation tanks, steam baths/rooms/chambers, facial steamers, spa and whirlpool baths and wrapping/envelopment; colonic irrigation; collagen implants; osteophathy

2.1.3 ขั้นตอนในการยื่นขอใบอนุญาต

ผู้ยื่นขออนุญาตใหม่จะต้องดำเนินการ ดังนี้

  • กรอกใบขออนุญาตของเทศบาลเขตพื้นที่ที่ตนจะตั้งสถานประกอบการ รวมถึงยื่นแบบแปลนแผนผังแสดงพื้นที่การให้บริการของสถานบริการ และชำระค่าธรรมเนียม (fee) รายปี โดยค่าธรรมเนียมนั้นขึ้นกับขนาดของสถานบริการซึ่งพิจารณาจากจำนวนของ therapists ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปสำหรับแต่ละ Councils
  • ส่งสำเนาใบขออนุญาตให้กับหน่วยงานอีก 3 หน่วยงานดังนี้ Chief Officer of Police; Fire and Emergency Planning Authority; Health & Safety
  • ติดประกาศ (notice) ใบขออนุญาต ณ สถานที่ที่จะจัดตั้งสถานประกอบการ เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 28 วัน โดยเริ่มจากวันที่ยื่นขอใบอนุญาต ให้บุคคลภายนอกเห็นได้อย่างชัดเจน
  • ยื่นรายงานผลการตรวจสอบการติดตั้งระบบไฟฟ้า (Periodic Inspection Report on the electrical installation) ใบรับรองที่ยืนยันการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในการให้บริการ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ใบรับรองที่ยืนยันว่าอุปกรณ์ต่างๆอยู่ในสภาพใช้การได้อย่างเต็มที่ และใบรับรองที่ว่า สถานประกอบการได้รับการจัดตั้งตามมาตรฐาน British Standards 5839 เช่น มีระบบ fire alarm system โดยใบรับรองดังกล่าวข้างต้นต้องออกโดย competent person เท่านั้น (เช่น National Inspection Council for Electrical Installation Contracting) ใบรับรอง Fire Safety Certificate และรายละเอียดเกี่ยวกับราคา price list ของ treatments ทั้งหมด
  • Council Officers จะเข้าไปตรวจสถานประกอบการว่ามีความสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและข้อกำหนดอื่นๆของ Council หรือไม่ รวมถึงว่า สถานที่นั้นสามารถใช้เป็นสถานประกอบการ special treatments หรือไม่

2.1.4 ข้อกำหนดเกี่ยวกับพนักงาน : พนักงานที่ทำงานในสถานประกอบที่ได้รับใบอนุญาตให้ให้บริการประเภท special treatment จะต้องยื่นจดทะเบียนด้วยตนเองกับหน่วยงานที่รับผิดชอบของเขตพื้นที่ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น เพื่อสามารถให้บริการได้ โดย สำหรับพนักงานที่ให้บริการ treatment นั้น

Councils ส่วนใหญ่ จะกำหนดให้ต้องมี professional qualifications ที่สามารถตรวจสอบได้ และตรงกับ treatment ที่ให้บริการ และเป็นคุณวุฒิที่ได้มาตรฐาน ITEC; NVQ Level 3; VTCT Level 3; City & Guild Level 3; Cidesco; CIBTAC diplomas หรือเทียบเท่า (หากเป็นคุณวุฒิจากต่างประเทศ)

2.1.5 เนื่องจากทางการอังกฤษไม่ได้กำหนดระเบียบหรือมีระบบเกี่ยวกับการพิจารณาออกใบอนุญาตธุรกิจสปาและบริการนวดที่เป็นระบบเดียว (No overall spa licensing system) แต่มอบให้เป็นอำนาจของหน่วยงานที่รับผิดชอบของเขตพื้นที่นั้นๆในการกำหนด requirements เกี่ยวกับใบอนุญาตและ requirements เกี่ยวกับตัวพนักงาน ทำให้การพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละเขตพื้นที่ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด ดังนั้น จึงควรติดต่อสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของเขตพื้นที่โดยตรง

2.1.6 ข้อปฏิบัติด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย (Health & Safety) : ผู้ประกอบธุรกิจ สปาและบริการนวดต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวกับด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย ได้แก่ The Health and Safety at Work Act 1974 ; The Control of Substances Hazardous to Health (COSHH) Regulations 2002 และ The Management of Health and Safety at Work Regulations (MHSWR) 1999 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดความรับผิดชอบของผู้ประกอบการในการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ สุขอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ความสะอาด และการป้องกันอัคคีภัย โดยกฎหมายยังกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการต้องมีการประกันภัยอุบัติเหตุและเพื่อความปลอดภัยแก่พนักงานและลูกค้าผู้ใช้บริการที่เรียกว่า Public Liability Insurance ด้วย

2.2 Spa Accreditation Scheme

2.2.1 หน่วยงานรับผิดชอบ

  • VisitBritain เป็น National Tourism Organization ของอังกฤษ จัดตั้งเมื่อปี 2003 โดยการรวม 2 หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวของอังกฤษเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย British Tourist Authority และ English Tourism Council
  • VisitBritain มีภารกิจด้านการตลาด (marketing) โดยแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วน คือ งาน ภายในประเทศ และต่างประเทศ
  • ในส่วนของกิจกรรมภายในประเทศ Marketing Brand ที่ใช้ คือ enjoyEngland โดยธุรกิจที่เข้าร่วมใน quality accreditation scheme ใดก็ตามซึ่งจัดทำโดย VisitBritain จะได้รับสัญญาลักษณ์รูปดอกกุหลาบราชวงศ์ Tudor (Quality Rose Marque) ซึ่งเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพขั้นต่ำ (minimum level of quality) โดยสัญญาลักษณ์นี้จะปรากฏควบคู่ไปกับคำenjoyEngland เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า ธุรกิจที่เข้าร่วมใน Scheme ได้ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆแล้ว ทั้งนี้ เครื่องหมายดังกล่าวเป็นเครื่องหมายรับรองกลางสำหรับกิจกรรมส่งเสริมด้านการตลาดภายในประเทศสำหรับธุรกิจต่างๆที่เข้าร่วม Scheme นั้นๆ โดยจะมีคำเพิ่มเติมข้างล่างเครื่องหมายที่จะบ่งชี้ว่าเป็นธุรกิจอะไร

2.2.2 กระบวนการจัดทำ Spa Accreditation Scheme

กระบวนการจัดทำการรับรองคุณภาพมาตรฐานธุรกิจสปานั้น เกิดขึ้นจากการริเริ่มของภาคเอกชน โดยในปี 2004 Spa Business Association ได้มาทาบทาม VisitBritain ขอให้จัดทำ scheme ขึ้นมาเพื่อจัด grade สถานบริการสปา ในการนี้ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานดังกล่าว และ British International Spa Association ด้วย โดยในช่วงเริ่มต้นของการหารือ คณะกรรมการฯได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกำหนดนิยามของคำว่า Spa ในเวลาเดียวกัน ก็ได้มีการจัดทำ research โดยการสอบถามความเห็นของผู้บริโภคทั้งชายและหญิงที่เข้าไปใช้บริการในสถานบริการสปาจำนวนหนึ่ง ปรากฏว่า ผลการสำรวจ ผู้บริโภคส่วนใหญ่เห็นว่า การให้ star ratings ไม่ใช่วิธีที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากภาพลักษณ์ของ Spa เป็นสถานบริการที่ luxury อยู่แล้ว แต่เห็นว่า accreditation scheme ควรจะเป็นการรับรองว่า สถานบริการนั้นสามารถทำตาม a basic set of standards ได้ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากขึ้นที่จะเข้าไปใช้บริการ จากผลการสำรวจดังกล่าว คณะกรรมการได้ยกร่าง scheme ขึ้นมา

  • Spa Accreditation Scheme จัดธุรกิจให้บริการสปาออกเป็น 8 ประเภท คือ Day Spa; Hotel Spa; Salon Spa; Sport and Fitness Spa; Natural Spa; Destination Spa; Resort Spa และ Medi-Spa
  • ในการได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพ (enjoyEngland พร้อมสัญญาลักษณ์รูปดอกกุหลาบราชวงศ์ Tudor) นั้น สถานบริการสปาจะต้องสามารถทำตาม ‘Minimum Entry Requirements’ ซึ่งเป็น basic standards หากสถานบริการใด ทาได้ดีกว่าข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำ ก็จะได้รับ Gold หรือ Silver accolades เพิ่มเติม นอกจากนี้ จะต้องทำตาม code of conduct ซึ่งกำหนดโดย VisitBritain ด้วย
  • คุณสมบัติของผู้ประกอบการสปาที่จะเข้าร่วม accreditation scheme
  • ธุรกิจใดก็ตามที่มี treatment rooms อย่างน้อย 2 ห้อง
  • มีพนักงานที่เป็น qualified therapists ซึ่งได้รับการคุ้มครองจาก practitioner หรือ professional

indemnity insurance

  • ให้บริการ 6 treatments เป็นอย่างน้อย โดยหนึ่งใน treatment ต้องเป็น body treatment ซึ่งรวมถึงนวด

ด้วย

  • การบริการจะต้องเป็นไปอย่าง courteous, caring and professional
  • ประโยชน์ของการเข้าร่วม spa accreditation scheme
  • ได้รับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ โดยจะได้รับทราบผลการประเมินที่ละเอียดทั้งในรูปของการพูดคุย

และรายงานเขียน

  • ได้มีรูปและรายละเอียดสถานบริการบน websites ของ VisitBritain ที่ www.enjoyengland.com และ

www.visitbritain.com และเชื่อมต่อกับ international websites ของ VisitBritain

  • ผู้ประกอบการสามารถนำตราสัญญาลักษณ์ Quality Rose Marque ไปใช้ได้ อย่างไม่จำกัดในกิจกรรมส่งเสริมด้าน

การตลาดของบริษัท รวมทั้ง website ของบริษัท

  • ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของ VisitBritain

2.2.3 กระบวนการประเมินสถานบริการสปา

  • ผู้ประกอบการจะต้องกรอก application form และส่งให้บริษัทผู้ประเมินชื่อ ‘Quality in Tourism’ พร้อมทั้งชำระค่า participations fees รายปี และจัดส่ง voucher (โดย download template ของ voucher ซึ่งจัดทำโดย VisitBritain ได้จาก website ของ Quality in Tourism)
  • เมื่อบริษัทผู้ประเมินได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว ก็จะส่งพนักงานผู้เชี่ยวชาญของบริษัทฯออกไปทำการประเมิน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ พนักงานผู้ประเมินจะต้องไปอย่าง anonymous ในการนี้ พนักงานผู้ประเมินจะทำการ book วันที่ต้องการเข้าไปใช้บริการและชำระค่าบริการผ่านบัตร credit เสมือนลูกค้าทั่วไป ทั้งนี้ เมื่อได้เข้ารับการบริการเสร็จแล้ว ก็จะแสดงตัว ซึ่งตรงนี้ พนักงานผู้ประเมินจะใช้ voucher เพื่อ refund credit card (ไม่มีการชำระเงินสดเกิดขึ้น)
  • เมื่อพนักงานผู้ประเมินได้รับมอบหมายให้ไปทำ assessment visit ก็จะติดต่อสถานบริการสปานั้นๆภายใน 9 สัปดาห์ เพื่อจองวัน/เวลาที่จะเข้าไป และเมื่อใช้บริการเสร็จแล้ว ก็จะแสดงตัว และพูดคุยกับผู้ประกอบการอย่างละเอียด ทั้งนี้ พนักงานผู้ประเมินจะได้รับการฝึกให้ประเมินคุณภาพของสถานบริการสปาจาก consumer’s viewpoint ไม่ใช่ expert therapist’s viewpoint โดยจะต้องตรวจสอบว่า สถานบริการนั้นตรงตาม ‘Minimum Entry Requirements’ ทั้งหมด โดยการตอบคำถามในใบประเมิน ซึ่งจะมีการให้คะแนนต่อ aspects ต่างๆของสถานบริการนั้นๆ พนักงานผู้ประเมินจะจัดทำรายงานอย่างละเอียดและจัดส่งให้สถานบริการผู้ขอรับการประเมินภายใน 21 วันหลังจากวันที่ไป visit ความเห็นของพนักงานผู้ประเมินที่มีประสบการณ์สูง จึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการปรับปรุงสถานบริการให้มีคุณภาพดีขึ้นตรงจุดที่อาจบกพร่องหรือด้อย

2.3 การนำเข้าพนักงานนวดจากต่างประเทศ

2.3.1 สหราชอาณาจักรได้นำระบบ point-based immigration system (PBS) ซึ่งเป็นระบบการตรวจลงตราระบบใหม่มาใช้เมื่อปี 2551 แทนที่ระบบเดิม โดย PBS แบ่งกลุ่มผู้เดินทางเข้ามาทำงาน/ศึกษาในสหราชอาณาจักรออกเป็น 5 กลุ่ม (tier) ดังนี้

Tier 1 : Highly Skilled individuals to contribute to growth and productivity

Tier 2 : Skilled workers with a job offer to fill gaps in United Kingdom labour force

Tier 3 : Limited numbers of low skilled workers needed to fill temporary labour shortages (ณ ตอนนี้ Tier 3 suspended indefinitely)

Tier 4 : Students

Tier 5 : Youth mobility and temporary workers, who are allowed to work in the UK for a limited period of time to satisfy primarily non-economic objectives.

2.3.2 การนำเข้าแรงงานต่างชาตินอก EEA ในกลุ่ม Tier 2 มีเงื่อนไขในส่วนของตัวนายจ้างและลูกจ้าง ที่จะต้องปฏิบัติตาม โดยแยกออกเป็น 2 กรณี คือ กรณีที่ตำแหน่งงานที่ต้องการจ้างแรงงานต่างชาตินั้นอยู่ในบัญชีอาชีพที่ขาดแคลน (shortage occupation list) กับกรณีที่ไม่อยู่ในบัญชีดังกล่าว ปัจจุบัน พนักงานนวดไม่ได้อยู่ในบัญชี shortage occupation list ซึ่งสำหรับตำแหน่งงานที่ไม่อยู่ในบัญชี

อาชีพที่ขาดแคลน มีเงื่อนไขที่ยุ่งยากในการนำเข้าพนักงานมากกว่าในกรณีตำแหน่งงานอยู่ในบัญชีอาชีพที่ขาดแคลนรายละเอียดข้อมูลสามารถดูได้ที่ website ของ UK Border Agency ที่ http://www.ukba.homeoffice.gov.uk/workingintheuk/tier2/ ในส่วนของ Tier 2 (general) นอกจากนี้ รัฐบาลได้เพิ่มความเข้มงวดการนำเข้าแรงงานต่างชาติขึ้นไปอีก โดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 จะเริ่มจำกัดจำนวนการขอวีซ่าเข้าสหราชอาณาจักรภายใต้ Tier 2 (General) รายปี (annual limit)

3. โอกาสและช่องทางของธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์สปาของไทย

จากการที่ชาวอังกฤษมีความเครียดจากงานมากขึ้น ส่งผลให้ต้องการเวลาสำหรับตนเองในการคลายเครียด ประกอบกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกาย เป็นกระแสที่ได้รับความนิยม สปาจึงกลายเป็น lifestyle choice สำหรับชาวอังกฤษจำนวนมาก ในปี 2009 ประมานการว่า ชาวอังกฤษใช้เงิน 135 ล้านปอนด์ใน wellbeing breaks และรวมเอา health และ wellness เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ holidays ซึ่ง destinations spas สามารถตอบสนองตรงกับความต้องการดังกล่าว

นอกจากนี้ กระแสความนิยมในสปาเพื่อความผ่อนคลายไม่จากัดเพียงแต่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น แต่ผู้ชายมีแนวโน้มใช้บริการสปามากขึ้น ส่งผลให้ตลาดมีแนวโน้มขยายตัวต่อไป

เนื่องจากแนวโน้มของการหันมาให้ความสนใจในบริการสุขภาพในรูปแบบของ Health Spa และ Holistic Fitness กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ประกอบกับมีผู้นำแนวทางในการบำบัดรักษาแบบตะวันออกไปเผยแพร่มากขึ้น กอปรกับจำนวนนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เดินทางมาประเทศไทยในแต่ละปีมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ใช้บริการสปาและนวดแผนไทย ส่งผลให้ธุรกิจบริการสปาไทยเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นในสหราชอาณาจักร

4. ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด

4.1 การขาดแคลนพนักงานนวดแผนไทยที่มีคุณวุฒิ จากการเพิ่มความเข้มงวดต่อการนำเข้าแรงงานต่างชาติของสหราชอาณาจักร

4.2 ในส่วนของผลิตภัณฑ์สปาไทย ปัจจุบัน สถานบริการสปาไทยที่ได้มาตรฐานสูงในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่ใช้ผลิตภัณฑ์สปาไทยที่มีคุณภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ของ Thann ; Harnn และ Erb ในส่วนการเข้าสู่ตลาดค้าปลีก ผลิตภัณฑ์สปาที่เป็นแบรนด์ของไทยยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์สปาที่ผลิตในไทยแต่ใช้แบรนด์ของอังกฤษมีจำนวนมาก เช่น แบรนด์ Sanctuary Spa Covent Garden ของ Booths สำหรับ

ผลิตภัณฑ์สปาที่เป็นแบรนด์ของไทยเองนั้น สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน ได้ใช้การจัดทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย (in store promotion) ร่วมกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เป็นช่องทางในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สปาที่เป็นแบรนด์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งต่อ buyers ของห้างฯ และต่อผู้บริโภคชาวอังกฤษ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดีอย่างมาก ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Erb สามารถเข้าสู่ห้าง Harrods และมีผลสืบเนื่องทำให้สามารถเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าชั้นนาอื่นๆได้ในสหราชอาณาจักร

5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.1 หน่วยงานภาครัฐ : Visit Britain (http://www.visitbritain.com/en/GB/) และhttp://www.enjoyengland.com/

5.2 หน่วยงานภาคเอกชน : The British Spas Federation เป็นสมาคมธุรกิจสปาในสหราชอาณาจักรที่มีการก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1917 ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็น Spa Business Association รายละเอียดสามารถดูได้ที่ website http://www.spabusinessassociation.co.uk/

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อุตสาหกรรม   Trade   Spa  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ