ผู้บริโภคมุสลิมในสหรัฐอเมริกา
Council on American-Islamic Relations ประมาณว่า มีผู้บริโภคมุสลิมอาศัยในสหรัฐฯ จำนวน 7 ล้านคน และตามข้อมูลของหน่วยงาน Pew Research Center รายงานว่า มีผู้บริโภคมุสลิมประมาณ 2.5 ล้านคนในสหรัฐฯ ที่เข้ามัสยิด ผู้บริโภคมุสลิมอาศัยหนาแน่นมากในมลรัฐแคลิฟอร์เนียร้อยละ 25 มลรัฐนิวยอร์ก ร้อยละ 16 และ มลรัฐอิลลินอยส์ ร้อยละ 8
ผู้บริโภคมุสลิมในสหรัฐฯ แบ่งตามเชื้อชาติออกเป็น อเมริกันมุสลิมผิวดำร้อยละ 35 กลุ่ม Middle East ร้อยละ 31 มุสลิม South Asia ร้อยละ 22 ชาวมุสลิมจากกลุ่มประเทศอัฟริกา ร้อยละ 6 กลุ่มมุสลิมประเทศ ASEAN ร้อยละ 2 กลุ่มมุสลิมยุโรปตะวันออก ร้อยละ 2 และ อื่นๆ ร้อยละ 2
ผู้บริโภคมุสลิมในเขตตอนกลาง (Midwest) ของสหรัฐฯ
ผู้บริโภคอเมริกันมุสลิมประมาณร้อยละ 26.4 หรือประมาณ 1.85 ล้านคน อาศัยอยู่ในเขตตอนกลาง (Midwest) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเขตความดูแลของสคร.ชิคาโก ได้แก่มลรัฐ Illinois ซึ่งมีผู้บริโภคมุสลิมมากที่สุดประมาณร้อยละ 8.2 ของประชากรมุสลิมในสหรัฐฯ มลรัฐอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ Michigan, Indiana, Iowa, Ohio, และ Missouri เป็นต้น
มลรัฐในเขตตอนกลางของสหรัฐฯ ที่มีผู้บริโภคมุสลิมอาศัยมาก 10 อันดับแรก
มลรัฐ เมืองมุสลิมที่อาศัยจำนวนมาก ผู้บริโภคมุสสิม (%)* 1. Illinois Chicago, Peoria, Springfield, East St. Louis 8.2 2. Michigan Detroit & Dearborn 5.4 3. Indiana Indianapolis & suburb, Fort Wayne 3.8 4. Ohio Toledo, Dublin, Dayton, Columbus 2.9 5. Missouri St. Louis, Kansas City, Columbia, Springfield 2.2 6. Minnesota Minneapolis St. Paul & Suburb 1.0 7. Iowa Des Moines, Ames, Rapids City, Iowa City 1.0 8. Louisiana Baton Rouge, New Orleans, Shreveport 0.7 9. Wisconsin Milwaukee, Madison 0.5 10. Oklahoma Oklahoma City, Tulsa 0.4
- ร้อยละของประชากรมุสลิมในสหรัฐฯ จำนวน 7 ล้านคน
นอกจากนั้นแล้ว ผู้บริโภคมุสลิมในเขตตอนกลางของสหรัฐฯ ยังจำแนกออกได้กลุ่มชาติกำเนิด
1. Middle East Muslim (Arab) ร้อยละ 26.2 1. South Asia Muslim ร้อยละ 24.8 2. African American Muslim ร้อยละ 24.2
3. Middle East Muslim (Non-Arab) ร้อยละ 9.5
4. East Asia Muslim ร้อยละ 6.5 5. อื่นๆ ร้อยละ 8.8
เมืองที่มีผู้บริโภคมุสลิมอาศัยหนาแน่นในเขตตอนกลางของประเทศนคร Detroit-Dearborn เป็นพื้นที่ที่มีผู้บริโภคมุสลิมอาศัยหนาแน่นที่สุดของสหรัฐฯ หรือ มีผู้บริโภคมุสลิมประมาณ 315,000 คน เมืองสำคัญอื่นๆ ในเขตตอนกลางของสหรัฐฯ ที่มีผู้บริโภคมุสลิมหนาแน่น ได้แก่ Chicago, St. Paul Minneapolis, St. Louis, Columbus เป็นต้น
1. Detroit-Dearborn, Michigan 315,000 คน 2. Chicago & Suburb, Illinois 300,000 คน
3. St. Paul - Minneapolis, Minnesota 75,000 คน
4. St. Louis, Missouri 65,000 คน 5. Columbus, Ohio 25,000 คน สถานการณ์สินค้าและอาหารฮาลาลในเขตตอนกลางของสหรัฐฯ
Ms. Marian Salzman, Executive Vice President ของบริษัทที่ปรึกษา J. Walter Thompson ซึ่งเป็นกูรูด้านการทำนายแนวโน้มตลาดและการบริโภคสินค้า และทำการศึกษาตลาด ผู้บริโภคอเมริกันมุสลิมในสหรัฐฯ กล่าวว่า สินค้าอาหารฮาลาล เป็นสินค้าเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง และเป็นสินค้าที่มีลู่ทางการขยายตัวสูงในอนาคตในตลาดสหรัฐฯ
กำลังซื้อ (Purchasing Power) ของผู้บริโภคอเมริกันมุสลิมมีประมาณ 170 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ยอดจำหน่ายสินค้าและอาหารฮาลาลในสหรัฐฯ มีมูลค่าประมาณปีละ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอัตราการขยายตัวต่อเนื่องประมาณร้อยละ 20-25 ต่อปี
ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตที่ตั้งในเขตที่มีชาวมุสลิมอาศัยหนาแน่น ได้หันมานำเสนอสินค้าอาหารฮาลาล เช่น ห้าง Wal-Mart ในเมือง Dearborn รัฐมิชิแกนนำอาหารฮาลาล มาจำหน่าย ร้านอาหารจานด่วน Kentucky Fried Chicken และ McDonald’s ในเมือง Dearborn รัฐมิชิแกน เสนออาหารฮาลาล นอกจากนั้นแล้ว ผู้ผลิตสหรัฐฯ นำเสนอสินค้าฮาลาลชนิดอื่นๆ ให้แก่ตลาดผู้บริโภคอเมริกันมุสลิม ได้แก่ สินค้า สบู่ถูตัว แชมพูสระผม ยาสีฟัน และ ผงซักฟอก
ปัจจุบัน รัฐบาลระดับมลรัฐ 4 มลรัฐ คือ Illinois, Minnesota และ Michigan ออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิม (Consumer Protection) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตอาหารแอบอ้างและหลอกลวงใช้ตราฮาลาล โดยไม่ได้ผ่านรับรับรองให้ถูกต้องตามกระบวนการ ซึ่งมีบทลงโทษผู้กระทำผิด อย่างไรก็ตาม USFDA และ USDA ไม่มีกฎหรือระเบียบบังคับเฉพาะในเรื่องการตรวจสอบเฉพาะอาหารฮาลาล
ปัญหาและอุปสรรคการขยายตลาดฮาลาลในสหรัฐฯ
1. ปัญหาด้านโลจิสติกส์ เนื่องจากผู้บริโภคมุสลิมในสหรัฐฯ กระจายอยู่ทั่วประเทศ จำนวนผู้ประกอบการ/จัดจำหน่ายสินค้ามีน้อยราย เป็นผลให้ต้นทุนกระจายสินค้าสูง
2. สินค้าอาหารฮาลาลมีราคาสูง และจำนวนสินค้าไม่มากและตรงตามความต้องการจึงเป็นผลให้ผู้บริโภคมุสลิมต้องหันไปซื้อสินค้าปกติแทน ผู้บริโภคมุสลิมต้องการซื้อสินค้าและอาหารฮาลาลในราคาที่เหมาะสมและย่อมเยา แต่ไม่ใช่ราคาถูก ผู้บริโภคมุสลิมมีความเห็นว่า หากสินค้าอาหารฮาลาลขายในราคาถูก ก็จะถูกมอง ว่าเป็นสินค้าแอบอ้างฮาลาล หรือผลิตไม่ถูกต้องการตามกระบวนการฮาลาล
3. สินค้าฮาลาลไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป ผู้บริโภคอเมริกันมุสลิมจะซื้อและบริโภคอาหารฮาลาล มากขึ้น หากสินค้ามีจำหน่ายทั่วไปหรือหาซื้อได้ง่าย
4. การรณรงค์ให้ผู้บริโภคอเมริกันมุสลิมเพิ่มการบริโภคอาหารฮาลาล ยังทำได้ไม่ทั่วถึง ทำกันในเฉพาะบางกลุ่ม เช่น กลุ่มชาวอาหรับ และกลุ่มเอเซียใต้ ในขณะที่กลุ่มอเมริกันมุสลิมผิวดำ ซึ่งมีจำนวนมากยังขาดความเคร่งครัดในเรื่องการบริโภคอาหารฮาลาล
5. ผู้นำเข้าอาหารฮาลาลในสหรัฐ และ ผู้บริโภคมุลสิมยังไม่มีความมั่นใจหรือไม่มีความเชื่อถือในอาหารฮาลาลที่ผลิตโดยผู้ผลิตไทยซึ่งเป็นประเทศ Non-Muslim จึงไม่สนใจที่จะซื้อสินค้าจากประเทศไทย
ช่องทางและโอกาส
1. Ms. Marian Salzman ตำแหน่ง Executive Vice President & Chief Marketing Officer ของบริษัทที่ปรึกษา J. Walter Thompson ซึ่งเป็นกูรูด้านการทำนายแนวโน้มตลาดและการบริโภคสินค้า และทำการศึกษาตลาดผู้บริโภคอเมริกันมุสลิมในสหรัฐฯ ได้กล่าวว่า สินค้าอาหารฮาลาลเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง และเป็นสินค้าที่มีลู่ทางการขยายตัวสูงในอนาคต
2. ผู้บริโภคมุสลิมในสหรัฐฯ มีกำลังซื้อสินค้าประมาณ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ใช้จ่ายซื้อสินค้าอาหารฮาลาลประมาณปีละ 12,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 7 (มีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องประมาณร้อยละ 20-25 ต่อปี) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ยังมีโอกาสและช่องว่างที่จะเพิ่มการขายสินค้าฮาลาลได้สูงในสหรัฐฯ
3. ชาวมุสลิมในสหรัฐฯ ประมาณร้อยละ 16 ซื้ออาหารโคเชอร์ (Kosher) บริโภค หรือคิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่าปีละ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้เนื่องจาก อาหารฮาลาลหาซื้อได้ยากมาก
4. เนื่องจากจำนวนผู้บริโภคมุสลิมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นในอัตราสูง ปัจจุบัน ร้านอาหารจานด่วน (Fast Food) ลหุโทษ โรงพยาบาล โรงเรียน และ กองทัพสหรัฐฯ จึงได้เพิ่มการให้บริการอาหาร ฮาลาลให้แก่ผู้บริโภคมุสลิมในองค์กรดังกล่าว
6. กลุ่มผู้บริโภค Non-Muslim หันมาบริภาคอาหารฮาลาลมากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อหมู หรือ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ หรือ ผู้บริโภคอาหาร Natural Food และ กลุ่มบริโภคที่ได้รับคำบอกเล่าว่าอาหารฮาลาล เป็นอาหารที่ดี มีคุณภาพ และ เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
7. กลุ่มสินค้าไทยที่มีลู่ทางเข้าตลาดมุสลิมในสหรัฐฯ เป็นสินค้า Non-Meat (สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าเนื้อสัตว์จากประเทศไทย) ได้แก่ ผักและผลไม้แปรรูป ซ้อสปรุงอาหาร เครื่องดื่ม อาหารสำเร็จรูป ขนม/ของกินเล่น เครื่องเทศ อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์ธัญญพืช ผลิตภัณฑ์เสริมความงามและบำรุงสุขภาพ
แนวทางการขยายตลาดสินค้าและอาหารฮาลาลจากประเทศไทย
1. การสร้างศักยภาพให้แก่เครื่องหมายกลยุทธ์การสร้างศักยภาพให้แก่เครื่องหมายฮาลาลของไทย (Ensure Creditability of Thai Halal Product & Certification) โดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารฮาลาลไทย และ เผยแพร่ ตราสัญญลักษณ์ฮาลาลไทย เพื่อการสร้างความเข็มแข็งและศักยภาพของสัญญลักษณ์ฮาลาลให้ผู้บริโภคมี ความมั่นใจว่า ตรา/สัญญลักษณ์เป็นเครื่องหมายของไทยได้รับการรับรองจากหน่วยงาน Islamic Central Committee of Thailand โดยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ และ Website ของชาวมุสลิมในสหรัฐฯ และสร้างการรับรู้ (Awareness) ให้แก่สินค้าอาหารฮาลาลผลิตจากประเทศไทย รวมไปถึงการร่วมเป็นพันธมิตรหรือสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรที่ให้การรับรองเครื่องหมายฮาลาล (Certify Body) ในสหรัฐฯ
2. การจัดทำเอกสารเผยแพร่และการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารฮาลาลของไทยผ่านสื่อต่างๆของชุมชนมุสลิมในสหรัฐฯ
3. การวางกลยุทธ์เสนอสินค้าอาหารฮาลาลในด้านเป็นอาหารที่เป็น Health Food ในการที่จะเสนอสินค้าต่อตลาด Mainstream จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบว่าสินค้าฮาลาลและอาหารฮาลาลเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและมีคุณประโยชน์และบริโภคได้ทั่วไปไม่จำกัดเฉพาะชาวมุสลิม
4. การตลาดสินค้าฮาลาลในสหรัฐฯ ควรมุ่งผู้บริโภคอเมริกันมุสลิมกลุ่ม Second และ Third Generation ซึ่งผู้บริโภคกลุ่มนี้ มีความต้องการสินค้าหลายรูปแบบให้เลือก อีกทั้งจะเลือกซื้อสินค้าที่มีแบรนด์และเป็น Brand Royalty และจะให้ความสำคัญกับ รสชาติ รูปแบบของอาหาร
5. การเข้าร่วมงานประชุมและแสดงสินค้าเกี่ยวกับสินค้าและอาหารฮาลาลในสหรัฐฯ 2 งาน
5.1 การเข้าร่วมงานในงานประชุมและแสดงสินค้า Annual ISNA Convention จัดโดยสมาคม Islam Society of North America (ISNA) www.isna.net เป็นประจำทุกปีในเดือกรกฎาคม ณ นครชิคาโก ผู้เข้าร่วมงานประมาณ 15,000 คน และมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 500 คน เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารฮาลาลของไทย
5.2. ผู้ผลิต/ส่งออกไทยควรเข้าร่วมงานการประชุม American Muslim Consumer Conference ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และจะมีขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ในเดือนตุลาคม 2554 ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ เป็นงานที่ได้รับความสนใจสูงจากผู้ผลิต และ นักการตลาดสหรัฐฯ จำนวนมากมาเข้าร่วมประชุม ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก http://americanmuslimconsumer.com/annual-conference
6. สินค้าฮาลาลไม่จำกัดตัวเฉพาะประเภทเนื้อ (โค แกะ แพะ และ ไก่) แต่ครอบคลุมไปยังสินค้ากลุ่มอื่นๆ ทั้งเป็นอาหารชนิดต่างๆ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป และ สินค้าของใช้ (Non-food) ได้แก่ เภสัชภัฑณ์ และ ผลิตภัณฑ์ เสริมความงามและบำรุงสุขภาพ เป็นต้น จึงควรพิจารณาการขยายตลาดเข้าสู่สินค้าฮาลาลกลุ่ม Non-food ซึ่งได้แก่ของใช้ต่างๆ เช่น Cosmetics & Toiletry, Tooth Paste, Shampoo, Detergent และ Clothes เป็นต้น
7. เสนอการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคมุสลิมทาง Online ซึ่งเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงจากผู้บริโภคมุสลิมในสหรัฐฯ (รายงานโดย วารสาร Entrepreneur) เนื่องจาก สินค้า Halal ค่อนข้างหายากจากร้านค้าปลีกทั่วไป
Importer/Distributors of Halal Products in Midwest
ERIE FOODS INTERNATIONAL
1201 SOUTH NAIM STREET ROCHELLE IL 61068
Tel: 815-562-3441
Fax: 815-562-2323
Email: glindsey@eriefoods.com
Contact: James Jacoby
Zb Importing, Inc (Ziyad Brothers Importing)
5400 W 35th St, Cicero, IL 60804-4431
Contact Phone: (708) 222-8330
URL: www.ziyad.com
Email: ibrahim@ziyad.com
Contact: Ibrahim Ziad
Falafel House Inc
1978 N Farwell Ave Milwaukee WI 53202-1466
Phone: 414-277-0485
URL: houseoffalafel.com
Email: info@houseoffalafel.com
SCARBROUGH INTERNATIONAL
10841 AMBASSADOR DRIVE KANSAS CITY, MO 64195
TEL: 816 584 2444
URL: www.scarbrough-intl.com
Email: vbeumer@scarbrough-intl.com
Contact: Roger Scarbrough
Indian Grocery & Spice
8051 N.Central Park Skokie IL 60076
Tel. 847-674-2480
Fax. 847-674-2490
Contact: Mr.Sam Sanzhavi
Halal Select Snacks
3319 Greenfield Rd, 104 Dearborn, Michigan 48120
info@halalselectsnacks.com
www.halalselectsnacks.com
Saray Foods Import Inc
5315 south 73rd court Summit Argo, Illinois 60501
Contact: Mithat Abu Yousef
Phone: 708 - 692-0442
Phone2: 458-0442
Email: sarayfoods@hotmail.com
Global Exchange Link,LLC
33777 Groesbeck Hwy Fraser, Michigan 48026
Phone: 586 - 294-1400
Phone2: 420-8081
Email: lodhir@hotmail.com
Crescent Foods, Inc.
Farms and Poultry Distributors Halal Meat/Food
4343 W. 44th Place Chicago, Illinois 60632
Phone2: 773-247-6005
Fax: 773-247-6199
แหล่งค้นหาข้อมูลฮาลาลในสหรัฐอเมริกา (ในเขตตอนกลางของสหรัฐฯ)
1. Islamic Food and Nutrition Council of America (IFANCA) www.ifanca.org
Chicago, Illinois
2. Islamic Society of North America (ISNA) www.isna.net
Plainfield, Indiana
3. Islamic Service of America (ISA) www.isahalal.org
Cedar Rapids, Iowa
4. Muslim Consumer Group for Food Products, www.muslimconsumergroup.com
Rolling Meadows, Illinois
5. Association of American Halal Certifiers (AAHC) www.aahalalcert.org
Bolingbrook, Illinois
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th