ข้อมูลระเบียบการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไปยังสหภาพยุโรป Forest Law Enforcement,Governance and Trade(FLEGT)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 13, 2011 11:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. Forest Stewardship Council (FSC) : เป็นองค์กรอิสระที่มิได้แสวงหากำไรภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มที่เกี่ยวข้องต่างๆทั่วโลก เช่น กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ผู้ค้าไม้ ผู้ผลิตสินค้าจากไม้ องค์กรผู้ให้การรับรองไม้ มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรับผิดชอบในการดูแลป่าไม้ของโลก และจัดทำระบบการให้การรับรองไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ สินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก FSC เป็นไม้ที่ผลิตจากป่าธรรมชาติหรือป่าปลูก ที่ได้รับการตรวจสอบว่ามีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับ คือการปลูกไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งการยื่นขอใบรับรองของ FSC เป็นไปตามความสมัครใจ

ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ที่มีใบรับรองจาก FSC จะต้องถูกปลูกทดแทนในจำนวนที่ไม้น้อยกว่าที่ถูกตัดไป ในขณะเดียวกัน FSC สัตว์และชีวิตพืชในป่านั้น ก็ได้รับการคุ้มครองและไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ไม้ถูกตัดไป นอกจากนี้ คนทำงานในป่า นี้ จะต้องเป็น มีการศึกษา อุปกรณ์ความปลอดภัยและเงินเดือนที่เหมาะสม

๒. การส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไทยไปยังประเทศในสหภาพยุโรปมีกฎระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้องสำคัญ ดังนี้

(๑.) มาตรการForest Law Enforcement,Governance and Trade( FLEGT )

มาตรการ Forest Law Enforcement,Governance and Trade( FLEGT ) ได้ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๖ เพื่อแสดงความรับผิดชอบในฐานะที่สหภาพยุโรปเป็นหนึ่งในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับไม้เขตร้อนที่ผิดกฎหมาย ธนาคารโลกประมาณว่า ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ล้มเหลวในการบังคับใช้กฎหมายห้ามทำลายป่าไม้ และการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมภาษีสำหรับการตัดไม้ในประเทศกำลังพัฒนามีมูลค่าถึงประมาณ ๑๕ พันล้านดอลลาร์ (มากกว่าแปดเท่าของเงินที่ใช้ในการพัฒนาจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน)

แผนปฏิบัติการนี้ ได้กำหนดเงื่อนไขทางเลือกสำหรับการสถาบันยุโรปที่ต้องการสนับสนุนความพยายามในการลดจำนวนสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ราคาถูกจากป่าที่ผิดกฎหมาย วิธีการดำเนินการที่สำคัญของทางเลือกนี้คือ ระบบการออกใบอนุญาตนำเข้าไม้โดยสมัครใจ ( Voluntary timber licensing system) ที่จะครอบคลุมการนำเข้าของจำนวนไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าเข้าสู่ตลาดยุโรป สำหรับในกรณีที่ไม่มีมาตรการในระบอบพหุภาคีว่าด้วยป่าไม้ ระบบการออกใบอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายจะถูกดำเนินการผ่านทางข้อตกลงทวิภาคี หรือที่เรียกว่าข้อตกลง Voluntary Partnership Agreements — VPAs :ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างสหภาพยุโรปและประเทศที่ผลิตไม้เขตร้อนที่ต้องการมีส่วนร่วม ข้อตกลง VPAs กำหนดให้สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนในด้านเงินทุนเพื่อการสร้างขีดความสามารถ และสร้างสถาบันที่จะช่วยให้ประเทศในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ และสร้างประโยชน์ตามแผนของการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ซึ่งตามข้อตกลงนี้ ทำให้สหภาพยุโรปจะนำเข้าสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากประเทศคู่ค้าเหล่านี้บนพืนฐานของใบอนุญาตตามกฎหมายที่ได้ตกลงกัน ( legality license)

มาตรการนี้ก็จะสอดคล้องเป็นไปตามระบบการตรวจสอบ Due diligence ซึ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องบันทึกหรือจัดทำข้อมูล เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยการให้การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งผลิต และซัพพลายเออร์ รวมถึงรายละเอียดของการปฏิบัติตามกฎหมายที่ใช้บังคับของประเทศที่มีการตัดหรือผลิต ขั้นตอนระบบการตรวจสอบ Due diligence นี้จะได้รับการเสนอโดยองค์กรตรวจสอบของสหภาพยุโรป แต่ประเภทของการละเมิดและบทลงโทษที่เกี่ยวข้องจะถูกกำหนดโดยแต่ละประเทศสมาชิก มาตรการนี้กำหนดเพียงจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป เพื่อให้สามารถมีระบบตรวจสอบได้ โดยไม่กำหนดขนาดของธุรกิจ หรือไม่ว่าจะนำเข้ามาเพื่อใช้ในวิชาชีพหรือระดับปริมาณจำนวนที่นำเข้ามาเพื่อการค้า ก็อยู่ภายใต้มาตรการนี้เช่นกัน

(๒) ระเบียบไม้ที่ผิดกฎหมาย ( Illegal Timber Regulation )

ในปี ๒๕๕๓ สหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายใหม่ห้ามนำไม้ที่ผิดกฎหมายเข้ามาจำหน่ายในสหภาพยุโรป " ระเบียบไม้ผิดกฎหมาย" ( Regulation (EU) No 995/2010 of European Parliament and of the Council of 20 October 2010 ) ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการสินค้าไม้ และผลิตภัณฑ์ไม้ ห้ามจำหน่ายหรือผลิตสินค้าโดยใช้ ไม้ และผลิตผลิตภัณฑ์ไม้ที่ผิดกฎหมาย เพื่อลดความเสี่ยง และสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ไม้ที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปกลับไปยังแหล่งผลิตหรือแหล่งกำเนิด

กฎระเบียบนี้ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ และจะมีผลต่อการค้าไม้ของทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ๒๗ ประเทศ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไม้ส่วนใหญ่ เยื่อกระดาษและกระดาษ และกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายต้องมีระบบตรวจสอบที่มั่นใจได้ว่าสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้มาจากแหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎหมาย ( from legal origin — or face sanction)

ระเบียบนี้กำหนดขึ้นตามข้อเรียกร้องจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ( Stakeholders) เพื่อป้องกันและห้ามการจำหน่ายไม้ที่ผิดกฎหมายในสหภาพยุโรปและความกังวลของประเทศคู่ค้าตามข้อบังคับ/มาตรการ Forest Law Enforcement , Governance and Trade ( FLEGT )

ระเบียบไม้ที่ผิดกฎหมาย( Illegal Timber Regulation) มีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขที่สำคัญ ๓ ประการที่ ผู้ประกอบการ ( operators ) ต้องปฎิบัติ

๒.๑ สินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป ห้ามนำมาจากไม้ที่ตัดมาอย่างผิดกฎหมาย หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไม้ดังกล่าว ความหมายของไม้ถูกต้องตามกฎหมาย ( legal Timber ) จะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่มีการตัดไม้ ( the country of harvest)

๒.๒ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้นำสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์เข้ามาวางจำหน่ายในตลาดเป็นคนแรก ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้ามาหรือเป็นไม้ที่ตัดจากภายในท้องถิ่นของสหภาพยุโรปจะต้องจัดทำ “ due diligence” เพื่อให้สามารถตรวจสอบหรือเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งที่มาของไม้ และจะต้องดำเนินมาตรการตามสมควรเพื่อให้แน่ใจว่าไม้/ผลิตภัณฑ์เหล่านั้น จัดหามาจากไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

๒.๓ หลังจากการงจำหน่ายไม้และหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดเป็นครั้งแรก ผู้ประกอบการอื่น ๆ ( Operators ) หรือ "ผู้ค้า" ( Traders) จะต้องมีการเก็บบันทึกข้อมูล ว่าเขาได้ซื้อสินค้านี้มาจากใครและได้จำหน่ายไปให้แก่ผู้ใด

ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการ FLEGT และระเบียบไม้ที่ผิดกฎหมายใหม่ เป็นการดำเนินการภาคสมัครใจ ในอันที่จะช่วยสร้างความมั่นใจว่าการค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้อย่างยั่งยืน และมีการปฏิบัติตามระเบียบ/กฎหมาย ของการส่งออกไม้ไปยังสหภาพยุโรป โดยคู่ค้าที่ตกลงจะเป็นพันธมิตรในมาตรการนี้ (VPAs) มีหน้าที่ออกใบอนุญาตรับรองแหล่งที่มาของไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ว่าถูกต้องตามกฎหมาย ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับใบอนุญาตนี้สามารถผ่าน"ช่องทางสีเขียว"( Green Light )เข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งจะช่วยผู้นำเข้าที่ซื้อสินค้าจากผู้ส่งออกในประเทศคู่ค้าที่เป็น VPAs ในการแสดงหลักฐานว่าได้ดำเนินการสอดคล้องกับกฎระเบียบใหม่ และยังช่วยอำนวยความสะดวกในการทำระบบข้อมูลในการตรวจสอบย้อนกลับได้ง่ายและสะดวกขึ้น ดังนั้น จึงนับว่าการดำเนินการเจรจา VPAs จะเป็นประโยชน์ช่วยไม้ส่งออกต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และพัฒนาระบบการค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ตามกรอบของกฎมายให้เข้มแข็งและดูแลป่ายั่งยืนต่อไป

๓. ระเบียบควบคุมเคมีภัณฑ์ฉบับใหม่ ( REACH )

เป็นกฎระเบียบของสหภาพยุโรป มีผลบังคับใช้ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ ซึ่งสาระของระเบียบ REACH กำหนดให้การผลิตและปริมาณสารเคมี ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดกับสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกฎหมายที่เข้มงวดที่สุดในการควบคุมปริมาณสารเคและจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั่วโลก REACH ทั้งนี้ จะเรามีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในช่วงทศวรรษหน้า เมื่อ REACH มีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ โรงงาน บริษัท หรือผู้ นำเข้าสารเคมีในสหภาพยุโรปในปริมาณหนึ่งตันหรือมากกว่า หนึ่งตันต่อปี ต้องมาลงทะเบียนสารเคมีเหล่านี้ กับ European Chemical Agency (echa) ในกรุงเฮลซิงกิประเทศฟินแลนด์ เนื่องจาก REACH บังคับใช้กับสารเคมีบางอย่างที่มีอยู่ในวัตถุ ดังนั้น บริษัทนำเข้าสินค้าในยุโรปใดๆจึงอาจได้รับผลกระทบ สารเคมีประมาณ ๑๔๓,๐๐๐ ชนิด ถูกกำหนดให้มาจดทะเบียนล่วงหน้าภายในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๑ และหากไม่ดำเนินการตามเวลา ก็อาจประสบปัญหาซึ่งมีคำพูดที่เป็นที่รู้จักกันว่า“ No Data No Market ”

นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔ European Chemicals Agency จะต้องได้แจ้งสารเคมีประเภท Substance of very high concern (SVHC) เนื่องจากผลกระทบในเชิงลบต่อสุขภาพของมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อม ถ้ามีปริมาณทั้งหมดที่ใช้มากกว่าหนึ่งตันต่อปีและมี SVHC มากกว่า 0.1% ของมวลของวัตถุ แม้ว่าบางส่วนของ SVHCs จะได้รับการอนุมัติไปล่วงหน้าจาก European Chemicals Agency, แล้ว แต่ผู้ผลิตก็จะต้องเตรียมเสนอแผนเพื่อเปลี่ยนไปใช้สารอื่นทดแทน เพื่อเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยมากขึ้น

ระเบียบ REACH นี้นำไปใช้กับสารเคมีทั้งหมดที่นำเข้าหรือผลิตในสหภาพยุโรป โดยEuropean Chemicals Agency จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดการด้านเทคนิควิทยาศาสตร์และการบริหารของระบบ REACH

ข้อสรุปและข้อคิดเห็น

เมื่อระเบียบ FLEGTและ Illegal Timber Regulation มีผลบังคับใช้ในปี ๒๕๕๖ ไม้และผลิตภัณฑ์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ไม้ยางพาราจะต้องมีเอกสารใบรับรองว่าเป็นไม้ที่ตัดจากป่าธรรมชาติหรือป่าปลูกที่มีการจัดการเป็นที่ยอมรับ และผู้นำเข้า รวมทั้งผู้ส่งออกจะต้องมีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบย้อนกลับได้

ปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ FLEGT และยังไม่มีการเริ่มเจรจา VPAs หรือการจัดทำแผนปฏิบัติการ FLEGT อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ฝ่ายไทยได้เริ่มมีการตื่นตัวเพื่อจะรองรับมาตรการ FLEGT ซึ่งจากการประชุมสัมนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๓ โดย กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาคเอกชน ผู้ส่งออก และตัวแทนสมาคมที่เกี่ยวข้องมีท่าทีที่เห็นด้วย และอยากให้มีการเจรจา VPAs กับสหภาพยุโรป โดยทางสหภาพยุโรปมีท่าทีที่จะไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดระบบและบริหารออกใบอนุญาตเอง

สำนักงานฯ เห็นว่าหากสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ส่งออกจากไทย สามารถดำเนินการได้ตามมาตรการ FLEGT และ ระเบียบไม้ที่ผิดกฎหมาย ( Illegal Timber Regulation ) ก็จะเป็นเครื่องมือทางการตลาดสำคัญอีกในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ทั้งนี้ผู้บริโภคชาวเดนมาร์ก รวมทั้งในสหภาพยุโรปจัดเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมสูง เน้นการใช้สินค้าซึ่งประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco — friendly Products ) มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการเกิดปรากฎการณ์ภัยธรรมชาติในโลกหลายแห่ง ยิ่งกระตุ้นทำให้กระแสการรักษ์โลกได้เข้ามามีส่วนในการเลือกซื้อหาสินค้ามากขึ้น ทั้งนี้ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของไทย ควรต้องศึกษาผลกระทบที่ได้และค่าใช้จ่าย ต้นทุน จัดระบบริหารขั้นตอนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ มิให้เป็นภาระแก่ผู้ผลิตผู้ส่งออกมากเกินไปอีกครั้งหนึ่ง

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ