รายงานเศรษฐกิจการค้าไทยกับสวีเดนปี 2554 สดใสต่อเนื่อง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 13, 2011 13:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศไทย-สวีเดน

หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่า              ม.ค. — ธ.ค.          ม.ค. — ตค.         ม.ค. — ตค.    % เพิ่ม/ลด
                     ปี 2552              ปี 2552             ปี 2553
การค้ารวม             875.6               719.8              984.8         36.81
การส่งออก             447.7               363.5                469            29
การนำเข้า             427.9               356.2              515.7         44.78
ดุลการค้า               19.7                 7.3              -46.7

ในปี 2553 สวีเดนเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 33 ของไทย ซึ่งในรอบ 10 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค.-ตค.) การค้าระหว่างประเทศของไทยกับสวีเดนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 984.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ที่มีมูลค่า 719.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.81โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังสวีเดนมูลค่า 469.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับในช่วงเดียวกันของปี 2552 ที่การส่งออกมูลค่า 363.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.00 และการนำเข้าจากสวีเดนมูลค่า 515.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ที่มีมูลค่า 356.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.78 ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 46.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปี 2552 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 7.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

1.1 สวีเดนเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 43 ของไทย มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.29 ของยอดการส่งออกทั้งหมดของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสวีเดนที่สำคัญ 10 อันดับแรก ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 (ม.ค-ตค.) มีการขยายตัวอยู่ในระดับดี มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการยกเว้น เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและการแข่งขันจากประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น จีน และประเทศในยุโรปตะวันออก ดังรายละเอียดดังนี้

(1) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่า 49.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 229.79

(2) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 40.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.31

(3) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ มูลค่า 31.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 138.0

(4) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ มูลค่า 26.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 18.90

(5) เสื้อผ้าสำเร็จรูป มูลค่า 16.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.89

(6) เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ มูลค่า 16.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53

(7) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 15.7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.24

(8) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 15.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.99

(9) ไก่แปรรูปมูลค่า 14.8 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.62

(10) เลนซ์ มูลค่า 13.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.52

นอกจากนี้ สินค้าไทยที่มีศักยภาพที่สำคัญอื่นได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น ข้าว หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ สายไฟฟ้าสายเคเบิ้ล และ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น

1.2 สวีเดนเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ ที่ 33 ของไทย โดยมีส่วนแบ่งคิดเป็นร้อยละ0.35 ของยอดการนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกของไทย สินค้าที่ไทยนำเข้าสำคัญ 10 อันดับแรก ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 ได้แก่

(1) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบมูลค่า 3,077.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.06

(2) กระดาษและผลิตภัณ์กระดาษ มูลค่า 1,992.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.02

(3) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 1,549.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.31

(4) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ มูลค่า 19.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.17

(5) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ มูลค่า 1,204.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.38

(6) เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 1,204.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.56

(7) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ มูลค่า 1,176.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 564.98

(8) ผลิตภัณ์เวชกรรม และเภสัชกรรม มูลค่า 980.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74

(9) สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ 508.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพ่มขึ้นร้อยละ 172.74

(10) เคมีภัณฑ์ มูลค่า 500.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.89

2. สรุปและข้อคิดเห็น

สวีเดน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในสหภาพยุโรป มีระบบเศรษฐกิจเปิด ประชากรมีรายได้เฉลี่ยตัวหัวสูงอันดับต้นของโลก ในปี 2553 เศรษฐกิจของสวีเดนมีการเติบโตดีกว่าหลายประเทศในสหภาพยุโรป เนื่องจากการบริโภคภายในและอัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภาคการก่อสร้างและภาคบริการ ประกอบกับการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ทำให้การส่งออกสินค้าเทคโนโลยี่เพิ่มขึ้นมาก คาดว่าในปี 2553 GDP at market price ของสวีเดนจะขยายตัวถึงร้อยละ 5.6 และยังคงขยายตัวต่อเนื่องไปโดยคาดว่า ปี 2554 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8

โครงสร้างประชากรของสวีเดนมีการเปลี่ยนแปลงเขาสู่สังคมผู้สูงวัย(aging society) รวดเร็วมาก นอกจากนี้ ยังเป็นกลุ่มคนที่ยอมรับและมีการใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2553 ได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับหนึ่งในด้าน World Digital Economy จากนิตยสาร The Economist Intelligence Unit World Economics Forum รองลงมาได้แก่ เดนมาร์ก และ สหรัฐอเมริกา โดยพิจารณาจาก โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี่ การสนับสนุนริเริ่มจากภาครัฐ ทัศนคติของผู้ใช้ เป็นต้น ดังนั้น สินค้าและบริการที่มีเทคโนโลนี่หรือนวัตกรรม มีการออกแบบทันสมัย ซึ่งตอบสนองกลุ่มคนเหล่านี้ รวมทั้งการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง จึงมีโอกาสในการช่วงชิงตลาดและขยายตัวอย่างมากในสวีเดน

ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังสวีเดนในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 ก็ยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.00 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2552 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสวีเดนที่สำคัญได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป และเลนซ์ เป็นต้น สินค้าไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ สินค้าที่มีการพัฒนารูปแบบทันสมัย สะดวกแก่การใช้และการดำรงชีวิตของครอบครัวสมัยใหม่ หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น สินค้าแฟชั่นเครื่องประดับ ของตกแต่งบ้านที่มีการออกแบบทันสมัย หรือมีการใช้วัสดุรีไซเคิล สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าสปา สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กเหมาะแก่การใช้ครั้งเดียว ธุรกิจภัตตาคารไทยและสปา การพักผ่อน เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ