ข้อมูลตลาดสินค้าผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง
ชนิด
1. สัดส่วนการนำเข้าผลไม้ไทยโดยประมาณ
- มะขามหวาน ร้อยละ 50
- เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ร้อยละ 30
- มังคุด และอื่นๆ ร้อยละ 20
2. ทุเรียนยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในตลาดอินเดีย และน่าจะแข่งขันกับผลไม้อื่นในตลาดได้ยากเนื่องจากมีราคาต่อหน่วยสูง
3. คนอินเดียนิยมบริโภคมะม่วงท้องถิ่นของอินเดียเองซึ่งมีให้เลือกมากกว่า 10 สายพันธุ์ไม่ปรากฏมะม่วงนำเข้าจำหน่ายในตลาด
ข้อมูลด้าน Logistic
1. ใช้ขนส่งทางอากาศจากประเทศไทย และขนส่งทางรถยนต์เพื่อกระจายสินค้าในประเทศอินเดีย
2. ระยะเวลาที่ใช้ในการกระจายสินค้าจากผู้นำเข้าไปสู่ผู้บริโภคประมาณ 3-5 วัน
3. ระบบพิธีการศุลกากรยังไม่ทันสมัย ล่าช้า และไม่แน่นอน การขนส่งทางรถยนต์ไม่มีมาตรฐานที่ดีทำให้สินค้าเสียหายค่อนข้างมาก
ลักษณะการกระจายสินค้า
1. ผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศจะมีจำหน่ายเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีท่าอากาศยานและบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น
2. ผลไม้นำเข้ารวมทั้งผลไม้ไทย จะมีจำหน่ายที่ตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์มาร์เก็ตของห้าง สรรพสินค้าใหญ่ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ ผลไม้นำเข้าจากต่างประเทศ ที่พบได้ ได้แก่ แอปเปิ้ลและกีวีจากนิวซีแลนด์ ผลไม้เมืองหนาว และผลไม้ไทยบางชนิด
3. ผลไม้ท้องถิ่นของอินเดียเอง มีจำหน่ายทั่วไป และมีปริมาณมากและหลากหลายตลอดทั้งปี
การทำ Branding/Packaging
1. ไม่มีการทำ Branding ผลไม้สดอย่างชัดเจน ผลไม้นำเข้าและผลไม้ท้องถิ่นที่มีคุณภาพดี และมีราคาสูงกว่าผลไม้ทั่วไปจะถูกคัดเลือกไปวางจำหน่ายในไฮเปอร์มาร์เก็ตและห้าง สรรพสินค้าใหญ่ๆ
2. ไม่มีการทำ Packaging ผลไม้สดเป็นพิเศษ นอกจากอาจจะมีการแพ็คใส่ถาดโฟมหรือกล่องกระดาษสำหรับผลไม้ในบางชนิด
แนวทาง/กิจกรรมส่งเสริม
1. การจัด In-store Promotion ร่วมไปกับสินค้าไทยอื่นๆ
2. การแนะนำให้ร้านอาหารไทยสั่งซื้อผลไม้ไทยมาจัดเป็นเมนูพิเศษของร้านเพิ่มเติมจากผลไม้ท้องถิ่น
3. มะขามหวานของไทยเป็นที่นิยมในตลาดอินเดีย เห็นควรแนะนำให้ผู้ส่งออกที่สนใจพิจารณาช่องทางการส่งออก ผลไม้แห้งและผลไม้แปรรูปน่าจะมีโอกาสที่ดีกว่าในตลาดอินเดีย เนื่องจากคนอินเดียนิยมรับประทานขนมขบเคี้ยว และมีความทนทานในการขนส่งมากกว่าผลไม้สด
ข้อมูลตลาดสินค้าผลไม้กระป๋องและแปรรูป
ชนิด
1. สับปะรดกระป๋อง (แบบสไลด์)
2. เงาะกระป๋อง
3. มะขามแก้ว
4. ทุเรียนทอดกรอบ/อบกรอบ
ข้อมูลด้าน Logistic
1. ใช้การขนส่งทางเรือ จากประเทศไทยมาอินเดียระยะเวลาประมาณ 45-60 วัน ท่าเรือขนส่งสินค้าที่สำคัญอยู่ที่เมืองมุมไบ และเมืองเจนไน
2. ขั้นตอนการผ่านพิธีการทางศุลกากรใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ (บางครั้งอาจนานถึง 1 เดือน)
3. ใช้การขนส่งทางรถยนต์ในการกระจายสินค้าจากผู้นำเข้าไปยังผู้บริโภค ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน
ลักษณะการกระจายสินค้า
1. สินค้านำเข้ามีจำหน่ายเฉพาะที่ตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ ไฮเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์มาร์เก็ตของห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ เท่านั้น
2. ผู้บริโภคทั่วไปนิยมซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคจากตลาดและร้านขายปลีกท้องถิ่น (โชห่วย) เฉพาะกลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูงขึ้นไปจึงจะซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้า
การทำ Branding/Packaging
1. อาหารกระป๋องรวมทั้งผลไม้กระป๋องที่นำเข้าจากต่างประเทศจะถูกนำมาวางจำหน่ายในตราสินค้าของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีการทำ Branding ในตลาดอินเดียเพิ่มเติม
2. การ Packaging สินค้าอาหารกระป๋องและอาหารสำเร็จรูป ในอินเดียส่วนใหญ่จะเป็นแบบพื้นฐาน ไม่มีการออกแบบมากมายนัก โดยเฉพาะหากเป็นสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นจริงๆ การ Packaging จะดูไม่ค่อยได้มาตรฐานนัก
แนวทาง/กิจกรรมส่งเสริม
1. การจัด In-store Promotion ร่วมไปกับสินค้าไทยอื่นๆ
2. การแนะนำให้ร้านอาหารไทยนำผลไม้กระป๋องไทย อาทิ เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ มาเพิ่มเติมในรายการอาหารของทางร้าน
3. คนอินเดียมีทัศนคติไม่ค่อยดีเกี่ยวกับผลไม้กระป๋องในเรื่องของคุณภาพว่าเป็นผลไม้คุณภาพต่ำกว่าผลไม้สด และกังวลว่าอาจมีสารเคมีตกค้าง
4. ผลไม้แห้งและผลไม้แปรรูปน่าจะมีโอกาสที่ดีกว่าในตลาดอินเดีย เนื่องจากคนอินเดียนิยมรับประทานขนมขบเคี้ยว
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมุมไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th