สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของอินเดีย
- เศรษฐกิจของอินเดียยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องแม้ในภาวะที่เศรษฐกิจทั่วโลกอยู่ในภาวะชะลอตัวและเพิ่งจะฟื้นตัว ประมาณการว่าในปี 2553 นี้ อัตรา GDP จะขยายตัวได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ8
- ในปี 2553 นี้ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของอินเดียเพิ่มสูงมากทั้งในด้านการส่งออกและการนำเข้า อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อที่สูงถึงร้อยละ 8 อาจมีผลให้ภาคเอกชนชะลอการบริโภคลงไปบ้าง นอกจากนี้ปีนี้เป็นปีที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคการลงทุนของอินเดียมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นมากด้วยเช่นกัน โดยมีการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) สูงถึง 32,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ในปี 2554 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ค่อนข้างสูงต่อไป โดยรัฐบาลอินเดียมีเป้าหมายให้อัตรา GDP ขยายตัวในปี 2554 ถึงร้อยละ 8.5 และพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ลดลง
- ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศน่าจะมีมูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับในปี 2553 โดยมีภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะกระตุ้นให้มีการนำเข้าและส่งออกในปริมาณที่มากขึ้น
สินค้าเป้าหมายของไทยในการส่งออกไปยังอินเดีย
- สินค้าอาหาร ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว ซอสและเครื่องปรุงรส ผลไม้แปรรูป อาหารทะเลแช่แข็ง อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารมังสวิรัติ
- สินค้าเครื่องประดับตกแต่งบ้านเครื่องใช้ในครัวเรือน
- สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
- สินค้าอุตสาหกรรมหนัก เครื่องจักรกลการเกษตร สินค้าทุน/วัตถุดิบในการผลิต
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของบังคลาเทศ
- สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าของบังคลาเทศดีขึ้นเป็นลำดับจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก คาดการณ์ว่าในปี 2553 นี้ อัตรา GDP จะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 6
- ปริมาณการค้าระหว่างประเทศรวมเริ่มดีขึ้นทั้งด้านการส่งออกและการนำเข้า เนื่องจากนับแต่ต้นปี 2543 เป็นต้นมา สถานการณ์การเมืองสงบเรียบร้อยทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในการประกอบธุรกิจและใช้จ่ายเงินมากขึ้น
- ในปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนพลังงานและไฟฟ้าอย่างรุนแรง และความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในด้านการลงทุน
- ในปี 2554 รัฐบาลบังคลาเทศตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยให้มีอัตรา GDP เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 จากการดำเนินโครงการของรัฐขนาดใหญ่ อาทิ การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน การสร้างโรงไฟฟ้า การสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ
- ในด้านการส่งสินค้าจากไทยไปยังบังคลาเทศอาจต้องประสบปัญหาเนื่องจากค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นในขณะที่ค่าเงินตากาของบังคลาเทศอ่อนตัวลง ทำให้สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศคู่แข่งขันอื่นๆ ได้แก่ จีน เกาหลี และมาเลเซีย เป็นต้น
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของปากีสถาน
- เศรษฐกิจของปากีสถานในปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นกว่าในปี 2552 โดยมีอัตรา GDP ขยายตัวร้อยละ 4.1 อัตราเงินเฟ้อลดลง การขาดดุลการค้าลดลง และสำรองเงินตราต่างประเทศสูงขึ้นถึง 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ว่าสถานการณ์การเมืองและการก่อการร้ายจะยังคงไม่ดีขึ้น
- อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 คาดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของปากีสถานจะซบเซาลงเนื่องจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 ทาให้พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย และส่งผลกระทบให้มีการส่งออกลดลง และต้องนาเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
- ในปี 2554 รัฐบาลปากีสถานมีนโยบายรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาครักษาระดับอัตราเงินเฟ้อและระดับราคาสินค้าในประเทศไม่ให้สูงขึ้นมากนัก และพยายามเร่งแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุน จากต่างประเทศ
- จากปัญหาต่างๆ ทั้งสถานการณ์ทางการเมือง การก่อการร้าย และภัยธรรมชาติ รวมทั้งภาพรวมเศรษฐกิจของโลกซึ่งยังไม่ฟื้นตัวดีนัก คาดว่าในปี 2554 ปากีสถานจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่มากนัก (GDP ขยายตัวร้อยละ 2.5)
สินค้าเป้าหมายของไทยในการส่งออกไปยังบังคลาเทศ ปากีสถาน และภูฏาน
- สินค้าอาหาร ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง
- เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาดและสุขอนามัย
- วัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
- สินค้าอุตสาหกรรมหนัก เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์ เครื่องจักรและอุปกรณ์
ที่มา: http://www.depthai.go.th