รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้า ภูมิภาคอาเซียน ประเทศสิงคโปร์ (16-31 ธันวาคม 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 21, 2011 10:57 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศ สิงคโปร์

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 16-31 ธันวาคม 2553

เศรษฐกิจ-ภาวะการค้า

1. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2553 The Urban Redevelopment Authority (URA) ประกาศรายงานเกี่ยวกับรายละเอียดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ (1) ราคาที่พักอาศัยภาคเอกชน สำนักงาน ร้านค้า และโรงงาน มีอัตราเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9, 6.2, 1.3 และ 8.3 ตามลำดับ (2) ค่าเช่าที่พักอาศัยภาคเอกชน สำนักงาน ร้านค้า และโรงงาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6, 6.0, 0.8 และ 4.8 ตามลำดับ (3) จำนวนที่พักอาศัยภาคเอกชนรวม 64,358 หน่วย ซึ่งคงค้างจำหน่ายจำนวน 33,771 หน่วย (4) พื้นที่สำนักงานรวมประมาณ 887,000 ตารางเมตร ทั้งที่เป็นของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งคาดว่า พื้นที่ประมาณ 760,000 ตารางเมตร จะก่อสร้างแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2553 — ปี 2556

2. การจ้างงานของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2553 โดยการจ้างงานรวมได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 24,100 อัตรา (ไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2553 จำนวน 36,500 และ 24,900 อัตรา ตามลำดับ) แสดงให้เห็นว่าการเติบโตของการจ้างงานในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2553 มีจำนวน 85,500 อัตรา ซึ่งการจ้างงานในไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ส่วนใหญ่มาจากภาคธุรกิจบริการ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น 24,100 อัตรา ส่วนภาคการผลิตลดลง 400 อัตรา รายละเอียดตามตารางข้างล่างนี้

                                            Employment Chnge                Employment Level as at
                             3Q 09     4Q 09     1Q 10     2Q 10    3Q 10P        Sep 2010P
Total*                      14,000    37,500    36,500    24,900    24,100        3,075,500
Manufacturing               -6,400       700     3,100    -2,300      -400          543,000
Construction                 7,400     4,600      -400     2,000       100          386,800
Services                    12,700    31,500    33,400    25,400    24,100        2,124,500
P: Preliminary estimates
*: Total includes agriculture, fishing, quarrying, utilities and sewerage & waste management Data may not add up due to rounding

3.อัตราการว่างงานของสิงคโปร์ สถิติจาก Ministry of Manpower รายละเอียด ดังนี้ (หน่วย : ร้อยละ)

                                            9-Sep        9-Dec       10-Mar       10-Jun     Sep 10P
Seasonally Adjusted    Overall (%)            3.3          2.3          2.2          2.2         2.1
Seasonally Adjusted     Resident (%)          4.8          3.3          3.2          3.2         3.1
Non-Seasonally Adjusted   Overall (%)         2.9          2.1          2.1          2.8         1.8
Non-Seasonally Adjusted   Resident (%)        4.1          2.9          3.1          4.1         2.6
P: Preliminary estimates

4. ภาคการค้าปลีกเดือนตุลาคม 2553 ขยายตัวลดลงร้อยละ 2.8 เนื่องจากการจำหน่ายรถยนต์มีอัตราลดลงร้อยละ 29.6 จากเหตุผลที่ค่าป้ายทะเบียนรถยนต์ (Certificate of Entitlement :COE) มีราคาสูงขึ้นเพราะภาครัฐมุ่งเน้นที่จะจำกัดจำนวนรถยนต์ใหม่ ทั้งนี้ หากไม่รวมการจำหน่ายรถยนต์ ดัชนีการค้าปลีกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 (เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า) สำหรับในภาพรวม สินค้าขายปลีกที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ซื้อได้ซื้อจากร้านต่างๆในศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ร้านของใช้ส่วนตัว ร้านนาฬิกาและร้านเครื่องประดับ อนึ่ง การจำหน่ายสินค้าอุปกรณ์โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ลดลงร้อยละ 2.4 และสำหรับช่วงที่เหลือของปี 2553 และต้นปี 2554 คาดว่า ภาคการค้าปลีกจะยังคง อยู่ในสถานะที่มีอัตราลดลง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะมีการเติบโตดีขึ้นก็ตาม หากมองจากปัจจัยที่พนักงาน ได้รับเงินโบนัสและนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์เพิ่มขึ้น อาจจะเป็นตัวช่วยที่จะส่งผลให้ภาคการค้าปลีกมีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นในปลายปี 2553 และปี 2554

5. ประชากรสิงคโปร์มีจำนวน 5.08 ล้านคน ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2553 จากการสำรวจของ Singapore Department of Statistics มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ซึ่งจำนวน 3.77 คนเป็นผู้พำนักอาศัยในประเทศ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0) แบ่งออกเป็นชาวสิงคโปร์จำนวน 3.23 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9) และ Permanent Residents จำนวน 0.54 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5) โดยแบ่งสัดส่วนตามเชื้อชาติ ดังนี้ ชาวจีนร้อยละ 74 ชาวมุสลิมร้อยละ 13 ชาวอินเดียร้อยละ 9.2 และอื่นๆร้อยละ 3.8 ทั้งนี้ อัตราผู้รู้หนังสือร้อยละ 96.3 และอัตราการเป็นเจ้าของบ้านร้อยละ 88.8

6. การส่งออกสินค้าที่ผลิตภายในประเทศของสิงคโปร์ เดือนพฤศจิกายน ปี 2553 สรุปสาระดังนี้ (1) การส่งออกสินค้าทั่วไปที่ผลิตในประเทศ (ยกเว้นน้ำมัน) = Non-oil domestic exports (NODX) เดือนพฤศจิกายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2553 (ร้อยละ 5.8) หากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (2) การส่งออกต่อสินค้าทั่วไป (ยกเว้นน้ำมัน) = Non-oil re-exports (NORX) เดือนพฤศจิกายน 2553 ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2553 (ร้อยละ 0.5) หากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 และ (3) การส่งออกน้ำมันที่ผลิตภายในประเทศ = Oil Domestic Exports เดือนพฤศจิกายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2553 หากเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ทั้งนี้ สินค้าทั่วไป(ยกเว้นน้ำมัน) ส่งออกไปยังประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2553 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 โดยสินค้ากลุ่ม Electronic NODX เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.1 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ICs (+18%), Capacitors (+90%) และ Other Computer Peripherals (+239%) ส่วนกลุ่ม Non-electronic NODX เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 สินค้าสำคัญ ได้แก่ Petrochemicals (+30%) Electrical circuit apparatus (+95%) และ Food Preparations (+153%)

          7. การส่งออกรวมของสิงคโปร์ เดือนพฤศจิกายน 2553 International Enterprise (IE) Singapore ประกาศอัตราการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10  เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า  หากเทียบกับเดือนตุลาคม 2553  มีอัตราลดลงร้อยละ 12.9  ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกยารักษาโรคที่ลดลงร้อยละ 34   และอิเล็คทรอนิกส์ลดลงร้อยละ 10.8    ทั้งนี้    การส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า 10  อันดับแรก (ยกเว้นไทย) ลดลง   ประเทศที่ลดลงอย่างมากคือ   ยุโรป   สหรัฐฯ  และจีน   อนึ่ง  นักเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า  การส่งออกที่ลดลงในเดือนพฤศจิกายน 2553 ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจปี 2553 เปลี่ยนไป  การคาดการณ์ยังคงเดิมร้อยละ 15.0  แต่พึงควรระวังถึงปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตเศรษฐกิจ  คือ ค่าเงินสิงคโปร์ที่มีค่าแข็งขึ้น และมาตรการที่เข้มงวดของภาครัฐในการจ้างงานแรงงานต่างชาติซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

8. กระทรวงการคลังสิงคโปร์ประกาศเป้าหมายสำคัญ 6 ประการเพื่อส่งเสริมให้ประเทศก้าวหน้า สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ (1) Eeconomic growth that sustainable : โดยบ่งชี้ภาคอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำให้เกิดการเติบโต การสร้างโอกาสการจ้างงาน และพัฒนาบุคคลากรให้สามารถแข่งขันได้กับนานาชาติ (2) Having a strong social security framework : ให้ความมั่นใจเสถียรภาพด้านการเงิน ส่งเสริมและพัฒนาการรักษาสุขอนามัยและที่พักอาศัยซึ่งประชากรสามารถจ่ายได้โดย ไม่มีความลำบาก (3) A world-class environment and infrastructure : ให้เป็นเมืองที่มีชีวิตชีวาของโลก การคมนาคมขนส่งสะดวกและสภาวะแวดล้อมรักธรรมชาติ (4) A Singapore that is secure and influential : การเตรียมพร้อมสำหรับช่วงวิกฤตต่างๆ และสร้างให้มีความเป็นอยู่ที่ดี (5) Having strong families, cohesive society : ให้มีการศึกษาที่ได้ระดับนานาชาติ ให้ความสำคัญต่อประชากร (6) Effective government : สร้างบุคคลากรให้เป็นผู้นำ ควบคุมมวลชนให้ตั้งอยู่ในความสงบและปราศจากอาวุธ ปราบการคอร์รัปชั่น เจ้าหน้าที่ภาครัฐปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจและสุจริต การใช้เครือข่ายข้อมูลให้เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย

9. คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2554 หน่วยงาน Monetary Authority of Singapore คาดว่า ภายในต้นปี 2554 จะมีอัตรา ร้อยละ 4 และเมื่อถึงปลายปีจะเป็นร้อยละ 2-3 เนื่องจากแนวโน้มของค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ในกลุ่มต่างๆเพิ่มขึ้น ได้แก่ การคมนาคม(+9.4%) ที่พักอาศัย(+4%) อาหาร(+1.8) การศึกษา(+2.4%) เครื่องเขียน(+2.4%) เป็นต้น สำหรับกลุ่มสำคัญที่ได้ผลักดันอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นคือ น้ำมันและรถยนต์ ที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านการคมนาคมมีอัตราสูงขึ้นร้อยละ 9.4 ทั้งนี้ สิงคโปร์ใช้พื้นฐานอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อ (ไม่ใช้อัตราดอกเบี้ย)

การลงทุนในประเทศ

1. บริษัท Element14 ลงทุน 3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ จัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ใช้ในระบบการจัดการคลังสินค้าและการจ้างพนักงานเพิ่ม เพื่อการขยายพื้นที่เก็บสินค้าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ให้สิงคโปร์เป็น Distribution Hub ของบริษัทฯ ซึ่งในปัจจุบันมี 70,000 รายการ ให้เพิ่มเป็น 140,000 รายการ บริษัทฯมีลูกค้าในสิงคโปร์มากกว่า 2,000 ราย จำหน่ายสินค้าที่ใช้ในด้าน Electronic R&D ซึ่งไม่จำกัดปริมาณขั้นต่ำในการสั่งซื้อ ทั้งนี้ บริษัทฯมี Distribution Hub อยู่ที่เซี่ยงไฮ้ และซิดนีย์ ซึ่งเก็บสินค้าในคลังสินค้าจำนวน 40,000 และ 80,000 รายการ ตามลำดับ

การลงทุนในต่างประเทศ

1. ธนาคารสิงคโปร์ขยายธุรกิจในอินโดนีเซีย คือ ธนาคาร DBS, UOB และ OCBC ซึ่งมุ่งเน้นในด้านการให้ยืมเงินเป็นสำคัญ โดยธนาคาร DBS Indonesia และ OCBC NISP ได้รับความนิยมจากลูกค้าที่เป็นบริษัท และธนาคาร UOB Buana ได้รับความนิยมด้าน Consumer Banking และการบริการเครดิตการ์ด ทั้งนี้ ในปัจจุบัน แนวโน้มของเศรษฐีอินโดนีเซียจะเปลี่ยนจากการนำเงินสดเพื่อหาผลกำไรในต่างประเทศ เป็นการใช้บริการธนาคารในการจัดการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศให้เกิดรายได้แทน อนึ่ง กิจการและมูลค่าทรัพย์สินของธนาคารทั้ง 3 แห่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2553 มีดังนี้ 1) DBS Indonesia มีสาขา 40 แห่งใน 11 เมือง มูลค่าทรัพย์สิน 4.03 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เงินที่ให้กู้รวม 2.94 พันล้านเหรียญฯ 2) OCBC NISP มีสาขา 411 แห่ง ใน 62 เมือง มูลค่าทรัพย์สิน 6.03 พันล้านเหรียญฯ เงินที่ให้กู้รวม 3.78 พันล้านเหรียญฯ 3) UOB Buana มีสาขา 213 แห่ง ใน 29 เมือง มูลค่าทรัพย์สิน 5.6 พันล้านเหรียญฯ เงินที่ให้กู้รวม 3.92 พันล้านเหรียญฯ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

1. สิงคโปร์กับบาห์เรน มีสัมพันธไมตรีแน่นแฟ้นขึ้น จากการที่บาห์เรนยืนยันข้อตกลง GCC-Singapore Free Trade Agreement (GSFTA) ส่งผลทางอ้อมให้มูลค่าการค้ารวมระหว่างกันในปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เป็นเงินถึง 557 ล้าน- เหรียญสิงคโปร์ อีกทั้ง การเยือนบาห์เรนของคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงสิงคโปร์ ได้แก่ ประธานาธิบดี S.R. Nathan, Mr. Goh Chok Tong รัฐมนตรีอาวุโส และ Mr. Lee Yi Shyan, Minister of State for Trade & Industry and Manpower เป็นปัจจัยสนับสนุนอีกประการหนึ่ง สำหรับการจัดตั้งธุรกิจใน 2 ประเทศที่สำเร็จผล ได้แก่ ธนาคาร Al Salam Bank ของบาห์เรนได้จัดตั้งสำนักงานใหญ่เอเชีย-แปซิฟิคในสิงคโปร์(สค.53) และบริษัท Fraser Suites ของสิงคโปร์ได้เปิด Fraser Suites Seef Property (มีค. 53) นอกจากนี้ ยังมีการจัดคณะผู้แทนการค้าเยือนซึ่งกันและกันในหลากหลายสาขา ได้แก่ การออกแบบ การก่อสร้าง การบริการวิศวกรรมศาสตร์และการซ่อมบำรุง เป็นต้น

2. สิงคโปร์กับไอร์แลนด์ เมื่อเดือนตุลาคม 2553 ได้ลงนามข้อตกลง The Avoidance of Double Taxation (DTA) โดยการลงนามของ Mr. S Iswaran, Senior Minister of State for Trade and Industry and Education สิงคโปร์ และ Mr. Conor Lenihan T.D., Minister for Science Technology, Innovation and Natural Resources ไอร์แลนด์ ซึ่ง DTA เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนโดยให้ใช้ระบบ Double Taxation สำหรับรายได้ของบริษัทที่เกิดจากกิจกรรมระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งนี้ หน่วยงานที่ควบคุมคือ Inland Revenue Authority of Singapore (IRAS)

3. สิงคโปร์กับไต้หวัน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 ได้เริ่มเจรจาอย่างเป็นทางการเพื่อจัดให้มีการเจรจาเกี่ยวกับการค้าเสรี Astep (Agreement between Singapore and the Separate Customs Territory of Taiwan, Penghu, Kinmen and Matsu on Economic Partnership) ซึ่งคาดว่า จะเริ่มการเจรจาในต้นปี 2554 ซึ่งสิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่จะมีการหารือข้อตกลง Free Trade กับไต้หวัน โดยทั้ง 2 ฝ่ายมีความเห็นว่า ข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าจะช่วยสนับสนุนให้เกิดผลประโยชน์ที่ดีต่อกันและกัน อีกทั้ง สิงคโปร์และไต้หวันเป็นสมาชิกภายใต้ World Trade Organization (WTO) ข้อตกลงการค้าฯจะเป็นไปได้ตามระเบียบของ WTO ที่ไม่น่าจะขัดแย้งกับหลักการ “One China” ของจีน ทั้งนี้ ไต้หวันหวังว่า จะได้รับสิทธิในด้านการบริการด้านการเงินและโลจิสติกส์ ในขณะที่สิงคโปร์ หวังว่า จะได้รับสิทธิในอุตสาหกรรม Petrochemical, Mechanical and Electronics อนึ่ง นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า หากไต้หวันมีการลงนามการค้าเสรีกับสิงคโปร์ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไต้หวันสามารถลงนามในสัญญาการค้าที่คล้ายคลึงกันกับประเทศอื่นๆในอาเซียนหรือในภูมิภาคได้ต่อไปในอนาคต ซึ่งจะทำให้ไต้หวันมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้นกับอาเซียน สำหรับการค้าระหว่างสิงคโปร์กับไต้หวันในปี 2552 มีมูลค่า 31 พันล้าน-เหรียญสิงคโปร์

อื่นๆ

1. การลงทุนด้าน R&D ของสิงคโปร์ หน่วยงาน The Agency for Science, Technology and Research (A*STAR) ได้รายงานการสำรวจล่าสุด National Survey of R&D ปี 2552 โดย PUBERD (Public Expenditure on R&D) มีมูลค่าสูงถึง 2.3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือ ร้อยละ 0.87 ของ GDP เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 จากปี 2551 (มูลค่า 2 พันล้านเหรียญสิงคโปร์) แม้ว่าการเติบโต GDP จะลดลงถึงร้อยละ 3.1 ก็ตาม อัตรา Compound Annual Growth Rate (CAGR) ของ PUBERD ระหว่างปี 2000-2009 ร้อยละ 8.2 ซึ่งนับเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของภาครัฐเพื่อสนับสนุนการลงทุน R&D อีกทั้งเป็นการสร้างให้ภาคเอกชนมีศักยภาพด้าน R&D เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ภาครัฐตั้งเป้าเงินสนับสนุน R&D ระหว่างปี 2554-2558 ในอัตราร้อยละ 1 ของ GDP หรือประมาณ 16.1 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ภายใต้แผน Innovation and Enterprise 2015 และตั้งเป้าหมาย Gross Expenditure on R&D (GERD) ในอัตราร้อยละ 3.5 ของ GDP ภายในปี 2558 ซึ่งจะสร้างให้สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำทั่วโลกที่มีความพร้อมด้านนวัตกรรม เป็นศูนย์ R&D ของโลก เป็นประเทศเศรษฐกิจของนักลงทุน และเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของเอเชียด้วย

2. ผู้ใช้บริการสนามบินชางกี ช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2553 มีจำนวน 38.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 (เทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) ทั้งนี้ จำนวนดังกล่าวมีอัตรามากกว่าจำนวนรวมของปี 2551 (37.7 ล้านคน) สำหรับในเดือนพฤศจิกายน 2553 จำนวนผู้ใช้บริการสนามบินฯ 3.62 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 (เทียบกับเดือน พย. 2552) ทั้งนี้ ร้อยละ 75 เดินทางมาจากจีน อินเดีย และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

3. อาหารสำเร็จรูปสิงคโปร์ลุยตลาดจีน สืบเนื่องจากโครงการของ International Enterprise (IE) Singapore ที่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ สินค้าอาหารของสิงคโปร์ในเมืองต่างๆของจีน ได้แก่ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว เมื่อเดือนกรกฏาคม-ตุลาคม 2553 เป็นกิจกรรมประชาสัมพันธ์ครั้งใหญ่ในจีนที่ช่วยสนับสนุนผู้ผลิตอาหารของสิงคโปร์ให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง โดยทำรายได้ในช่วงประชาสัมพันธ์เป็นเงิน 256,000 เหรียญสิงคโปร์ และทำให้บริษัท 6 รายจาก 21 รายที่เข้าร่วมโครงการฯได้รับสัญญาให้จำหน่ายสินค้าอาหาร เครื่องดื่มและซ๊อสปรุงรสอย่างถาวรในซุปเปอร์มาร์เก็ต Jusco และ Beijing Hualian ในเขต 9 เมือง โดยในต้นปี 2554 จะเริ่มจำหน่ายสินค้า 80 รายการ คาดว่า จะมีรายได้สูงถึง 15 ล้านเหรียญสิงคโปร์ภายใน 3 ปีข้างหน้า สินค้าที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ Camel Nuts, Sauces (Tai Hua Food ) และ Instant beverage (Gold Kili Trading) ทั้งนี้ ในปี 2552 สถิติการส่งออกสินค้าอาหารที่ผลิตภายในประเทศไปยังจีน มีมูลค่า 577 ล้านเหรียญสิงคโปร์

4. Medical Tourists เข้ารับการรักษาในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม 2553 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรัสเชีย (Vladivostok และ Khabarovsk) ตะวันออกกลาง (United Arab Emirates และ Saudi Arabia) และเวียดนาม เพื่อรับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน ได้แก่ Raffles Medical Group, Parkway Holdings, Wellcare Holdings International, Pacific Healthcare โดย Medica Tourists จากรัสเซีย ตะวันออกกลางและเวียดนามเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30, 15 และ 5 ตามลำดับ ทั้งนี้ จากสถิติของ Singapore Tourism Board (STB) แสดงจำนวน Medical Tourists เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ระหว่างปี 2549-2551 จากจำนวน 555,000 ราย เป็น 646,000 รายต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาในภาคเอกชนในหลากหลายสาขา ได้แก่ การตรวจสุขภาพทั่วไป การผ่าตัดต่างๆ(gynaecology and oncology) การรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้ Medical Tourists ขยายตัวเพิ่มขึ้น อาทิ การรักษาพยาบาลที่ก้าวหน้าด้วยอุปกรณ์ทันสมัยมีเทคโนโลยีสูง แพทย์มีความชำนาญ การดูแลและให้บริการดี ค่ารักษาพยาบาลพอสมควร สถานที่สะอาด สภาวะบ้านเมืองมีความปลอดภัย และการประชาสัมพันธ์ของสถานพยาบาลผ่านเว็ปเซท์ในภาษาต่างๆคือ เวียดนาม อาราบิค เบงกาลี รัสเซีย และ ฝรั่งเศศ อีกทั้ง ได้รับการสนับสนุนจาก Singapore Tourism Board (STB) ที่ตั้งเป้าหมายเชิญชวน Medical Tourists จำนวน 1 ล้านราย ภายในปี 2555

กิจกรรมที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 16-31 ธันวาคม 2553

1. ประสานงานการลงโฆษณางานแสดง สินค้าแฟชั่นและเครื่องหนัง 2554 (BIFF & BIL 2011)

2. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการ Thailand Trade Exhibition ณ บริเวณสถานทูต ไทย และ VivoCity

3. ประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงการส่งเสริมการขายสินค้าไทยร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต Isetan และ FairPrice

4. ประสานเชิญชวนนักธุรกิจ/ผู้นำเข้าสิงคโปร์เยือนงานแสดงสินค้า Bangkok Gems & Jewelry Fair 2011, Thailand International Furniture Fair 2011

5. ประสานงานเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างบริษัทไทย Apex Plastics Co., Ltd. ไม่ส่งสินค้า PVC Sheet ให้แก่บริษัทสิงคโปร์ Binwais Enterprise เมื่อบริษัทฯจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว โดยในเบื้องต้นบริษัทไทยจะรีบผลิตสินค้าฯส่งให้ภายใน 2 เดือนข้างหน้า

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ