ประเทศชิลี และเขตพื้นที่ดูแลของ สคร. ณ กรุงซานติอาโก ได้แก่ เปรู โคลัมเบีย และเอกวาดอร์
ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 16-30 พ.ย. 53
1. ภาวะการค้ากับประเทศไทย
1.1 ในช่วงเดือนมกราคม — ตุลาคม 2553 การส่งออกจากไทยไปตลาดชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู โดยรวมมีมูลค่า 1,268 ล้านเหรียญสหรัฐ ชลอตัวลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 150 เป็นอัตราเพิ่มที่สูงกว่าสภาวะการณ์การส่งออกของไทยไปกลุ่มประเทศดังกล่าวในเดือนมกราคม-กันยายน 2553 ซึ่งมีมูลค่า 1,157 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 154
1.2 ตลาดที่สถานะการณ์การส่งออกของไทยในช่วงมกราคม-ตุลาคม 2553 มีอัตราเพิ่มที่สูงขึ้นกว่าอัตราเพิ่มในช่วงมกราคม- กันยายน 2553 ได้แก่
- โคลัมเบีย มูลค่าการส่งออก 320 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 71 (มกราคม-กันยายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 67)
- เอกวาดอร์ มูลค่าการส่งออก 262 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 69 (มกราคม —กันยายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 68)
- ชิลี มูลค่าการส่งออก 427 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 330 (มกราคม — กันยายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 375)
- เปรู มูลค่าการส่งออก 259 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 294 (เดือนมกราคม — กันยายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 315)
1.3 สินค้าที่ตลาดนำเข้ารายการสำคัญจากไทยมีมูลค่าการนำเข้าในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2553 ดังนี้
1.3.1 ตลาดชิลี ได้แก่
- ยานยนต์ นำเข้า 324 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 442
- เครื่องจักรกล นำเข้า 32 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 37
- ปูนซีเมนต์ นำเข้า 20 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 55
- เครื่องจักรกลไฟฟ้า นำเข้า 17 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 97
- อาหารทะเลกระป๋อง นำเข้า 12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 39
1.3.2 ตลาดเปรู ได้แก่
- ยานยนต์ นำเข้า 188 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 147
- เครื่องจักรกล นำเข้า 51 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 47
- เครื่องจักรกลไฟฟ้า นำเข้า 18 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 75
- ผลิตภัณฑ์ยาง นำเข้า 9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 48
- พลาสติก นำเข้า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 99
1.3.3 ตลาดเอกวาดอร์ ได้แก่
- ยานยนต์ นำเข้า 204 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 87
- เครื่องจักรกล นำเข้า 21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 20
- เครื่องจักรกลไฟฟ้า นำเข้า 17 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 87
- ผลิตภัณฑ์ยาง นำเข้า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 26
1.3.4 ตลาดโคลัมเบีย ได้แก่
- ยานยนต์ นำเข้า 224 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 110
- เครื่องจักรกล นำเข้า 53 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 54
- ผลิตภัณฑ์ยาง นำเข้า 21 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 64
- เครื่องจักรกลไฟฟ้า นำเข้า 9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ร้อยละ 50
2. ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
2.1 คาดว่าการขยายตัวของการส่งออกของไทยไปยังตลาดนี้ยังมี Momentum ต่อไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ยังคงขยายตัว หลังจากนั้น อาจจะค่อยๆชะลอตัวลงเมื่อตลาดอิ่มตัว
2.2 สำนักงานฯ มีความเห็นว่า เศรษฐกิจของตลาดยังมีเสถียรภาพ ยังผลให้ค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของตลาด แข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ อาทิเช่น ค่าของเงินสกุลเปโซของชิลี ในช่วงประมาณ 6 เดือนที่ผ่านมา แข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 15 ยังผลให้ตลาดยังคงมีอำนาจซื้อพอสมควรหากราคาสินค้าส่งออกของไทยคิดเป็นเงินเหรียญสหรัฐไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่หากราคาสินค้าส่งออกของไทยไปตลาดนี้ปรับราคาสูงขึ้นมาก การนำเข้าของตลาดก็มีแนวโน้มชลอตัว เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่มิใช่สินค้าที่เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน (มี Price Elasticity of Demand ในระดับปานกลางถึงสูง) ยกเว้นสินค้าปูนซีเมนต์ ซึ่งชิลีมีความจำเป็นต้องใช้ในการบูรณะประเทศจากอุบัติภัยแผ่นดินไหว และสินค้าประเภทวัสดุในการผลิตซึ่งตลาดมีความจำเป็นต้องใช้ในอุตสาหกรรมภายในตลาดทั้งสี่ที่กำลังขยายตัว
2.3 สถานการณ์ที่ค่าของเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก จะส่งผลกระทบในเชิงลบ ต่อศักยภาพการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี ตลาดนี้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจพอสมควร ยังผลให้ค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของตลาดแข็งค่าขึ้นเช่นกัน ทำให้ตลาดมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น ประกอบกับประเทศคู่แข่งขันรายสำคัญของไทยหลายประเทศก็ประสบปัญหามีค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของตนแข็งค่าขึ้นมากเช่นกัน เช่น ญี่ปุ่น สำนักงานฯ จึงคาดว่า ผลกระทบจากการที่ค่าของเงินบาทแข็งค่าขึ้น ที่จะมีต่อการส่งออกของไทยไปยังตลาดนี้จะไม่ถึงขั้นรุนแรงมาก
2.4 ข้อเสนอแนะคือ ทางฝ่ายไทยจะต้องติดตามความเคลื่อนไหวของค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่แข่งขันในตลาดการเงินระหว่างประเทศอย่างใกล้ชิด และควรนำมาตรการทางการเงิน การคลัง มาช่วยรักษาค่าของเงินบาทไทยให้ปรับตัวอยู่ในระดับที่ไม่มากไปกว่าอัตราการแข็งค่าขึ้นของเงินตราสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่แข่งขัน โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคเอเซียด้วยกัน ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการบรรเทาผลกระทบในทางลบต่อศักยภาพทางการแข่งขันทางการค้าของไทย นอกจากนี้ ไทยควรหาลู่ทางในการเพิ่มการลงทุนในต่างประเทศในลักษณะ Internationalization ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้มีเงินทุนไหลออกไปนอกประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการนำเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุในการผลิต จากต่างประเทศ เพื่อขยายกำลังการผลิตในช่วงนี้ เพื่อบรรเทาภาวะที่มีเงินทุนไหลเข้าประเทศมาก และในส่วนของมาตรการทางการค้า สำนักงานฯ เห็นว่า ควรเร่งรัดการจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าในตลาดนี้ ให้มีผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเสริมศักยภาพในการส่งออกของไทยสู่ตลาด รวมทั้งการจัด Business Summit Forum ระหว่างนักธุรกิจนักลงทุนของไทยและของตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้ไทย
2.5 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของตลาดและมีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าจากไทยที่สำคัญ ได้แก่
2.5.1 ผลการสำรวจโดย Corporacion de Bienes de Capital (Capital Goods Corporation : CBC) คาดการณ์ว่า การลงทุนในชิลีในช่วงปี 2010-2014 จะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 73.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาขาการลงทุนที่สำคัญได้แก่ สาขาพลังงาน คาดว่าจะมีการลงทุน 28.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ และสาขาเหมืองทองแดง คาดว่าจะมีการลงทุน 16.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสำนักงานฯ เห็นว่า น่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากไทยเพิ่มขึ้นในระยะยาวว
2.5.2 รายงานจาก Brazilian Foundation Getulio Vargas, FGV ฉบับเดือนตุลาคม ศกนี้ จัดอันดับชิลี เปรู และอุรุกวัย เป็นประเทศที่มีบรรยากาศทางธุรกิจดีที่สุดในภูมิภาคละตินอเมริกา ด้วยคะแนนคือ ชิลี 7.5 คะแนน เปรู 7.1 และอุรุกวัย 7 ตามลำดับ โดยมีบราซิลได้ 6.8 โคลอมเบีย 6.8 ปารากวัย 6.5 อาร์เจนตินา 5.9 โบลีเวีย 5.6 เม็กซิโก 5.2 เอกวาดอร์ 5.2 และเวเนซุเอลา 2.5 คะแนน ตามลำดับรายงานยังระบุด้วยว่า ถึงแม้ว่าบราซิล โคลอมเบีย เม็กซิโก ปารากวัย เปรู และอุรุกวัย จะมีบรรยากาศทางธุรกิจลดลงในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมศกนี้ แต่กระนั้น บราซิล โคลอมเบีย เปรู และอุรุกวัย ก็ยังอยู่ในระยะที่เป็นขาขึ้น ในขณะที่เม็กซิโก และปารากวัย มิได้อยู่ในระยะขาขึ้นแล้ว
2.5.3 UN Economic Commission for Latin America and the Caribbean : Capal คาดการณ์ว่า การค้าระหว่างประเทศละตินอเมริกาในปี 2010 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในอันที่จะสร้างงานที่มีรายได้ดีขึ้น เพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่ดีขึ้น โดยการค้าส่วนใหญ่จะเป็นการค้าสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าที่ผลิตจากสาขาที่เน้นใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ (Labor intensive sectors) ทั้งนี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้มีนโยบายกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาค โดยการมีเครื่องมือในการช่วยเหลือจัดการในเรื่องการเงินให้ธุรกรรมที่ทำการค้าขายภายในภูมิภาค และมีความจำเป็นที่จะต้องลดภาษีศุลกากรให้กันและกัน เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดละตินอเมริกา เปิดไปสู่สิ่งแวดล้อมระดับโลกที่มีทั้งวิกฤตและความไม่แน่นอนมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ในขณะนี้ บราซิลและเม็กซิโก ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกา 2 เขตเศรษฐกิจ กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน ซึ่งถือว่า เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของภูมิภาค ทั้งนี้ การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศต่างๆในกลุ่มละตินอเมริกา อาจจะขยายต่อไปสู่ประเทศอื่นๆอีก ในปัจจุบัน ภูมิภาคนี้ประสบกับความเสี่ยงต่างๆโดยเฉพาะปัญหาการแข็งค่าของเงินตราสกุลท้องถิ่นในภูมิภาค ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขันในการส่งออกและทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาซบเซาลง Cepal ยังได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการมีสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีน เนื่องจากการค้าของภูมิภาคละตินอเมริกากับจีนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ปี 2000 ในส่วนของภาวะการส่งออกของละตินอเมริกาซึ่งในปี 2009 มีมูลค่าลดลงถึง 22.6% นั้น แต่ในปี 2010 คาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 21.4% โดยภาวะการส่งออกของกลุ่มประเทศ Andean Community จะเพิ่มขึ้นในระดับนำที่สุดคือมีอัตราที่สูงถึง 29.5% ตามมาด้วยภาวะการส่งออกของกลุ่ม Mercosur ซึ่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 23.4%
กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 16-30 พ.ย. 53
1. รายงานข้อมูลกฎระเบียบการนำเข้ากระทิของประเทศโคลัมเบีย
2. รายงานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในประเทศชิลี
3. ส่งแบบสรุปการประเมินผลการปฏิบัติราชการรอบที่ 2
4. รายงานการตรวจสอบพัสดุประจำปี 2553
5. ให้บริการผู้นำเข้าชิลี 12 ราย สินค้าที่สนใจนำเข้าได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง เครื่องประดับเงินและเครื่องประดับทองคำ ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ปลาแมคเคอเรลกระป๋อง เครื่องเซรามิค ชุดถ้ายชามกระเบื้องเคลือบ ผ้าเดนิม เครื่องประดับสเตนเลส (รวมทั้งเดือน)
6. ให้บริการนักธุรกิจไทย 8 ราย สินค้าเครื่องใช้ในบ้านและเครื่องใช้ในครัว อาหารกระป๋อง ขิง เฟอร์นิเจอร์ ผลไม้กระป่อง ผักกระป๋อง เสื้อผ้า อาหารทะเลแช่แข็ง (รวมทั้งเดือน)
ที่มา: http://www.depthai.go.th