“มองฮ่องกง ในการรักษาตลาดการค้าของเด็กเล่น”

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 24, 2011 15:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ฮ่องกงได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกของเด็กเล่นยักษ์ใหญ่อันดับสองของโลก ในแต่ละปีจะส่งออกเป็นมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาท สินค้าที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ผู้ผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้าต่างประเทศ หรือลูกค้าที่มีลิขสิทธิ์ โรงงานผลิตของฮ่องกงส่วนใหญ่จะอยู่ในจีน เพื่อลดต้นทุนค่าดำเนินการและรักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยจะใช้สำนักงานในฮ่องกงสำหรับการควบคุมคุณภาพ การบริหารจัดการ การตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ และการวางแผนการผลิต

แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยค่าแรงงานในจีนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการแข่งขันในอุตสาหกรรมของเด็กเล่นที่ทวีความรุนแรง ทั้งจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ ประกอบกับ เด็กยุคปัจจุบัน โตเร็วกว่าเด็กยุคก่อน เด็กอายุ 12 ปี ก็เริ่มเลิกสนใจของเด็กเล่นเดิมๆ หันไปสนใจวีดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ ดนตรี หรือเครื่องสำอางค์แทน ซึ่งพฤติกรรมนี้ ท้าทายให้โรงงาน/ผู้ผลิต ต้องประดิษฐ์คิดค้นหาสิ่งที่จะดึงดูดความสนใจเด็กๆรุ่นนี้ต่อไป ทำให้หน่วยงานที่ดูแลด้านการค้าของฮ่องกง Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) ได้ออกมาให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการฮ่องกงถึงแนวทางรักษาความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมของเด็กเล่น ซึ่งอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการไทย ดังนี้

1. ควรขยายเครือข่ายทางธุรกิจ แสวงหาโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าและแบรนด์ของตนเองในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่สำคัญเช่น

Country/Region Events

          Hong Kong           - Hong Kong Toys and Game Fair in January

Chinese Mainland - China Toy Expo held in Shanghai in October

          US                  - American International Toy Fair held in New York City in February
          Europe              - Nuremberg International Toy Fair held in Germany in February
          Middle East         - The Middle East Toy Fair held in Dubai in March

2. ตลาดค้าปลีกจะอยู่ในมือของห้างขนาดใหญ่ ส่วนร้านค้าเฉพาะอย่าง หรือร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมจะเริ่มหมดไป เนื่องจากร้านขนาดใหญ่มีอำนาจในการต่อรองเรื่องราคามากกว่า ดังนั้นการโฆษณา หรือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย (Promotional tie-in) เป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนั้น การจับมือเป็นพันธมิตรระหว่างธุรกิจของเด็กเล่นกับธุรกิจไลน์อื่น จะมีให้เห็นมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ Fast Food Chain ซึ่งหากผู้ผลิตของเด็กเล่นมีลิขสิทธิ์ในตัวละครในภาพยนต์ต่างๆ ก็จะทำให้เป็นที่น่าสนใจขึ้น

3. ต้องให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า กฏระเบียบและแนวทางปฏิบัติของประเทศคู่ค้า รวมทั้งมาตรการในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในการผลิต อาทิ Consumer Product Safety Improvement Act(CPSIA), Toy Safety Certificate Program(TSCP) ในอเมริกา Toy Safety Directive(EU 27) ในสหภาพยุโรป St Mark, ISO 8124 ในญี่ปุ่น China Compulsory Certificate(CCC) Scheme on Toy ในจีน เป็นต้น

4. วงจรชีวิตของสินค้าจะสั้นลงและจะมีสินค้าหลากหลายรูปแบบให้เลือกมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบที่เตะตาและมีลูกเล่นจะเป็นสิ่งดึงดูดความสนใจผู้ซื้อ

5. Smart Toy จะเป็นที่นิยมต่อไป เช่น การผสมผสานวงจรอิเลคทรอนิกส์และเทคโนโลยี่ใหม่ๆ เข้าไป เพื่อเกิดของเล่นใหม่ๆ เช่น เกมส์ Wii รถไฟทำด้วยไม้ ผลิตโดย BRIO ที่ใช้ระบบควบคุมอินฟาเรดและมีเสียง หรือตุ๊กตา/หุ่นยนต์ ที่มีความสามารถสื่อสารและมีปฏิกริยาตอบโต้ได้

6. สินค้าลิขสิทธ์ตัวละครยังไปได้ แต่จะไม่ขยายตัวมากเนื่องจากมีการแข่งขันสูง และวงจรชีวิตสั้น ผู้ผลิตของเด็กเล่น เช่น วิดีโอเกมส์บางรายได้มีการคิดค้นตัวละครใหม่ๆ ขึ้นเอง

7. ของเด็กเล่นเพื่อการศึกษา การสร้างสรรค์และการพัฒนาจะยังเป็นที่นิยมต่อเนื่อง เช่น ตุ๊กตาหมี T.J. Bearytales ของบริษัท Hasbro ที่สามารถอ่านหนังสือได้ หรือ Video Book ที่ส่งเสริมให้ครอบครัวอ่าน เล่านิทานด้วยกัน เป็นต้น

8. ของเล่นที่สามารถเล่นผ่านWeb หรือ Multi Media อื่นๆ จะเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

9. ของเล่นอิเลคทรอนิกส์เลียนแบบของใช้ของผู้ใหญ่เช่น เครื่องเล่น MP3 กล้องดิจิตอล จะเป็นสินค้าที่ผู้ใหญ่นิยมซื้อให้เด็ก(Youth electronic) เพื่อฝึกเด็กให้เรียนรู้ก่อนที่จะซื้อของจริงที่มีราคาแพงต่อไป

10 ของเด็กเล่นเพื่อกีฬา ช่วยให้เด็กมีการออกกำลังกายมากขึ้น แทนที่จะเน้นเฉพาะการพัฒนาภายในอย่างเดียว

11 ของเล่นที่เป็นของสะสม จะมีความต้องการมากขึ้นในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงวัย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เยอรมนี และญี่ปุ่น ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ผลิตสินค้าเดียวกันใน 2 ไลน์ การผลิต คือ ผลิตสินค้าสำหรับเด็กเล่น และผู้ใหญ่สำหรับเก็บสะสม ตัวอย่างเช่น บริษัท Mattel ผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ บริษัท Matchbok ผลิตรถยนต์ และรถแข่งจำลอง

ข้อมูลอ้างอิง: HKTDC : Toy profile

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ฮ่องกง  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ