ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ประเทศโปแลนด์

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 25, 2011 11:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ข้อมูลทั่วไป

          พื้นที่                     :          312 700 sq km — 6th in European Union
          ประชากร                 :          38.5 million — 6th in European Union
          อัตราเงินแลกเปลี่ยน         :          Polish Zloty (1 EUR ~ 3.9 PLN)
          GDP รวม                 :          EUR 479 billion (2010)
          GDP growth              :          2.74
          สมาชิก                   :          EU, NATO, OECD, WTO, Schengen Zone

2.  ภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน

โปแลนด์เป็นประเทศที่เศรษฐกิจดีและมีเสถียรภาพมาก เนื่องจากปัจจัยสำคัญดังนี้

การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป

  • ได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพยุโรป 67 พันล้านยูโร ระหว่างปี 2007-2013 เพื่อพัฒนาประเทศในทุกด้านตามหลักเกณฑ์ของสหภายุโรป อาทิ สาธารณูปโปค ระบบการคลัง การพัฒนาบุคคลากร
  • เป็นจุดดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก ใช้โปแลนด์เป็นฐานการผลิตและกระจายไปทั่วสหภาพยุโรป เนื่องจากค่าแรงต่ำกว่ายุโรป และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรปจึงไม่มีภาษีนำเข้า/ส่งออก

นโยบายภาครัฐและลักษณะนิสัยประชาชน

  • รัฐบาลโปแลนด์มีโนยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด อาทิ การปล่อยสินเชื่อ การใช้จ่ายภาครัฐ การดำเนินการของสถาบันการเงิน การต้องผ่านการพิจารณาตรวจสอบอย่างเข้มงวด
  • ธุรกิจในโปแลนด์ดำเนินกิจการแบบอนุรักษ์นิยม ระมัดระวังการลงทุนและการใช้จ่ายของบริษัท
  • บริษัท SME ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว ครอบคลุม ร้อยละ 80 ของภาคธุรกิจ
  • ชาวโปแลนด์มีพื้นฐานของความมัถยัธส์สูง ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ ประชากรส่วนใหญ่ที่อยู่นอกเมืองหลักยังไม่นิยมการกู้เงิน ประชาชนเคร่งครัดกฎหมาย/กฎระเบียบ

สภาพภูมิศาสตร์

  • โปแลนด์ตั้งอยู่ระหว่างยุโรปตะวันออกและตะวันตก มีท่าเรือตอนบน เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าไปยุโรปตะวันออกและตะวันตก

3. การค้ากับไทย

  • ไทยส่งออกไปยังโปแลนด์

เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.95 ในปี 2010 มีมูลค่าประมาณ 534.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกของไทย ได้แก่ เครื่องจักร ยางพารา เครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะ อาหาร เครื่องประดับ โลหะ พลาสติก ของเล่น

  • ไทยนำเข้าจากโปแลนด์

เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.97 ในปี 2010 มีมูลค่า 157.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าจากโปแลนด์ ได้แก่ เครื่องไฟฟ้า เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์จากนม เคมีภัณฑ์ แป้งในโรงงานอุตสาหกรรม ยานยนต์ เหล็ก

4. โอกาสทางการค้าของไทย : สินค้าและบริการของไทยที่มีลู่ทางดีในโปแลนด์

กลุ่มที่ทำรายได้หลัก : สินค้าอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้า —คอมพิวเตอร์-อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ สินค้ากลุ่มนี้โปแลนด์นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป จึงขึ้นอยู่กับความต้องการและสภาพเศรษฐกิจของประเทศยุโรปเป็นหลัก

กลุ่มที่มีโอกาสขยายตลาดสูง : สินค้าที่ใช้ทรัพยากรจากไทยเป็นส่วนใหญ่

  • กลุ่มอาหาร : ผักผลไม้กระป๋อง รวมทั้งน้ำผลไม้ อาหารทะเลแช่แข็งและเยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องปรุงรส
  • กลุ่มสปา สุขภาพและความงาม : สินค้าสมุนไพร สินค้าเพื่อสุขภาพ
  • กลุ่มแฟชั่น : อัญมณีและเครื่องประดับ ชุดชั้นใน และเสื้อผ้ามีดีไซน์
  • กลุ่มของใช้ในบ้าน เครื่องประดับตกแต่งบ้าน : ของแต่งบ้านและของใช้แนวดีไซน์

ธุรกิจบริการ : ร้านอาหารไทย สปา ธุรกิจก่อสร้าง

5. การลงทุนของไทยในโปแลนด์

กลุ่มสินค้าอาหาร :

  • Lucky Union Foods-Euro ผลิตสินค้าปูเทียมอัดแท่ง และสินค้าอื่นๆที่ผลิตจากซูริมิ ณ เมืองเชชชิน ประเทศโปแลนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อจัดส่งสินค้าเข้าไปขายให้แก่ลูกค้าเก่าในภูมิภาคยุโรปตะวันตก บริษัทได้รับการสนับสนุนจาก E.U. Fund กว่าร้อยละ 40 ของค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งโรงงาน
  • ส ขอนแก่น — ดำเนินกิจการมาประมาณ 2 ปี ณ เมืองคาโตวิเซ่
  • SCT — ดำเนินธุรกิจ outsourcing จากโปแลนด์ไปจำหน่ายทั่วโลก รวมทั้งไทย และส่งสินค้าไทยมาขายในโปแลนด์
  • เจริญโภคภัณฑ์ - เคยมาสำรวจลู่ทาง

กลุ่มอุตสาหกรรม :

  • สินค้าทุนและสินค้าอุตสาหกรรม เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ นำเข้ามาผลิตเพื่อการส่งออก
กลุ่มสปา สุขภาพและความงาม
  • Hahn &Than ผลิตภัณฑ์สปา มีตัวแทนจำหน่ายชาวโปลิช เปิดร้านในห้างสรรพสินค้าชั้นนำของวอร์ซอ
  • Sukhita ผลิตภัณฑ์สปา เปิดตัวแทนจำหน่ายในโปแลนด์ เดือนตค 2552

ธุรกิจบริการ

  • ร้านอาหารไทย สปา/นวดแผนไทย

6. ปัญหาและอุปสรรคการค้าไทย — โปแลนด์

  • ความไม่รู้จักประเทศไทยและสินค้าไทยจึงทำให้ชาวโปแลนด์ยังไม่กล้าทดลองสินค้าไทย และนักธุรกิจโปแลนด์ก็ยังเดินทางมาประเทศไทยไม่มาก เมื่อเทียบกับจำนวนนักธุรกิจโปแลนด์ที่เดินทางไปจีน และเวียดนาม
  • นักธุรกิจโปแลนด์ไม่ติดต่อกับคนที่ไม่รู้จัก นักธุรกิจไทยที่ส่งอีเมล์แนะนำสินค้า/บริษัท จะไม่ได้รับคำตอบ จะต้องรู้จักพบตัวกันก่อน จึงจะเริ่มการติดต่อค้าขายกัน
  • ความไม่สะดวกในการการเดินทางระหว่างไทย-โปแลนด์ เนื่องจากไม่มี direct flight ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจึงสูงและไม่สะดวกเท่าที่ควร นักธุรกิจขนาดกลางและเล็กไม่อยากลงทุนเดินทางโดยไม่มั่นใจความคุ้มค่า ทั้งนี้ การไม่มี direct flight เป็นปัญหาในการส่งสินค้าผักผลไม้สดด้วย
  • ราคาสินค้าของคู่แข่งจากจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม
  • โปแลนด์เป็นฐานการผลิตของยุโรป โปแลนด์มีทรัพยากรป่าไม้ และเป็นผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ไม้ โปแลนด์มีอุตสาหกรรมพลาสติกที่เข้มแข็ง กระจายสินค้าทั่วยุโรป ในราคาที่ไม่สูง

7. แนวทางขยายโอกาสทางการค้า/การลงทุน

แนวทางของภาครัฐ

  • การเผยแพร่ข้อมูลให้นักธุรกิจและประชาชนของทั้งสองประเทศ รู้จักกันมากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมานักธุรกิจไทยยังไม่รู้จักโปแลนด์ ลังเลที่จะค้าขายกับชาวโปแลนด์ เช่นเดียวกับนักธุรกิจโปแลนด์จำนวนไม่มากที่รู้จักประเทศไทย จากจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาด เช่น จัดงานส่งเสริมอาหารไทย ปีละ 3 ครั้ง Thailand Exhibition ปี 2551 และ 2552 และนำคณะสื่อมวลชนโปแลนด์ไปประเทศไทย รวมถึงการเผยแพร่ประเทศไทยผ่านรายการโทรทัศน์ในโปแลนด์ ส่งผลให้ ชาวโปแลนด์เริ่มรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และการสัมมนา /export clinic ในประเทศไทย กระตุ้นให้นักธุรกิจไทยเข้าใจและสนใจตลาดโปแลนด์มากขึ้นด้วย
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้า เช่น Thailand Exhibition เปิดเวทีให้นักธุรกิจไทยเข้าถึงนักธุรกิจโปแลนด์
  • ผู้บริหาระดับสูงทั้งสองประเทศเดินทางเยือนเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ ฝ่ายโปแลนด์เดินทางเยือนประเทศจีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม และรัฐบาลเวียดนาม อินโดนีเซียและจีนเดินทางเยือนโปแลนด์ อย่างต่อเนื่อง เป็นการผนึกความสัมพันธ์ทางการค้า

แนวทางของภาคเอกชน

สำหรับนักธุรกิจไทยที่ต้องการจะขยายตลาด เนื่องจากชาวโปแลนด์ไม่ติดต่อกับบุคคลที่ไม่รู้จักมากก่อน ดังนั้น การพบปะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ มีแนวทางหลายประการดังนี้

  • พบนักธุรกิจโปแลนด์ที่เดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศไทย
  • พบนักธุรกิจโปแลนด์ในงานแสดงสินค้านานาชาติทั่วโลก เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส จีน
  • เดินทางมาพบนักธุรกิจโปแลนด์ในประเทศโปแลนด์ สคต. ช่วยนัดหมายเจรจาการค้า
  • ร่วมงานแสดงสินค้าในโปแลนด์ แต่ระยะหลักผลตอบรับไม่ดี
  • ร่วมงาน Made in Thailand Exhibition ที่กรมฯ จัด ในโปแลนด์

8. การดำเนินงานของ สคต วอร์ซอ ในการขยายตลาดปี 2011

  • Thailand Trade Exhibition ณ Palace of Culture & Science, Warsaw
  • Instore Promotion ร่วมกับผู้นำเข้าสินค้าอาหาร
  • สร้างเครือข่ายกับผู้นำเข้า นำคณะผู้แทนการค้าเยือนประเทศไทย นอกเหนือจากช่วงงานแสดงสินค้า
  • จัดทำเจรจาการค้าให้กับนักธุรกิจไทยที่เดินทางมาขยายตลาด
  • ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทยและสินค้า/บริการของไทย

9. จุดเด่นของตลาดโปแลนด์

  • โปแลนด์เป็นประเทศที่กำลังเติบโต เศรษฐกิจมั่นคง จำนวนผู้นำเข้าที่ครองตลาดยังมีไม่มาก และส่วนใหญ่เป็นธุรกิจครอบครัว
  • จากการที่เศรษฐกิจดี ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อสูง และต้องเลือกหาสินค้าคุณภาพดี มีรูปแบบที่หลากหลาย แตกต่างไปจากเดิมที่มีอยู่
  • เป็นตลาดใหญ่ ประชากรในโปแลนด์มี 38.5 ล้านคน และยังเป็นแหล่งกระจายสินค้าสู่ยุโรปตะวันออกและตะวันตกด้วย
  • โปแลนด์กำลังเปิดประเทศรับสินค้าและอารยธรรมต่างชาติ อาหารไทยและสปาไทยจึงได้รับความนิยมมาก
  • ชาวโปแลนด์ชอบคนไทยมาก ชาวโปแลนด์ที่เคยรู้จักประเทศไทยและคนไทย โดยเฉพาะที่เคยเดินทางมาประเทศไทย ชอบที่จะติดต่อกับนักธุรกิจไทย เพราะชอบนิสัยความอ่อนน้อมและบริการของคนไทย
  • ชาวโปแลนด์ยังมีนิสัยคล้ายชาวตะวันออก ค้าขายด้วยความไว้วางใจ คบหาคู่ค้าอย่างมิตร และต้องการจะค้าขายระยะยาว
  • ความเสี่ยงน้อย เนื่องจากโปแลนด์มีกฎระเบียบและกฎหมายที่เข้มแข็ง และชาวโปแลนด์มีนิสัยอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ มีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย การค้าจึงเป็นไปบนพื้นฐานกฎหมาย
  • ขณะนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยควรจะเข้ามายึดส่วนแบ่งตลาดให้ได้มากที่สุด แย่งตลาดจากจีน เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งกำลังพยายามยึดตลาดโปแลนด์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ