สรุปภาวะเศรษฐกิจประเทศสาธารณรัฐโปแลนด์ ปี 2010 และคาดการณ์ปี 2011
2010 2011 การเติบโตทางเศรษฐกิจ 3.36% 3.70% อัตราเงินเฟ้อ 2.43% 2.68% อัตราว่างงาน 9.84% 9.17% ประชากร 38.092 ล้านคน 38.073 ล้านคน
- เศรษฐกิจของโปแลนด์มีความเข้มแข็ง โปแลนด์เป็นประเทศเดียวในสหภาพยุโรปที่ไม่ประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงวิกฤติเศษฐกิจที่ผ่านมาในปี 2008 จนถึงปัจจุบัน
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ ในปี 2010 มีอัตราร้อยละ 3.361 และในปี 2011 คาดว่า จะมีอัตรา 3.697
- ในด้านการคลัง โปแลนด์ยังมีปัญหาด้านการขาดดุล ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนอัตราค่าเงินมาใช้เงินยูโร แต่เดิมโปแลนด์คาดว่าจะเริ่มใช้เงินยูโรในปี 2012 แต่ขณะนี้คาดว่า จะสามารถลดการขาดดุล ให้อยู่ในอัตรา ร้อยละ 3 ตามที่สหภาพยุโรปกำหนดได้ในปี 2015
- รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและการลงทุนในประเทศ ซึ่งจะต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้ออำนวยต่อการค้าการลงทุนมากยิ่งขึ้น
- ในปี 2011 ความต้องการของตลาดในประเทศคาดว่าจะขยายตัวมาก ภาคธุรกิจขนาดกลางจะมีการขยายตัว แต่การจับจ่ายของครัวเรือนคงที่ เนื่องจากอัตราการว่างงานยังคงสูงอยู่ ซึ่งเป็นผลมาจากชาวโปแลนด์ที่เคยไปทำงานในต่างประเทศ ต้องกลับมาอยู่ในประเทศเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่จ้างงาน
- อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.6 เนื่องจากค่าเงินสว๊อตตี้สูงขึ้น และตลาดแรงงานอ่อนแออลง อีกทั้ง ธนาคารชาติไม่มีนโยบายเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในปี 2011
- ภาคการลงทุนจะเติบโตขึ้น เนื่องจากตลาดการเงินมีแนวโน้มดีขึ้น
ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของโปแลนด์ สาเหตุหลัก ได้แก่
- เศรษฐกิจโปแลนด์พึ่งพาการส่งออกน้อยกว่าประเทศอื่น
- การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ เป็นไปอย่างช้าๆ แต่มั่นคง
- นโยบายการเงินการคลังที่เข้มงวด
- โปแลนด์ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนสหภาพยุโรป 67 พันล้านยูโร เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ ระหว่างปี 2007 — 2013
- โปแลนด์เป็นฐานการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ที่ต้องการส่งสินค้าไปขายในสหภาพยุโรปและยุโรปตะวันออก
- ประชาชนส่วนใหญ่นิยมการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ปี 2010
ในปี 2010 ได้เกิดโศกนาฎกรรมของประเทศ ประธานาธิบดี President Lech Kaczynski นักการเมืองสำคัญ ข้าราชการ และบุคคลสำคัญของประเทศ จำนวน 89 ราย เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในประเทศรัสเซีย
ในเดือนมิถุนายน นาย Bronislaw Komorowski ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธบดีคนใหม่
ในปี 2011 จะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะมีผลต่อการเสนอแผนปฎิรูปประเทศของนายกรัฐมนตรี
ในด้านการต่างประเทศ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน มีนโยบายกระชับความสัมพันธ์กับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป
ในด้านคลัง รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีได้
ในด้านการค้า ช่วงหลังของปี 2010 มีความฟื้นตัวขึ้น
คาดการณ์ปี 2011
- ความต้องการของตลาดในประเทศจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการลงทุนของภาครัฐ เนื่องจากจากรัฐบาลจะต้องพัฒนาสาธารณูปโภคทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลยูโร ในปี 2012 รัฐบาลจะต้องพยายามนำเงินกองทุนสหภาพยุโรปมาใช้ให้ได้ตามเป้าหมาย
- ภาคอุตสาหกรรมส่งออกมีแนวโน้มจะดีขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของสหภาพยุโรปฟื้นตัว การสั่งซื้อสินค้าจากโปแลนด์น่าจะเพิ่มขึ้นด้วย
- ภาคการเงิน อัตราเงินเฟ้อไม่เปลี่ยนแปลงมาก การเติบโตทางเศรษฐกิจยังต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 4 ที่ตั้งไว้ แต่ก็ยังมีพัฒนาการที่ดี ดอกเบี้ยคงที่ และเงินท้องถิ่นแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินยูโร หากเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปไม่ประสบปัญหาอีกครั้ง
- ภาคค้าปลีกในประเทศน่าจะไม่เปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากตลาดแรงงานยังไม่เข้มแข็งขึ้น
- ภาคการลงทุน มีแนวโน้มขยายตัว โดยเฉพาะการลงทุนของภาครัฐในด้านสาธารณูปโภค ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรวงเงินไว้ 20 พันล้านยูโร และการลงทุนของภาคเอกชนในด้านอสังหาริมทรัพย์
- ภาคการคลัง รัฐบาลประสบปัญหาการจัดการด้านการขาดดุลบัญชี และหนี้สาธารณะ ในปี 2011 รัฐบาลจะต้องมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหานี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลโปแลนด์ได้มีมาตรการขายกิจการของภาครัฐให้กับเอกชน เพื่อนำเงินเข้าคลัง อาทิ กิจการท่าเรือ กิจการคมนาคม กิจการอุตสาหกรรม แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ตั้งเป้าหมายไว้
- รัฐบาลจะต้องใช้ความพยายามในการลดการขาดุลบัญชี ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า ร้อยละ 3 เป็นไปตามที่สหภาพยุโรปกำหนด (Maastricht Treaty’s criterion of 3%) เพื่อจะได้รับการพิจารณาให้เปลี่ยนค่าเงินมาใช้เงินยูโร รัฐบาลโปแลนด์ไม่ได้เร่งรีบที่จะใช้เงินสกุลยูโร เนื่องจากเล็งเห็นผลดีและผลเสียจากประเทศอื่น และเห็นว่าควรปรับสภาพการเงินในประเทศให้มั่นคงก่อน ซึ่งคาดว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมน่าจะเป็นปี 2015 แต่ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้อีก
- ในด้านธุรกิจ นักธุรกิจต้องการเห็นรัฐบาลแก้ไขปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ กฎระเบียบการดำเนินธุรกิจและการค้า ระบบภาษี และปัญหาด้านแรงงาน รวมทั้งปัญหาด้านการคมนาคมและสาธารณูปโภค หวังว่าภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาในกลางปีหน้า จะมีการนำปัญหาเหล่านี้เข้ามาพิจารณาแก้ไข
จุดเด่นของโปแลนด์ คือ
1. เป็นประเทศที่เศรษฐกิจเข้มแข็ง พัฒนาประเทศอย่างช้าๆ แต่มั่นคงและยั่งยืน
2. ชาวโปแลนด์เคร่งครัดกฎระเบียบ และไม่คดโกง
3. ชาวโปแลนด์ที่รู้จักประเทศไทย มีทัศนคติที่ดีกับไทยอย่างมาก ชอบติดต่อค้าขายและท่องเที่ยวประเทศไทย ชอบคบหาคนไทยและค้าขายกับคนไทยมากกว่าชนชาติอื่นในเอเชีย นักธุรกิจโปแลนด์หลายราย เริ่มถอนตัวจากประเทศจีน หันมาหาไทย โดยสาเหตุหลักคือ การชอบอัธยาสัยกับคนไทยมากกว่า
ด้านการส่งออกและการลงทุนของไทย
- คาดว่าปี 2011 น่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น การส่งออกของไทยมายังโปแลนด์น่าจะเพิ่มขึ้นอีก ร้อยละ 10 เป็น 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากประมาณปี 2010 ที่คาดว่าจะส่งออกได้ประมาณ 520 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- สินค้าที่ส่งออกที่ทำรายได้สูงสุด ก็จะยังคงเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่โปแลนด์นำเข้ามาเพื่อผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก เช่น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนที่นำมาประกอบวิทยุโทรศัพท์ และชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ส่วนสินค้าที่ใช้วัตถุดิบในประเทศได้แก่ ยางพารา สินค้าอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเลและผักผลไม้กระป๋อง สินค้าเครื่องประดับตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ และสินค้าสุขภาพและความงาม เป็นกลุ่มที่น่าจะเห็นการเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจของโปแลนด์
- อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการลงทุน ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจใหม่ เนื่องจากจะต้องมีการขยายตัวรองรับนโยบายสหภาพยุโรป 2020 โปแลนด์ต้องการให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนทั้งด้านการผลิตและบริหารกิจการเหล่านี้ อาทิ ฟาร์มกังหันลม รีไซเคิลขยะ นาโนเทคโนโลยี เป็นต้น นักลงทุนมีสิทธิได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนสหภาพยุโรป
European funds in Poland in the years 2007 — 2013
Programme Billion EUR Infrastructure and Environment OP 27.9 16 Regional OP 16.6 Human Capital OP 9.7 Innovative Economy OP 8.3 Development of Eastern Poland OP 2.3 Technical Assistance OP 0.5 European Territorial Co-operation OP 0.7 National Reserve 1.3 Total amount 67.3
- นอกจากนี้ นักลงทุนที่ต้องการกระจายสินค้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปสามารถใช้โปแลนด์เป็นฐานการผลิต จะสามารถลดปัญหาด้านกฎระเบียบการนำเข้าในสหภาพยุโรป รวมทั้งภาษีนำเข้า และประหยัดค่าขนส่งด้วย อุตสาหกรรมของไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่ไทยมีความถนัด และการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ขณะนี้ บริษัท ส ขอนแก่น และลักกี้ฟู้ด ได้ตั้งโรงงานผลิตในโปแลนด์ เพื่อรองรับการค้าขายในตลาดยุโรป
กิจกรรมส่งเสริมการตลาดในโปแลนด์
กรมฯ กำหนดจัดงาน Thailand Trade Exhibition ระหว่างวันที่ 26 — 28 พฤษภาคม 2554 ณ กรุงวอร์ซอ โดยเป็นการเจรจาการค้าในวันที่ 26 — 27 และขายปลีก วันที่ 28 พฤษภาคม 2554 กลุ่มสินค้าที่จัดแสดง ประกอบด้วย สินค้าอาหาร ไลฟ์ไสตล์ สินค้าแฟชั่นและสุขภาพและความงาม
กรมฯ จัดงานดังกล่าวเป็นครั้งที่ 3 เพื่อนำคณะผู้ส่งออกไทยมาพบกับผู้นำเข้าในโปแลนด์ และนำเสนอสินค้าไทยให้ประชาชนทั่วไปในโปแลนด์ได้รู้จัก
ที่มา: http://www.depthai.go.th