ธุรกิจสปาในเมืองกวางโจว

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 25, 2011 14:46 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวม

ธุรกิจสปาในประเทศจีนได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและมีนักลงทุนชาวต่างชาติมาลงทุน เช่น ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้นและตงก่วน เป็นต้น เนื่องจาก ปัจจุบันความเป็นอยู่ของประชาชนชาวจีนดีขึ้น รายรับสูงขึ้นทำให้ประชาชนจีนหันมาแสวงหาความสุขเพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงานโดยการทำสปาและนวด ซึ่งถ้าจะกล่าวไปแล้วธุรกิจสปาและการนวดแผนไทยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ด้อยกว่าของประเทศอินโดนีเซีย ฝรั่งเศส ฮ่องกง เป็นต้น สำหรับเมืองกวางโจว ถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีธุรกิจสปาเป็นจำนวนมากเมืองหนึ่ง ผู้ที่ใช้บริการจะอยู่ช่วงวัยทำงาน นักธุรกิจ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงอายุเฉลี่ย 30-50 ปี

ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของจีน (China Foreign Investment Law) ได้แบ่งกฎหมายการลงทุนออกเป็น 4 ประเภท คือ

  • กฎหมายว่าด้วยการร่วมทุนระหว่างจีนกับชาวต่างชาติ (Joint Venture)
  • กฎหมายว่าด้วยการร่วมมือระหว่างจีนกับชาวต่างชาติ (Contractual Joint Venture)
  • กฎหมายว่าด้วยทุนต่างชาติทั้งหมด (Foreign Capital Enterprises)
  • กฎหมายว่าด้วยบริษัทจำกัด (Company)

การดำเนินธุรกิจสปาในเมืองกวางโจว

ลักษณะร้านสปา ในเมืองกวางโจวมีหลายลักษณะ เช่น Day Spa , Resort Spa , Club Spa , Hotel Spa โดยทั่วไปจะมีขนาดพื้นที่ประมาณ 022 — 6, 000 ตารางเมตร ราคาค่าบริการประมาณ 022 หยวน —1 , 222 หยวน ร้านระดับสูงบางแห่งมีราคาถึง 3, 222 - 4, 222 หยวน ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ปัจจุบันเริ่มมีร้าน Spa สำหรับผู้ชายแต่จำนวนไม่มาก

เทคนิควิธีการที่ใช้ในร้านสปา นอกจากจะใช้เทคนิควิธีการของประเทศจีน เช่น นวดแผนโบราณจีน ยาสมุนไพรจีน ผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศจีนแล้ว ยังมีการใช้เทคนิคและวิธีการนวดผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ เช่น ไทย อินโดนีเซีย ฝรั่งเศส เป็นต้น

ปัจจุบัน ร้านสปาในเมืองกวางโจว ที่มีร้านที่ทำธุรกิจการนวดและทำสปาไทยมีจำนวนไม่มาก คือ Angsana Spa , Spelland , Yu Shui Quan, Gu Chun และShui Li fang โดยวิธีดำเนินการเป็นลักษณะความร่วมมือจัดตั้งเขตสปาไทยเพื่อให้บริการลูกค้า

สำหรับสินค้าผลิตภัณฑ์สปาจัดอยู่ในสินค้า Cosmetic โดยในปี 2010 (มกราคม-พฤศจิกายน) ประเทศจีนมีการนำเข้าคิดเป็นมูลค่าการค้ารวมเพียง 42.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งยังมีปริมาณที่น้อย เนื่องจากปัญหาความยุ่งยากในการนำเข้า กฎระเบียบที่เข้มงวดและอัตราภาษีที่สูงรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่ม 11 % ทั้งนี้ การนำเข้าผลิตภัณฑ์สปาจะต้องขอใบอนุญาตด้านสุขอนามัย การตรวจสอบฉลากโดยเตรียมข้อมูลฉลากสินค้าที่เป็นภาษาจีนที่ติดบนสินค้าและส่งให้หน่วยงาน

AQSIQ ( General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China ) ตรวจสอบก่อน เมื่อได้รับการพิจารณาอนุญาตแล้วจึงจะนำเข้าได้

กฎระเบียบ/ข้อกำหนดและขั้นตอนในการจัดตั้งธุรกิจ

ขั้นตอนการขออนุญาตจัดตั้ง มีดังนี้

  • ผู้ลงทุนต้องติดต่อขอหนังสือแจ้งชื่อเพื่อการตรวจสอบและอนุมัติจากหน่วยงานบริหารอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ State Administration for Industry and Commerce (SAIC) ระดับอำเภอขึ้นไปของเมืองกวางโจว
  • ผู้ลงทุนต้องยื่นหนังสือขออนุญาตต่อองค์กรที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจการค้า 3 หน่วยงานคือ Foreign Investment Examine and Approve Department, The Planning Commission และ Guangdong Tourism Bureau หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ผู้ลงทุนยื่นหนังสือขออนุญาตจะพิจารณากลั่นกรองเบื้องต้นภายใน 15 วันแล้วส่งต่อหน่วยงานรับผิดชอบระดับที่สูงกว่า เพื่อขออนุมัติซึ่งอยู่ในขอบเขตที่กระทรวงพาณิชย์มอบหมายภายใน 90 วัน
  • ผู้ลงทุนด้านธุรกิจสปาต้องได้ยื่นขอใบอนุญาตด้านสุขอนามัย จากหน่วยงานสาธารณสุข ขอใบอนุญาตความปลอดภัย จาก หน่วยงานความมั่นคงสาธารณะ

(กรมตำรวจ) หลังจากได้รับแล้วจึงดำเนินธุรกิจได้และสามารถนำใบอนุญาตดังกล่าวไปจดทะเบียนที่หน่วยงานบริหารอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ State Administration for Industry and Commerce (SAIC) ณ สำนักงานที่ยื่น เพื่อทำใบอนุญาตประกอบการค้า

  • ผู้ลงทุนต้องไปจดทะเบียนที่สมาคมเสริมสวย ณ สถานที่ที่ธุรกิจตั้งอยู่ ซึ่งธุรกิจสปาเป็นธุรกิจหนึ่งในสมาคมดังกล่าว

กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

กฎระเบียบด้านการเงิน

ประเทศจีนมีระบบนโยบายควบคุมเงินตราต่างประเทศที่รัดกุม ดังนั้นหลังจากที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการแล้วควรไปจดทะเบียนที่หน่วยงานควบคุมเงินตราต่างประเทศภายใน 30 วัน เพื่อขอจดใบทะเบียนเงินตราต่างประเทศและนำมาเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศที่ธนาคารจึงจะมีสิทธิ์ดำเนินกิจการเงินตราต่างประเทศได้ตามจำนวนที่หน่วยงานควบคุมเงินตราต่างประเทศอนุมัติ รวมทั้งสามารถฝากเงินตราต่างประเทศในบัญชีของธนาคารดังกล่าวตามจำนวนที่กำหนดไว้

กฎระเบียบด้านภาษี

หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบการนิติบุคคลแล้ว ผู้ลงทุนจะต้องดำเนินการด้านจัดเก็บภาษีภายใน 30 วัน ที่กรมภาษีอากร ทั้งนี้การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้เสียภาษีธรรมดา จะเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม 17 % ภาษีประกอบการจะคิดตามยอดจำหน่ายของการประกอบการโดยอัตราภาษีของธุรกิจสปา คือ 5 % ภาษีรายได้นิติบุคคล 30 % และภาษีรายได้ท้องถิ่น 3 %

กฎระเบียบด้านการนำเข้าแรงงาน

การขอใบอนุญาตทำงาน(Work Permit) ผู้ประกอบการต้องยื่นขออนุญาตนาเข้าแรงงานจากกรมแรงงานจีน (Labor Bureau) เพื่อขอใบอนุญาตทำงานซึ่งต้องผ่านการอนุญาตจาก Public Security Bureau ด้วย หลังจากนั้นผู้ประกอบการต้องนำใบอนุญาตทำงานไปยื่นต่อสำนักงานการต่างประเทศ (Guangdong Foreign Affairs Offices ) เพื่อประสานงานกับสถานทูตจีนประจำประเทศไทยออกวีซ่าทำงานให้ และเมื่อแรงงานเดินทางถึงประเทศจีนแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องพาไปตรวจสุขภาพที่ Deprtment of Human Quarantine

โอกาสและช่องทางของธุรกิจสปาและผลิตภัณฑ์สปาของไทย

เมืองกวางโจวเป็นตลาดหนึ่งที่มีโอกาสและช่องทางในการขยายธุรกิจสปา เนื่องจากสปาไทยมีจุดแข็งทั้งในด้านเอกลักษณ์ ผลิตภัณฑ์สปา วิธีการนวดและภูมิปัญญาไทยในการบำบัดรักษาและผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีผลิตภัณฑ์สปา น้ำมันนวดที่ผลิตจากพืชสมุนไพรหลากหลายชนิดและสิ่งสำคัญที่สุดคือ บุคลากร หมอนวดไทยมีทั้งความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการให้บริการแก่ลูกค้า

โอกาส

1. ธุรกิจสปาไทยมีข้อได้เปรียบทางด้านวัตถุดิบที่ใช้ล้วนมาจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้สด เครื่องดื่มสมุนไพรที่พร้อมให้บริการแก่ลูกค้า ความพิถีพิถันปราณีตและบริการที่ครบวงจรแนวโน้มความต้องการในการใช้บริการสปาและนวดแผนไทยของชาวจีนและชาวต่างชาติมีปริมาณมากขึ้น เนื่องจากลูกค้ามีภาพพจน์ที่ดีต่อสปา ผลิตภัณฑ์สปาและสมุนไพรไทย โดยเฉพาะลูกค้าที่เคยไปเที่ยวประเทศไทยและใช้บริการสปาไทยมาก่อน ก็จะกลับมาใช้บริการธุรกิจสปาไทยในประเทศจีน

2. ความต้องการร่วมมือของผู้ประกอบการธุรกิจสปาระดับสูงของจีนกับผู้ประกอบการธุรกิจสปาไทยยังมีสูง เนื่องจากผู้ประกอบการธุรกิจสปาระดับสูงของจีนต้องการยกระดับธุรกิจ สปาที่ตนดำเนินการอยู่ให้มีมาตรฐานสากล มีการนวดและทำสปาหลายรูปแบบรวมทั้งการนวดและทำสปาของไทยด้วย เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกระดับ

3. ลูกค้าสปาไทยมีทัศนคติที่ดีและนิยมการนวดและสปาไทย เนื่องจาก เห็นว่าธุรกิจสปาไทยเป็นการบริการที่ให้ความผ่อนคลาย มีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีบริการหลากหลายที่ลูกค้าหลายระดับสามารถเลือกใช้บริการได้ ประกอบกับลูกค้ามีความตื่นตัวด้านสุขภาพและชอบทดลองสิ่งแปลกใหม่มากขึ้น

4. ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลเมืองกวางโจว รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับด้านวัฒนธรรม การกีฬาและการพักผ่อนจากต่างประเทศ (Culture, Sport and Recreation Services) จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจสปาไทยที่สนใจจะเข้ามาร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจสปาในเมืองกวางโจวในการดาเนินกธุรกิจดังกล่าว

5. ผู้ประกอบธุรกิจสปาสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน- จีน (China —ASEAN Free Trade Area) ในเรื่องของการนำเข้าอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการนวดและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการนวด ผลิตภัณฑ์สปาในหมวดสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ เช่น พืชสมุนไพร เป็นต้น

ปัญหาและอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด

ปัจจุบัน ธุรกิจสปาบางแห่งมีการดำเนินการที่ฝ่าฝืนกฎหมายมีการจ้างบุคคลากรและคุณสมบัติผู้ให้บริการที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีธุรกิจสปาบางแห่งได้ใช้บริการสปาบังหน้าเพื่อแสวงหาประโยชน์จากลูกค้าในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการขายบริการทางเพศ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคมและทำลายวัฒนธรรมอันดีของสังคม ด้วยเหตุนี้ การจัดตั้งธุรกิจสปาจึงมีกฏระเบียบค่อนข้างเข้มงวดอีกทั้งยังมีการตรวจตราสถานที่ประกอบการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจสปาในเมืองกวางโจว มีดังนี้

1. การแข่งขันทางด้านการตลาดและราคากับธุรกิจสปาหรือธุรกิจที่ใกล้เคียงกัน เช่น สถานที่อาบน้ำสาธารณะและบริการห้องเซาว์นาของจีน ปัญหาการลอกเลียนแบบวิธีการนวด การทำสปาผลิตภัณฑ์สปา

2. ปัญหาการจัดตั้ง ได้แก่ กฎหมายและขั้นตอนต่างๆ ในการลงทุนจัดตั้งธุรกิจสปา ได้แก่

2.1 จีนยังไม่ได้มีข้อผูกพันทางการค้าภายใต้กรอบกติกาทางการค้าขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization) ในการเปิดตลาดธุรกิจสปา

2.2 แม้รัฐบาลจีนจะอนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติมาลงทุนได้ทั่วประเทศจีนและในทางปฏิบัติรัฐบาลท้องถิ่นบางแห่งก็ให้การส่งเสริม แต่อย่างไรก็ดี โดยรวมแล้วการดำเนินธุรกิจในจีนยังไม่โปร่งใสเสียทีเดียว เนื่องจากกฎระเบียบการจัดตั้งธุรกิจของแต่ละมณฑลมีความแตกต่างกันและมีกฏระเบียบและขั้นตอนที่เป็นอุปสรรคอยู่มาก เช่น กฏระเบียบด้านการขอจัดตั้ง กฏระเบียบด้านการเงิน กฏระเบียบด้านภาษี เป็นต้น

2.3 การนำบุคลากรของไทยเข้าไปทำงานยังมีความยุ่งยาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานในจีน หมอนวดหรือเทอราปิส (Therapist) คนไทยที่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปทำงานได้นั้น ส่วนมากได้รับอนุญาตให้เป็นได้แค่ครูฝึกสอนการนวดแผนไทยให้แก่หมอนวดจีน เนื่องจากรัฐบาลจีนมุ่งส่งเสริมให้ประชากรในประเทศมีงานทำ อีกทั้งบุคลากรไทยในระดับลูกจ้างยังไม่สามารถสื่อสารด้วยภาษาจีน ทำให้เกิดปัญหาในการให้บริการ

2.4. ต้องมีใบอนุญาตต่างๆ ได้แก่ ใบอนุญาตความปลอดภัยจากหน่วยงานความมั่นคงสาธารณะ ใบอนุญาตประกอบกิจการจากหน่วยงาน SAIC ระดับอำเภอขึ้นไป

2.5 คุณสมบัติผู้ให้บริการ หนังสือผ่านการอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพและสาธารณสุขและหนังสือรับรองคุณสมบัติของการทำงานและใบรับรองระดับชั้นความรู้ในการฝึกอบรมวิชาชีพ นอกจากนี้ การที่จะได้รับใบอนุญาตทำงานไม่ว่าหมอนวดหรือเทอราปิส (Therapist) นั้นจะต้องผ่านการสอบมาตรฐานวิชาอาชีพของจีนซึ่งเป็นภาษาจีน ทำให้การได้รับใบอนุญาตทำงานค่อนข้างลำบาก

2.6 ธุรกิจสปาคล้ายคลึงกับการให้บริการอาบ อบ นวดและบางสถานที่มีการเปิดสปาบังหน้าหรือเปลี่ยนย้ายจากธุรกิจสปาเป็นอาบ อบนวด สร้างความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและสังคม รัฐบาลจีนจึงค่อนข้างเข้มงวดในการอนุญาตให้จัดตั้งธุรกิจประเภทนี้

2.7 เนื่องจากผลิตภัณฑ์สปาไทยอยู่ในหมวดสินค้าเครื่องสำอาง ทำให้ผลิตภัณฑ์สปาที่นำเข้าจากไทยมีขั้นตอนกระบวนการนำเข้าที่ยุ่งยากและต้องได้รับอนุญาตจากหลายหน่วยงานและมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ประกอบกับสินค้าคู่แข่งในตลาดมีมาก ขาดการขยายตลาดการค้าที่เป็นระบบต่อเนื่อง จึงทำให้มีผลิตภัณฑ์สปาของไทยมีจำนวนไม่มาก

2.8 สปาไทยยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ลูกค้ายังไม่เข้าใจรูปแบบสปาไทยที่แท้จริงและราคาค่าบริการค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับสปาจีน เนื่องจากสปาไทยจำเป็นต้องใช้วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของไทย จึงทำให้ต้นทุนการให้บริการสูง

ข้อเสนอแนะ

1. แนวโน้มตลาดสปาไทยของมณฑลกวางตุ้งยังสามารถขยายได้อีกมาก แต่ผู้ประกอบการไทยควรมีรูปแบบที่ชัดเจนว่าจะขายดีไซน์พร้อมผลิตภัณฑ์หรือจะร่วมลงทุนลักษณะใด

2. ควรมีการสร้างเอกลักษณ์ของสปาไทย การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้/ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ลูกค้าชาวจีนเกี่ยวกับสปาไทย ร่วมมือกับผู้ประกอบธุรกิจสปาจีนในการขยายตลาดสปาไทยในด้านการลงทุน เทคนิคการนวด ผลิตภัณฑ์สปาและการบริหารจัดการโดยแบ่งพื้นในส่วนบริการสปาและนวดแผนไทยร่วมกับบริการอื่นๆ ของธุรกิจสปาจีน เพื่อลดการแข่งขันกับธุรกิจสปาของจีนและลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการได้

3. การดำเนินธุรกิจสปาควรมีการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสมและมีศักยภาพ การเลือกผู้ร่วมหุ้นร่วมทุนที่มีเครดิตดี น่าเชื่อถือและมีแผนการดำเนินการขยายตลาดลูกค้าที่ชัดเจน

4. ควรมีการศึกษากฏระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจอย่างถ่องแท้และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ด้านภาษาจีนบ้าง

5. จีนสามารถผลิตสินค้าสปาได้หลายๆชนิด เช่น น้ามันนวดตัว/สบู่/เครื่องหอม ถ้าสินค้าไทยเข้าในตลาดของจีนต้องมีเอกลักษณ์ของตนเองหรือสินค้าที่จีนไม่มี

6. ควรสนับสนุนกิจกรรมในประเทศจีนโดยขยายไปตามมณฑล/เมืองที่มีศักยภาพและโอกาสทางการค้าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะตลาดของจีนจำเป็นต้องใช้ช่องทางการจัดแสดงสาธิตการนวดพร้อมแสดงสินค้าผลิตภัณฑ์สปาในงานแฟร์ต่างๆ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1. หน่วยงานตรวจสอบคุณภาพสินค้า General Administration of Quality Supervision, Inspection and Quarantine of the People’s Republic of China Website: www.aqsiq.gov.cn

2. หน่วยงานบริหารอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ State Administration for Industry and Commerce Website: www.saic.gov.cn

3. หน่วยงานตรวจสอบและอนุมัติการลงทุน Foreign Investment Examine and Approve Department Website: www.mofcom.gov.cn

4. คณะกรรมการแผนงาน The Planning commission Website: www.sdpc.gov.cn

5. สำนักงานการท่องเที่ยว Guangdong Tourism Bureau Website: www.visitgd.com

6. หน่วยงานสาธารณสุข Department of Health of Guangdong Province Website: www.gdwst..gov.cn

7. หน่วยงานความมั่นคงสาธารณะ (กรมตารวจ) Guangdong Provincial Public Security Department Website: www.visitgd.com

8. กรมแรงงาน Labor Bureau Website: www.gzlabour.gov.cn

9. สำนักงานการต่างประเทศ Guangdong Foreign Affairs Offices Website: www.gdfao.gd.gov.cn

10. กรมตรวจสุขภาพ Deprtment of Human Quarantine Website: www.gdcrj.com

11. กรมสรรพกร Guangdong Provincial Local Taxation Bureau Website: www.gdltax.gov.cn

12. สำนักงานควบคุมเงินตราต่างประเทศ State Administration of Foreign Exchange Website: www.safe.gov.cn

13. สมาคมแสริมสวยมณฑลกวางตุ้ง Guangdong Cosmetic Association Website: www.mrmf.cn

สคร. เมืองกวางโจว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ