สรุปภาวะเศรษฐกิจยูเออีปี 2553 และแนวโน้มปี 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 26, 2011 11:08 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศไทย- ยูเออี

                            มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ                       อัตราการขยายตัว %
                        2551          2552         2553           2551      2552     2553
การค้ารวม           13,945.50      9,126.10    11,498.40           54.1     -34.5    25.9
ส่งออก               2,793.70      2,459.50     2,843.50           26.4     -11.9    15.6
นำเข้า              11,151.80      6,666.60     8,654.80           63.1     -40.2    29.8
ดุลการค้า            -8,358.10     -4,207.10    -5,811.30

ในรอบปี 2553 การค้าประเทศไทยกับยูเออีมีมูลค่าการค้ารวม 11,498.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปีก่อนที่มีมูลค่า 9,126.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.9 โดยยูเออีเป็นคู่ค้าอันดับที่ 18 ของไทย ซึ่งสามารถแยกเป็น การส่งออกไทยจากไปยูเออีมูลค่า 562.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับในช่วงเดียวกันของปี กับปี2552 ที่การส่งออกมีมูลค่า 2,843.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นอัตราร้อยละ 15.6 และการนำเข้าสินค้าจากยูเออีมายังไทยมีมูลค่า 8,654.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2552 ที่นำเข้ามูลค่า 6,666.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 29.8 ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารวมมูลค่า 5,811.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับปี 2552 ที่ไทยได้เสียเปรียบดุลการค้า 4,207.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

2. การส่งออกของไทยไปยังยูเออี

ในปี 2553 ยูเออีเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 18 ของไทย มีส่วนแบ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของการส่งออกของไทยทั้งหมด สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังยูเออีที่สำคัญ 10 อันดับแรก เมื่อปี 2553 ดังนี้

1) เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ มูลค่า 369.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 152.0

2) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 333.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9

3) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 222.4ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.2

4) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ208.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8

5) อัญมณีและเครื่องประดับ 184.8ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ -4.1

6) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 165.6ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7

7) เคมีภัณฑ์ 159.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1

8) ผ้าผืน 102.8ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ -0.8

9) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 87.5ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0

10) เม็ดพลาสติก77.2ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ -9.8

3. การนำเข้าจากยูเออีของไทย

ในปี 2553 ยูเออีเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 5 ของไทย คิดเป็นสัดส่วน 4.7 ของการนำเข้าของไทยทั้งหมด สินค้าสำคัญที่นำเข้าจากยูเออี คือน้ำมันดิบหรือมีสัดส่วน 92 ของสินค้าที่นำเข้าทั้งสิ้น นอกจากนั้นได้แก่ สินค้าเศษโลหะ ก๊าสธรรมชาติ และเงินแท่ง มูลค่าเล็กน้อย

4. สรุปและข้อคิดเห็น

4.1 จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก กับการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าและการตลาดของผู้ส่งออกไทย ทำให้การส่งออกของไทยไปยังยูเออีมีเมื่อปี 2010 ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่มูลค่าลดลงเนื่องจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินในปี 2009 การส่งออกปี 2010 มูลค่า 2,843.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน

4.2. ทางการยูเออีได้คาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศในปี 2011 จะขยายตัวที่อัตราร้อยละ 3-3.5 นำโดยรัฐอาบูดาบีที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงินสูง ส่วนใหญ่ได้มาจากการส่งออกน้ำมันที่ประมาณไว้บนฐานของราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบปี 2011 อยู่ที่ราคาบาเรลละ 85 เหรียญสหรัฐฯ รองลงไปคือรัฐดูไบที่ยังคงความเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า นำเข้า/ส่งออกต่อสินค้ากระจายไปทั่วภูมิภาค ส่วนรัฐอื่นๆรายได้มาจากอุตสาหกรรม Logistics และวัตถุดิบอื่นๆ

4.3. GDP ของยูเออีเมื่อปี 2009 ลดลงมากเนื่องจากได้รับผลกระทบจากตลาดการเงิน ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ราคาน้ำมันมีความผันผวน อีกทั้งได้ลดการผลิตน้ำมันเหลือ 200,000 บาเรล/วันตามโควต้าที่ได้รับจาก OPEC คาดว่ายูเออี GDP ปี 2011 อยู่ที่อัตรา 3.1% และปี 2012 อาจจะขยายตัวที่อัตรา 4.0% ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดปี 2011 จะมีค่าเพิ่มขึ้น 13.1% และในปี 2012 ประมาณ 20.3%

4.4 เศรษฐกิจภาคการก่อสร้างจะไม่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และภาคการลงทุนยังคงที่ เพราะนักลงทุนต่างชาติยังมีความกังวลเกี่ยวกับการเลื่อนชำระหนี้ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Dubai World ในขณะที่รัฐบาลของดูไบออกมาให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลกลาง (Federal Government) ยังให้ความสนับสนุนในเรื่องนี้อยู่

4.4 รัฐบาลยูเออีประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมาย 8 ฉบับ อาทิ กฎหมายการลงทุน ที่จะให้การถือหุ้นธุรกิจของชาวต่างชาติถือครองได้มากกว่า 49% เป็นต้น การปรับปรุงกฎหมายใหม่นั้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนต่างชาติ

4.5 ยูเออีถือเป็นศูนย์กลางของตะวันออกลาง ทั้งด้านการค้าและการขนส่ง ในการกระจายสินค้าต่อไปยังประเทศอื่นในภูมิภาคนี้ รัฐบาลจัดสร้างเขตอุตสาหกรรมพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการลงทุนบริษัทต่างชาติ สร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและสนามบินที่ใหญ่และสะดวกสบายที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลาง นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะสร้างรถไฟเชื่อมระหว่างประเทศในภูมิภาค จึงทำให้ยูเออีมีบทบาทในสถานะที่เป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและคมนาคมในภูมิภาคตะวันออกกลาง สามารถเป็นแหล่งช่วยกระจายสินค้าไทยไปยังประเทศข้างเคียง

4.6 สินค้าไทยที่มีศักยภาพในยูเออี ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคส์ ทีวี เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องคิดเลข รถยนต์ ผลิตเหล็ก ผลิตภัณฑ์เคมี ยาง และกระดาษสำหรับใช้ในสำนักงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจรักษาพยาบาล ก็ยังมีโอกาสขยายลู่ทางอีกมาก

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ