ข้อมูลตลาดสินค้าอาหารฮาลาลในอิหร่าน ตอนที่ 3

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 27, 2011 15:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ขั้นตอนการการดำเนินการเพื่อนำเข้าสินค้าอาหารฮาลาลเข้าสู่ตลาดอิหร่านมี 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ขั้นที่ ๑ จดทะเบียนรับรองการเป็นตัวแทนหรือผู้แทนจำหน่ายจากผู้ส่งออกไทยอย่างเป็นทางการ

ขั้นที่ ๒ ขอใบอนุญาตแก่โรงงานผลิตอาหารในไทย

ขั้นที่ ๓ ขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้า

ขั้นที่ ๔ นำเข้าสินค้าและดำเนินการด้านพิธีการตรวจปล่อยสินค้าเข้าอิหร่าน

ขั้นที่ ๑ จดทะเบียนรับรองการเป็นตัวแทนหรือผู้แทนจำหน่ายจากผู้ส่งออกอย่างเป็นทางการ

ตามกฎระเบียบการค้าและการนำเข้าสินค้าอาหาร เครื่องสำอางและยาของอิหร่าน กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าอาหารจะต้องเป็นบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในอิหร่านเท่านั้นและเป็นผู้ดำเนินการขอใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit) จากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่าน โดยผู้นำเข้าอิหร่านจะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทน Agent ในยี่ห้อสินค้า รุ่น หรือแบบสินค้าของโรงงาน จากผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตในไทยก่อน ซึ่งมีหลักฐานเป็นใบรับรองการเป็นตัวแทนหรือผู้แทนจากผู้ส่งออกอย่างเป็นทางการระหว่างผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าอิหร่าน ผู้นาเข้าอิหร่านจะนำใบรับรองการเป็นตัวแทนไปยื่นลงทะเบียนต่อกระทรวงพาณิชย์อิหร่าน โดยยื่นทั้งต้นฉบับและสำเนาอย่างละ ๑ ฉบับ พร้อมด้วยสำเนาใบอนุญาตการเป็นผู้นำเข้า (Import Permit) (ในกรณีนี้อาจหมายถึงการเป็นตัวแทนแต่ผู้เดียว Exclusive Agent ในยี่ห้อ หรือรุ่นหรือแบบสินค้าของผู้ส่งออกก็ได้ แต่กฎหมายไม่ได้ระบุว่าจะต้องเป็น Exclusive Agent หรือ Exclusive Importer ของผู้ส่งออกหรือโรงงานผู้ผลิตแต่อย่างใด)

กระทรวงพาณิชย์อิหร่านจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ ๓-๔ วัน และออกหนังสือนำส่งตรวจโรงงานไทย เพื่อให้ผู้นำเข้านำไปยื่นต่อกระทรวงสาธารณสุขและแพทย์ศาสตร์ เพื่อดำเนินการขอใบอนุญาตโรงงานไทยต่อไป โดยสรุป หลักฐานที่ผู้นำเข้าอิหร่านต้องการจากผู้ส่งออกไทย ได้แก่

ก. ใบรับรองการเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการอย่างน้อยหนึ่งปี จากโรงงานหรือบริษัทแม่ในไทย

ข. ใบรับรองฯ จะต้องประทับตราจากสภาหอการค้าไทยและ สถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศไทย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายขึ้นกับชนิดเอกสารและระเบียบของหน่วยงานนั้นๆ

ค. เอกสารอื่นๆ เช่น รายการสินค้า เอกสารประกอบกิจการโรงงาน เป็นต้น

ข้อสังเกต: ผู้นำเข้าจำเป็นต้องให้ผู้ส่งออกหรือโรงงานไทยออกใบรับรองการเป็นตัวแทนล่วงหน้าก่อนมีการสั่งสินค้าจริง เนื่องจากผู้นำเข้ายังไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากทางการอิหร่านก่อน ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑ ปี

ขั้นที่ ๒ ขอใบอนุญาตแก่โรงงานผลิตอาหารในไทย

เมื่อกระทรวงพาณิชย์อิหร่านออกหนังสือนาส่งตรวจโรงงานไทยให้ผู้นำเข้าแล้ว ผู้นำเข้าจะนำหนังสือดังกล่าว ไปยื่นต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่าน เพื่อขอใบอนุญาตส่งออกสินค้าจากโรงงานไทยที่ผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดอิหร่าน โดยมีขั้นตอนและเอกสารดังต่อไปนี้

ก. ยื่นหนังสือนาส่งตรวจโรงงานไทยตามที่ได้รับจากกระทรวงพาณิชย์อิหร่านจากขั้นตอนที่ ๑

ข. ชำระค่าขอตรวจโรงงานไทย ๕,๔๐๐ เหรียญสหรัฐฯ

ค. ยื่นเอกสารประกอบการขอตรวจโรงงานต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่านดังต่อไปนี้

  • เอกสารรับรอง GMP โดยใบรับรองสาธารณสุข ตามกฎระเบียบข้อที่ ๑๖ ของกฎหมายสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง และสินค้าสุขภาพของอิหร่าน Law of Foodstuff, Beverage, Cosmetics & Hygienic Products กำหนดว่าจะต้องมีเอกสารใบรับรองต้นฉบับจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศผู้ผลิต และรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตอิหร่านในประเทศที่ตั้งของผู้ผลิต
  • ข้อมูล Product Master File และ Plant Master File ซึ่งเป็นข้อมูลรับรองการเป็นผู้ผลิตสินค้าจริง พร้อมทั้งบันทึกขั้นตอนการผลิตของโรงงานในแผ่น VCD หรือ DVD
  • รายการสินค้าที่ต้องการนำเข้าหรืออาจนำเข้า พร้อมตัวอย่างสินค้าของแต่ละชนิด
  • เสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยในอิหร่านที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการคุณภาพของผู้นำเข้า

ง. คณะกรรมการตรวจสอบฯ จะพิจารณาเอกสารและตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด โดยหากไม่มีข้อสงสัย คณะกรรมการฯ จะอนุมัติออกใบอนุญาตโรงงานแก่ผู้นำเข้า (ในกรณีนี้ เมื่อผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้าเดิมจากผู้ส่งออกหรือโรงงานเดิมที่ผ่านการอนุญาตแล้ว ก็สามารถกล่าวอ้างเลขที่ของใบอนุญาตได้ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการเพียงครั้งเดียวเท่านั้น)

จ. แต่หากคณะกรรมการฯ มีความแคลงใจว่าข้อมูลที่ยื่นมิใช่เป็นโรงงานผู้ผลิตตามที่กล่าวอ้าง คณะกรรมการฯ อาจจะลงคะแนนเสียงให้ส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้วยการวิเคราะห์ทางเคมีเดินทางไปสำรวจโรงงานในประเทศผู้ผลิตฯ เพื่อตรวจสอบและยืนยันการผลิตตามมาตรฐาน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ผู้นำเข้าทำจดหมายเสนอชื่อเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญอิหร่านเพื่อเดินทางไปตรวจสอบโรงงานในประเทศไทย โดยกระบวนการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญอิหร่านและขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ ๔ เดือน
  • ระยะเวลาการตรวจโรงงาน ประกอบด้วยการเดินทางไปกลับ ๑ วัน ตรวจโรงงาน ๒ วันต่อหนึ่งโรงงาน
  • ค่าใช้จ่ายประมาณ ๒,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อคน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการนำเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ตรวจโรงงานในไทยจะเป็นความรับผิดชอบของผู้ยื่นขอหรือโรงงานไทย
  • ทั้งนี้ กระบวนการผลิตและห้องปฎิบัติทางเคมี (Laboratory) ทั้งหมด ควรอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่หากอยู่คนละสถานที่ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่อิหร่านก่อนการเดินทาง

ฉ. ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเดินทางกลับจากการตรวจโรงงานในไทยแล้ว ก็จะนำเสนอผลการตรวจโรงงานเสนอแก่คณะกรรมการฯ เพื่อลงคะแนนเสียงว่าโรงงานผ่านหรือไม่ ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑ เดือนหลังจากเดินทางกลับจากไทย และหากผลการลงคะแนนเสียงผ่าน จึงจะออกใบอนุญาตโรงงานของไทย เพื่อให้ผู้นำเข้าไปดำเนินการขั้นขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้าต่อไป

ขั้นที่ ๓ ขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้า

ภายหลังจากโรงงานไทยผ่านการตรวจสอบแล้ว ผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตตรวจสอบสินค้าที่ต้องการนำเข้าจากโรงงานนั้นๆ ไปยื่นต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่านตรวจสอบ โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

ก. ยื่นหนังสือนำส่งตรวจโรงงานไทยตามที่ได้รับจากกระทรวงพาณิชย์อิหร่าน ตามขั้นตอนที่ ๑

ข. ยื่นหนังสือใบอนุญาตโรงงาน ตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่าน ตามขั้นตอนที่ ๒

ค. ยื่นเอกสารประกอบการขอตรวจโรงงานต่อกระทรวงสาธารณะสุขและแพทย์ศาสตร์อิหร่านดังต่อไปนี้

  • ใบอนุญาตการขายสินค้า Certificate of Free Sale ในประเทศผู้ผลิต เอกสาร Certificate of Free Sale เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม และออกหรือรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า (เช่น สาธารณสุข, เกษตรกรรม, ปศุสัตว์, พาณิชย์, เทศบาล และอื่นๆ) ซึ่งในกรณีนี้ออกโดยกระทรวงสาธารณสุขไทย เอกสาร Certificate of Free Sale ต้องระบุให้ชัดเจนว่า สินค้าดังกล่าวภายใต้เครื่องหมายการค้าที่ระบุได้ขายอยู่แล้วอย่างเสรีในประเทศผู้ผลิต (แหล่งกำเนิด) โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น (...under relevant brand names are being freely sold in the producing country (of origin) with no limitation what so ever.) และจะต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ก. ชื่อประเทศผู้ผลิต

ข. ชื่อโรงงานผู้ผลิต

ค. ชื่อสินค้า

ง. ชื่อเครื่องหมายการค้า (Brand name)

จ. ชื่อเครื่องหมายการค้าย่อย (Sub Brand)

ทั้งนี้ โรงงานผู้ผลิตหรือบริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Brand holder) สามารถออกเอกสาร Certificate of Free Sale เองได้ แต่จะต้องได้รับการรับรองการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าตั้งอยู่ และจะต้องรับรองทั้งข้อความและเนื้อหา (Text) ที่ปรากฏใน

เอกสาร Certificate of Free Sale จากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า เอกสาร Certificate of Free Sale ที่ออกโดยจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า หรือโรงงานผู้ผลิต หรือบริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้า และจะต้องประทับตรารับรองจากสถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศแหล่งกำเนิด และรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งอิหร่าน เอกสาร Certificate of Free Sale จะมีอายุ 3 ปี นับจากวันที่ออกเอกสาร

  • เอกสาร Health Certificate เป็นเอกสารเพื่อรับประกันสุขลักษณะของสินค้านำเข้า และออกหรือรับรองจากหน่วยงานที่มีอำนาจทางสาธารณะสุขของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า ทั้งนี้ โรงงานผู้ผลิต สามารถออกเอกสาร Health Certificate เองได้ แต่จะต้องได้รับการรับรองทั้งข้อความและเนื้อหา (Text) ที่ปรากฏในเอกสาร Health Certificate จากหน่วยงานที่มีอำนาจสาธารณะสุขของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า

เอกสาร Health Certificate ที่ออกโดยจากหน่วยงานที่มีอำนาจทางสาธารณะสุขของประเทศแหล่งกำเนิดสินค้า หรือโรงงานผู้ผลิตจะต้องประทับตรารับรองจากสถานเอกอัครราชทูตอิหร่านประจำประเทศแหล่งกาเนิด และรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศแห่งอิหร่าน เอกสาร Health Certificate มีสองประเภท ได้แก่ ๑) เอกสาร Health Certificate ที่มีระยะเวลากาหนด และ ๒) เอกสาร Health Certificate ที่เกี่ยวข้องการกับการขนส่ง (related to the consignment)

๑) เอกสาร Health Certificate ที่มีระยะเวลากำหนด เป็นเอกสารที่ใช้สำหรับสินค้าที่ผ่านกรรมวิธีและวัตถุดิบที่มีใบอนุญาตนำเข้าทางสาธารณสุข (processed products and its raw material having import health license) มีระยะเวลา ๑ ปี โดยจะต้องมีรายละเอียดในเอกสาร ดังต่อไปนี้

ก. No of certificate:

ข. Date of issue (D/M/Y):

ค. Validation: one year:

ง. Name of Manufacturer:

จ. Address of Manufacturer:

ฉ. Name of Representative in IRAN:

ช. Name of Product (s):

ซ. Brand name:

ฌ. Type & Grade of Packaging:

ญ. Iranian Ministry of Health Register No:

ฎ. We certify that the product(s) is/are exported during the date (from...to...) is deserved for human consumption and will not be harmful for human health.

ฏ. This product(s) is/are free from: BSE&FMD (for Bovin products) DIOXIN (for products with animal origin)

๒) เอกสาร Health Certificate ที่เกี่ยวข้องการกับการขนส่ง (related to the consignment) เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ขนถ่าย โดยจะต้องมีรายละเอียดในเอกสาร ดังต่อไปนี้

ก. No of certificate:

ข. Date of issue (D/M/Y):

ค. Name of Manufacturer:

ง. Address of Manufacturer:

จ. Invoice No and Date/LC/weight/BL no/...:

ฉ. Name of Product (s):

ช. Brand name:

ซ. Type & Grade of Packaging:

ฌ. We certify that the product(s) is/are exported is deserved for human consumption and will not be harmful for human health.

ญ. This product(s) is/are free from: BSE&FMD (for Bovin products) DIOXIN (for products with animal origin)

  • ใบ Farsi-written Plan ผู้นำเข้าจะต้องลงทะเบียนใบรายละเอียดสินค้าที่จะนำเข้าเป็นภาษาท้องถิ่น (ฟาร์ซี) และระบุรายละเอียดสินค้าเป็นภาษาท้องถิ่น (ฟาร์ซี) ที่เรียกว่า Farsi-written Plan ซึ่งจะประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

ก. ชื่อสินค้า (Product Name)

ข. ชื่อผู้ผลิต (Manufacturer Name)

ค. แหล่งผลิต (ประเทศ) (Manufacturing Country)

ง. วันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ และเลขที่สินค้า (Manufacturing and Expiration Dates, Manufacturing Serial Number)

จ. วิธีการใช้สินค้า (ถ้ามี) (Instruction to Use)

ฉ. ข้อระวัง (ถ้ามี) (Probable Risk)

ช. เลขที่ใบอนุญาตส่งออกจากกระทรวงสาธารณสุขฯ (Import Permission Number issued by Ministry of Heath)

ซ. หากสินค้าได้ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และวันเดือนปีที่หมดอายุ และเลขที่สินค้าบนหีบห่อไว้แล้ว ไม่จาเป็นต้องระบุเป็นภาษาฟาร์ซีอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ ต้องมีประโยคเป็นภาษาฟาร์ซีเพิ่มเติมว่า “วันเดือนปีที่ผลิต และหมดอายุ และเลขที่สินค้าได้พิมพ์อยู่บนหีบห่อของสินค้าแล้ว” ทั้งนี่เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคท้องถิ่น และในกรณีที่สินค้าไม่สามารถจัดพิมพ์บนสินค้าได้ เพราะไม่มีพื้นที่หรือสินค้ามีขนาดเล็กเกินไป ก็ให้ระบุอยู่บนหีบห่อในหน่วยเล็กที่สุดที่บรรจุสินค้า

  • ผู้นำเข้าทำหนังสือรับรองความรับผิดชอบทั้งหมดในการนำเข้าสินค้า

ง. ชำระค่าใช้จ่าย ๙๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ต่อกลุ่มชนิดสินค้า

จ. คณะกรรมการฯ ใช้เวลาอีกประมาณ ๓๐-๔๕ วัน หากผ่าน จะออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้า เพื่อดำเนินด้านพิธีการศุลกากรกับศุลกากรอิหร่านได้

ขั้นที่ ๔ ดำเนินการนำเข้า

ผู้นำเข้าจะนำใบอนุญาตนำเข้าสินค้าไปยื่นต่อศุลกากรอิหร่านเพื่อตรวจปล่อยสินค้าจากท่าเรือ หรือสนามบิน โดยกระทรวงสาธารณสุขฯ อิหร่านจะกักสินค้าไว้ในโกดังสินค้านำเข้า และไม่อนุญาตให้จำหน่ายจนกว่าสินค้าที่นำเข้าจริงจะผ่านการตรวจสอบ โดยใช้เอกสารเช่นเดียวกับขั้นที่ ๓ มาใช้ในการตรวจปล่อยใน Shipment เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขฯ จะสุ่มตรวจสินค้าไปตรวจในห้องปฏิบัติการทางเคมี วิเคราะห์ส่วนผสม เปรียบเทียบกับผลที่แจ้งตามขั้นที่ ๓ ซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ ๒ เดือน หากผ่าน ก็จะออกหมายเลขอนุญาต และให้ผู้นำเข้านำสินค้าสินค้าไปจำหน่ายได้ ทั้งนี้ ผู้นำเข้าอิหร่านอาจต้องการหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากไทย แต่ไม่จำเป็นต้องประทับตรารับรองจาก สถานทูตอิหร่านประจำประเทศไทย

สคร ณ กรุงเตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ