แคนาดาแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการรายงานเชื้อโรคและสุขอนามัยของสัตว์ ครอบคลุมถึง Aqua Industries

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 27, 2011 16:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

แคนาดาแก้ไขเพิ่มเติมกฎ ระเบียบ เกี่ยวกับการรายงานเชื้อโรคและสุขอนามัยของสัตว์ ครอบคลุมถึง Aqua Industries

(Amendments to the Reportable Diseases Regulations & Health of Animals Regulation)

ปัจจุบัน รัฐบาลแคนาดาได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และประมง ( Aqua Industries) มาก เนื่องจาก แคนาดาเป็นผู้ผลิต /ส่งออกสำคัญในสินค้าดังกล่าวด้วย และเพื่อให้อุตสาหกรรมฯ มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ แคนาดาได้ออกกฎระเบียบ แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรายงานเชื้อโรคและสุขอนามัยของสัตว์(Amendments to the Reportable Diseases Regulations & Health of Animals Regulation) โดยได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 22 ธันวาคม 2553 และ ครอบคลุมถึง Aqua Industries ทุกประเภท (การเลี้ยงสวยงามและการบริโภค) สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1. รายชื่อโรคที่ต้องรายงานและและหน่วยงานกำกับดูแล

จากข้อบังคับเดิมของ Health and Animal Regulation ว่าด้วยเชื้อโรคและสุขอนามัยของสัตว์ที่บังคับใช้ควบคุมเฉพาะประเภทสัตว์บกเท่านั้น ซึ่งระเบียบ ข้อบังคับฉบับใหม่นี้ได้มีการบังคับใช้เพิ่มกับประเภทสัตว์น้ำ โดยหากเจ้าของสัตว์ ผู้นำเข้า สัตวแพทย์ และผู้ตรวจสอบภายในศูนย์วิจัย (Laboratory) ได้มีการตรวจพบเชื้อโรค หรือต้องสงสัยการติดเชื้อโรคต่างๆในสัตว์ต้องรายงานให้หน่วยงาน Canadian Food Inspection Agency ทราบทันทีทันใด

รายชื่อของโรคที่เข้าข่ายจะต้องรายงานให้CFIA ทราบรวมทั้งสิ้น 56 โรค ซึ่งได้มีการเพิ่มเติมโรคที่เกิดในสัตว์น้ำใหม่จำนวน 20 โรค มีดังนี้(เรียงตามลำดับตัวอักษร)

1) African horse sickness

2) African swine fever

3) Anaplasmosis

4) Anthrax

5) Bluetongue (serotypes not listed in item 6.1 of Schedule VII to the Health of Animals Regulations)

6) Bonamia ostreae ***

7) Bovine spongiform encephalopathy

8) Bovine tuberculosis (M. bovis)

9) Brucellosis

10) Ceratomyxosis ***

11) CVhronic wasting disease of cervids

12) Classical swine fever (hog cholera)

13) Contagious bovine pleuropneumonia

14) Contagious equine metritis

15) Cysticercosis

16) Epizootic haematopoietic necrosis ***

17) Equine infectious anaemia

18) Equine piroplasmosis (B. equi and B. caballi

19) Foot and mouth disease (FMD)

20) Fowl typhoid (Salmonella gallinarum)

21) Haplosporidium nelsoni ***

22) Highly pathogenic avian influenza

23) Infectious haematopoietic necrosis ***

24) Infectious pancreatic necrosis ***

25) Infectious salmon anaemia ***

26) Koi herpesvirus disease ***

27) Lumpy skin disease

28) Marteilia refringens ***

29) Marteiliodes chungmuensis ***

30) Mikrocytos mackini

31) Newcastle disease

32) Perkinsus marinus ***

33) Perkinsus olseni ***

34) Peste des petits ruminants

35) Pseudorabies (Aujeszky’s disease)

36) Pullorum disease (S. pullorum)

37) Rabies

38) Rift Valley fever

39) Rnderpest

40) Scrapie

41) Sheep and goat pox

42) Spring viraemia of carp ***

43) Swine vesicular disease

44) Taura syndrome ***

45) Trichinellosis

46) Venezuelan equine encephalomyelitis

47) Vesicular stomatitis

48) Viral haemorrhagic septicaemia ***

49) Whirling disease (Myxobolus cerebralis) ***

50) White spot disease ***

51) White sturgeon iridoviral disease ***

52) Yellow head disease ***

หมายเหตุ *** แสดงรายชื่อโรค (เฉพาะสัตว์น้ำ) ที่ได้มีการเพิ่มเติม

แหล่งที่มาข้อมูล http://www.gazette.gc.ca/rp-pr/p2/2011/2011-01-05/html/sor-dors310-eng.html

2. ระยะเวลาและขั้นตอนการบังคับใช้กฎ ข้อบังคับด้านสุขอนามัยสัตว์

รัฐบาลได้วางแนวทางกฎ ระเบียบเกี่ยวกับเชื้อโรคและสุขอนามัยของสัตว์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน และมีกำหนดระยะเวลา บังคับใช้ดังนี้

2.1 โรคที่ต้องรายงานและประเภทสัตว์น้ำที่ครอบคลุม

ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2553 หากผู้ใดพบเจอโรค หรือสิ่งต้องสงสัยตามที่รัฐบาลกำหนดจะต้องรายงานให้CFIA ซึ่งมีหน้าที่กำกับ ดูแล ด้านผลิตภัณฑ์อาหารทั้งในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศทราบทันทีทันใด โดยรายชื่อโรค (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำ) ที่เข้าข่ายการรายงานให้ทราบ มีดังนี้ (แบ่งตามโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์น้ำประเภทต่างๆ)

  • สัตว์น้ำประเภทครัสตาเซีย จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด มีจำนวน 3 โรค

1) Taura syndrome

2) White spot disease

3) Yellow head disease

  • สัตว์น้ำประเภทปลามีชีวิต มีจำนวน 10 โรค

1) Ceratomyxosis (Ceratomyxa shasta)

2) Epizootic haemotpoietic necrosis

3) Infectious haematopoietic necrosis

4) Infectious pancreatic necrosis

5) Infectious salmon anaemia

6) Koi herpesvirus disease

7) Spring viraemia of carp

8) Viral haemorrhagic septicaemia

9) Whirling disease (Myxobolus cerebralis)

10) White sturgeon iridoviral disease

  • สัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด มีจำนวน 7 โรค

1) Disease caused by Bonamia ostreae

2) Disease caused by Haplosporidium nelsoni

3) Disease caused by Marteilia refringens

4) Disease caused by Marteiliodes chungmuensis

5) Disease caused by Mikrocytos mackini

6) Disease caused by Perkinsus marinus

7) Disease caused by Perkinsus olseni

2.2 ประเภทสัตว์น้ำที่ต้องขอใบอนุญาตการนำเข้า

รัฐบาลแคนาดาต้องการควบคุม และป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดขึ้นจากสัตว์ต่าง ๆ โดยได้ออกระเบียบให้ผู้นำเข้าสัตว์น้ำทะเลประเภท ปลามีชีวิต , สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด ,สัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด จะต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไป ทั้งนี้หากผู้นำเข้าสัตว์น้ำทะเลรายใดไม่มีใบอนุญาตสินค้าดังกล่าวอาจจะห้ามนำเข้ามาแคนาดา

รายชื่อสัตว์น้ำที่เข้าข่ายต้องมีใบอนุญาตการนำเข้ามายังแคนาดา โดยระบุชื่อทางวิทยาศาสตร์และชื่อสามัญ ได้ดังนี้

  • ประเภทปลามีชีวิต ประกอบด้วย 235 ชนิด
  • ประเภทสัตว์น้ำจำพวกโมลลุสก์จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สด ประกอบด้วย 54 ชนิด
  • ประเภทสัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย จะเอาเปลือกออกหรือไม่ก็ตาม มีชีวิต สดมีจำนวน 116 ชนิด

2.3 การบังคับใช้กับการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำ

นับจากเดือนธันวาคม 2557 ทางรัฐบาลแคนาดาจะมีการวางนโยบายเรื่องการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำระหว่างมณฑลภายในแคนาดา โดยหากผู้ใดจะทำการเคลื่อนย้ายสัตว์น้ำแต่ละมณฑล จะต้องรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ ทั้งนี้ ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนข้อบังคับฉบับนี้

3. ความเห็น / ข้อเสอนแนะ

3.1 การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบใหม่นี้จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมส่งออกอาหารทะเลจากไทย โดยเฉพาะกุ้งไทย (ซึ่งถือครองสัดส่วนตลาดอันดับ 1 ในแคนาดา) โดยหน่วยงานตรวจสอบด้านอาหาร Canadian Food Inspection Agency ซึ่งมีหน้าที่กำกับ ดูแลด้านผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดในแคนาดา จะเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจปล่อยสินค้ามากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ National Animal Health Program อันเป็นมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสัตว์และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในสัตว์น้ำทะเลต่างๆ

3.2 นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านกฎ ระเบียบแล้ว ปัจจุบันมีกลุ่มผู้บริโภคนักอนุรักษ์ธรรมชาติ (Green Consumer) ทำการรณรงค์ให้ชาวแคนาดาหันมารับประทานอาหารที่ผลิตในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับดังนั้นผู้ส่งออกอาหารของไทยควรตระหนัก เพิ่มความระมัดระวังในการผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานคุณภาพ ปราศจากโรคตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการผลิตที่ควรมุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันและการเป็นประเทศส่งออกอาหารชั้นนำของโลกต่อไป

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ