วันนี้ถึงคิวสาวิตรีต้องรายงานในวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ เธอเตรียมตัวมาอย่างดี ถึงขนาดให้เลขาของสามีเธอที่อยู่บริษัท Software มาช่วยฉาย LCD ด้วย พร้อมทั้งแจกแว่น 3D ให้ทุกคนเนื่องจากรายงานของเธอเป็นแบบ 3 มิติ แถมยังมี Maid มาช่วยชงกาแฟให้เธอกลั้วคอก่อนนำเสนอรายงาน ทำเอาเพื่อนๆ ฮือฮากันมาก
ลอเร็นซ์ลุกขึ้นยืนที่หลังห้องพร้อมกับพูดว่า “ขอเวลานอกไปซื้อข้าวโพดคั่วกับโค้กก่อน” สาวิตรีตอบไปว่า “ฝากซื้อพิซซาด้วยนะ ฮัจฉ่า รายงานฉันไม่ยาวเหมือนหนังของอมิตา บัจจันหรอกย่ะ”
เสียงทุกคนในห้องร้องเฮๆๆๆ พร้อมกัน ทำเอาอาจารย์วิกรมต้องออกปรามว่าเงียบๆ กันหน่อย
รายงานของสาวิตรีเป็นเรื่องเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ เธอเล่าว่า อินเดียเป็นตลาดเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก (ติดกลุ่มใหญ่ที่สุดในโลก ๑๔ ประเทศ) เนื่องจากอินเดียมีคนชั้นกลางมากถึง ๔๐๐ ล้านคน ขณะที่กำลังซื้อก็เพิ่มสูงขึ้น ตามอุตสาหกรรมสาขาต่างๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้าน IT และยานยนต์ ส่งผลให้ความต้องการเฟอร์นิเจอร์คุณภาพดีมีมากขึ้นและมีการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์มากขึ้นด้วยเช่นกัน
มูลค่าตลาดเฟอร์นิเจอร์อินเดียมีสัดส่วน ๐.๕% ของ GDP แม้ว่าการผลิตในประเทศจะเพิ่มขึ้นทุกปี แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นการเพิ่มขึ้นก็เป็นการผลิตแบบชาวบ้าน (un-organized sector) ไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของตลาดอินเดีย จึงต้องพึ่งพาการนำเข้ามาก ข้อมูลตลาดที่สำคัญ
- มูลค่าตลาด ๘ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- มีสัดส่วน ๐.๕% ของ GDP
- เป็นแหล่งจ้างงานกว่า ๓ แสนคน
- อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์แบ่งเป็นการดำเนินการแบบชาวบ้าน (unorganized sector) เป็นส่วนใหญ่ (ส่วนการดำเนินการเชิงอุตสาหกรรมหรือ organized sector มีเพียง ๑๕% ของตลาด)
- ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เชิงอุตสาหกรรมเติบโตปีละ ๓๐%
- ผู้ประกอบการเชิงอุตสาหรรมมีทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
- มีผู้ผลิตในประเทศราว ๕,๐๐๐ ราย และบริษัทนำเข้า ๑๐,๕๐๐ ราย
- การจัดกลุ่มจำแนกตามวัสดุที่ใช้และกลุ่มผู้ซื้อ
- เฟอร์นิเจอร์ไม้มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด
- โรงงานส่วนใหญ่อยู่ที่รัฐ Gujarat, UP, Punjab, Kerela, Andra Pradesh, West Bengal
- `เฟอร์นิเจอร์ในครัวเรือนต้องคำนึงถึงรสนิยมของแต่ละท้องถิ่นเป็นสำคัญ โดยตลาดอินเดียนิยมซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ในช่วงปลายปี ถึง ต้นปีที่มีเทศกาลใหญ่ๆ เป็นจำนวนมาก
การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์
- มีการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ประมาณ ปีละ ๓๒๖ ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว ๖๐% ต่อปี
- ผู้มีรายได้สูง ธุรกิจขนาดใหญ่และโรงแรมชั้นนำเป็นผู้บริโภคสำคัญของเฟอร์นิเจอร์นำเข้า
- มีการนำเข้าเพิ่มสูงสำหรับกลุ่มผู้ซื้อในเขตเมือง โรงแรม ร้านอาหาร และผู้มีฐานะดี
- ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจาก จีน เยอรมนี มาเลเซีย อิตาลี และประเทศไทย
การนำเข้าจากไทย
ในปี ๒๐๑๐ มีการนำเข้าจากไทย ๘.๒๗๙ ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว ๑๖๔% แบ่งเป็น ม้านั่ง/เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์ (ยกเว้นม้านั่ง/เก้าอี้) โคมไฟ เครื่องนอน เคหะสิ่งทอ
ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เชิงอุตสาหกรรมกิจในอินเดีย
การดำเนินธุรกิจเชิงอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ของอินเดียมีมูลค่าประมาณ ๘ พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการเติบโตปีละ ๓๐% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์นำเข้า มีเป็นส่วนน้อยที่ผลิตในประเทศ โดยผู้ผลิตอินเดียมีส่วนแบ่งตลาด ๒๐% ส่วนใหญ่จะเน้นไปผลิตเฟอร์นิเจอร์สำหรับสำนักงาน ร้อยละ ๒๗ ของเฟอร์นิเจอร์สำนักงานเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้อุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูงเนื่องมาจากการเติบโตของธุรกิจก่อสร้าง การท่องเที่ยว/โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ และอีกปัจจัยที่สำคัญคือคนอายุต่ำกว่า ๒๕ ปีของอินเดียมีมากประมาณ ๕๐% ของประชากร (๔๔% อายุต่ำกว่า ๑๙ ปี) ซึ่งผู้เริ่มทำงานใหม่นิยมทำงานในบริษัท IT มีรายได้สูง และไม่ชอบเฟอร์นิเจอร์แบบโบราณรุ่นคุณปู่อีกต่อ นอกจากนั้ยยังมีปัจจัยที่มีผลสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรรมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน คือสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์และ Internet ที่คนอินเดียสามารถเข้าถึง trend ใหม่ๆ ของเฟอริ์นิเจอร์ได้ง่ายเนื่องจากส่วนใหญ่จะเข้าใจภาษาอังกฤษ แต่ปัจจัยที่สำคัญยิ่งคือการเข้าไปลงทุนของบริษัทต่างชาติมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมนี้คึกคักมากในปัจจุบัน ดังนั้นการเลือกใช้สื่อที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ดีจึงเป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์การแข่งขันในตลาดอินเดีย
ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์แบบชาวบ้าน
ร้อยละ ๘๕ ของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เป็นการดำเนินการธุรกิจแบบชาวบ้าน ที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย (เช่น โรงงานห้องแถว และร้านค้ารายย่อย) ในส่วนธุรกิจเฟอร์นิเจอร์เชิงอุตสาหกรรมมีส่วนแบ่งตลาด ๑๕% ส่วนใหญ่ก็เป็นสินค้านำเข้า บริษัทเฟอร์นิเจอร์ชั้นนำของอินเดียซึ่งต่างนิยมร่วมทุนกับผู้ลงทุนจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันยี่ห้อชั้นนำของอินเดีย ได้แก่ Godrej & Boyce Manufacturing Co. Ltd., Furniturewala, Zuari, Yantra, Renaissance, N R Jasani & Company, Furniture Concepts, Durian, Kian, Millenium Lifestyles, Truzo, PSL Modular Furniture, BP Ergo, Tangent, Featherlite , Odd life (ร่วมทุนกับจีน) และ Haworth
ปัจจัยด้านอุปสงค์
- การขยายตัวของตลาดบ้านพักอาศัยและสำนักงาน
- การเติบโตของธุรกิจก่อสร้างมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
- การก่อสร้างด้านที่พักอาศัยและสำนักงานเติบโตอย่างรวดเร็ว ราคาที่ดินในเมืองสำคัญ ๆ เพิ่มสูงขึ้นปีละกว่า ๒๕% ในไฮเดอราบัดเพิ่มสูงถึงปีละ ๔๕%
- การขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว/โรงแรม
- มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นจากต่างประเทศและในประเทศ
- ความต้องการห้องพักสำหรับนักท่องเที่ยวมีมากขึ้น
- กำลังซื้อคนอินเดียสูงขึ้น
- คนอินเดียมีรายได้เพิ่มขึ้น
- มีแนวโน้มเป็นบริโภคนิยมมากขึ้น นิยมสินค้าที่ทันสมัย ซึ่งรวมถึงเฟอร์นิเจอร์ด้วย
ช่องทางการจัดจำหน่าย
ช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นการจัดจำหน่ายผ่านผู้ค้าส่งไปยังร้านค้าปลีก ตลาดส่วนใหญ่ยังนิยมสินค้าราคาถูก (ซึ่งเป็นตลาดของ Unorganized sector) เฟอร์นิเจอร์ทำด้วยไฟเบอร์บอร์ดหรือไม้อัด ส่วนสินค้าราคาสูงส่วนใหญ่จะเป็นช่องทางในหัวเมืองใหญ่ๆ ห้างสรรพสินค้าที่เป็นผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ ได้แก่ BIG Bazar, Pantaloon, Shopper’s stop, Trent, RPG, VISHAL Retail, Reliance และ TATA group ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติ เน้นการนำเข้าเป็นหลัก ได้แก่ Godrej & Boyce Manufacturing Co. Ltd., Furniturewala, Zuari, Yantra, Renaissance, Featherline, Harworth, Style spa, Yantra, Renaissance, Millennium Lifestyle, Durian, Kian, Tangent, V3 Engineers, N R Jasani & Company, Furniture Concepts, Durian, Kian, Millenium Lifestyles, Truzo, PSL Modular Furniture, BP Ergo, Tangent, Featherlite , Odd life และ Haworth ร้านค้าลักษณะแฟรนส์ไชส์ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เช่น ร้าน Nitra เป็นต้น
สาเหตุที่ความนิยมเฟอร์จิเจอร์ไม้ยังมีมาก อาจเป็นเพราะอินเดียมีช่างไม้ ช่างแกะสลักฝีมือดีเป็นจำนวนมาก และค่าแรงยังถูก ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรังสรรค์งานเฟอร์นิเจอร์เป็นอย่างยิ่ง ขณะที่ความสามารถในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ด้วยวัสดุอย่างอื่นยังมีจำกัด เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการผลิตยังอยู่ในเกณฑ์ที่น้อย (โรงงานผลิตส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องผลิตที่ทันสมัย และมาตรฐานการทำงานยังต่ำ ) อย่างไรก็ตาม ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ก็มีการปรับตัวให้ทันสมัยพอควร โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ๆ เช่น มุมไบ เจนไน บังกะลอร์ และ กรุงนิวเดลีก็มีเฟอร์นิเจอร์ที่หรูหราทันสมัยไม่แพ้เมืองไทยเรา
สื่อประชาสัมพันธ์
ปัจจัยเรื่องราคายังเป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อโฆษณา สื่อที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ได้แก่ แผ่นป้ายโฆษณา และการโฆษณาในโรงภาพยนต์ (คนอินเดียนิยมชมภาพยนต์ในโรงภาพยนต์มากกว่าประเทศอื่นๆ ) รองลงมาเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ และการโฆษณาทางโทรทัศน์ โดยเราจะได้เห็นโฆษณาของ Godrej และ Nilkamal ในสื่อดังกล่าวบ่อยครั้ง สำหรับ Hypermart และร้าน Chain store มักจะนิยมแจกแผ่นพับ และป้ายโฆษณาลดแลกแจกแถมในช่วงปลายปี — ต้นปี เนื่องจากเหตุผลสำคัญ 2 ประการคือ ๑) คนอินเดียนิยมแต่งงานช่วงดังกล่าว ๒) มีเทศกาลต่างๆ มากมาย ซึ่งคนอินเดียนิยมเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์เพื่อความเป็นศิริมงคลของชีวติ และครอบครัว
นโยบายการนำเข้า
อินเดียเปิดเสรีการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์ตั้งแต่เดือนเมษายน ๑๙๘๘ ผู้นำเข้าอินเดียไม่ต้องมีใบอนุญาตการนำเข้า และไม่ต้องขอใบอนุญาตก่อนการนำเข้า แต่ผู้นำเข้าควรมีเลขประจำตัวผู้นำเข้า (IEC code — Import Export Code) โดยขอรับได้ที่ Directorate General of Foreign Trade
การตรวจปล่อยของศุลกากร
ขั้นตอนไม่แตกต่างจากการนำเข้าสินค้าอื่นๆ ทั่วไป โดยผู้นำเข้าจะต้องแสดงเอกสาร เช่น เอกสารต้นฉบับ Commercial Invoice, Packing list, C/O และ B/L ต่อศุลกากร
อัตราภาษีศุลกากร
Basic Custom Duty (๑๕%) + ๑๒% Education Cess
บรรจุภํณฑ์
ควรปฏิบัติตามข้อกำหนดของ Import Policy Provisions ตามระเบียบ the Policy Circular 44 (RE-2000 ) /1997 -2002 DT 24th November 2000 และบนบรรจุภัณฑ์แต่ละชิ้นจะต้องมีข้อมูลต่อไปนี้พิมพ์กำกับไว้ด้วย
- ชื่อและที่อยู่ของผู้นำเข้า
- ชื่อของสินค้า
- ปริมาณสุทธิ ทั้งน้ำหนักและขนาด
- เดือนและปีที่ผลิต หรือบรรจุ
ศักยภาพในอนาคต
อินเดียมีการนำเข้าในปี ๒๕๕๓ มูลค่า ๓๒๖ ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวปีล ๒๕% และตลาดยังเป็นตลาดของเฟอร์นิเจอร์นำเข้า เป็นตลาดที่ประเทศผู้ส่งออกเฟอร์นิเจอร์ต่างให้ความสำคัญสำหรับการทำตลาดนี้ นอกจากนั้นคนชั้นกลาวที่มีมากถึง ๔๐๐ ล้านคนเป็นส่วนผลักดันให้ตลาดเฟอร์นิเจอร์มีได้จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มเศรษฐีและมัณฑนากรเช่นในอดีตอีกต่อไป คนชั้นกลางปัจจุบันต่างมองหาเฟอร์นิเจอร์ราคาแพงกันมากยิ่งขี้น และนิยมตกแต่งบ้านรายวันด้วยตนเองเป็นงานอดิเรก
สำหรับผู้ผลิตเฟอร์ในอินเดียเองก็มีการปรับตัวครั้งใหญ่โดยมีการนำเข้าไม้ยางคุณภาพดีจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยเพื่อแข่งขันกับเฟอร์นิเจอร์นำเข้า อาทิเช่นในปี ๒๕๕๓ บริษัทเฟอร์นิเจอร์อินเดียมีการสั่งซื้อไม้ยางพาราจากไทยเกือบ ๖๐๐ ล้านรูป
สาวิตรีกล่าวต่อไปว่า “ต่อไปดิฉันจะกล่าวถึงสภาวะการแข่งขันของเฟอร์นิเจอร์ในตลาดโลก หลังจากนั้นจะพูดถึงตลาดเฟอร์นิเจอร์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก และ .....” ทันใดนั้นก็มีเสียงประหลาดดังสนั่นหวั่นไหวมาจากหลังห้อง “คร๊อกๆๆๆๆ zzzzzzzzzzzzzzzzz” อ้อเสียงมาจากโต๊ะลอเร็นซ์นั่นเอง
ที่มา: http://www.depthai.go.th