สถานการณ์ทางเศรษฐกิจประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 16-31 มกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 2, 2011 15:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมของเศรษฐกิจอิตาลี

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อิตาลีในไตรมาส 3 มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (จาก +0.2% ในการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้) ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้ ได้แก่

1) การผลิตภาคอุตสาหกรรมอิตาลี เดือนพฤศจิกายนกลับมาฟื้นตัวโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1

2) ผลประกอบการภาคอุตสาหกรรมอิตาลี เดือนพฤศจิกายนมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งมีปัจจัยมาจากการส่งออกเพิ่มขึ้น

3) การบริโภคของชาวอิตาเลียน ในเดือนกันยายนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างช้า ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4

4) ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและบริษัทผู้ผลิตอิตาลี เดือนธันวาคมปรับตัวสูงขึ้น 109.1 จุด และ 103 จุด ตามลำดับ ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการภายในประเทศและการลงทุนเพิ่มขึ้นในอนาคต

5) การส่งออกและการนำเข้าของอิตาลี การส่งออกและนำเข้าในช่วง 11 เดือนแรกมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 และ 21.8 ตามลำดับ ในด้านการส่งออกและการนำเข้าเดือนพฤศจิกายนมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ 28.3 ตามลำดับ

6) การจ้างงาน เดือนพฤศจิกายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอิตาลียังคงต้องเผชิญกับปัญหาหลายอย่างที่ส่งผลให้เศรษฐกิจอิตาลีเจริญเติบโตช้ากว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป โดยมีสาเหตุดังนี้ ได้แก่

1) รายได้ของภาครัฐบาลจากการเก็บภาษี มีอัตราลดลงช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา หนี้สาธารณะ ในเดือนตุลาคม 2553 มีมูลค่า 1,867.3 พันล้านยูโร (กันยายน 2553 มีมูลค่า 1,844.8 พันล้านยูโร)โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 63 พันล้านยูโร เปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2552 มีมูลค่า 1,804.5 พันล้านยูโร ซึ่งถือว่ามาตรการที่ทางรัฐบาลอิตาลีได้ออกมาในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อเป็นการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เช่น การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐบาล การควบคุมด้านภาษี เป็นต้น ยังคงไม่เป็นไปตามเป้าที่รัฐบาลคาดไว้

2) คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤศจิกายนมีอัตราลดลงร้อยละ 4.3 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหลักมาจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง

3) อัตราการว่างงาน เดือนพฤศจิกายน 2553 มีอัตรา 8.7 ซึ่งถือเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547

4) การลดชั่วโมงการทางาน ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 มีจำนวน 925,7 ล้านชั่วโมง เพิ่มขึ้น 50.5% (614,9 ล้านชั่วโมงระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552)

การคาดการณ์สถานเศรษฐกิจอิตาลีในปี 2554

ธนาคาร Intesa San Paolo ของอิตาลีได้ประมาณการเกี่ยวกับเศรษฐกิจอิตาลีปี 2554 ว่า GDP อิตาลี จะมีตัวเลขคล้ายคลึงกับปี 2553 แต่จะให้มีตัวเลขที่อยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้นยังคงห่างไกล ส่วนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 การบริโภคจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างช้า ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สำหรับตลาดแรงงานอิตาลียังคงมีแนวโน้มลดลงแต่ส่วนการจ้างงานอาจมีแนวโน้วที่ดีขึ้น

ธนาคาร Unicredit ของอิตาลีได้ประมาณการเกี่ยวกับเศรษฐกิจอิตาลีปี 2554 ว่า GDP อิตาลีจะมีตัวเลขเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น การบริโภคยังมีแนวโน้มติดลบเนื่องจากการจ้างงานที่อ่อนแอ สำหรับอัตราการว่างงานจะมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงกลางปีไปแล้ว และหนี้สาธารณะอิตาลีที่ยังคงมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

ธนาคารแห่งชาติอิตาลี ได้คาดการณ์ว่า GDP อิตาลีในปี 2554 และปี 2555 จะอยู่ระหว่าง 1% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหยุดชะลอการบริโภคภายในประเทศ และยังคงต้องเผชิญปัญหาของการว่างงานโดยเฉพาะวัยรุ่น สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2554 และปี 2555 จะอยู่ที่ 2%

นอกจากนี้ จากผลสำรวจของสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติเกี่ยวกับความคิดเห็นของชาวอิตาเลียนที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 18 ของชาวอิตาเลียนมองว่าเศรษฐกิจปีนี้อาจมีแนวโน้มดีกว่าปี 2553 ร้อยละ 48 มองว่าจะคล้ายกับปี 2553 และร้อยละ 33.1 มองว่าจะแย่กว่าปี 2553

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน เห็นว่า ในปีที่ผ่านมาอิตาลีสามารถผ่านช่วงที่ยากลำบากและรอดพ้นจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตามกรีซและไอร์แลนด์ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยง ด้วยการออมของประชาชนที่อยู่ในระดับสูง หนี้จากประชาชนอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นการกู้ภายในประเทศ ระบบธนาคารไม่ประสบปัญหาและเกี่ยวพันกับระบบธนาคารต่างประเทศน้อย สำหรับในปี 54 คาดว่าประชาชนจะยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายอยู่ต่อไป ประกอบกับในปีที่ผ่านมาหลายบริษัทปิดกิจการหรือให้คนงานออก ในปีนี้ปัญหาการว่างงานหรือลดการจ่างงานจึงเป็นปัญหาใหญ่ส่งผลต่อการบริโภคโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยหรือถาวร ดังนั้น การส่งออกของไทยมายังอิตาลีจึงน่าจะไปได้ดีในกลุ่มสินค้าอาหาร

2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

เทียบกับไตรมาส 3 ปี 52 เทียบกับไตรมาส 2 ปี 53

          ไตรมาส 3 ปี 53 (%)           +1.1                    +0.3

ที่มา : สถาบันสถิติแห่งชาติ (Istat)

สถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลีได้เปิดเผย ตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP)ไตรมาส 3 ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เปรียบเทียบจากไตรมาส 2 (+0.5%) และมีอัตราเพิ่มขึ้น 1.1% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

ขณะที่คณะกรรมาธิการยุโรปโดยหน่วยงาน Eurostat ได้ประมาณการ GDP อิตาลีในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2553 ว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 3 ปี 2552 (จากเดิมคาดการณ์ไว้ +1.0%) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปี 2553 (จากเดิมคาดการณ์ไว้ +0.2%)

3. การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production)

                              เทียบกับพฤศจิกายน ปี 52           เทียบกับตุลาคม ปี 53
          พฤศจิกายน ปี 53 (%)             +4.1                       +1.1

ที่มา : Istat

การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเดือนพฤศจิกายน 2553 มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม (-0.1%) สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่อรจักรและส่วนประกอบ (+12.2%) ชิ้นส่วนเกี่ยวกับไฟฟ้าและไม่เกี่ยวกับไฟฟ้า (+10.0%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (+8.3%) และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ (+6.8%) เป็นต้น

4. ผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรม

4.1 ผลประกอบการ

                              เทียบกับพฤศจิกายน ปี 52           เทียบกับตุลาคม ปี 53
          พฤศจิกายน ปี 53 (%)            +12.1                       +0.2

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี ได้เปิดเผยว่า ในเดือนพฤศจิกายนผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมอิตาลีมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.2% เปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า และมีอัตราเพิ่มขึ้น 12.1% เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ผลประกอบการระหว่างเดือนมกราคม — พฤศจิกายน 53 มีอัตราเพิ่มขึ้น 10.1% เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 52

4.2 คำสั่งซื้อ

                              เทียบกับพฤศจิกายน ปี 52           เทียบกับตุลาคม ปี 53
          พฤศจิกายน ปี 53 (%)             +9.6                       -4.3

ที่มา:Istat

เดือนพฤศจิกายน 2553 คำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมมีอัตราลดลง 4.3 % โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดลงของคำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและตลาดต่างประเทศ 3% และ 6.2% ตามลำดับ

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี พบว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นได้แก่

1) ภาคการผลิตโลหะ 26.3%

2) ภาคการผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไม่ไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้าน 20.8%

3) ภาคการผลิตสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนังและเครื่องประดับ 14.9%

ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับคำสั่งซื้อลดลง ได้แก่

1) ภาคการผลิตยานพาหนะขนส่ง 19.2%

2) ภาคการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ นาฬิกา แว่นตา 17.9%

3) ภาคการผลิตเภสัชกรรม 3.4%

นอกจากนี้ ภาคการผลิตรถยนต์ ได้รับคาสั่งซื้อลดลง 6.9% แต่ผลการประกอบการเพิ่มขึ้น 10.7%

5. การบริโภค

                              เทียบกับกันยายน ปี 52           เทียบกับสิงหาคม ปี 53
          กันยายน ปี 53 (%)             -1.6                        +0.4

ที่มา : สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ(Confcommercio)

เดือนกันยายน 2553 การบริโภคของชาวอิตาเลียนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างช้า ๆ โดยพบว่าปริมาณการสั่งซื้อสินค้าเพื่อการบริโภคของครอบครัวอิตาเลียนลดลงร้อยละ 2.8 แต่ความต้องการทางด้านการบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4

ระหว่างปี 2551-2552 พบว่าการบริโภคของชาวอิตาเลียนมีอัตราลดลงร้อยละ 2.1 ต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขเหมือน 10 ปีที่ผ่านมา โดยการลดลงดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จากการเปิดเผยข้อมูลของสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ(Confcommercio) พบว่าชาวอิตาเลียนได้ลดการใช้จ่ายในด้านต่างๆ ดังนี้ การท่องเที่ยวในเทศกาลวันหยุด (-3.2%) การรับประทานอาหารในบ้านและนอกบ้าน (-3.2%) ด้านการสื่อสาร (-3.1%) เครื่องแต่งกาย (-3.1%) แต่ในทางตรงกันข้ามชาวอิตาเลียนได้เพิ่มการใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ (+2.5%) เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน (+2.4%) และค่าใช้จ่ายในด้านการสื่อสารต่าง ๆ (+0.4%)

6. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

6.1 ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี

                                            พฤศจิกายน ปี 53       ธันวาคม ปี 53       เปลี่ยนแปลง
          ดัชนีความเชื่อมั่น ธันวาคม ปี 53 (จุด)        108.5             109.1             +0.6 จุด

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี เดือนธันวาคม 2553 กลับมามีตัวเลขเหมือนเดือนมกราคม2552 ซึ่งพบว่าความเชื่อมันของผู้บริโภคอิตาลีทางตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของอิตาลีมีดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น แต่สาหรับทางตะวันตกเฉียงเหนือและภาคกลางกลับมีดัชนีลดลง

6.2 ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี

                                            พฤศจิกายน ปี 53        ธันวาคม ปี 53      เปลี่ยนแปลง
          ดัชนีความเชื่อมั่น ธันวาคม ปี 53 (จุด)        101.7              103.0            +1.3 จุด

ที่มา : สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และศึกษาเศรษฐกิจ (ISAE)

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี เดือนธันวาคม 2553 มีมูลค่าสูงสุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยมีปัจจัยมาจากยอดการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากตลาดต่างประเทศ การทยอยนำสินค้าในสต็อกออกมาจำหน่าย และความหวังในอนาคตอันใกล้ต่อภาคการผลิตอิตาลีจะมีแนวโน้มดีขึ้น

7. การค้าระหว่างประเทศ

                                      เทียบกับพฤศจิกายน ปี 52           เทียบกับตุลาคม ปี 53
          การส่งออก พฤศจิกายน ปี 53                 +20                       +0.9
          การนำเข้า พฤศจิกายน ปี 53               +28.3                       +1.5
          ขาดดุลการค้า                     3,4 พันล้านยูโร

สำหรับการส่งออกและนำเข้าระหว่างเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2553 พบว่า มีตัวเลขเพิ่มขึ้น 15.2% และ 21.8% เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับการส่งออกและนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2553 พบว่ามีตัวเลขเพิ่มขึ้น 3.3% และ 3.8% เปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553

                                                เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53

การส่งออกสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป

          ธันวาคม ปี 53                                  +19.2                          +0.8

การนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป

          ธันวาคม ปี 53                                  +48.4                          +3.1
          ขาดดุลการค้า                            1,330 ล้านยูโร

ที่มา : Istat

ในไตรมาส 4 ปี 53 พบว่าตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าของอิตาลีแก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 1.9% และ 7% ตามลำดับเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สำหรับการส่งออกและนำเข้าปี 2553 พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้น 16.7% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 29.28 เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการนำเข้าของอิตาลีส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพลังงาน

7.1 การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 366,171 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 9.9

ตลาดส่งออกที่สำคัญทั่วโลก 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 47,714 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.4%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 42,411 ล้านเหรียญสหรัฐ +9.7%

อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 22,276 ล้านเหรียญสหรัฐ +13.5%

อันดับ 4 สเปน มูลค่า 21,266 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.8%

อันดับ 5 สหราชอาณาจักร มูลค่า 19,667 ล้านเหรียญสหรัฐ +14.9%

อันดับ 59 ไทย มูลค่า 956 ล้านเหรียญสหรัฐ +9.9%

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เครื่องจักร มูลค่า 70,719 ล้านเหรียญสหรัฐ +1.7%

อันดับ 2 ยานบก มูลค่า 26,828 ล้านเหรียญสหรัฐ +15.3%

อันดับ 3 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 23,916 ล้านเหรียญสหรัฐ +11.7%

อันดับ 4 เชื้อเพลิง น้ามันแร่ มูลค่า 18,340 ล้านเหรียญสหรัฐ +46.4%

อันดับ 5 พลาสติก มูลค่า 15,731 ล้านเหรียญสหรัฐ +15.5%

7.2 การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม- ตุลาคม 2553 อิตาลีมีการนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 394,462 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 16.2

แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 62,711 ล้านเหรียญสหรัฐ +11.8%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 32,867 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.3%

อันดับ 3 จีน มูลค่า 30,915 ล้านเหรียญสหรัฐ +35.8%

อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 21,118 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.6%

อันดับ 5 สเปน มูลค่า 17,396 ล้านเหรียญสหรัฐ +16.9%

อันดับ 48 ไทย มูลค่า 1,431 ล้านเหรียญสหรัฐ +22.9%

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เชื้อเพลิง น้ามันแร่ มูลค่า 73,511 ล้านเหรียญสหรัฐ +23.7%

อันดับ 2 ยานบก มูลค่า 34,510 ล้านเหรียญสหรัฐ +1.49

อันดับ 3 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 34,469 ล้านเหรียญสหรัฐ +29.5%

อันดับ 4 เครื่องจักร มูลค่า 33,257 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.6%

อันดับ 5 เหล็ก และเหล็กกล้า มูลค่า 16,012 ล้านเหรียญสหรัฐ +49.4%

7.3 การส่งออกมาไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 59 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 956 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.9 % เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่

          - เครื่องจักร                               +4.5%
          - เครื่องจักรไฟฟ้า                           +9.9%
          - รัตนชาติ โลหะมีค่า                        +21.4%
  • อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ +44.4%
          - พลาสติก                                +27.4%

สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่

          - ของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า                 -5.6%
          - เหล็ก และเหล็กกล้า                       -46.5%
          - เคมีภัณฑ์อินทรีย์                           -20.8%

7.4 การนำเข้าจากไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 48 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 1,431 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.9% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย ได้แก่

          - เครื่องจักร                         +47.5%
          - ยาง                              +68.9%
          - เครื่องจักรกลไฟฟ้า                   +46.3%
          - ยานบก                            +64.8%
          - รัตนชาติ โลหะมีค่า                   +27.0%

สินค้าที่อิตาลีนำเข้าลดลงจากไทย ได้แก่

          - ปลาและอาหารทะเล                   -6.8%
          - ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา           -29.9%
          - เครื่องแต่งกายถักแบบนิต                -4.6%

ที่มา: World Trade Atlas

8. อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)

                              เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
          ธันวาคม ปี 53 (%)             +1.9                          +0.4

ที่มา: Istat

จากข้อมูลของ Istat พบว่าเดือนธันวาคม 2553 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากราคาของพลังงาน ค่าขนส่ง ค่าน้ำ ค่าบริการและที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ทาง Istat ได้คาดการณ์ว่าในปี 2553 อัตราเงินเฟ้ออิตาลีอาจมีอัตรา +1.5% (ปี 2552 มีอัตรา +0.8%)

9. ตลาดแรงงาน

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกอย่างช้าๆ แต่ตลาดแรงงานในอิตาลียังคงต้องเผชิญปัญหาของอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นและการจ้างงานที่ลดลง

9.1 อัตราการว่างงาน

                                        พฤศจิกายน ปี 53           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 52
          อัตราการว่างงาน พฤศจิกายน 53 (%)      8.7                       +0.4 จุด

ที่มา : Istat

เดือนพฤศจิกายน 2553 พบว่ามีอัตราการว่างงานลดลง 0.1 จุด เปรียบเทียบกับตุลาคมที่ผ่านมา โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.4 จุด เปรียบเทียบกับพฤศจิกายน 2552 ซึ่งอัตราการว่างงานดังกล่าวถือเป็นอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 แต่ก็ยังถือว่ามีอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประมาณ 2 จุด โดยผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-24 ปี อัตราการว่างงานร้อยละ 28.9 (+0.9 จุด เปรียบเทียบกับตุลาคม 2553 และ +2.4 จุด เปรียบเทียบกับพฤศจิกายน 2552)

9.2 การจ้างงาน

                                        เทียบกับพฤศจิกายน ปี 52           เทียบกับตุลาคม ปี 53
          การจ้างงาน พฤศจิกายน 53 (%)               +0.1                       +0.2

ที่มา : Istat

จากข้อมูลสถาบันสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่าในเดือนพฤศจิกายน 2553 จำนวนคนหางานมีอัตราลดลงร้อยละ 0.4 เปรียบเทียบกับตุลาคม 2553 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เปรียบเทียบกับพฤศจิกายน 2552 นอกจากนี้ อัตราการจ้างงานเดือนพฤศจิกายน 2553 มีอัตราร้อยละ 56.8 (+0.1 จุด เปรียบเทียบกับตุลาคม 2553 และ -0.2 จุด เปรียบเทียบกับพฤศจิกายน 2552)

ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลของสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งชาติ (Centro Studi Confindustria) คาดการณ์ว่า ในปี 2553 การจ้างงานมีอัตราลดลงร้อยละ 1.7 (โดยปี 2552 มีอัตราลดลง 2.6) ส่วนปี 2554 มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และจะเริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2555 ร้อยละ 0.9

9.3 การลดชั่วโมงการทำงาน

สถาบันประกันสังคมแห่งชาติอิตาลี (Istituto Nazionale Previdenza Sociale-INPS) ได้เปิดเผยถึงจำนวนบริษัทที่ได้ลดชั่วโมงการทำงานของพนักงานลงอันเนื่องมาจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้น เดือนตุลาคม 2553 พบว่า มีจำนวน 100,8 ล้านชั่วโมง (-2.3%) เปรียบเทียบกับกันยายน นอกจากนี้ ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 มีจำนวน 925,7 ล้านชั่วโมง เพิ่มขึ้น 50.5% (614,9 ล้านชั่วโมงระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2552)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ