กฎหมายการขอใบอนุญาตทำงานในสาธารณรัฐตุรกี
ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในสาธารณรัฐตุรกี สามารถขอวีซ่าหรือใบอนุญาตให้มีถิ่นพำนักในประเทศตุรกีได้ครั้งละ 1 ปี และ 2 ปี ตามลำดับ โดยประสานกับนายจ้างให้ดำเนินการเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง ที่สถานเอกอัครราชทูตตุรกี ประจำประเทศไทย เพื่อส่งเรื่องมายังกระทรวงการต่างประเทศตุรกี และประสานต่อไปยังกระทรวงแรงงานให้พิจารณาอนุมัติ (ใช้เวลาพิจารณาประมาณ 3-6 เดือน)
หลังจากได้รับการพิจารณาอนุญาตแล้ว ให้นายจ้างดำเนินการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานความมั่นคง (Security Authorities หรือ Emniyet Mudurlugu) ในเขตที่พำนักอยู่ ภายใน 3 เดือนหลังจากลูกจ้างเดินทางเข้ามายังสาธารณรัฐตุรกี
อาชีพที่สงวนไว้สำหรับคนตุรกี ซึ่งเป็นอาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างชาติ ได้แก่ นักกฏหมาย แพทย์ (ยกเว้นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ Expert) ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่ Notary Public พนักงานขาย(Salesman) นักดนตรี ช่างภาพ ช่างตัดผม ผู้ผลิตรองเท้า Stock Broker ล่าม ไกด์นำเที่ยว งานก่อสร้างต่างๆ งานติดตั้งอุปกรณ์สาธารณูปโภคในลักษณะชั่วคราวและถาวร พนักงานขับรถ พนักงานรักษาความปลอดภัย ภารโรง พนักงานเสริฟ แม่บ้าน พนักงานสันทนาการในสถานเริงรมย์ต่างๆ (ซึ่งจะไม่มีการออกใบอนุญาตทำงานให้กับอาชีพดังกล่าวข้างต้น) ยกเว้นการนวดไทยในรูปแบบนักบำบัดโรค Therapist/ ผู้เชี่ยวชาญด้านความงามที่มีใบอนุญาตจากทางการหรือกระทรวงสาธารณสุขตุรกี
เพื่อความปลอดภัยและหลีกเลี่ยงจากการถูกหลอกจากนายจ้างควรจะศึกษาสัญญาจ้างงานและสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับก่อนการตัดสินใจเดินทาง ซึ่งสัญญาการจ้างงานและสิทธิต่างๆ ควรระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. สัญญาการจ้างงานและสิทธิในการทำสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษร
สัญญาจ้างงานเป็นความตกลงที่มีข้อผูกมัดตามกฏหมายและในสัญญาฯ ควรระบุว่า “บุคคลที่เกี่ยวข้องในการสัญญามีข้อตกลงระหว่างกัน โดยมีผลตอบแทน ดังนั้น หากบุคคลใดที่ทำงานโดยได้รับค่าข้าง ไม่ใช่เป็นการอาสาสมัครทำงาน และไม่ได้ว่าจ้างตัวเองทำงาน บุคคลนั้นมีฐานะเป็นลูกจ้าง และจะจ้องมีสัญญาจ้างงาน”
สิทธิพื้นฐานที่ลูกจ้างควรได้รับจากการจ้างงาน ได้แก่
- ระยะเวลการจ้างงาน
- อัตราการจ้างงาน
- ประกันสังคม (สุขภาพ)
- วันหยุดประจำปีโดยได้รับเงินค่าจ้าง (Paid Annual Leave)
- ค่าชดเชยการเลิกจ้าง (Severance Pay)
- และสวัสดิการอื่นๆ อาทิ ที่พักอาศัย ค่าล่วงเวลา ประกันสังคม และประกันชีวิตพิเศษที่ทำให้โดยนายจ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลง
ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
2. ลูกจ้างมีสิทธิที่จะรับแจ้งจากนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างงาน (Terms) และเงื่อนไขของการจ้างงานภายในระยะเวลาสัญญาการจ้างงาน ซึ่งในสัญญาควรจะระบุดังนี้
2.1 ชื่อของลูกจ้างและนายจ้าง อาจเป็นชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ
2.2 ที่อยู่ของานยจ้าง
2.3 วันที่เริ่มการจ้างงาน และเงื่อนไขเกี่ยวกับการจ้างงาน
2.4 กำหนดชำระเงินค่าจ้างงาน และความเป็นมาในการคำนวณค่าจ้างงาน
2.5 ชั่วโมงการทำงานที่คาดหวัง รวมถึงชั่วโมงการทำงานตามปกติ
2.6 รายละเอียดเกี่ยวกับวันหยุดรวมถึงวันหยุดราชการ ซึ่งลูกจ้างได้รับอนุญาต ให้ลาหยุดงานโดยได้รับเงินค่าจ้าง
2.7 จำนวนวันหยุดในกรณีที่เจ็บป่วย หรือบาดเจ็บที่ได้รับเงิน และแนวทางปฏิบัติของลูกจ้างในการขอรับเงินที่สืบเนื่องจากการ
เจ็บป่วย
2.8 ประเภทของเงินสงเคราะห์ที่บริษัทรับผิดชอบ
2.9 ตำแหน่งงานหรือรายละเอียดเกี่ยวกับงานที่ได้รับการว่าจ้างทำงาน
2.10 สถานที่ทำงานและสิทธิที่นายจ้างจะสามารถย้ายที่ทำงานของลูกจ้าง
2.11 ระยะเวลาที่ลูกจ้างและนายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้า หากแต่ละฝ่ายประสงค์จะบอกเลิกสัญญา
2.12 การสิ้นสุดของสัญญา
2.13 การจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา และอื่นๆ
2.14 กระบวนการดำเนินการของานยจ้าง ในกรณีประสงค์จะเอาโทษด้านกฏระเบียบกับลูกจ้าง
2.15 รายชื่อบุคคลที่ลูกจ้างควรหารือ หากลูกจ้างมีความขัดข้องใจ
3. สิทธิขั้นต่ำที่ลูกจ้างพึงได้รับ มีดังนี้
3.1 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฏหมายตุรกี (Gross) สำหรับแรงงานที่มีอายุมากกว่า 16 ปี เท่ากับ 729 ลีร่าตุรกีต่อเดือน
และ (Net) เท่ากับ 577.01 ลีร่าตุรกี ทั้งนี้ จะมีการปรับทุก 6 เดือน
3.2 วันหยุดประจำปี โดยได้รับเงินค่าจ้าง สรุปได้ดังนี้
3.2.1 ทำงานระยะเวลา 0-5 ปี 14 วันทำการ 3.2.2 ทำงานระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 15 ปี 20 วันทำการ 3.2.3 ทำงานระยะเวลาตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 26 วันทำการ
3.2.4 กรณีคลอดบุตร 16 สัปดาห์ แยกเป็น ก่อน 8 และหลัง 8 ส่วนกรณีคลอดแฝดได้เพิ่มจากวันหยุดข้างต้นอีก 2
สัปดาห์
3.3 ทำงานไม่มากกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยในช่วงเวลา ยกเว้น ลูกจ้างตกลงจะทำงาน
4. ข้อควรระมัดระวัง
ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานที่ประเทศตุรกี ควรระมัดระวังคำโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ ที่แอบแฝงมาในรูปแบบของนายหน้าบริษัทจัดหางาน ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่นอว่า เป็นบริษัทจัดหางานที่มีการจดทะเบียบถูกต้องหรือไม่ และมีการทำสัญาที่เป้นลายลักษณ์อักษรระหว่างนายจ้างและลูกจ้างหรือไม่ กรณีถูกนายจ้างหลอก บริษัทจัดหางานมีการจ่ายค่าชดเชยให้หรือไม่ ทั้งนี้ ขอคำปรึกษาหรือแจ้งกระทรวงแรงงาน ก่อนเดินทางก่อน
เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครอิสตันบูล
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงอังการา
ที่มา: http://www.depthai.go.th