สถานการณ์การค้าระหว่างไทย-อิหร่าน ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 3, 2011 13:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างไทย-อิหร่าน ในปี 2553 มีมูลค่า 794.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 0.21 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย ลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 28.52

ไทยส่งออกไปอิหร่านส่งออกมีมูลค่า 512.68 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นร้อยละ 0.26 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย และลดลงจากปี 2552 ร้อยละ 39.97

ไทยนำเข้าจากอิหร่านเป็นมูลค่า 281.78 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของมูลค่าการนำเข้ารวมของไทย และเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ร้อยละ 9.52

ในปี 2553 ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับอิหร่าน เป็นมูลค่า 230.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การส่งออกไปอิหร่าน

ในปี 2553 อิหร่านเป็นตลาดการส่งออกลำดับที่ 47 ของไทย โดยระหว่างปี 2550-2553 มูลค่าการส่งออกของไทยไปอิหร่านผันผวนตามสภาพการกดดันทางการเมืองและการค้าจากนานาชาติ อย่างไรก็ดี ในปี 2552 ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงสุดถึง 854.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

การส่งออกไทยไปอิหร่านในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2553 เฉลี่ยประมาณเดือนละ 42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ไทยส่งออกไปอิหร่านสม่ำเสมอตลอดปี อย่างไรก็ดี ช่วงหลังเดือนมีนาคมของทุกปี ไทยส่งออกไปอิหร่านลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นช่วงหลังเทศกาลปีใหม่ของอิหร่าน

ไทยมีการส่งออกไปอิหร่านเดือนธันวาคม 2553 เป็นมูลค่า 70.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.39 เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553

สินค้าส่งออกไปอิหร่าน

โครงสร้างสินค้าส่งออกในปี 2553 สินค้าส่งออกของไทยอันดับแรกเป็นกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 26.67 รองลงมาเป็นกลุ่มสินค้าอาหาร ร้อยละ 15.57 อันดับสามเป็นกลุ่มสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ร้อยละ 10.22 ผลิตภัณฑ์พลาสติกร้อยละ 7.19% ผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 5.75 เสื้อผ้าและสิ่งทอร้อยละ 5.97 อุปกรณ์ส่วนยานยนต์ร้อยละ 5.32 กระดาษร้อยละ 3.10 และอื่นๆ ร้อยละ 19.65

สินค้าส่งออกของไทยที่เพิ่มขึ้นได้แก่ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (ร้อยละ 288.57) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ 222.05) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 178.03) ข้าว (ร้อยละ 130.66) รองเท้าและชิ้นส่วน (ร้อยละ 68.39) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 57.6) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 54.68) เม็ดพลาสติก (ร้อยละ 49.83) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (ร้อยละ43.17) ยางพารา (ร้อยละ 40.75) ผักกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 40.38) เครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น (ร้อยละ 27.45) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 9.17) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง (ร้อยละ 3.82)

สินค้าส่งออกของไทยที่ลดลง ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ -75.49) เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (ร้อยละ-71.55) ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ (ร้อยละ -10.7) เส้นใยประดิษฐ์ (ร้อยละ -3.52) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (ร้อยละ-3.48) แก้วและกระจก (ร้อยละ -1.44)

การนำเข้าจากอิหร่าน

ในปี 2553 อิหร่านเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 46 ของไทย โดยระหว่างปี 2550-2553 มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี และในปี 2553

ไทยมีมูลค่านำเข้าจากอิหร่านสูงสุดถึง 281.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไทยนำเข้าจากอิหร่านในช่วงเดือนมกราคม-ธันวาคม 2553 เฉลี่ยประมาณเดือนละ 23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ไทยนำเข้าจากอิหร่านเดือนธันวาคม 2553 เป็นมูลค่า 25.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 574.23 เมื่อเทียบกับเดือน พฤศจิกายน 2553

สินค้านำเข้าจากอิหร่าน

โครงสร้างสินค้านำเข้าในปี 2553 สินค้านำเข้าอันดับแรกเป็นกลุ่มพลังงาน (ร้อยละ 37.89)เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 34.39) สินแร่ (ร้อยละ 7.92) อาหาร (ร้อยละ 3.62) เหล็ก (ร้อยละ 1.81) อิเล็กทรอนิกส์ (ร้อยละ 0.56) ปุ๋ย (ร้อยละ 5.55) และอื่นๆ (ร้อยละ 8.25)

สินค้านำเข้าจากอิหร่านที่เพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (ร้อยละ 9,275) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 3,218.90) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (ร้อยละ 2,905.11) ไดโอด ทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (ร้อยละ 1,892.31) เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ (ร้อยละ 1,440) เชื้อเพลิงอื่นๆ (ร้อยละ 1,034.95) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (ร้อยละ 668.92) แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่ (ร้อยละ 645.89) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ (ร้อยละ 209.88) ก๊าซธรรมชาติ (ร้อยละ 157)สัตว์น้าสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่ง (ร้อยละ 97.75) ผลิตภัณฑ์โลหะ (ร้อยละ 74.77) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 38.15) ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (ร้อยละ 24.13) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ 0.15)

สินค้านำเข้าจากอิหร่านที่ลดลง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป (ร้อยละ -57.43) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ -44.03) ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ (ร้อยละ -30.93) ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ (ร้อยละ -14.11)

สคร ณ กรุงเตหะราน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ