การค้าระหว่างไทย-คูเวต
การค้าระหว่างไทยและคูเวตในแต่ละปีมีมูลค่าการค้าไม่มากนัก โดยปกติไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าจากคูเวตส่วนใหญ่เป็นสินค้าน้ำมัน การส่งออกของไทยไปคูเวตเมื่อปี 2553 หดตัวลงร้อยละ 16.6 เพราะผู้บริโภคระวังการซื้อสินค้ามากขึ้น รถยนต์และส่วนประกอบ(สัดส่วนของการส่งออกร้อยละ 45-50%) สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่เป็นสินค้าหลักของไทยไปคูเวตลดลง จึงฉุดให้ตัวเลขรวมของการส่งออกของไทยไปคูเวตลดลง ด้วย
สินค้าส่งออกสำคัญของกลุ่ม 10 อันดับแรกเติบโตขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง เม็ดพาสติก ข้าวและกระดาษ
ไทยนำเข้าสินค้าจากคูเวต
สินค้าน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 70 ที่ไทยนำเข้าจากคูเวต จึงทำให้ไทยเสียบเปรียบดุลการค้ากับคูเวต นอกจากนั้นเป็นสินค้าปิโตรเคมี เศษเหล็ก เศษกระดาษ เป็นต้น
สรุป
คูเวตเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันมากเป็นอันดับ 4 ของโลก มีสัดส่วนน้ำมันสำรอง 8%ของโลก สามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 2.3 ล้านบาเรล/วัน อัตราการเติบโตเศรษฐกิจคูเวตเมื่อปี 2010 ประมาณร้อยละ 4 และมีความเป็นไปได้ ที่จะสามารถขยายขึ้นร้อยละ 4.5 ในปี 2011
GDP ของประเทศมีทิศทางขยายตัวในอัตราประมาณ 3-4% ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศคูเวตบ่งบอกว่าเศรษฐกิจได้เริ่มฟื้นตัว อาทิ ตัวเลขรายได้ของบริษัท (corporate earnings) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น มีความหวังได้ว่าจะเริ่มมีการจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น และจะทำให้อัตราการว่างงานลดลงในที่สุด รัฐบาลคูเวตประกาศจะใช้เงิน 107 พันล้านเหรียญสหรัฐฯสำหรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พร้อมงบประมาณสำหรับโครงการขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง อาทิ โครงการการพัฒนาอุตสาหรรมน้ำมันและก๊าซ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตและปรับปรุงโรงงานน้ำมันและโรงกลั่นน้ำมันให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth)
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองดูไบ
ที่มา: http://www.depthai.go.th