รายงานสรุปสินค้าในความรับผิดชอบ สินค้าข้าว ธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 4, 2011 14:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้าข้าว ธันวาคม 2553

1. ประมาณการณ์สถานการณ์ข้าวของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯในปี 2010/11

1.1 ซัพพลายเท่ากับ 13.49 ล้านเมตริกตัน มากกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 11

1.1.1 ซัพพลายข้าวเมล็ดยาวเท่ากับ 10.03 ล้านเมตริกตัน มากกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 17

1.1.2 ซัพพลายข้าวเมล็ดกลาง/สั้น เท่ากับ 3.38 ล้านเมตรติกตัน น้อยกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 5

1.2 การผลิตประมาณ 10.94 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10

1.2.1 พื้นที่การปลูกข้าวเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้านี้

1.2.2 ส่วนใหญ่ของผลผลิตเป็นข้าวเมล็ดยาว

1.2.3 รัฐผลิตข้าวทุกรัฐได้ผลผลิตข้าวเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นรัฐแคลิฟอร์เนีย

1.3 ข้าวที่ได้จากการสีข้าวมีจำนวนลดลง ปีนี้ผลผลิตจากการสีข้าวได้เพียงร้อยละ 67.5 ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 1960/61 เป็นต้นมา (ปี 1960/61 เป็นปีแรกที่สหรัฐฯเริ่มเก็บสถิติการสีข้าว)

1.4 การใช้ข้าวเท่ากับ 11.23 ล้านเมตริกตัน มากกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 7

1.4.1 การใช้ภายในประเทศเท่ากับ 5.84 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5

1.4.2 การส่งออก 5.39 ล้านเมตริกตัน ในปีนี้ข้าวเมล็ดกลาง/สั้นถูกส่งออกมากที่สุดคือ ประมาณ 1.63 ล้านเมตริกตัน

1.5 สต๊อกสุดท้ายของข้าวเท่ากับ 2.25 ล้านเมตริกตัน มากกว่าปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 36 และเป็นสต๊อกข้าวที่มากที่สุดนับตั้งแต่ปี 1986/87 เป็นต้นมา

1.6 ราคาข้าวที่ที่นาเฉลี่ยตามฤดูกาล

1.6.1 ข้าวเมล็ดยาวเท่ากับ 231.78 — 253.86 เหรียญฯต่อหนึ่งเมตริกตัน

1.6.2 ข้าวเมล็ดกลาง/สั้นเท่ากับ 370.86 — 392.93 เหรียญฯต่อหนึ่งเมตริกตัน

1.7 การนำเข้าข้าว

1.7.1 ประมาณ 0.88 ล้านเมตริกตัน

1.7.2 การนำเข้าข้าวเมล็ดยาวเท่ากับ 0.77 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 แต่ต่ำกว่าปี 2007/08 ร้อยละ 4 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าข้าวหอมจากประเทศไทย (อัตราการขยายตัวของการนำเข้าข้าวหอมจากประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ) ที่เหลือเป็นข้าว เมล็ดยาวบาสมาติจากอินเดียและปากีสถาน

1.7.3 การนำเข้าข้าวเมล็ดกลาง/สั้น เท่ากับ 0.11 ล้านเมตริตกัน น้อยกว่าปีก่อนหน้านี้เพียงเล็กน้อย

1.8 การค้าส่งออก

1.8.1 ประมาณ 5.39 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8

1.8.2 การส่งออกข้าวเปลือก 2.03 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไปยังประเทศกลุ่มลาตินอเมริกา

1.8.3 การส่งออกข้าวสีแล้ว 3.35 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ส่วนใหญ่ของการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาจากการส่งออกไปยังตลาด Sub-Saharan Africa และ North Africa

1.8.4 การส่งออกข้าวเมล็ดยาวเท่ากับ 3.75 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 10 ส่วนใหญ่ของการเพิ่มขึ้นของการส่งออกมาจากการส่งออกไปยัง Sub-Saharan Africa และ ลาตินอเมริกา

1.8.5 การส่งออกข้าวเมล็ดกลาง/สั้นเท่ากับ 1.63 ล้านเมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 3 การส่งออกที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการขายให้แก่ North Africa

1.9 ราคาเสนอขายข้าวสหรัฐฯ

1.9.1 ราคาข้าวเมล็ดยาวสีแล้วมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นสืบเนื่องมาจากการสีข้าวที่ให้ผลผลิตต่ำทำให้ข้าวมีราคาแพง

1.9.1.1 ข้าวเมล็ดยาวคุณภาพสูงจากภาคใต้ (ข้าวหมายเลข 2 หัก 4 เปอร์เซ็นต์ บรรจุถุง free alongside vessel, U.S. Gulf port) เท่ากับ 595 เหรียญฯต่อ 1 เมตริกตัน

1.9.1.2 ข้าวเมล็ดยาว ข้าวเปลือก (bulk, fob vessel, New Orleans) เท่ากับ 310 เหรียญฯต่อ 1 เมตริกตัน

1.9.2 ข้าวเมล็ดกลางจากรัฐแคลิฟอร์เนีย

1.9.2.1 บรรจุถุง สำหรับขายในตลาดในประเทศ ราคา 871 เหรียญฯต่อ 1 เมตริกตัน

1.9.2.2 สำหรับการส่งออก (ถุงขนาด 30 กิโลกรัม fob vessel) เท่ากับ 875 เหรียญฯ ต่อ 1 เมตริกตัน

1.10 ตลาดข้าวโลกในปี 2011

1.10.1 ตลาดจะตึงตัว

1.10.2 ซัพพลายจะตึงตัว

1.10.3 ราคาข้าวจะเพิ่มสูงขึ้น

2. อุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯ

ในปี 2009 อุตสาหกรรมข้าวสหรัฐฯมีส่วนแบ่งในเศรษฐกิจสหรัฐฯ 34 พันล้านเหรียญฯ

ร้อยละ 85 ของข้าวที่บริโภคในตลาดสหรัฐฯมาจากผลผลิตภายในประเทศ แหล่งผลิตข้าวสำคัญของสหรัฐฯอยู่ใน 6 รัฐที่เรียกว่า Rice Belt คือ อาร์คันซอร์ แคลิฟอร์เนีย หลุยเซียน่า มิสซิสซิปปี้ มิสซูรี่ และเท็กซัส สหรัฐฯสามารถผลิตข้าวได้ทุกชนิดทั้งข้าวเมล็ดยาว เมล็ดกลาง เมล็ดสั้น ข้าวหอม และข้าวพิเศษอื่นๆ การกระจายข้าวของสหรัฐฯส่วนใหญ่หรือร้อยละ 33 กระจายโดยตรงเข้าสู่ตลาดค้าปลีกทั่วไปร้อยละ 23 เข้าสู่ตลาด ethnic และร้อยละ 17 เข้าสู่ตลาดให้บริการอาหาร

ปัจจุบันผู้บริโภคสหรัฐฯบริโภคข้าวในอัตราเฉลี่ย 26 ปอนด์ต่อคนต่อปี เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ 1 ปอนด์ต่อคนต่อปี ความต้องการบริโภคข้าวในสหรัฐฯมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้ผู้บริโภคสหรัฐฯหันไปบริโภคอาหารที่มีราคาไม่แพงแต่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสามารถหุงปรุงแต่งได้ที่บ้านเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันมีข้าวพร้อมรับประทานที่ชนิดใหม่ๆและหลากหลายรสชาดวางจำหน่ายตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งเป็นเงื่อนไขที่เปิดโอกาสการเติบโตของการบริโภคข้าวในตลาดสหรัฐฯ

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ