ข้อมูลตลาดสินค้าอาหารฮาลาลหรือเฮลาลในสหพันธ์สาธารณเยอรมนี

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 7, 2011 12:12 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ความหมายของฮาลาลหรือเฮลาล

เมื่อพูดถึง ฮาลาล หรือ เฮลาล ทุกคนจะหมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ชาวมุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้ เป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงส่วนหนึ่ง เพราะ ฮาลาลยังครอบคลุมไปถึง ส่วนประกอบ สารผสมที่ใช้ในการผลิตอาหาร สารเคมีต่างๆ เครื่องสำอางค์ ตลอดจนโรงงาน สถานที่และการให้บริการอีกมากมาย เช่น ร้านอาหาร โรงแรม โรงพยาบาล กิจการท่องเที่ยว และการให้บริการของสายการบิน เป็นต้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาหาร จะมีข้อกำหนดห้ามการบริโภคเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ทำจากหมู เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ อาหารที่มีสิ่งต้องห้ามเจือปน และเนื้อสัตว์ที่บริโภคได้จะต้องได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีโภชนาการถูกหลักสุขอนามัยด้วย

2. โอกาสทางการตลาด

การบริโภคอาหารฮาลาลทั่วโลกเป็นมูลค่าปีละประมาณ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในทวีปยุโรปมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ประมาณ 50 ล้านคน นับเป็นอันดับที่สามรองจากเอเชียและอัฟริกา มีการบริโภคเป็นมูลค่าประมาณ 66,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับเยอรมนีที่มีประชากรทั้งสิ้น 81 ล้านคน เป็นชาวต่างชาติประมาณ 7 ล้านคน หรือร้อยละ 8.6 ของประชากรทั้งสิ้น ในจำนวนนี้เป็นชาวมุสลิมประมาณ 4.3 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 6 ของประชากรทั้งสิ้น ประมาณ 2.4 ล้านคนจะเป็นชาวตุรกี ในจำนวนนี้เป็นชาวตุรกีที่ได้ขอแปลงสัญชาติเป็นเยอรมันแล้วประมาณ 700,000 คน ตามสถิติสนง.สถิติแห่งชาติ ณ ต้นปี 2553 มีคนต่างชาติ จากประเทศที่ส่วนใหญ่มีประชากรนับถือศาสนามุลลิม ที่สำคัญๆ อาศัยอยู่เยอรมนี ดังนี้

          1. ตุรกี      1,658,083 คน       6. อิหร่าน        52,132 คน         11. ตูนีเซีย     22,921 คน
          2. แซร์บ       164,942 “        7. อัฟกานิสถาน    48,752 “          12. อัลจีเรีย    13,219 “
          3. บอสเนียฯ    154,565 ”        8. เลบานอน      36,960 “          13. อิยิปต์      11,923 “
          4. อิรัค         79,413 “        9. ซีเรีย         28,921 “          14. อินโดนีเซีย  11,654 “
          5. โมรอคโค     64,842 “        10. ปากีสถาน     28,578 “

สำหรับชาวต่างชาติอื่นๆ จากประเทศในเอเชียมีจำนวนประมาณ 815,000 ส่วนใหญ่เป็นชาวเวียตนาม (84,437 คน) ชาวจีน (79,870 คน) และคนไทยประมาณ 55,000 คน

ในปี 2553 ที่ผ่านมายอดขายอาหารในเยอรมนีเป็นมูลค่า 149,500 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ 1.2 เฉพาะอาหารฮาลาลประมาณว่าเป็นมูลค่าประมาณ 4,000 — 5,000 ล้านยูโร ที่สำคัญๆ จะเป็นอาหารทำจากเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อแกะ อาหารสำเร็จรูปต่างๆ ทำจากแป้ง และผลิตภัณฑ์นมเนย อาหารยอดนิยมอันดับแรก คือ เดอแนร์ และเคิฟเท่อ (เนื้อบด เนื้อย่าง ทานกับขนมปังและผักสลัด) มียอดขายเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ล้านยูโร จำหน่ายตามภัตตาคารและร้านอาหารจานด่วนทั่วประเทศกว่า 15,000 แห่ง ส่วนผักผลไม้สด ขนม ของขบเคี้ยว ของแห้งต่างๆ เช่น เส้นมักกะโรนี ถั่วต่างๆ ตลอดจนเครื่องกระป๋องจะมีวางจำหน่ายตามร้านค้าของชำในเมือง ในเขตชุมชนที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก โดยร้านค้าเหล่านี้จะเป็นของชาวมุสลิมทั้งหมด ที่ปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 3,000 ร้าน การเสนอขายในร้านค้าของคนเยอรมันจะมีบ้างในร้านประเภท Discounter (Lidl และ Aldi) เป็นต้น แต่ยังมีน้อยที่จะติดตรา เครื่องหมายฮาลาล ให้เห็นได้อย่างชัดเจนทำนองเดียวกับอาหารเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากยังมีปัญหาการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวมุสลิม โดยเฉพาะตุรกีกับคนเยอรมันที่หัวรุนแรง เพราะเห็นว่า การเชือดสัตว์ตามแบบอย่างฮาลาลเป็นการกระทำที่ทารุณกับสัตว์ นอกจากนี้ยังไม่พอใจที่ชาวตุรกีส่วนใหญ่ยังยึดมั่นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติตน ไม่พยายามที่จะปรับตัวให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ในเยอรมนี การเสนอขายอาหารฮาลาลในร้านค้าของชำของเยอรมันจึงยังไม่ได้รับความสนใจมากนักจากผู้ค้าปลีกรายใหญ่ๆ ในเยอรมนี นอกจากนี้ สืบเนื่องจากร้านค้าของชำชาวมุสลิมมีสินค้าอุปโภคบริโภคที่ต้องการค่อนข้างจะครบถ้วนอยู่แล้ว และเป็นที่ไว้ วางใจได้ว่าจะเป็นสินค้าฮาลาลทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2 — 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดได้ให้ความสนใจอาหารฮาลาลมากขึ้นเรื่อยมา เห็นว่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งควบคู่กันไปกับอาหารเกษตรอินทรีย์ ที่มีประโยชน์ มีความปลอดภัยมากกว่า

ร้านค้าปลีกสินค้าอาหารมุสลิมส่วนใหญ่จะเป็นร้านขนาดเล็ก พื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ตั้งในท้องที่ๆ มีชาวมุสลิมอยู่อาศัยกันมากตามเมืองใหญ่ๆ ตอนกลางของประเทศ โดยเฉพาะในแคว้นนอร์ทไรน์-เวสฟาเลีย เช่น โคโลญจน์ ดอร์ทมุนด์ โบคุ่ม ที่มีชาวมุสลิมอยู่อาศัยรวมกันประมาณ 1.5 ล้านคน เมืองใหญ่อื่นๆในเยอรมนีที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่มาก ได้แก่ กรุงเบอร์ลิน 300,000 คน ฮัมบวร์ก 60,000 คน นครมิวนิค 41,000 มานน์ไฮม์ 20,000 คน สตุทการ์ท และเบรเม็นเมืองละประมาณ 10,000 คน ชาวตุรกีที่พำนักอาศัยอยู่ในเยอรมนีที่มีจำนวนประมาณ 3 ล้านคนมีกำลังซื้อสินค้าเป็นมูลค่าปีละประมาณ 18,000 ล้านยูโร

2. ช่องทางการตลาด

สินค้าที่วางจำหน่ายในตลาดเยอรมนีส่วนหนึ่งเป็นผลผลิตจากโรงงานแปรรูปอาหาร วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น เนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ จะนำเข้าจากต่างประเทศ หรือจากฟาร์มปศุสัตว์ในประเทศ ส่วน Additive สี สารปรุงแต่ง ผงกลิ่น และอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการผลิตจะเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการในประเทศ สินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวมุสลิมโดยเฉพาะ เช่น เดอเนอร์ จะวางจำหน่ายตามร้านค้าของชาวมุสลิม หรือส่งไปยังภัตตาคาร ร้านอาหารต่างๆ ต่อไป สำหรับผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่ดูแล้วไม่แตกต่างกับไส้กรอกทั่วๆ ไปจะมีวางจำหน่ายตามร้านค้าปลีกประเภท Discounter และยังมิได้ติดตราฮาลาลรับรองสินค้าให้เห็นได้ชัดเจน เนื่องจากยังเกรงว่าอาจจะถูก Boycott โดยชาวเยอรมันหัวรุนแรงได้ อย่างไรก็ตามล่าสุดมีร้านค้าของชำ Edeka ได้จัดทำมุมหนึ่งของร้านแห่งหนึ่งที่เมืองเบรเม็นวางจำหน่ายสินค้าฮาลาลโดยเฉพาะแล้ว

สำหรับผัก ผลไม้แปรรูป น้ำผลไม้ มีช่องทางตลาดทำนองเดียวกับกับสินค้าที่ทำด้วยเนื้อสัตว์ กล่าว คือ เป็นผลผลิตของกิจการในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ สำหรับเนื้อไก่ (ไก่เนื้อและไก่งวง) ส่วนหนึ่งจะเป็นผลิตภัณฑ์จากบริษัท Wiesenhof เป็นโรงเชือดสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนี มีโรงเชือดที่ผ่านการรับรองฮาลาล 17 แห่ง นอกจากนี้แล้วยังมีผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าอื่นๆ ในเยอรมนีอีกกว่า 400 กิจการที่ผลิตอาหารและส่วนผสมในการผลิตอาหารตามแบบฮาลาล โดยเป็นกิจการที่ผ่านการรับรองโดยสถาบันฮาลาลแล้ว

ในด้านของราคาสินค้าฮาลาล เมื่อเทียบกับสินค้าอื่นๆ จะใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมากนัก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือนำเข้าจากเป็นประเทศอื่นๆ ในยุโรปตอนใต้ ประเทศในตะวันออกลาง มีค่าใช้จ่ายในด้านขนส่งน้อยหรือเท่ากันกับสินค้าอื่นๆ ที่มิใช่ฮาลาล สำหรับอาหารประเภทเนื้อไก่ ไก่สด ไก่งวง ไส้กรอกต่างๆ เป็นผลผลิตจากโรงงานในประเทศที่ผ่านการรับรองจากสถาบันฮาลาลในเยอรมนีแล้ว อาหารประเภทเนื้อวัว เนื้อแกะ มีการนำเข้ามากจากเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและอังกฤษ สำหรับส่วนประกอบเครื่องปรุง สารผสมและสารเจือปนต่างๆ ในการผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูป ส่วนใหญ่จะเป็นผลผลิต จากโรงงานในเยอรมนีและในประเทศอื่นๆ ในยุโรปที่ผ่านการรับรองแล้วเช่นกัน

ผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป สารสี ส่วนผสมต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหารที่สำคัญๆ ได้แก่ Beyer, Nestle, Masterfoods, Unilever, Merck, Milupa, Dr. Oetker, Coppenrath & Wiese, Daver Muehle, Kraft Foods, Alba Gewuerze, Hela Gewuerzwerk, Wurzener, Kampina, Hochland, Bahlsen, Inter Snacks, Odenwald, Schneekoppe, Zentis, Milram , Mueller, Kelloggs, Frosta, Haribo, Ferrero, Lindt เป็นต้น

3. กฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและขั้นตอนในการนำเข้า

3.1 ปัจจุบันมีองค์กรรับรองสินค้าฮาลาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกจำนวนกว่า 250 สถาบัน แต่องค์กรที่ได้รับความไว้วางใจสูงสุดจะเป็นองค์กรในมาเลเชีย คือ Jabatan Kemajuan Islam Malaysia (JAKIM) และ LP-Pom MUI Indonesia (Majlis Ulama Indonesia) ของอินโดนีเชีย และ Halal Food Standard of Thailand (HAFSOT)

3.2 ในเยอรมนีมี 10 สมาคม ซึ่งแต่ละสถาบันต่างมีตรารับรองของตนเองและมีการแข่งขันระหว่างกันมาก จึงทำให้ในภาพรวมไม่เกิดผลดีกับสินค้าเท่าใด เพื่อให้เป็นที่เข้าใจ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ตลอดจนการให้ข้อมูลผู้ที่สนใจฮาลาลให้มากยิ่งขึ้น เมื่อเดือนมีนาคม 2553 ที่ผ่านมาองค์กรรับรองสินค้าฮาลาลจำนวน 10 สถาบันจากเยอรมนี สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เสปน บอสเนีย และตุรกีได้ร่วมกันก่อตั้ง สมาคม European Association of Halal Certifiers (AHC-EUROPE) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงบรัสเซลส์ Mr. Mahmoud Tatari หัวหน้าสมาคม Halal Control เมืองรุสเซิลไฮม์ เยอรมนี ได้รับเลือกให้เป็นประธานคนแรกของสมาคม

3.3 ขั้นตอนการรับรองฮาลาล โดยสมาคมในเยอรมนี จะเป็นไปในทำนองเดียวกัน คือ

1. ผู้สมัครรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือสถานประกอบการที่ต้องการให้รับรอง พร้อมจัดทำเอกสารประกอบ

2. คุยปรึกษากันทางโทรศัพท์ในรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

3. เจ้าหน้าที่ของสมาคมเดินทางไปพบผู้สมัครตามที่นัดหมายไว้ล่วงหน้า

4. ตรวจสอบข้อมูล เอกสารและสรุปผลการไปสำรวจในพื้นที่

5. ออกเอกสารรับรองความเป็นฮาลาล

6. ค่าใช้จ่ายในการรับรองขั้นต่ำประมาณ 450 ยูโร และสูงสุดประมาณ 6,000 ยูโร

7. นอกจากนี้จะมีค่าธรรมเนียมรายปีเป็นวงเงินระหว่าง 1,000 — 3,500 ยูโร

3.4 ข้อจำกัดของสินค้า

ในส่วนที่เป็นฮาลาลต้องเป็นไปตามที่ศาสนามุสลิมกำหนดไว้ สำหรับความถูกต้องในส่วนของกฏระเบียบ กฏหมายของเยอรมนีหรือของสหภาพยุโรปที่เยอรมนีเป็นสมาชิก จะเป็น กฏเกณฑ์เดียวกันที่ใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแต่มิใช่ฮาลาล อาธิ มีขั้นตอนการผลิตเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน เช่น HACCP เป็นต้น เช่น อาหารเพื่อการบริโภค จะต้องมีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่นเดียวกัน ภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้าจะต้องสะอาด ปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อน สารอันตรายตกค้าง หรือมีตกค้างได้ไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ การปิดฉลากสินค้าต้องมีรายละเอียด ชื่อที่อยู่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ระบุแหล่งที่มา ส่วนผสม ส่วนประกอบ สารผสมที่มี ตลอดวันหมดอายุให้เห็นได้ชัดเจน เหล่านี้ เป็นต้น

3.5 ขั้นตอนการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าอื่นทั่วๆ ไปและที่เป็นฮาลาลไม่มีความแตกต่างใดๆ จะใช้กฏเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ฉบับเดียวกัน หน่วยงานของทางการเยอรมันผู้รับผิดชอบสินค้าอาหาร คือ Bundesanstalt fuer Landwirtschaft und Ernaehrung (BLE) ทำหน้าที่ดูแล ควบคุมและอนุญาตการนำเข้าส่งออกร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ จุดนำเข้าส่งออกสินค้า

4. อุปสรรคและข้อเสนอแนะ

4.1 ผู้บริโภคอาหารฮาลาลในเยอรมนีส่วนใหญ่จะเป็นชาวตุรกีที่อาศัยอยู่ในประเทศ โดยเป็นชาวตุรกีรุ่นลูก รุ่นหลาน ที่มีพ่อแม่ ปู่ย่าตายายอพยพเข้าไปอยู่ในเยอรมนีเมื่อ 50 ปีที่แล้ว กลุ่มชนเหล่านี้ยังมีความเคร่งครัด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเอง มีส่วนน้อยที่ยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ในเยอรมนี มีการสร้างมัสยิด ก่อตั้งสมาคมวัฒนธรรม ในเมืองที่มีชาวตุรกีอาศัยอยู่จำนวนมาก เหล่านี้เป็นการสร้างความไม่พอใจให้กับคนเยอรมันหัวรุนแรง การส่งเสริมใดๆ การตลาดที่จะส่งเสริมสินค้า การมีส่วนร่วมกับชาวมุสลิมในเยอรมนีจึงมักจะถูกก่อกวนโดยกลุ่มคนหัวรุนแรงเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้ สินค้าฮาลาลที่วางจำหน่ายใน Supermarket เยอรมันมักจะไม่มีการติดตราเครื่องหมายฮาลาลให้เห็นได้ชัดเจน จะเป็นที่รู้กันดีในกลุ่มชนชาวมุสลิม

4.2 ผู้บริโภคอาหารฮาลาลส่วนใหญ่จะเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยในเยอรมนี ผู้บริโภคที่ไม่เป็นมุสลิมมีจำนวนน้อย นอกจากนี้ร้านค้าของชำสินค้าอาหารฮาลาลส่วนใหญ่จะเป็นของชาวตุรกี และตั้งอยู่ในเขตชุมชมชาวตุรกี ที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของส่วนรวม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชาวมุสลิมมักจะหลีกเลี่ยงสถานที่แบบนี้ จึงทำให้การบริโภคยังจำกัดอยู่ในกลุ่มชนชาวมุสลิม โดยเฉพาะสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ สำหรับผลิตภัณฑ์นม เนย อาหารสำเร็จรูปต่างๆ มีวางจำหน่ายตามร้านค้าของเยอรมันกันบ้างแล้ว แต่ยังไม่มีการติดตราให้เห็นได้ชัดเจนและพยายหลีกเลี่ยง แต่หลังจากที่เกิดปัญหากับอาหารทั่วๆ ไป ทำให้มีผู้สนใจนิยมบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งอาหารฮาลาลที่สะอาดและมีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

4.3 ผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นชาวมุสลิมโดยส่วนใหญ่จะเป็นชาวตุรกี ที่มีการติดต่อที่ดี แน่นแฟ้นกับผู้ประกอบการในตุรกี หรือกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ในตะวันออกกลาง หากเป็นกิจการที่ไม่เป็นของชาวมุสลิมจะไม่มั่นใจว่าเป็นสินค้าฮาลาล 100 %

4.4 ปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหาร การพบสารปนเปื้อน สารอันตรายตกค้างมากขึ้นในอาหารที่วางจำหน่ายในตลาด และล่าสุดเมื่อปลายเดือนธันวาคม ปี 2553 ที่ผ่าน มีการพบสารไดออกซินปนเปื้อนในเนื้อหมู เนื้อไก่ และไข่ไก่ สร้างความตระหนกให้กับผู้บริโภคอย่างมาก ได้หันไปบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์กันบ้าง แต่ด้วยราคาที่แพงกว่าสินค้าปกติมาก จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีและเหมาะสมกับการประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารฮาลาลของไทย

4.5 พิจารณาจากตลาดอาหารฮาลาลในเยอรมนีที่มีมูลค่าปีละประมาณ 4,000 — 5,000 ล้านยูโร ประกอบกับอัตราการเกิดของชาวมุสลิมในประเทศที่มีมากกว่าชาวเยอรมัน แสดงให้เห็นว่าตลาดอาหารฮาลาลจะต้องขยายตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าผู้ค้าปลีกรายสำคัญๆ 5 รายแรกในเยอรมนีที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกินกว่าครึ่งหนึ่งของยอดการค้าปลีกทั้งหมด ยังไม่แสดงตนให้ความสนใจอย่างชัดเจนในการสนับสนุนสินค้าอาหารฮาลาลในระยะหลายปีก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่จากสถานการณ์ตลาดอาหารในปัจจุบัน ที่เริ่มมีแนวโน้มให้ความสนใจสินค้าประเภทนี้มากขึ้น เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ต่างยอมรับว่าเป็นอาหารที่ปลอดภัย ถึงแม้ว่าจะมีบ้างที่ยังไม่ยอมรับวิธีการเชือดสัตว์ตามแบบฮาลาล แต่ด้วยราคาสินค้าที่เหมาะสมโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ยังมีราคาสูงกว่ามาก โอกาสทางการตลาดสินค้าฮาลาลของไทยน่าจะพอมีอยู่บ้าง โดยเฉพาะเนื้อไก่ต้มสุกแปรรูปและผลิตภัณฑ์ของไทยที่สหภาพยุโรปอนุญาตให้นำเข้าได้ ปัจจุบันมีไส้กรอกฮาลาลทำด้วยเนื้อไก่ ไก่งวงวางจำหน่ายตามร้านค้าประเภท Discounter กันบ้างแล้ว

4.6 วิธีการการเสนอขายสินค้าอาจจะติดต่อโดยตรงไปยังผู้ค้าปลีกรายสำคัญๆ ของเยอรมัน หรือผ่านผู้ประกอบการในประเทศมุสลิมที่มีการติดต่อทำการค้ากับผู้ประกอบการในเยอรมนี เช่น กิจการในตุรกี หรือประเทศในตะวันออกกลาง เพื่อการส่งออกสินค้าต่อไปยังเยอรมนี

5. องค์กรรับรองฮาลาลที่สำคัญๆ ในเยอรมนี

6. รายชื่อผู้ผลิต ผู้ค้าและนำเข้าอาหารสำคัญๆ ในเยอรมนี

7. รูปภาพสินค้าอาหารฮาลาล

รายชื่อผู้ค้าปลีกในเยอรมนีและกิจการในเครือ

1.1 Edeka-Gruppe

New-York-Ring 6

22297 Hamburg

Tel.: +49-(0)40-6377 0

Fax.: +49-(0)40-6377 2231

E-Mail: info@edeka.de

Web site: www.edeka.de

1.2 Marktkauf

Fuggerstr. 11

33689 Bielefeld-Sennestadt

Tel.: +49(0)5205-94-01

Fax.: +49(0)5205-94-1029

Web site: www.marktkauf.de

1.3 Netto Marken-Discount GmbH & Co. oHG

Industriepark Ponholz 1

93142 Maxhuette-Haidhof

Telefon +49 (0) 9471 - 3200

Telefax +49 (0) 9471 - 320 149

E-Mail: netto@netto-online.de

Web site: www.netto-online.de

1.4 Spar Handels-Aktiengesellschaft

Osterbrooksweg 35-45

22869 Schenefeld

Tel.: +49 (0) 40-8 30 31-0

Fax.: +49 (0) 40-83 03 19 22

E-Mail: spar-ag@spar.de

Web site: www.spar.de

2.1 Metro AG

Schlueterstr. 41

40235 Duesseldorf

Tel.: +49-(0)221-6886-0

+49 1805 — 63 87 60

Fax: +49 1805 — 780 500

E-Mail: Kontakt@metro24.de

Web site: www.metro.de

2.2 real,- SB-Warenhaus GmbH

Reyerhutte 51

41065 Monchengladbach

Telefon: +49 (0) 2161 — 403 0

Telefax: +49 (0) 2161 — 403 406

E-Mail: info@real.de

Web site: www.real.de

2.3 GALERIA Kaufhof GmbH

Leonhard-Tietz-Str. 1

50676 Koln

E-Mail: service@galeria-kaufhof.de

Web site: www.galeria-kaufhof.de

3.1 Rewe Zentral AG

Domstr. 20

50668 Koeln

Tel.: +49(0)221-149 0

Fax.: +49(0)221-149 9000

Web site: www.rewe.de

3.2 Rewe Dortmund

Asselner Hellweg 1-3

44 309 Dortmund

TEL.: +49 (0) 231 - 25 00 0

FAX.: +49 (0) 231 - 25 00 177

E-Mail: post@rewe-dortmund.de

Web site: www.rewe-dortmund.de

4.1 Lidl Stiftung & Co. KG

Roetelstr. 30

74172 Neckarsulm

Tel.: +49(0)7132-940 0

Fax.: +49(0)7132-940 300

Web site: www.lidl.de

4.2 Kaufland Stiftung & Co. KG

Roetelstr. 35

74172 Neckarsulm

Tel.: +49(0)7132-940 0

Fax.: +49(0)7132-940 300

Web site: www.kaufland.de

5.1 Aldi Einkauf GmbH & Co. oHG [Aldi Sued]

Burgstr. 37-39

45476 Muehlheim a.d. Ruhr

Tel.: +49(0)208-9927 0

Fax.: +49(0)208-9927 278

Web site: www.aldi.com

5.2 Aldi Einkauf GmbH & Co. oHG [Aldi Nord]

Eckenbergstr. 16

45307 Essen-Kray

Tel.: +49(0)201-8593 0

Fax.: +49(0)201-8593 319

Web site: www.aldi.de

6.1 Tengelmann-Gruppe

Wissollstr. 5-43

45478 Muelheim/Ruhr

Tel.: +49(0)208-5806 0

Fax.: +49(0)208-5806 6364

Web site: www.tengelmann.de

6.2 Plus GmbH

Wissollstrabe 5 - 43

45478 Mulheim an der Ruhr

Tel: +49 (0) 1805 - 222533

E-Mail: info@plus.de

Web site: www.plus.de

6.3 Kaiser’s Tengelmann AG

Lichtenberg 44

41747 Viersen

Telefon: 02162/105-0

Telefax: 02162/33499

E-Mail: mailto: kundenservice@ktag.de

Web site: www.kaiser.de

7 KarstadtQuelle AG

Theodor-Althoff-Str. 2

45133 Essen-Bredeney

Tel.: 0049-(0)201-727-1

Fax.: 0049-(0)201-727-5216

Web site: www.karstadtquelle.com

8 Lekkerland-Tobaccoland GmbH & Co.KG

Europaallee 57

50226 Frechen

Tel.: +49 (0) 2234/ 18210

Fax.: +49 (0) 2234/ 18210

Web site: www.lekkerland.de

9.1 Schlecker, Anton Schlecker

Talstr. 12

89579 Ehingen

Tel.: +49(0)7391-584 0

Fax.: +49(0)7391-584 300

Web site: www.schlecker.de

9.2 Ihr Platz GmbH & Co.

Parkstr. 32

49080 Osnabrueck

Tel.: +49(0)541-9855 0

Fax.: +49(0)541-9855 267

Web site: www.ihrplatz.de

10 Globus Holding GmbH & Co. KG

Leipziger Str. 8

66606 St. Wendel

Tel.: +49(0)6851-909 0

Fax.: +49(0)6851-909 600

Web site: http://www.globus.net

11 dm-Drogerie markt GmbH + Co.KG

Carl-Metz-Str. 1

76185 Karlsruhe

Tel.: +49(0)721-55 92 0

Fax.: +49(0)721-55 22 13

E-Mail: ServiceCenter@dm-drogeriemarkt.de

Web site: www.dm-drogeriemarkt.de

12 Norma Lebensmittelfilialbetrieb GmbH & Co.KG

Heisterstr. 4

90441 Nuernberg

Tel.: +49(0)911-9739-0

Fax.: +49{0)911-7347-69

Web site: www.norma-online.de

13.1 Dirk Rossmann GmbH

Isernhaegener Str. 16

30929 Burgwedel

Tel.: +49(0)5139-898 0

Fax.: +49(0)5139-898 499

Web site: www.rossmann.de

13.2 Kloppenburg GmbH & Co.

Am Ihlberg 2-4

24109 Kiel-Melsdorf

Tel.: +49(0)431-6968-0

Fax.: +49(0)431-6968-292

E-Mail: info@kloppenburg.de

Web site: www.kloppenburg.de

14 Bartels-Langness GmbH & Co.KG

Alte Weide 7 - 13

24116 Kiel

Tel.: +49(0)431-1696-0

Fax.: +49(0)431-1696-120

Web site: www.famila-nordost.de

15. Muller Ltd. & Co. KG

Albstr. 92

89081 Ulm-Jungingen

Telefon: +49 (0) 731 / 174-0

Telefax: +49 (0) 731 / 174-174

E-Mail: info@mueller.de

Web site: www.mueller.de

16 J. Buenting Handels- und Beteiligungs AG

Brunnenstr. 37

26789 Leer

Tel.: +49(0)491-808-0

Fax.: +49(0)491-808-159

Web site: www.buenting.de

17 Dohle-Handelsgruppe GmbH & Co. KG

Alte Lohmarer Str. 59

53721 Siegburg

Tel.: +49(0)2241-122 0

Fax.: +49(0)2241-122 169

E-Mail: info@hit.de

Web site: www.hit.de

18 Coop Schleswig-Holstein eG

Benzstr. 10

24148 Kiel-Wellingdorf

Tel.: +49(0)431-7250-1

Fax.: +49(0)431-7250-496

Web site: www.coop.de

19 Tegut Gutberlet Stiftung & Co.

Gerloser Weg 72

36039 Fulda

Tel.: +49(0)661-104 0

Fax.: +49(0)661-104 496

Web site: www.tegut.com

20 NETTO Nord Supermarkt GmbH & Co.

Preetzer Strabe 22

17153 Stavenhagen

Telefon: +49 (0) 39954 - 3600

Telefax: +49 (0) 39954 - 360199

E-Mail: info@netto-supermarkt.de

Web site: www.netto-markt.de

21 Ratio Handel GmbH & Co. KG

Albersloher Weg 194

48155 Muenster

Tel.: +49(0)251-696 0

Fax.: +49(0)251-696 283

Web site: www.ratio-handel.de

22. Handelshof Management GmbH

Viktoriastrasse 26

51149 Koln

Telefon: 02203 / 1706-0

Telefax: 02203 / 1706-172

E-Mail: info@handelshof.de

Web site: www.handelshof.de

23. Georg Jos. Kaes GmbH & Co.

Am Ring 15

87665 Mauerstetten

Tel.: +49(0)8341-807 0

Fax.: +49(0)8341-807 202

Web site: www.v-markt.de

24. dennree GmbH

Hofer Str. 11

95183 Topen

Telefon: +49 9295 18-0

Telefax: +49 9295 9141-101

E-Mail: zentrale@dennree.de

องค์กรรับรองสินค้าฮาลาล

1 Prof. Dr. Mohammad Hawari

Halal Consult

Am Beulardstein 59

52072 Aachen

Germany

Tel +49 (241) 93 29 69 8

Fax +49 (241) 93 29 69 9

Mobil +49 (162) 58 20 00 0

e-mail: info@halal-europe.com

Web: www.halal-europe.com

Office:

Islamisches Zentrum Aachen

Prof.-Pirlet-Str. 20

52074 Aachen

Germany

Tel: +49 (241) 88 90 60

Fax: +49 (241) 88 90 615

Email: halal@izaachen.com

Web: www.izaachen.com

2 HALAL CONTROL e.K. (EU)

Pruf- und Zertifizierungsstelle fur Halal-Lebensmittel

Kobaltstr. 2-4

D-65428 Russelsheim

Germany

Telefon +49 (0)6142 301987-0

Telefax +49 (0)6142 301987-29

e-mail: info@halalcontrol.eu

Web: www.halalcontrol.eu

3. m-haditec GmbH & Co. KG

Georg-Wulf-Str. 15

28199 Bremen

Tel: +49 (421) 479 38 32

e-mail: info@halal-zertifikat.de

Web: www.halal-zertifikat.de/mhaditec/kontakt.htm

ผู้ค้า/นำเข้าอาหารฮาลาลที่สำคัญๆ ในเยอรมนี

BAK Kardeler GmbH

Wattstr. 2-10

68199 Mannheim

Telefon: 0621 / 833 88 0

Telefax: 0621 / 833 88 99

E-Mail: info@baktat.com

Website: www.baktat.com

AC eurogida GmbH

Beusselstrabe 44 n-q

10553 Berlin

Telefon: +49 (30) 39 49 40 09

Telefax: +49 (30) 39 49 41 66

E-Mail: info@eurogida.de

Web: www.eurogida.de

Bolu Lebensmittelhandels GmbH

Beusselstrasse 44n-q

10553 Berlin

Tel : +49(30) 398 019 336

Fax: +49(30) 398 019 355

E-Mail:

Internet: http://www.bolu-berlin.de

Oz-Gida Supermarkt

Hauptstrabe 16

10827 Berlin-Schoneberg

Tel.: +49 30 78 71 52 91

Fax: +49 30 78 71 52 92

e-Mail: ozgida@t-online.de

Gogce Market

Neumeister Strasse 10

13585 Berlin

Telefon: +49 30-3368341

Fax: +49 30-3364039

Email: goegcemarket@turkvizit.com

Web: www.goegcemarket.turkvizit.com

AMANI Dienstleistungs- und Catering GmbH

Rudolf-Pichlmayr-Str. 4

30625 Hannover

Tel.: +49(0) 511.270 92 856

Fax: +49(0) 511.270 92 177

eMail: info@amani-catering.com

Web: www.amani-catering.com

Mabtrade

Int. Trade Marketing

Hauptstrabe 83

53619 Rheinbreitbach

Tel.: +49 2224/986435

Fax: +49 2224/986436

E-mail: contact@mabtrade.com

Bernhard Meemken Wurstwaren GmbH & Co. KG

Im alten Haferland 6

D-26169 Gehlenberg

Telefon: +49 44 93 / 80 8 - 0

Telefax: +49 44 93 / 80 8 - 1 99

E-Mail: info@meemken.de

Web: www.halal.de/adr_maerkte.htm

ALFRED L. WOLFF GmbH

Grosse Backerstr. 13

D-20095 Hamburg

Tel. +49 40 37676-0

Fax. +49 40 37676-100

E-mail: abenech@alwolff.de

Web: www.alwolff.de

Dreidoppel GmbH

Ernst-Abbe Str. 4-6

40764 Langenfeld

Tel.: +49 2173 79098823

Fax.: +49 2173 79098808

Web: www.dreidoppel.de

Topfer GmbH

Heisinger Str. 6

87463 Dietmannsried

Tel.: +49 8374 934-0,

Fax: +49 8374 934-11,

E-mail: info@toepfer-gmbh.de

Web: www.toepfer-gmbh.de

VERIS Nahrungsmittel GmbH

Ringstrabe 1

55425 Waldalgesheim

Telefon: +49 6721 9420-0

Telefax: +49 6721 9420-20

E-Mail: vision@veris.de

Web: www.veris.de

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ กรุงเบอร์ลิน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ