๑. ภาวะเศรษฐกิจในช่วง ๒ สัปดาห์หลังของเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ค่อนข้างซบเซาต่อเนื่องจากช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากประชาชนได้ออกมาจับจ่ายใช้สอยตั้งแต่ช่วงก่อนหน้าเทศกาลคริสต์มาสต่อเนื่องปีใหม่แล้ว โดยข้อมูลจาก ISTAT รายงานว่ายอดจำหน่ายปลีกในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ เพิ่มขึ้น ๑% เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ แต่ลดลง ๐.๓% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (สินค้าอาหารลดลง -๐.๕% และสินค้ามิใช่อาหารลดลง -๐.๒%) และในช่วง ๑๑ เดือน (มกราคม-พฤศจิกายน) ของปี ๒๕๕๓ ยอดจำหน่ายปลีกเพิ่มขึ้นเพียง ๐.๑%
๒. คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม/ผลผลิตด้านอุตสาหกรรม ISTAT ได้รายงานว่าในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรมลดลง -๔.๓% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ สค. ๒๕๕๒ แต่เพิ่มขึ้น ๙.๖% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓ เพิ่มขึ้น ๐.๒% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและเพิ่มขึ้น ๑๒.๑% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
๓. ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ISTAT ได้รายงานว่าในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงจาก ๑๐๙.๑ จุด เป็น ๑๐๕.๙ จุด ต่ำสุดนับตั้งแต่สิงหาคม ๒๕๕๓ และลดลงหลังจากที่ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กันยายน ๒๕๕๓ เป็นต้นมา
๔. สมาคมนักธุรกิจแห่งอิตาลี (The Italian Business Association-Confesercenti) ได้เปิดเผยผลการศึกษาของ OECD ว่าอิตาลีเป็นประเทศหนึ่งในยุโรปที่มีการเก็บภาษีสูงที่สุด และมีกฏระเบียบในการจ่ายภาษีที่ซับซ้อน และใช้เวลาค่อนข้างมาก โดยมีประเด็นสำคัญได้แก่
๔.๑ อิตาลีอยู่ในอันดับที่ ๓๓ รองจากเดนมาร์กและสวีเดนที่มีการเก็บภาษีรวมกันแล้วสูงถึง ๔๓.๕% ของ GDP (ข้อมูล ณ ปี ๒๕๕๒)
๔.๒ การดำเนินการตามข้อกำหนดและระเบียบต่างๆในการจ่ายชำระภาษีประจำปี มีช่องทางเกี่ยวข้องถึง ๖๙๔ ครั้ง และต้องกรอกข้อมูลในเอกสารต่างๆ เกือบ ๒๔ หน้า
๔.๓ ระยะเวลาและการกำหนดวันสิ้นสุดการดำเนินกระบวนการในการเสียภาษีทั้งระบบสูงถึง ๑๐๓ วัน และแต่ละเดือนมีจำนวนเฉลี่ยของการกำหนดวันสิ้นสุดการดำเนินการถึง ๕๘ วัน
๔.๔ ในการปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆของบริษทอิตาลี ใช้เวลาเฉลี่ย ๒๘๕ ชั่วโมง/ปี คิดเป็น ๒ เท่า เมื่อเทียบกับฝรั่งเศสและ เนเธอร์แลนด์ สูงกว่าสเปนและเยอรมันราว ๕๐% และสูงกว่าระยะเวลาเฉลี่ยของประเทศกลุ่มสหภาพยุโรป ๖๐ ชั่วโมง (เป็นการจัดอันดับโดย World Bank)
๔.๕ บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ต้องจ่ายเงินรวม ๒.๗ พันล้านยูโร/ปี เพื่อจัดการในเรื่องดังกล่าว หรือคิดเป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนที่เกิดขึ้นในระบบการเสียภาษีของบริษัทปีละ ๑,๙๐๐-๒,๓๐๐ ยูโรต่อบริษัท
ทั้งนี้ ประธานสมาคมฯ ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กกว่า ๓๕๐,๐๐๐ บริษัท ได้กล่าว เน้นย้ำว่าประเด็นดังกล่าวเป็นข้อพิสูจน์ว่ารัฐบาลอิตาลีจำเป็นต้องลดข้อกำหนดต่างๆในการดำเนินการด้านภาษีโดยด่วน และได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่สหภาพยุโรปมีจุดมุ่งหมายที่จะลดภาระการบริหารจัดการด้านภาษีที่เกิดขึ้นจากกฏระเบียบของสหภาพยุโรปให้ได้ ๒๕% ภายใน ๒ ปี นั้นเป็นสิ่งที่ดี และหากอิตาลีสามารถปฏิบัติตามได้ จะช่วยให้บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กของอิตาลีประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง ๖๕๐ ล้านยูโรต่อปี หรือมากกว่า ๕๐๐ ยูโรต่อบริษัท รวมทั้งช่วยให้การบริหารงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดต้นทุนในระบบการบริหารจัดการลง
๕. ISTAT ได้รายงานผลการสำรวจที่พบว่าแนวโน้มของคนชราจะมีอายุมากขึ้นแต่มีจำนวนลูกหลานที่เลี้ยงดูน้อยลง โดยในช่วง ๔ ปี ข้างหน้า อิตาลีจะมีอัตราการเกิดลดลงและมีอัตราการตายสูงกว่า และจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นจะขึ้นอยู่กับจำนวนคนเข้าเมืองต่างชาติ
ในปี ๒๕๕๓ อิตาลีมีการตายมากกว่าการเกิดถึง ๓๐,๒๐๐ คน เมื่อเปรียบเทียบกับปี ๒๕๕๒ และปี ๒๕๕๐ ที่มีจำนวนการตายมากกว่าการเกิด ๒๒,๘๐๐ คน และ ๖,๙๐๐ คน ตามลำดับ ( ปี ๒๕๕๓ อิตาลีมีอัตราการเกิดลดลง ๒.๑% เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๒ หรือคิดเป็นจำนวน ๕๕๗,๐๐๐ คน ต่ำที่สุดนับแต่ปี ๒๕๔๘)
ทั้งนี้ ประชากรชายจะมีอายุยืนเฉลี่ย ๗๙.๑ ปี ส่วนประชากรหญิงมีอายุยืนเฉลี่ย ๘๔.๓ ปี
ในด้านสัดส่วนของประชากรสูงอายุในอิตาลี พบว่าคนมีอายุตั้งแต่ ๖๕ ปีขึ้นไปคิดเป็น ๒๐.๓% ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ปี ๒๕๕๔ = ๑๘.๔%) และข้อมูล ณ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ อิตาลีมีประชากรที่อาศัยอยู่ในอิตาลี ๖๐.๖ ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๐.๐๐๔๓% (ในปี ๒๕๕๓ สัดส่วนของแม่ชาวต่างชาติในอิตาลีที่คลอดลูกคิดเป็น ๑๘.๘% ของจำนวนการเกิดทั้งหมด ในขณะที่ประชากรที่เป็นคนต่างชาติในอิตาลีคิดเป็น ๗.๕% ของจำนวนประชากรทั้งหมด)
๖. ISTAT ได้รายงานผลการสารวจว่า ประชากรหนุ่มสาวของอิตาลี ๑ ใน ๕ คน ไม่ได้เรียนหนังสือและไม่ได้ทำงาน ซึ่งนับว่าเป็นสถิติที่ค่อนข้างแย่ในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยจากฐานข้อมูลของปี ๒๕๕๒ มีประชากรอิตาลีอายุระหว่าง ๑๕-๒๙ ปี ที่ไม่ได้เข้าโรงเรียน หรือไม่ได้ทำงานถึง ๒๑.๒% ทั้งนี้เมื่อกลางเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ได้มีการประท้วงโดยกลุ่มคนหนุ่มสาวเพื่อต่อต้านการที่รัฐบาลได้ตัดงบประมาณด้านการศึกษาลง ซึ่งมีความรุนแรงเกิดขึ้นบนท้องถนน และถือเป็นปรากฎการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบ ๑๐ปี ซึ่งเป็นผลจากความยากลำบากของโอกาสที่คนหนุ่มสาวจะได้รับทั้งในการศึกษาและการทำงาน
๗. IMF ได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศษฐกิจของอิตาลีในปี ๒๕๕๔ จากเดิม ๑.๔% เป็น ๑.๓% (ปี ๒๕๕๓ คาดการณ์ไว้ ๑ %) นอกจากนี้ ยังได้เรียกร้องให้ธนาคารแห่งยุโรป (European Bank) มีการตรวจสอบที่เข้มงวดด้านการเงินต่อไป รวมทั้งเห็นว่ากองทุนสหภาพยุโรป (The European Union’s Fund) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศที่มีปัญหาด้านการเงินควรได้รับการเพิ่มเติมเงินทุนให้มากขึ้น รวมทั้งได้เรียกร้องให้ประเทศที่มีหนี้สาธารณะสูง เช่น อิตาลี จัดทำแผนการที่น่าเชื่อถือในการตัดลดหนี้ดังกล่าว
๘. บริษัท LAVAZZA ซึ่งเป็นผู้ผลิต และจัดจำหน่าย กาแฟเก่าแก่ในอิตาลี ได้ตัดสินใจเลือกประเทศอินเดียเพื่อลงทุนตั้งโรงงานผลิตกาแฟเป็นครั้งแรกนอกอิตาลี ซึ่งนักวิเคราะห์เห็นว่าเป็นการสะท้อนให้เห็นความสำคัญของตลาดอินเดีย รวมทั้งตลาดอาเซียนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยโรงงานจะจัดตั้งขึ้นที่เมืองใหม่ชื่อ Sri City ซึ่งอยู่ใกล้พรมแดนระหว่างรัฐ Tamienadu และ รัฐ Andhra Pradesh ทางตอนใต้ของอินเดีย เพื่อผลิตกาแฟเม็ด (Beans Coffee) กาแฟผง (Ground Coffee) และกาแฟชนิดแคปซูลให้แก่ Barista ซึ่งเป็นบริษัทเครือข่ายที่ LAVAZZA ซื้อกิจการมาเมื่อปี ๒๕๕๐ ทั้งนี้ LAVAZZA สนใจจะลงทุนในต่างประเทศโดยจะเลือกตลาดประมาณ ๔-๕ ประเทศ จากประเทศในแถบเอเซียและออสเตรเลีย เนื่องจากไม่สามารถขยายตลาดภายในประเทศได้มากนักจากกฏหมาย Anti-Trust Law
ก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนกันยายน ๒๕๕๓ บริษัท LAVAZZA ได้ซื้อหุ้นจาก Green Mountains Coffee Roasters (GMCR) เป็นจำนวน ๗% (มูลค่า ๒๕๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ซึ่งนับเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในต่างประเทศของบริษัทที่เป็นธุรกิจแบบครอบครัว โดย LAVAZZA และ GMCR ได้เป็นหุ้นส่วนทางการค้าร่วมกันพัฒนาเครื่องทากาแฟเอสเปรซโซแบบแก้วเดียว และกาแฟชนิดแคปซูลขนาดแก้วเดียวซึ่งใช้กับเครื่องทำกาแฟ ทั้งนี้ LAVAZZA เป็นหนึ่งในผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ของโลก และเป็นผู้นำรายสำคัญในตลาดค้าปลีกกาแฟในอิตาลี ก่อตั้งเมื่อปี ๒๔๓๘ ผลิตและทำตลาดใน ๙๐ ประเทศและมีสำนักงานสาขา ๑๑ แห่งทั่วโลก
๙. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิตาลี (นาย Franco Frattini) ได้ประชุมหารือกับประธานาธิบดีแห่งสวิสเซอร์แลนด์ (นาง Michelline Calmy) ที่กรุงเบิร์นเพื่อผลักดันการเจรจาเรื่องการเก็บภาษีซ้อน (Double Taxation regime) ระหว่างสวิสเซอร์แลนด์-อิตาลี ที่ได้หยุดการเจรจามาถึง ๔ ปี โดย นาย Franco ได้กล่าวย้ำว่าในการทำความตกลงจะต้องเน้นในเรื่องปัญหาด้านการประกันสังคมสำหรับคนงานข้ามแดนด้วย (Trans-border workers)
ทั้งนี้ สวิสเซอร์แลนด์เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ ๕ ของอิตาลี ในขณะที่อิตาลีเป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ ๒ ของสวิสเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการค้าระหว่างกันปีละประมาณ ๒๔ พันล้านยูโร
๑๐. การคาดการณ์เศรษฐกิจอิตาลี
เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ ธนาคารแห่งอิตาลีได้รายงานการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของอิตาลีในปี ๒๕๕๔ และปี ๒๕๕๕ ดังนี้
(๑) GDP อิตาลีจะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ ๐.๙% และ ๑.๑% ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคได้แก่ ความต้องการภายในประเทศที่ยังอ่อนแอและผลกระทบจากมาตรการด้านการคลังของรัฐบาลที่ออกมาเมื่อกลางปีที่ผ่านมา รวมทั้งการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้น
(๒) การจ้างงาน การจ้างงานยังคงไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยคาดว่าจะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ๐.๕% ทั้งปี ๒๕๕๔ และปี ๒๕๕๕
(๓) การส่งออก คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ๖% และ ๕.๓% ตามลำดับ น้อยกว่าเปูหมายการขยายตัวของการค้าโลกที่คาดว่าจะใกล้เคียง ๗% (ทั้งปี ๒๕๕๔ และปี ๒๕๕๕) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการอิตาลีสูญเสียความสามารถในการแข่งขันด้านราคา
(๔) การนำเข้า คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้น ๕.๑% และ ๔.๔% ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของความต้องการจากต่างประเทศ รวมทั้งปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งในปี ๒๕๕๓ มีผลกระทบทางลบแต่คาดว่าจะส่งผลกระทบในทางบวกในปี ๒๕๕๔
(๕) การบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ต่ำกว่า GDP คือ ๐.๘% โดยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะลดลงอันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการให้สินเชื่อ (อัตราดอกเบี้ยระยะกลางและระยะยาว) นอกจากนี้ความไม่แน่นอนของการจ้างงานที่ยังคงเกิดขึ้น และการลดลงของการถ่ายโอนตาแหน่งงานในภาครัฐ จะส่งผลให้ภาคครัวเรือนอิตาลีเพิ่มการออมมากขึ้น และคาดว่าการซื้อสินค้าคงทน (Durable goods) ซึ่งลดลงถึงร้อยละ ๑๐ ในระหว่างปี ๒๕๕๑-๒๕๕๓ จะมีอัตราการเติบโตได้อย่างชัดเจนที่ ๒% ในปี ๒๕๕๕
(๖) ภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งวัดจากดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonized index of consumer prices (HICP)) คาดว่าจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ ๒.๑% และ ๒% ตามลาดับ (ปี ๒๕๕๓ เท่ากับ ๑.๖%)
(๗) การลงทุน แม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๕๓ จะมีการชะลอตัวของการลงทุนเนื่องจากมาตรการ การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับการขยายกำลังการผลิตได้หมดอายุลง แต่คาดว่าในปี ๒๕๕๔ และปี ๒๕๕๕ การลงทุนจะเพิ่มขึ้น ๒.๕% และ๒.๔% ตามลาดับ ในเครื่องจักรและเครื่องมือต่างๆ จะเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยปีละ ๓.๕% ซึ่งเป็นผลจากการคาดการณ์ของความต้องการและผลกำไรของผู้ประกอบการที่ดีขึ้น
ด้านการลงทุนในที่พักอาศัยซึ่งหลังจากได้ลดลงมากกว่า ๑๕% ในช่วงระหว่างปี ๒๕๕๑-๒๕๕๓ คาดว่าจะยังคงชะลอตัวในปี ๒๕๕๔ และกลับฟื้นตัวขึ้น ๒% ในปี ๒๕๕๕
ด้านการลงทุนภาครัฐ (gross fixed investment) คาดว่าจะชะลอตัวทั้งในปี ๒๕๕๔ และปี ๒๕๕ จากปี ๒๕๕๓ ที่เพิ่มขึ้น ๒.๙% โดยอยู่ที่ ๒.๕% และ ๒.๔% ตามลำดับ
การคาดการณ์เศรษฐกิจอิตาลี ณ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๔
ปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 (๑.) GDP ๑% ๐.๙% ๑.๑% (๒.) การบริโภค ๐.๗% ๐.๘% ๐.๘% (๓.) การลงทุน ๒.๙% ๒.๕% ๒.๔% (๔.) การส่งออก ๘% ๖% ๕.๓% (๕.) การนำเข้า ๘.๒% ๕.๑% ๔.๔% (๖.) การจ้างงาน - ๐.๕% ๐.๕% (๗.) ภาวะเงินเฟูอ ๑.๖% ๒.๑% ๒% (๘.) การว่างงาน* ๘.๕% ๘.๙% ๘.๙%
- เป็นข้อมูลจาก CONFINDRUSTRIA
๑๑. นโยบายด้านรายได้ของรัฐบาล
- รายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ของโทรทัศน์ระบบดิจิตอล
- รายได้จากมาตรการที่เข้มงวดต่อการหลบเลี่ยงภาษีและเพิ่มการลงโทษ
- การต่อสู้กับการพนันและเกมส์ที่ผิดกฎหมายอย่างเข้มงวด
- รายได้จากการส่งเสริมให้มีการจำหน่ายสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกและประหยัดด้านพลังงาน เช่น Boilers Fixtures และ Solar Panel เป็นต้น ให้มากขึ้น
๑๒. นโยบายด้านรายจ่ายของรัฐบาล
- วงเงิน ๑.๘ พันล้านยูโร ให้แก่มหาวิทยาลัยของรัฐ (๘๐๐ ล้านยูโร ในปี ๒๕๕๔ และปีละ ๕๐๐ ล้านยูโร ในปี ๒๕๕๕ และปี ๒๕๕๖) และ ๒๒๕ ล้านยูโร เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมและการวิจัย
- วงเงิน ๒๔๕ ล้านยูโร สำหรับโรงเรียนเอกชน
- วงเงิน ๒๐๐ ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมและการให้ทุนศึกษาต่อ
- วงเงิน ๑๐๐ ล้านยูโร เพื่อสนับสนุนให้แก่ผู้ปุวยโรค ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) ทั้งในด้านความช่วยเหลือและการวิจัย
- วงเงิน ๑.๕ พันล้านยูโร สำหรับมาตรการรีไฟแนนซ์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (ปี ๒๕๕๔)
- วงเงิน ๑๓๐ ล้านยูโร สำหรับการพัฒนาด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (การจ้างคนงานและการทาวิจัย)
- วงเงิน ๑.๕ พันล้านยูโร สาหรับก องทุนเพื่อท้องถิ่นที่มีการพัฒนาต่ำ (Underdeveloped area) โดยการสนับสนุนการก่อสร้างด้านสุขอนามัย (๘๕% ให้แก่ท้องถิ่นทางตอนใต้ และ ๑๕% ให้แก่ตอนกลางและตอนเหนือของอิตาลี)
- วงเงิน ๑๐๐ ล้านยูโร (ปี ๒๕๕๔) เพื่อช่วยเหลือกลุ่มอุตสาหกรรมการพิมพ์
- วงเงิน ๓๖.๔ ล้านยูโร (ปี ๒๕๕๔) เพื่อช่วยเหลือและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ตำรวจและทหาร เพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยในประเทศ
- วงเงิน ๓๔๗.๕ ล้านยูโร สำหรับเงินกองทุนเพื่อการดำเนินการด้านความปลอดภัยสุขอนามัยแห่งชาติ
- วงเงิน ๗๕๐ ล้านยูโร สำหรับกองทัพที่จะต้องจัดคณะเข้าร่วมกับประเทศต่างๆในการรักษาสันติภาพ
- วงเงินปีละ ๓ ล้านยูโร (ระยะเวลา ๓ ปี ตั้งแต่ ๒๕๕๔-๒๕๕๖) เพื่อสนับสนุนให้แก่แคว้นอุมเบรียที่ประสพภัยพิบัติแผ่นดินไหวเมื่อปี ๒๕๕๒
- วงเงิน ๖๐ ล้านยูโร (ปี ๒๕๕๔) สำหรับการบริหารหนี้สาธารณะของท้องถิ่นในแคว้นต่างๆ ที่ค้างชำระจากการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ(รวมดอกเบี้ย)
๑๓. มาตรการของรัฐบาลอิตาลีในปี ๒๕๕๔
๑๓.๑ การออกกฏหมาย Stability Law (เดิมเป็น Financial Law) สาหรับปี ๒๕๕๔-๒๕๕๖ ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบเมื่อ เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ วงเงิน ๕.๗ พันล้านยูโร (สาหรับปี ๒๕๕๔) และประมาณ ๑ พันล้านยูโร (สาหรับปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖) โดยสรุปมาตรการหลักได้ดังนี้
(๑) การรีไฟแนนซ์เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม (ปี ๒๕๕๔) โดยการให้เงินช่วยเหลือบางส่วนแก่บริษัทที่แจ้งความ
ประสงค์จะจ้างงานเพื่อช่วยคนตกงานและคนที่ถูกออกจากงาน การยกเว้นภาษีสำหรับโบนัสที่ได้จากการดำเนินธุรกิจ
อย่างมีประสิทธิภาพ และการทำสัญญาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ในการลดเวลาการทำงานเพื่อมิให้ต้องมีการเลิก
จ้าง เป็นต้น
(๒) การขยายเวลาให้แก่บริษัทผู้ประกอบการและครอบครัว ที่ใช้จ่ายเพื่อการปรับปรุงบริษัทหรือบ้านให้มีความเป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อมหรือประหยัดพลังงาน เช่น การใช้ Solar cell แทนการใช้ไฟฟู โดยให้สามารถนำค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย
ไปเพื่อการปรับปรุง (๕๕% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด) ไปหักลดจากภาษีรายได้ โดยวงเงินที่นำไปหักภาษีสูงสุดไม่เกิน
๑๐๐,๐๐๐ ยูโร และให้หักลดเฉลี่ยเป็นรายปี ระยะเวลา ๑๐ ปี
๑๓.๒ มาตรการช่วยเหลืออื่นๆ
(๑) สมาคมธนาคารแห่งอิตาลี (Italian Bank Association) ได้ขยายเวลาการพักชำระหนี้การกู้ยืม เพื่อการซื้อ
บ้านออกไปอีก ๖ เดือน (สิ้นสุดมิถุนายน ๒๕๕๔) แต่ผู้ขอพักชำระหนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในช่วงการพักชำระหนี้
ด้วย โดยยอดหนี้กู้ยืมสูงสุดไม่เกิน ๑๕๐,๐๐๐ ยูโร และเจ้าของบ้านต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน ๔๐,๐๐๐ ยูโร (ครอบคลุม
ทั้งการซื้อหรือการปรับปรุงสำหรับบ้านที่อยู่อาศัยหลัก)
(๒) นอกจากนี้ กระทรวงการคลังอิตาลี ได้จัดสรรเงินกองทุนวงเงิน ๒๐ ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือในส่วนค่าดอกเบี้ยสำหรับ
การกู้ยืมเพื่อการซื้อบ้าน (ต้องเป็นการซื้อบ้านหลังแรก) วงเงินกู้ยืมไม่เกิน ๒๕๐,๐๐๐ ยูโร และผู้ขอรับความช่วยเหลือ
ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน ๓๐,๐๐๐ ยูโร ทั้งนี้ แต่ละรายสามารถขอรับความช่วยเหลือได้เพียง ๒ ครั้ง ภายในระยะ
เวลาไม่เกิน ๑๘ เดือน
(๓) ครอบครัวที่สามารถขอรับความช่วยเหลือภายใต้มาตรการทั้ง (๑) และ(๒) ข้างต้น ต้องเป็นผู้ที่ประสบความยากลำบาก
ในการครองชีพ เช่น ตกงาน เจ็บป่วยอย่างหนัก หรือตาย เป็นต้น
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th