รายงานการสำรวจงานแสดงสินค้า The Canadian Home Furnishings Market (TCHFM)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 16, 2011 14:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายงานการสำรวจ

งานแสดงสินค้า The Canadian Home Furnishings Market (TCHFM)

จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ มกราคม ๒๕๕๔

ณ International Centre นครโตรอนโต มณฑลออนตาริโอ

          ๑. ชื่องาน                 The Canadaian Home Furnishings Market (TCHFM)
          ๒. ระยะเวลา              ๑๕-๑๗ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐-๑๘.๐๐ น.

๑๘ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๙.๐๐-๑๕.๐๐ น.

          ๓. สถานที่จัดงาน            International Centre, ๖๙๐๐ Airport Road, Mississauga, Ontario

L๔V ๑E๘, Canada

          ๔. ผู้จัดงาน                Quebec Furniture Manufacturers’ Association

๑๑๑๑ St. Urbain Street, Suite ๑๐๑, Montreal, Quebec, H๒Z ๑Y๖

Tel: (๕๑๔) ๘๖๖-๓๖๓๑, ๑-๘๖๖-๔๖๘-๔๔๓๖

Fax: (๕๑๔) ๘๗๑-๙๙๐๐, ๑-๘๘๘-๕๓๘-๗๖๔๘

E-mail: info@tchfm.com

Web-site: www.tchfm.com

          ๕. พื้นที่จัดงาน              ๗๐๐,๐๐๐ ตารางฟุต รวม ๕ อาคาร
          ๖. ประเภทสินค้า            เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
          ๗. ลักษณะงาน              เป็นงานขายส่ง (เฉพาะนักธุรกิจ) จัดปีละ ๑ ครั้ง
          ๘. ผู้แสดงในงาน            ผู้ผลิต/นำเข้า จำนวน ๓๓๘ ราย (ลดลงจาก ๔๐๐ ราย ในปี ๒๕๔๙)

๙. ต่างประเทศที่เข้าร่วม สหรัฐฯ มาเลเซีย จีน โปแลนด์

          ๑๐. ผู้เข้าชมงาน            ประมาณ ๑๒,๐๐๐ ราย

๑๑. กำหนดการจัดงานครั้งต่อไป ๑๔-๑๗ มกราคม ๒๕๕๕

๑๒. ผลการสำรวจ

งาน The Canadian Home Furnishings Market (TCHFM) เป็นงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา จัดมาต่อเนื่องกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ในปี ๒๕๕๔ นี้ มีผู้เข้าร่วมแสดงสินค้าในงานทั้งจากแคนาดาและต่างประเทศจำนวน ๓๓๘ ราย และผู้จัดแสดงสินค้าถาวรใน Canada’s Furniture Mart ในอาคารแสดงสินค้า อีกประมาณ ๗๕ ราย รวมเป็นผู้จัดแสดง ๔๓๘ ราย โดยงานนี้ สามารถดึงดูดนักธุรกิจ และผู้ค้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ทั้งในแคนาดาและสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมชมงานในระยะเวลา ๔ วันกว่า ๑๒,๐๐๐ ราย โดยในงานมีการจัดพื้นที่แสดงแนวโน้มของสินค้าเฟอร์นิเจอร์สำหรับปี ๒๕๕๔ ด้วย

ผู้ประกอบการที่มาแสดงสินค้าส่วนใหญ่เป็นบริษัทจากมณฑลควิเบคและบริติชโคลัมเบีย ผู้ประกอบการหลายรายเคยนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยมาก่อน เพราะสินค้ามีคุณภาพดี ราคาไม่แพง และการออกแบบที่ทันกับความต้องการของตลาด แต่สินค้าของไทยช่วง ๓-๔ ปีที่ผ่านมา แม้คุณภาพและการออกแบบจะดีแต่ราคาสูงและสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจนทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้กับสินค้าที่มาจากประแทศจีน มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความก้าวหน้ามากขึ้นในเรื่องคุณภาพและการออกแบบ แต่ราคายังไม่สูง จึงได้หันไปนำเข้าจากประเทศจีน มาเลเซีย เวียดนามแทน นอกจากนี้ จีนยังมาแสดงสินค้าในงานด้วย ผู้ประกอบการในงานยังให้ข้อมูลด้วยว่ามีสัญญาณที่ดีสำหรับเศรษฐกิจในปี ๒๕๕๔ เนื่องจากยอดการสั่งซื้อสินค้าในงานที่มากกว่าปี ๒๕๕๓

จากการสำรวจพบว่า มีสินค้าจากมาเลเซีย (บริษัท SunPan) ออกบู้ทในงาน โดยนำเข้าผ่านตัวแทนจำหน่ายในแคนาดา (บริษัท Kuka Home) ซึ่งผู้นำเข้าให้ข้อมูลว่า บริษัทผู้ส่งออกของมาเลเซียได้ให้บริการตู้สินค้าแบบไม่เต็มตู้และคละรายการ (LCL:Less-than container load) เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้นำเข้าแคนาดา และง่ายต่อการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าจากมาเลเซีย

ในงานยังได้มี Business Matching Board เพื่อให้ผู้ซื้อได้มาแสดงความประสงค์ ในการซื้อสินค้าที่บอร์ดนี้ ซึ่งนับว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างโอกาสในการซื้อขายได้

แบรนด์สินค้าของต่างประเทศที่แสดงในงานได้แก่ Couture, Continental, Brava, Henredon, Drexel Heritage, Lane Furniture, Maitland-Smith, Pearson, Broyhill, Hickory Chair, RTA Division, Thomasville

แนวโน้มสินค้าเฟอร์นิเจอร์สำหรับปี ๒๕๕๔ โดยคาดว่าเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้วัสดุไม้เนื้อแข็ง เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้เหล็กเป็นโครง เฟอร์นิเจอร์ที่มีกระจกเป็นพื้นผิว กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สีของเฟอร์นิเจอร์ยังคงใช้สีเข้มและ สีที่แสดงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น สีเขียว สีน้ำตาล สีครีม สำหรับ Accessories เช่นผ้าบุชุดรับแขก หมอนอิง ฯลฯ ยังคงใช้สีแบบ Earth Tone

จากการเยี่ยมชมงาน สคร.โตรอนโตได้มีโอกาสเยี่ยมพบผู้นำเข้าสินค้าจากไทยที่มาแสดงในงานและผู้นำเข้าอื่นที่สนใจสินค้าเฟอร์นิเจอร์จากประเทศไทย หลายราย ได้แก่

๑. บริษัท Reemka Imports Inc.

ผู้ติดต่อ Mr. Benny Khithani

ที่อยู่ ๖๖๒๕ Ordan Drive, Unit ๒,

Mississauga, Ontario L๕T ๑X๗

โทรศัพท์ +๑-๙๐๕-๕๖๕-๖๘๖๘

E-mail reemka@on.aibn.com

Website www.reemkaimports.com

สินค้าที่สนใจนำเข้าจากไทย: เคยนำเข้าสินค้าจากไทย แต่ปัจจุบันนำเข้าจากจีนและมาเลเซีย เนื่องจากแม้สินค้าไทยจะมีคุณภาพดีมาก แต่ราคาสูงเกินกว่าจะนำเข้ามาแข่งขันในตลาดแคนาดาได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความสนใจที่จะนำเข้าสินค้าจากไทยอยู่อีก ได้แก่ ชุดห้องนอน ชุดรับแขก เก้าอี้แบบต่างๆ

สำนักงานฯ จึงได้เชิญชวนให้เดินทางไปงาน TIFF ๒๕๕๔ ในประเทศไทย แต่ผู้นำเข้าแจ้งว่าในปีนี้ เวลาจัดงานตรงกันกับช่วงเวลา จัดงานในประเทศจีนและมาเลเซีย จึงอาจไม่สามารถเยือนงานในไทยได้

๒. บริษัท AG Living Inc.

ผู้ติดต่อ Mr.Gordon Guenter

ที่อยู่ ๑๓๖๕ Permberton Ave. North,

Vancouver, B.C. Canada V๗P ๒R๖

โทรศัพท์ +๑+๖๐๔-๘๒๘-๑๘๐๐

E-mail agliving@shaw.ca

Website www.agliving.com

สินค้าที่สนใจนำเข้าจากไทย: เคยนำเข้าสินค้าเครื่องประดับตกแต่งบ้านจากไทย แต่ราคาสินค้าไทยสูงเกินกว่าจะนำเข้ามาแข่งขันในตลาดแคนาดาได้ จึงหันไปนำเข้าสินค้าเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่จากประเทศจีนแทน โดยสินค้าไม้ไผ่ที่นำมาใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์มีปลูกเฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละสายพันธุ์กับไม้ไผ่ของไทย อย่างไรก็ตามยังคงมีความสนใจที่จะนำเข้าสินค้าจากไทย ประเภท เฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ที่มีการออกแบบอย่างสวยงามและถูกรสนิยมของลูกค้าแคนาดา

สำนักงานฯ ได้เชิญชวนให้ไปงาน TIFF ๒๐๑๑ ในประเทศไทย ผู้นำเข้าให้ความเห็นว่าการจัดงาน TIFF ในไทยตรงกับช่วงเวลาการจัดงานของประเทศจีนและ มาเลเซีย ทำให้ไม่สามารถเยือนงาน TIFF ในปีนี้ได้ และสนใจเข้าร่วมงานในปี ๒๕๕๕ หากการจัดงานของไทยไม่ตรงกับการจัดงานของจีนและมาเลเซีย

๓. บริษัท Bellini Modern Living

ผู้ติดต่อ Mr. Hossein Azimi

ที่อยู่ ๖๙A Viceroy Road, Concord,

Ontario Canada L๔K ๒L๗

โทรศัพท์ +๑-๙๐๕-๗๗๑-๓๖๑๐

E-mail hossein@belliniimports.ca

Website www.bellinimodernliving.com

สินค้าที่สนใจนำเข้าจากไทย: บริษัทไม่เคยนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยมาก่อน สินค้าของบริษัทเป็นการออกแบบโดยนักออกแบบมืออาชีพที่ได้รางวัล ASFD Design Achievement Award จาก ASFD (American Society of Furniture Designers) และสั่งผลิตจากโรงงานในประเทศจีน และมาเลเซีย สไตล์สินค้าเป็น Contemporary เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ ระดับ B - A+

บริษัทฯ สนใจสั่งผลิตสินค้าจากไทย หากผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยสามารถผลิตสินค้าได้ตามที่บริษัทฯออกแบบ และมีคุณภาพการผลิตได้ตามมาตรฐานของบริษัทฯ นอกจากนี้ ราคาของไทยต้องไม่สูงกว่าที่ผลิตในจีนหรือมาเลเซีย

สำนักงานฯ ได้เชิญชวนให้เดินทางไปงาน TIFF ๒๐๑๑ ในประเทศไทย เพื่อเลือกซื้อสินค้าไทยที่มีคุณภาพดีกว่าคู่แข่งและสินค้าที่มีความแตก ต่างจากสินค้าที่นำเข้าจากจีนและมาเลเซีย ที่วางจำหน่ายในตลาดแคนาดา ผู้นำเข้าเห็นว่าการจัดงาน TIFF ในไทยตรงกับช่วงเวลาการจัด งานของประเทศจีนและ มาเลเซีย ทำให้ไม่สามารถไปงาน TIFF ในปีนี้ได้ แต่อาจจะ ไปในปี ๒๕๕๕ ได้

ผู้นำเข้าหลายรายให้ความเห็นว่า ไทยต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งขัน เช่น จีน มาเลเซีย และเวียดนาม ซึ่งมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งในด้านรูปแบบ การดีไซน์ การใช้งาน สีสรร คุณภาพ รวมทั้งยังมีการให้บริการรวบรวมสินค้าคละรายการและจากหลากหลายแหล่งผลิตไว้ในตู้สินค้าเดียวกัน (Consolidated Container) ราคาสินค้าจากประเทศเหล่านี้ยังถูกกว่าไทย นอกจากนี้ การจัดงานแสดงสินค้าไทย ควรเน้นที่ความยิ่งใหญ่ของงาน มีผู้ออกร้านที่มีสินค้าคุณภาพและหลากหลาย รวมทั้งช่วงเวลาการจัดงานแสดงสินค้าไม่ควรทับซ้อนกับการจัดงานในจีน หรือมาเลเซียและอินเดีย ควรจะเป็นช่วงเวลาเหลื่อมกัน เพื่อให้ผู้นำเข้าสามารถจัดตารางการเดินทางไปเยี่ยมชมงานแสดงสินค้าที่ไทย จีน มาเลเซีย อินเดีย ได้ในคราวเดียวกัน

การเข้าร่วมแสดงสินค้าในงาน TCHFM นั้น เปิดให้จองพื้นที่ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ผู้ที่จองพื้นที่ก่อนมีสิทธิ์เลือกตำแหน่งพื้นที่ได้ก่อน มีค่าใช้จ่ายดังนี้

๑. ค่าพื้นที่ เพื่อแสดงสินค้า โดยอัตราค่าพื้นที่ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ) ตารางฟุต (sq.ft.) ละประมาณ ๑๑ เหรียญแคนาดา หากเป็นพื้นที่หัวมุม เสียอัตราค่าพื้นที่เพิ่มอีกตารางฟุตละ ๐.๕๐-๑.๐๐ เหรียญแคนาดา

๒. ค่าก่อสร้างและตกแต่งพื้นที่ โดยส่วนใหญ่ตกแต่งปูพื้นที่ด้วยพรม ตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ของบริษัทด้วยรูปแบบที่น่าอยู่ น่าใช้ ดึงดูดผู้เข้าชม ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ รูปแบบที่ตกแต่งและวัสดุที่ใช้ตกแต่ง ตัวอย่างราคาโดยประมาณสำหรับการตกแต่งพื้นที่ ประมาณ ๕๐๐ ตารางฟุต ปูพรมธรรมดา ติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ของบริษัท ค่าปูพรมและอื่นๆ (ไม่รวมค่าขนส่งเฟอร์นิเจอร์จากโรงงาน/ร้านของตัวเองมายังงานฯ) รวมทั้งสิ้นประมาณ ๑,๕๐๐-๓,๒๐๐ เหรียญแคนาดา

๓. ค่า Logistics ได้แก่ ค่าขนส่งสินค้าตัวอย่างจากในต่างประเทศและในประเทศ ค่าเช่าโกดังสินค้าค่าธรรมเนียม และค่าบริการในการออกของที่ด่านศุลกากร

๔. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าไฟฟ้าส่วนเกิน ค่าเจ้าหน้าที่ประจำบู้ท ค่าล่าม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากผู้ส่งออก/ผู้ผลิตไทยได้มีโอกาสเข้าเยือนงานแสดงสินค้า THCFM เพื่อสำรวจตลาดสินค้าเฟอร์นิเจอร์ แนะนำสินค้าของบริษัท และ สร้างความสัมพันธ์ทางการค้า (Knock Door Visit) น่าจะเป็นโอกาสที่จะขยายตลาดส่งออกสินค้าเฟอร์นิเจอร์ของไทยในตลาดแคนาดา

ผู้ส่งออกที่สนใจเข้าร่วมงานแสดงสินค้า สามารถติดต่อผ่าน สคร.โตรอนโต หรือ ติดต่อที่

Ms. Diane Larocque, Assistance to Sales Manager

The Canadian Home Furnishings Market

๑๑๑๑ St-Urbain St., Suite ๑๐๑, Montreal QC H๒Z ๑Y๖

E-mail: info@tchfm.com

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครโตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ