1. การผลิต
1.1 ภาพรวม
สหราชอาณาจักรไม่มีแหล่งวัตถุดิบเพชรภายในประเทศ แต่สหราชอาณาจักร โดยกรุงลอนดอนเป็นศูนย์กลางการค้าและการเจียรนัยเพชรที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก De Beers ซึ่งเป็นบริษัทค้าเพชรรายใหญ่ที่สุดในโลก พร้อมส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 40 ของมูลค่าการผลิตเพชรทั่วโลก มีบริษัทลูก Diamond Trading Company (DTC) เป็นฐานการคัด (sort) ตีราคา (value) และขายเพชร (sell) ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน โดยนาเข้าเพชรดิบจากเหมืองเพชรที่ De Beers เป็นเจ้าของ/ถือหุ้นสาคัญในประเทศต่างๆ คือ Botswana; Namibia ; South Africa และแคนาดา ในส่วนของพลอย สหราชอาณาจักรไม่มีแหล่งวัตถุดิบในประเทศเช่นกัน
ในส่วนของเครื่องประดับอัญมณี ผู้ผลิตส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดกลาง-เล็ก กระจุกตัวกันอยู่ในย่านเดียวกัน โดยศูนย์กลางอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญในสหราชอาณาจักรมี 2 แห่ง คือ Hatton Garden ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน และ The Jewellery Quarter ในเมือง Birmingham ส่วนผู้ผลิตรายใหญ่ ได้ย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และนำเข้าเท่าที่จำเป็น ในบางกรณี กิจการในสหราชอาณาจักรดำเนินการเป็นเพียงฐานการจัดจำหน่ายสำหรับเครื่องประดับที่มีแบรนด์เท่านั้น โดยแบรนด์ที่เป็นที่รู้จักระดับโลกมียอดขายได้จานวนน้อยชิ้นแต่เน้นขายผู้บริโภคระดับบนสุดของตลาด
ผู้ผลิตรายใหญ่สุด คือ Abbeycrest PLC ซึ่งได้ย้ายฐานการผลิตหลักไปที่ประเทศไทย ดำเนินธุรกิจแบบครบวงร ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และจัดจำหน่ายเครื่องประดับทองและเงิน โดยในประเทศไทย Abbeycrest มีโรงงานผลิตอัญมณีและเครื่องประดับมูลค่ากว่า 100 ล้านบาทตั้งอยู่ที่จังหวัดลำพูน และได้ซื้อกิจการของ Essex International plc ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของไทย นอกจากนี้ ยังมีฐานการผลิตและการตลาดที่ฮ่องกงอีกด้วย
1.2 กำลังการผลิต/จำนวนแรงงาน
Hatton Garden เป็นศูนย์รวมธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับกว่า 300 ราย มีช่างทำเพชรพลอยผู้ชำนาญ และนักออกแบบเครื่องประดับอัญมณีกว่า 1,000 คน ทั้งนี้ ในส่วนของ The Jewellery Quarter ณ เมือง Birmingham ปัจจุบัน เป็นศูนย์รวมร้านค้าปลีกและนักออกแบบเครื่องประดับอัญมณีกว่า 100 ราย
2. ข้อมูลด้านการตลาด
2.1 ตลาดเครื่องประดับในสหราชอาณาจักรมีมูลค่าประมาณ 4.9 พันล้านปอนด์
2.2 ข้อมูลแนวโน้มผลิตภัณฑ์
ผู้บริโภคชาวอังกฤษชมชอบการออกแบบ (design) ที่พิเศษ (special) ทันสมัย (modern) และละเอียด (delicate) นอกจากนี้ ยังชมชอบเครื่องประดับที่เข้าชุดกัน โดยสร้อยคอเป็นชิ้นส่วนที่ขายดีที่สุด
สำหรับแนวโน้มเครื่องประดับปี 2011 คือ statement jewelry โดยเครื่องประดับจะเป็นแบบชิ้นใหญ่มาก มีสีสรร และแปลก (huge, colourful, unusual) ที่จะโดดเด่นออกมาจากชุดเสื้อผ้าที่สวมใส่ ไม่ว่าจะเป็นสร้อยข้อมือที่ใหญ่เกินขนาด (oversized bracelets) ต่างหูที่ยาวเกินขนาด (extra-long earrings) สร้อยคอที่แปลกประหลาด (extravagant necklaces) โดยสำหรับสร้อยคอจะเน้นชิ้นงานที่ผสมผสานระหว่างเงิน ทอง และทองสัมฤทธิ์ ส่วนการออกแบบ เน้นรูปทรงที่เหมือนเครื่องประดับของชนเผ่าในแอฟริกา เน้นการใช้หินสีและพลอยสีต่างๆมากขึ้น นอกจากนี้ สร้อยคอแบบโซ่เรียงเป็นชั้นๆ(layered chains) เสริมด้วยลูกปัดแก้ว มุก ขนนก ก็เป็นที่นิยม ส่วนต่างหูแบบ โคมระย้า (chandelier) ก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยเป็นแบบที่ยาวมากจนเกือบถึงหัวไหล่ ลักษณะยาวพลิ้วที่ใช้พลอยสีสว่าง (bright colours) ลูกปัดแก้ว และเพชรที่ไม่ได้เจียรนัย ในส่วนของแหวนนั้น แนวโน้มเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องหลายฤดูไม่ตก คือ แหวนแบบ cocktail ring ซึ่งในปีนี้ เน้น animal motifs (โดยเฉพาะผีเสื้อ) และ flower motifs (โดยเฉพาะใบ clover) โดยการใช้หินสีหลากหลาย (muti colored stones) สไตล์ funky และการออกแบบที่ unique เป็นที่นิยมมาก สำหรับกำไล ที่เป็นแฟชั่นปีนี้ คือ กำไลข้อมือแบบห่วงซ้อนกัน (bangles)
2.3 พฤติกรรมผู้บริโภค
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เครื่องประดับสีเงิน (white metal) มีแนวโน้มได้รับความนิยม มากกว่าเครื่องประดับทองอย่างต่อเนื่อง ทั้งในตลาดสหราชอาณาจักรและตลาดส่วนใหญ่ทั่วโลก ทั้งนี้ ตลาดสหราชอาณจักรซึ่งเป็นตลาดของผู้บริโภคที่มีฐานะนั้น platinum หรือ ทองคำขาว ได้รับความนิยมมาก โดยเครื่องประดับทอง และ platinum มีส่วนแบ่งตลาดกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่เครื่องประดับเงินมีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 7
ปัจจุบัน เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรยังคงเปราะบาง มีคนตกงานจำนวนมาก และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับค่อนข้างสูง ทำให้การซื้ออัญณีและเครื่องประดับ ซึ่งจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีแนวโน้มลดลง และราคากลายเป็นปัจจัยสำคัญมากขึ้นในการตัดสินใจซื้อสินค้า
2.4 ช่องทางการจำหน่าย
2.4.1 ผู้ขายส่งและตัวแทนนำเข้า มีบทบาทสำคัญเนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าเป็นจำนวนมาก แต่สำหรับสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงมักจะมีการวางจำหน่ายตามร้านขายปลีกบางแห่งเท่านั้น ทำให้ตัวแทนนำเข้าหรือตัวแทนจัดจำหน่ายมีบทบาทค่อนข้างมาก รายชื่อบริษัทผู้จัดจำหน่ายเครื่องประดับสามารถค้นหาได้จาก website ของ Jewellery Distributors’ Association of the UK ที่www.jda.org.uk
2.4.2 กลุ่มผู้ซื้อ(Buying Group) เป็นการรวมกลุ่มของผู้จัดจำหน่ายรายอิสระหรือกลุ่มเครือข่ายผู้ค้าปลีกขนาดเล็ก ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในช่วงระหว่างผู้ขายส่งไปถึงผู้ค้าปลีก เนื่องจากมีการรวมการสั่งซื้อในจำนวนมากและมีอานาจต่อรองมากขึ้นกับผู้ขายส่งหรือผู้จัดจำหน่าย กลุ่มผู้ซื้อดังกล่าวที่สำคัญ เช่น Houlden Group ที่มีสมาชิกเป็นผู้ค้าปลีกมากกว่า 30 แห่ง และร้านขายปลีกในเครือข่ายอีกกว่า 70 แห่ง ( website : www.houlden.biz)
2.4.3 Suppliers รายใหญ่ ได้แก่
- Abbeycrest PLC ซึ่งดำเนินธุรกิจออกแบบ ผลิต และจำหน่ายเครื่องประดับทองและเงิน โดยมีฐานการผลิตตั้งอยู่ที่ประเทศไทย ทั้งนี้ Abbeycrest PLC ได้ก่อตั้ง Abbeycrest Thailand limited ซึ่งมีโรงงานมูลค่ากว่า 100 ล้านบาทตั้งอยู่ที่ลำพูน เมื่อปี 2003 และซื้อกิจการของ Essex International plc ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของไทย นอกจากนี้ ยังมียังมีฐานการผลิตและการตลาดที่ฮ่องกง โดย Abbeycrest Hong Kong ด้านการผลิต และ Abbeycrest International ด้านการตลาด รายละเอียดสามารถดูได้จาก website http://www.abbeycrest.co.uk/Contact.htm
- Signet Group PLC เป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ เน้นตลาดระดับกลาง มีการบริหารงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ US division (คิดเป็นประมาณร้อยละ 78 ของยอดขายรวม) และ UK division โดยสาหรับ UK division นั้น ในปีภาษี 2010 ยอดขายในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 733.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11 และมีร้านค้าปลีก 558 แห่ง ในสหราชอาณาจักร บริษัทมีสินค้าภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้าของตนเอง คือ H Samuel, Ernest Jones, Leslie Davis , Forever Diamond และ Perfect Partner http://www.signetjewelers.com/sj/pages/aboutus/overview
- Goldsmiths PLC เป็น jeweller เก่าแก่รายใหญ่ในสหราชอาณาจักร ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1778 เน้นตลาดระดับบน มีร้านค้าปลีก 130 แห่งทั่วสหราชอาณาจักร http://www.goldsmiths.co.uk/
- F Hinds Ltd เป็นธุรกิจครอบครัว มีร้านค้าปลีกในเครือ 107 แห่งทั่วสหราชอาณาจักร http://www.fhinds.co.uk/
2.4.4 ร้านดีพาร์ตเม้นสโตร์ เป็นแหล่งจำหน่ายปลีกขนาดใหญ่ที่มีสินค้าค่อนข้างหลากหลาย ได้แก่ Harrods; Selfridges; Marks & Spencer; Harvey Nichols; Liberty; House of Fraser; Debenhams นอกจากนี้ เครือซุเปอร์มาเกตขนาดใหญ่ เช่น Tesco; Sainsbury’s; ASDA เป็นต้น ซึ่งมี section สำหรับสินค้าประเภท non-food ทั้งนี้ ในส่วนของ ASDA ได้ริเริ่มการจัดสรรพื้นที่ภายในห้าง เพื่อขายเครื่องประดับแท้ ภายหลังถูกซื้อกิจการไปเมื่อปี 1999 โดย Walmart ซึ่งเป็นผู้ค้าปลีกเครื่องประดับอัญมณีรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ
2.4.5 การจำหน่ายปลีกตามแคตตาล็อกและทางอินเตอร์เน็ต ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีร้าน Argos เป็นผู้ค้าปลีกสินค้าทั่วไป รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ รายใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ มีร้านค้ากว่า 700 แห่ง ขายสินค้าผ่าน catalogue (catalogue retailer) โดยไม่มีการโชว์สินค้าหน้าร้าน ลูกค้าสามารถสั่งซื้อทาง on-line หรือซื้อที่ร้านเองก็ได้ อนึ่ง Argos เป็นบริษัทในเครือของ Home Retail Group ยักษ์ใหญ่ในวงการค้าปลีกใน สหราชอาณาจักร http://www.homeretailgroup.com/
2.5 การนำเข้า
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศผู้นำเข้าสุทธิเครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า ตัวเลขล่าสุด ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553 สหราชอาณาจักรขาดดุลการค้าในสินค้าตัวนี้รวม ล้านเหรียญสหรัฐ
2.5.1 การนำเข้าจากทั่วโลก
ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553 สหราชอาณาจักรมีการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลก มูลค่ารวม 46,035.31 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.26 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยร้อยละ 60 ของการนำเข้าเป็นทองคำ ตามด้วยเพชร แพลทินัม เครื่องประดับโลหะมีค่า เงิน และเศษทำด้วยโลหะมีค่าหรือโลหะที่หุ้มติดด้วยโลหะมีค่า ตามลำดับ ทั้งนี้ การนำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกรายการ ยกเว้นทองคำ และเงิน
สำหรับการนำเข้าเครื่องประดับโลหะมีค่า ประเภทย่อยที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุด คือ เครื่องประดับทอง และ platinum คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 87.28 ของการนำเข้าเครื่องประดับโลหะมีค่าทั้งหมด (jewelry with precious metal) ตามด้วยเครื่องประดับเงิน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.18 ของการนำเข้า และเครื่องประดับทำด้วยโลหะสามัญ ตามลำดับ
2.5.2 การนำเข้าจากประเทศไทย
สหราชอาณาจักรนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553 มูลค่ารวม 196.63 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.16 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยร้อยละ 77.57 ของการนำเข้าเป็นเครื่องประดับทาด้วยโลหะมีค่า ประกอบด้วยเครื่องประดับทอง/แพลตินัม และเครื่องประดับเงิน อย่างละครึ่ง ตามด้วยรัตนชาติ และกึ่งรัตนชาติที่ไม่ได้ร้อยเข้าด้วยกัน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 12.67 ของการนำเข้า และ Imitation jewelry ตามลำดับ ทั้งนี้การนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกรายการ ยกเว้นเครื่องประดับทอง/แพลตินัม
แนวโน้มการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทย
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา การนำเข้าเครื่องประดับทอง/แพลตินัมจากประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีจนถึงปี 2006 จากนั้น การนำเข้าเริ่มลดลง และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เพียงแค่ 4 ปี ยอดการนำเข้าจากไทยลดลงถึงร้อยละ 58.92 จนปัจจุบัน มียอดการนำเข้าใกล้เคียงกับเครื่องประดับเงิน ส่วนการนำเข้าเครื่องประดับเงินนั้นขึ้นๆลงๆ แต่แนวโน้มค่อนข้างคงที่
2.5.3 ประเทศคู่แข่งของไทยในตลาดสหราชอาณาจักร
คู่แข่งสำคัญของไทยในส่วนของเครื่องประดับทอง และแพลตินัม ในตลาดสหราชอาณาจักร คือ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี UAE จีน และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2553 สหราชอาณาจักรนำเข้าเครื่องประดับทอง และแพลตินัม จากทุกประเทศเพิ่มขึ้น ยกเว้นจาก สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี และไทยที่การนำเข้าลดลง
สำหรับเครื่องประดับเงิน ไทยเคยครองตลาดเป็นอันดับ 1 มาโดยตลอด เป็นเวลาต่อเนื่องกันกว่า 10 ปี จนถึงปี 2009 อย่างไรก็ดี ส่วนแบ่งตลาดของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบัน ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเครื่องประดับเงินในสหราชอาณาจักรเป็นลำดับที่ 2 รองจากเดนมาร์ก
ส่วนแบ่งตลาดของไทยและประเทศคู่แข่งในสหราชอาณาจักร
อิตาลี ซึ่งเป็นคู่แข่งดั้งเดิมของไทยในตลาดสหราชอาณาจักร ก็เสียส่วนแบ่งตลาดอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในขณะที่ ส่วนแบ่งตลาดของเดนมาร์คพุ่งขึ้นสูงมากในช่วงเวลาไม่กี่ปี จนครองตลาดเป็น อันดับ 1
3. กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
3.1 The Hallmarking Act 1973 เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีการทำ hallmarking ซึ่งหมายถึง การทดสอบและการประทับตราเครื่องประดับโลหะมีค่าว่า มีความสอดคล้องกับมาตรฐานความบริสุทธิ์ (purity) ตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ประกอบการที่ขายเครื่องประดับโลหะมีค่า ที่ไม่มีตราประทับดังกล่าว จะถือเป็นความผิด ทั้งนี้ การทดสอบจะกระทำในสหราชอาณาจักร โดยหน่วยงานอิสระ คือ Assay Offices ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ลอนดอน Birmingham; Sheffield และ Edinburgh ทั้งนี้ สหราชอาณาจักร ในฐานะสมาชิก Convention on the Control and Marking of Articles of Precious Metals (Hallmarking Convention) ให้การยอมรับ Convention Common Control Mark (CCM) ซึ่งหมายความว่า เครื่องประดับที่ได้รับตรา CCM สามารถนาเข้าและขายใน สหราชอาณาจักรโดยไม่ต้องขอ UK hallmarking เพิ่มเติม
3.2 The Dangerous Substances and Preparations (nickel) (Safety) Regulations 2005 เป็นกฎระเบียบที่จำกัดปริมาณนิเกลที่ปลดปล่อยจากเครื่องประดับ (migration limit) โดยกำหนดให้เครื่องประดับที่มีการสวมใส่โดยสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงและเป็นเวลานานติดต่อกัน เช่น ต่างหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน สายนาฬิกา กระดุมประเภท rivet buttons ซิป ที่ใช้บนเสื้อผ้า จะต้องไม่มีการปลดปล่อย (migration) ของนิเกลเกินกว่า 0.5 micrograms / square centimetre / สัปดาห์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการแพ้ของผิวหนังได้ ยกเว้นแต่ว่าเครื่องประดับนั้น มีการเครือบ (coat) เพียงพอที่จะทำให้ปริมาณนิเกลที่ปลดปล่อยออกมาไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ในการใช้งานปกติ นอกจากนี้ กฎระเบียบยังครอบคลุมถึงชิ้นส่วนเครื่องประดับประเภท post assemblies ทั้งหมดที่ใช้ในการ body piercing โดยในส่วนนี้ กำหนดต้องไม่มีการปลดปล่อย (migration) ของนิเกลเกินกว่า 0.2 micrograms / square centimetre / สัปดาห์ รายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบ วิธีการทดสอบ สามารถดูได้ที่ website www.teg.co.uk/nickel/index.html
สำหรับ การทดสอบนั้น ใช้มาตรฐานของ British Standards BS EN 12472 และ BS EN 1811:1999 โดย ในสหราชอาณาจักร ห้องทดลองที่ได้รับการรับรองจาก UKAS (United Kingdom Accreditation Service) ได้แก่ Birmingham Assay Office
4. ภาษีศุลกากรนำเข้า
ภาษีศุลกากรนำเข้าของทุกหมวด/รายการสินค้า สามารถหาได้ที่ website http://ec.europa.eu/taxation_customs/dds2/taric/taric_consultation.jsp?Lang=en&Screen=0&redirectionDate=20110210 โดย click ที่ browse ก่อน เพื่อหา รหัส (code) สินค้า จากนั้น click ประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้า และ click ที่ retrieve measure
5. รายชื่อผู้นำเข้ารายสำคัญ สามารถค้นหารายชื่อผู้นำเข้าได้ที่สมาคมต่างๆ ดังนี้
5.1 British Jewellers’ Association ซึ่งเป็นสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง และผู้จัดจาหน่าย มี website ที่ www.bja.org.uk โดย click ที่ b2b product search/trade จากนั้น click ที่ jewellery-sterling silver โดยมีรายชื่อสมาชิกกว่า 140 ราย
5.2 Jewellery Distributors Association of UK ซึ่งเป็นสมาคมผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าส่ง ผู้นาเข้า-ส่งออก โดยมี website ที่ www.jda.org.uk
5.3 The National Association of Goldsmiths ซึ่งเป็นสมาคมผู้ค้าปลีก ทั้งที่เป็นร้านค้าอิสระและที่มีเครือข่าย
5.4 นอกจากนี้ ยังสามารถค้าหารายชื่อผู้นำเข้าได้ที่ British Jeweller Yearbook ที่ website www.britishjewelleryearbook.co.uk ซึ่งมีรายชื่อผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่ายเครื่องประดับในสหราชอาณาจักร
6. งานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้อง
6.1 International Jewelry London (IJL) จัดระหว่างวันที่ 4-7 กันยายน 2554 ณ Earls Court 2 กรุงลอนดอน รายละเอียดสามารถดูได้จาก website http://www.jewellerylondon.com/
6.2 Goldsmiths Fair 2011 จัดเป็น 2 ช่วง โดยช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 กันยายน — 2 ตุลาคม 2554 และช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-9 ตุลาคม 2554 ณ Goldsmiths’ Hall รายละเอียดสามารถดูได้จาก website http://www.thegoldsmiths.co.uk/exhibitions-promotions/goldsmiths'-fair/
6.3 Spring Fair International ซึ่งจัดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ที่ NEC เมือง Birmingham
7. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะของสำนักงานฯ
การที่ส่วนแบ่งตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทยทั้งในส่วนของเครื่องประดับทอง/แพลตินัม และเครื่องประดับเงิน ลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปีในตลาดสหราชอาณาจักร ประกอบกับคู่แข่งสำคัญของไทยในอันดับต้นๆ คือ สหรัฐฯ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ไม่ใช่จีน หรืออินเดีย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ราคาไม่ใช่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด แต่ที่สำคัญอยู่ที่งานออกแบบ (design) ดังนั้น เพื่อสามารถแข่งขันได้ในตลาดนี้ ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกไทยจำเป็นต้องเน้นพัฒนาด้านการออกแบบให้ตรงกับความต้องการของตลาด
การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในสหราชอาณาจักรเป็นช่องทางสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยได้พบกับผู้ซื้อ/ผู้จัดจำหน่ายในสหราชอาณาจักร และได้ศึกษารูปแบบและ design ที่เป็นที่ต้องการของตลาดได้
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
ที่มา: http://www.depthai.go.th