ราคาสินค้าในสหรัฐฯรวมถึงสินค้าอาหารมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น
Core Producer Price (CPR) ที่ไม่รวมอาหารและพลังงานของสหรัฐฯในเดือนมกราคม 2011 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เป็นอัตราการเพิ่มที่สูงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2008 เป็นต้นมา การเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากของ CPR ส่วนใหญ่มาจากราคาสินค้าเวชภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 40 สาเหตุของการเพิ่มสูงขึ้นของ CPR เป็นเพราะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 6.9 ปกติแล้วอัตรา CPR จะเป็นสัญญาณบอกแนวโน้มของสภาวะการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ และการเพิ่มขึ้นของ CPR ในขณะนี้แสดงให้เห็นว่าสภาวะการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯกำลังลามเข้าสู่ภาคการผลิตวัตถุดิบ
ในเดือนมกราคม 2011 Core consumer Price Index (CPI) รวมทั้งสิ้นของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 (ในเดือนธันวาคม 2010 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5) หากไม่รวมอาหารและพลังงาน CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1
ในปี 2010 Consumer Price Index (CPI) เฉพาะสินค้าอาหารทุกชนิดเพิ่มขึ้นร้อย 0.8 ราคาสินค้าอาหารที่ซื้อไปทำรับประทานที่บ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และราคาสินค้าอาหารที่ซื้อจากร้านอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯพยากรณ์ว่าในปี 2011 CPI ของอาหารทุกชนิดนี้จะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 2 — 3
- กลุ่มสินค้าเนื้อสัตว์และปลาพยากรณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นฉลี่ยระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5 โดยสินค้าเนื้อหมู ปลาและอาหารทะเลจะเป็นสินค้าที่มี CPI เพิ่มมากที่สุดคือเฉลี่ยระหว่างรอ้ยละ 3.5 — 4.5
- กลุ่มสินค้า dairy products พยากรณ์ว่าจะเพิ่มเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 4.5 — 5.5
- กลุ่มสินค้าผักและผลไม้ พยากรณ์ว่าจะเพิ่มเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 2.5 — 3.5
ในปี 2010 สหรัฐฯสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ได้ แต่สภาวะการณ์ปัจจุบันแสดงแนวโน้มว่าราคาสินค้าในปี 2011 จะพุ่งสูงขึ้น แม้ว่าขณะนี้ดัชนีราคาสินค้าอาหารสำหรับบริโภคที่บ้านจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 และเป็นอัตราขยายตัวที่ต่ำกว่าที่ได้มีการพยากรณ์ไว้แต่ก็ยังคงเป็นการขยายตัวที่รวดเร็วกว่าอัตราการขยายตัวของเงินเฟ้อโดยรวม สภาวะอากาศแปรปรวนทั่วโลกรวมถึงในสหรัฐฯ การใช้ข้าวโพดจำนวนมากในการผลิตพลังงาน ethanol และความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้นในจีนและอินเดียที่กำลังเป็นสาเหตุสำคัญของการเพิ่มสูงขึ้นของราคาสินค้าอาหารในหลายๆประเทศทั่วโลกเป็นสัญญาณบ่งบอกแนวโน้มว่าในอีกไม่นานราคาสินค้าอาหารในตลาดสหรัฐฯจะพุ่งสูงขึ้นเช่นกัน
ราคาสินค้าหลักที่รวมถึงเนื้อ นม กาแฟ โกโก้ และน้ำตาลในตลาดสหรัฐฯเริ่มขยับตัวสูงขึ้นอย่างมากมาตั้งแต่ปลายปี 2010 โรงงานผลิตสินค้าอาหารรายใหญ่ๆของสหรัฐฯเช่น Kroger Co., Kraft Foods Inc., Sara Lee Corp., General Mills และ Kellogg Co. ได้ประสบปัญหาค่าใช้จ่ายของส่วนผสมอาหารต่างๆที่เพิ่มสูงขึ้น และพยายามผลักภาระค่าใช้จ่ายต่างๆเหล่านี้ให้แก่ผู้บริโภคผ่านทางการขึ้นราคาสินค้าหรือคงราคาไว้แต่ลดปริมาณสินค้าลง ตลาดค้าปลีกในสหรัฐฯรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการซื้อหาสินค้ามาวางจำหน่ายได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และจะผลักภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไปยังผู้บริโภคเช่นกัน
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส
ที่มา: http://www.depthai.go.th