กรมส่งเสริมการส่งออกนำฝ่ายจัดซื้อห้าง AIC Co., สร้างเครือข่ายผู้ผลิต บริษัทส่งออก และบริษัทนำเข้า พบกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้เพิ่มความมั่นใจและเร่งใช้ประโยชน์ภาษีศูนย์ ภายใต้ JTEPA
กรมส่งเสริมการส่งออก โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ร่วมมือกับ P & F Techno Co., Ltd. บริษัทไทยที่ได้รับสัมปทานบริหารโรงอบไอน้ำผลไม้เพื่อการส่งออก นำนาย TANAKA Yoshiharu เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อผลไม้ของบริษัท AIC Co., ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าสินค้าสำหรับเข้าไปจำหน่ายในห้าง AEON Co., ทั่วประเทศ ได้เดินทางมาประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ วัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการค้าแบบครบวงจร จากฟาร์มจนถึงมือผู้บริโภค ประกอบด้วย (๑) กลุ่มผู้ผลิต ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรในแหล่งผลิตมะม่วง มังคุด ทุเรียน และสับปะรด ของจังหวัดเชียงราย และจันทนบุรี องค์กรบริหารของจังหวัด (อ.บ.จ.) (๒) กลุ่มผู้ค้า ได้แก่ สหกรณ์ในท้องถิ่นที่ทำหน้าที่รวบรวมผลไม้ และ (3) บริษัทส่งออก ผู้ซื้อและบริษัทที่กระจายสินค้าในญี่ปุ่น ได้แก่ AIC Co., และห้าง AEON Co., ในการเพิ่มยอดสั่งซื้อ และจัดกิจกรรมพิเศษแนะนำผลไม้ไทยเป็นผลไม้คุณภาพสูง พร้อมส่งเสริมการขายแก่ผู้บริโภคญี่ปุ่นอย่างกว้างขวาง
การพบครั้งนี้ได้สร้างมิติใหม่ของความร่วมมือ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกร จะผลิตผลไม้คุณภาพดีปลอดผู้แทน AIC พบคุณรัตนา จงสุทธนามณี นายก อบจ. จังหวัดเชียงราย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรด และผู้บริหารบริษัท P&F Techno Co., Ltd. จากสารพิษตกค้าง ในปริมาณที่เพียงพอ อย่างสม่ำเสมอและดูแลให้ สามารถส่งออกได้ตามเวลา ผู้ส่งออกจะทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรและกำหนดราคารับซื้ออย่างเป็นธรรม บริษัทนำเข้าและซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำของญี่ปุ่นจะนำผลไม้ไทยเข้าไปวางขายทั่วประเทศ และวางแผนจัดกิจกรรมเพิ่มการขายผลไม้ไทยในสาขา ของ AEON ในต่างประเทศด้วย การพบกันครั้งนี้ ยังทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ปัญหาอุปสรรคที่เผชิญอยู่ รวมทั้งวางแนวทางการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกษตรกรมั่นใจว่ามีตลาดรองรับสามารถวางแผนผลิตและขายสินค้าได้ราคาดี คุ้มค่าต่อการลงทุน
เมื่อปี ๒๕๕๒ กรมส่งเสริมการส่งออกได้จับมือ และลงนามความร่วมมือกับบริษัท AEON ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีเครือข่ายทั่วประเทศและมียอดขายอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นในการเพิ่มการนำเข้าและนำสินค้าชนิดใหม่ๆ จากไทยเข้าไปวางจำหน่าย โดยมีการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ แนะนำผลไม้ไทยภายในห้าง เป็นประจำทุกปี ในปี ๒๕๕๓ ห้างได้เริ่มจัด Thai Festival @ AEON ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนเมษายน เพื่อฉลองโอกาสครบรอบ ๒๐ ปีมะม่วงไทยที่เข้าวางขายในญี่ปุ่น จัดพร้อมๆกัน ๒๒๕ สาขา ในปีนี้ AEON จะจัดกิจกรรมต่อเนื่อง ในเดือนเมษายน ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ เมษายน แนะนำผลไม้ของไทย มีการออกร้านจำหน่ายผลไม้ อาหารและสินค้าไทย กิจกรรมพิเศษที่จัดในปีนี้ คือ จะเริ่มแนะนำสับปะรด พันธุ์ภูแล เป็นครั้งแรกในญี่ปุ่น ซึ่งหากผลไม้ที่ส่งไปมีคุณภาพดี เชื่อว่าผู้บริโภคญี่ปุ่นจะชื่นชอบและสับปะรดไทยจะเป็นผลไม้ที่มีโอกาสขยายได้มาก AEON ก็จะวางแผนนำเข้าและวางขายภายในห้างเป็นประจำ
ฝ่ายจัดซื้อและผู้บริหารของห้าง AEON ยืนยันความมุ่งมั่นว่า ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทตั้งใจจะจัดกิจกรรม Thai Festival @ AEON แนะนำผลไม้ อาหาร และสินค้าไทยเป็นประจำทุกปีในเดือนมษายน และจะทำให้เดือนเมษายนเป็นเดือนสำหรับสินค้าไทยของซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือทั้งหมด ในอนาคตก็จะขยายไปจัดกิจกรรม Thai Festival ในประเทศอื่นๆ ด้วย การได้มาเยี่ยมชมสวนผลไม้ พบหารือกับเกษตรกร และเยี่ยมชมโรงอบไอน้ำผลไม้ของบริษัท P&F Techno Co.,Ltd. ได้เห็นวิวัฒนาการและเทคโนโยลีที่นำมาใช้ในการตรวจวัดคุณภาพ คัดขนาดและสารความหวาน ทำให้มั่นใจในมาตรฐานการผลิตของเกษตรกร ชาวสวนผลไม้และมั่นใจในการทำงานร่วมกับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรของจังหวัด
ญี่ปุ่นบริโภคผลไม้สดปีละ ๕-๖ ล้านตัน เป็นผลไม้นำเข้าถึง ๑.๗-๒.๐ ล้านตัน ในจำนวนนี้ก็เป็นผลไม้เมืองร้อนถึง ๑.๒-๑.๓ ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าผลไม้เมืองร้อน ๙๘๙ ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี ๒๕๕๓ ผลไม้ที่นำเข้ามากตามลำดับ คือ กล้วย สับปะรด มะม่วง มังคุด ทุเรียน ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA ญี่ปุ่นเปิดให้นำเข้าผลไม้สองชนิดโดยไม่เสียภาษีภายใต้โควต้าพิเศษ ระหว่างปี ๒๕๕๐-๒๕๕๕ ได้แก่กล้วย ๔,๐๐๐ — ๘,๐๐๐ และสับปะรด ๑๐๐-๕๐๐ ตัน แต่การนำเข้าจากไทย ในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมาการส่งออกมะม่วงของไทยไปญี่ปุ่นขยายตัวอย่างมาก สามารถขยายส่วนแบ่งตลาดและเพิ่มปริมาณส่งออก มะม่วงไทยเป็นที่นิยมและเริ่มเข้าไปวางขายตลอดปี ส่วนกล้วย ยังมีน้อย ส่วนสับปะรด ยังไม่มีการส่งออกไปญี่ปุ่น เพราะภายใต้ความตกลง JTEPA ลดภาษีเป็นศูนย์เฉพาะสับปะรดที่มีขนาดไม่เกิน ๙๐๐ กรับต่อผล ปี ๒๕๕๔ จึงเป็นครั้งแรกที่จะเริ่มส่งออกไปทดลองตลาด และก็ห้าง AEON ก็พร้อมจะร่วมมือกับกรมส่งเสริมการส่งออก กำหนดเป้าขายครั้งแรกไว้ไม่น้อยกว่า ๕๐ ตัน จะขยายเพิ่มหากมีผลผลิตเพียงพอและเกษตรกรไทยพร้อมจะผลิตเพื่อส่งออก
สิ่งที่ผู้ซื้อกังวล คือ เรื่องสารพิษหรือยาฆ่าแมลงตกค้าง ซึ่งหากเกษตรกร และกลุ่มสหกรณ์การเกษตรร่วมมือกันดูแล ใช้ปุ๋ยและยาในปริมาณที่เหมาะสม ทิ้งช่วงการใช้ยาตามมาตรฐาน รักษาคุณภาพ สับปะรดที่มีผลขนาดเล็กไม่เกิน ๙๐๐ กรัมซึ่งมีขนาดเหมาะกับปริมาณบริโภคของครัวเรือขนาดเล็กอย่างญี่ปุ่น ก็จะเป็นผลไม้ที่มีอนาคตสดใส เป็นสินค้าส่งออกรายการใหม่ที่เชื่อว่าจะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้อีกมาก
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว
ที่มา: http://www.depthai.go.th