ตลาดผลไม้เมืองร้อนในญี่ปุ่น

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 24, 2011 16:57 —กรมส่งเสริมการส่งออก

  • ความต้องการบริโภคผลไม้สด ประมาณ 5-6 ล้านตันต่อปี แบ่งเป็น
  • ผลิตในประเทศ ปีละ 3-4 ล้านตัน

ชนิดที่ผลิตมาก(ตามลำดับ) คือ ส้ม แอปเปิ้ล สาลี่ องุ่น

  • นำเข้า ปีละ 1.7 — 2.0 ล้านตัน

ชนิดที่นำเข้ามาก (ตามปริมาณ) ได้แก่ กล้วย สับปะรด เกรพฟรุต ส้ม กีวีฟรุต อโวคาโด มะม่วง

  • มูลค่าตลาด รวมมากกว่า 1 ล้านล้านเยน ต่อปี
การนำเข้าผลไม้สดของญี่ปุ่น ปี 2553
  • ปริมาณ และมูลค่า (ผลไม้สด ไม่รวมถั่วและผลไม้แห้ง)

นำเข้า 1.815 ล้านตัน มูลค่า 1,987.7 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ (61,620 ล้านบาท)

  • การนำเข้าผลไม้เมืองร้อน (ปี 2553

นำเข้าจำนวน 1.263 ล้านตัน หรือมีสัดส่วนร้อยละ 69 ของผลไม้ที่นำเข้า

มูลค่านำเข้ารวม 989.03 ล้านดอลลาร์ (30,660 ล้านบาท) มีสัดส่วนร้อยละ 49.7

ผลไม้เมืองร้อนที่ญี่ปุ่นนิยมบริโภค และนำเข้า
  • กล้วย นำเข้าปีละ 1.0 -1.2 ล้านตัน : 90 % นำเข้าจากฟิลิปปินส์, ที่เหลือมาจากเอควาดอร์(4 %), ไต้หวัน (1.5 %) เปรู(0.7 %) ไทย (0.3%)
  • สับปะรด นำเข้าปีละ 142,000-165,000 ตัน : 98-99 % มาจากฟิลิปปินส์ ที่เหลือจากไต้หวัน ของไทยน้อยมาก
  • มะม่วง 10,000-12,000 ตัน : เม็กซิโก มีส่วนแบ่ง 32% รองลงมา ได้แก่ ฟิลิปปินส์ (20.5%) ไทย (18.8 %) ไต้หวัน(16%)
  • มังคุด และฝรั่ง 100-120 ตัน : 99 % เป็นมังคุด จากประเทศไทย
  • ทุเรียน 130-240 ตัน : ไทยเป็นผู้ส่งออกรายเดียว
  • ผลไม้อื่นๆ 300-500 ตัน : เช่น เงาะ ลิ้นจี่ แก้วมังกร มะเฟือง จีนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ มีส่วนแบ่ง 60-70 % ที่เหลือมาจาก ไต้หวัน (27%) เม็กซิโก (9%) สหรัฐฯ
ราคาขายปลีกผลไม้เมืองร้อนในญี่ปุ่น

มะม่วง ฟิลิปปินส์ ผลละ 200-400 เยน (70-280 บาท)

ไทย 290-500 เยน (100 — 175 บาท)

ญี่ปุ่น(ปลูกในคาโกชิมา) ผลละ 4,800 เยน(1,680 บาท)

มังคุด 80- 150 เยน / ผล (28-52 บาท)

ทุเรียน 2,500-4,000 เยน / ผล (875 — 1,400 บาท)

กล้วย(หอม) 30 — 100 เยน / ผล (10 — 35 บาท)

          ส้ม        200-1,000 เยน / กิโลกรัม (70-350 บาท)

มะพร้าวอ่อน 300-500 เยน / ผล (100 -175 บาท)

สับปะรด 159-489 เยน / ผล (55 — 171 บาท)

ภาษีนำเข้า
  • ภาษีนำเข้า 0-30 %
  • JTEPA ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้แก่ผลไม้สดจากไทย

— ภาษีเป็นศูนย์ทันที ได้แก่ ทุเรียน มะม่วง มังคุด มะพร้าว

— กล้วย ให้โควต้าปลอดภาษี ปีแรก 4,000 ตัน ทะยอยเพิ่มเป็น 8,000 ตัน ใน 5 ปี ภาษีนอกโควต้า คิด 10 %(เมย.-กย.)

และ20% (ตค-มีค)

— สับปะรด โควต้าปลอดภาษี (ขนาดไม่เกิน 900 กรัม) 100 ตันในปีแรก และเพิ่มเป็น 500 ตันใน 5 ปี อัตรานอกโควต้า 17 %

ลักษณะเฉพาะของตลาดญี่ปุ่น
  • ชาวญี่ปุ่นชอบทานผลไม้สด มากกว่าแปรรูป และนิยมซื้อผลไม้ราคาแพงให้เป็นของขวัญ คุณภาพจึงมีความสำคัญที่สุด
  • ไม่ชอบอาหารหรือผลไม้ที่รสหวานจัด และชอบผลไม้มีรสอมเปรี้ยว
  • ครอบครัวขนาดเล็ก กำหนดราคาขายเป็นผลละ ไม่ใช่ชั่งกิโลกรัม และราคาแพง จึงต้องคัดขนาด คุณภาพมาตรฐานเดียวกัน และผลไม้ต้องดูสวยงาม สดใหม่
  • หากชอบหรือไม่ชอบรสผลไม้ชนิดใด ก็จะบอกต่อ จึงประชาสัมพันธ์ ข่าวทั้งด้านดี และด้านลบจึงกระจายรวดเร็ว
  • ผลไม้นำเข้าที่จะได้รับความนิยม ควรต้องมีผลผลิตเข้าไปวางวางขายตลอดทั้งปี หากทำได้ ตลาดจะขยายได้อีกมาก เพราะจะมีการนำไปผลิตเป็นเมนูอาหารด้วย
  • ผู้ซื้อสนใจศึกษาข้อมูลสารอาหารของผลไม้ ก่อนซื้อบริโภค
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายป้องกันโรคพืช

  • ไม่อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากเขตที่มีโรคพืชและแมลง
  • ผู้นำเข้าต้องยื่นคำร้องขอรับการตรวจสอบผลไม้สดที่นำเข้าต่อด่านกักกันโรค และต้องมีเอกสารของหน่วยงานไทย คือ

กรมวิชาการเกษตรตรวจรับรอง

  • ต้องกำจัดแมลงด้วยวิธีที่ญี่ปุนยอมรับ เช่น การอบอน้ำ (Vapor Heat Treatment) หรือ การรมควัน(Fumigate)
  • กฎหมายสุขอนามัย
  • กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานและการปิดสลากสำหรับสินค้าเกษตร
โอกาสของผลไม้ไทย
  • ญี่ปุ่นชอบผลไม้ไทยทุกชนิด
  • ผลไม้ที่ได้รับความนิยมมาก คือ มะม่วง มังคุด สับปะรด
  • ผลไม้ที่คาดว่าจะมีโอกาสส่งออกได้เพิ่มขึ้นในอนาคต คือ ส้มโอ
  • เงื่อนไข
  • คุณภาพ และปริมาณผลที่สม่ำเสมอ
  • การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพและทำให้ผู้ซื้อมั่นนใจ ว่าไม่มีผลไม้เสีย
  • การตรวจสอบย้อนกลับ

สำนักงานส่งเสริมการค้า ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ