1. สถานการณ์ตลาด
ประเทศจีนเป็นตลาดสำคัญที่นำเข้ากล้วยไม้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทยดยในปี 2553 กล้วยไม้ไทยมีสัดส่วนในตลาดจีน 99 %จากข้อมูลสถิติการนำเข้ากล้วยไม้ไทยของจีนของกรมศุลกากรจีนในช่วงปี 2008 -2010 มีมูลค่าการนำเข้า ดังนี้คือ การนำเข้าปี2008 มีมูลค่า 15.21 ล้านเหรียญสหรัฐ, ปี 2009 มีมูลค่า 15.06 ล้านเหรียญสหรัฐและปี 2010 มีมูลค่า 14.88 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับเมื่อเทียบกับปี 2553 ในช่วงระยะเวลาเดียวกันลดลง -1.18 % โดยเมืองที่นำเข้าพืช ไม้ดอกไม้ประดับและต้นไม้จากไทยสูง 5 เป็นอันดับแรก ได้แก่ เมืองคุนหมิง ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางจวและเซินเจิ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองกวางโจวและเซินเจิ้นเป็นตลาดที่มีความต้องการในการบริโภคพืช ไม้ดอกไม้ประดับและต้นไม้จากไทย (ตามเอกสารแนบ)
ปัจจุบัน กล้วยไม้ที่จำหน่ายในตลาดเมืองกวางจวจะเป็นกล้วยไม้ที่ปลูกในประเทศและกล้วยไม้นำเข้า เนื่องจากประเทศจีนสามารถผลิตได้เองในหลายพื้นที่ เช่น มณฑลเจียงซี ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกกล้วยไม้ที่ใหญ่และมีหลายพันธ์ที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศจีน นอกจากนี้แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอื่น ๆ ยังมี มณฑลเจียงซู อันฮุย กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน เป็นต้น ซึ่งสามารถปลูกกล้วยไม้ได้หลายชนิด หลายพันธุ์ ทั้งกล้วยไม้พันธ์ที่ปลูกในเขตอบอุ่นและเขตร้อน เช่นกัน สำหรับความต้องการกล้วยไม้ตัดดอกของเมืองกวางโจว คาดว่ายังคงมีโอกาสขยายตัวเนื่องจากในประเทศจีนมีเทศกาลที่หลากหลายที่นิยมให้ดอกไม้เป็นของขวัญเช่นวันแม่เทศกาลตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลไหว้บรรพบุรุษรวมทั้งการใช้ไม้ตัดดอกในชีวิตประจำวันการจัดงานสังสรรค์งานแต่งงานรวมทั้งการใช้ตกแต่งสถานที่เช่นร้านอาหารไทย รงแรม เป็นต้น
2. ปัญหาอุปสรรค มีดังนี้
- ตลาดกล้วยไม้ของจีนเป็นที่สนใจของประเทศผู้ส่งออกกล้วยไม้ทั่วโลก ผู้ส่งออกกล้วยไม้ของไทยจึงต้องเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากกล้วยไม้ของประเทศคู่แข่งขันและกล้วยไม้ของประเทศจีนเอง โดยประเทศคู่แข่งขันที่สำคัญของไทยคือ ประเทศนิวซีแลนด์เยอรมันนีลาวไต้หวันและสิงค์โปร์
- กล้วยไม้มีข้อจำกัดด้านเวลาในการขนส่งสินค้าเนื่องจากการส่งออกกล้วยไม้ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศเท่านั้นซึ่งมีเนื้อที่ค่อนข้างจำกัดและไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาความสดของกล้วยไม้ทำให้บางครั้งกล้วยไม้จากไทยไม่สดและอยู่ได้เพียงระยะเวลาอันสั้นขณะที่กล้วยไม้ที่ผลิตในประเทศจีนมีการขนส่งภายในประเทศที่สะดวกรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ
- การส่งออกกล้วยไม้มายังจีนยังมีปัญหาคุณภาพของสินค้าเนื่องจากระยะเวลาในการขนส่ง ราคา วิธีการและรูปแบบการขนส่งที่ค่อนข้างจำกัด เช่นการบรรจุลงลังกระดาษที่บีบอัดมากเกินไปเพื่อลดต้นทุนการขนส่งทำให้คุณภาพของสินค้าด้อยลงส่งผลให้ราคาสินค้าตกลง
- พันธุ์กล้วยไม้ไทยที่นำเข้าของไทยมีจำนวนหลายพันธุ์ยังไม่เป็นที่รู้จักของตลาดจีนนอกจากนี้ ความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ประเทศคู่แข่งขันมีโอกาสทางการค้ามากขึ้น
- การขาดการพัฒนาเทคโนโลยีกล้วยไม้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าได้ดีทำให้ไทยมีโอกาสเสียส่วนแบ่งตลาดกล้วยไม้ไทย
- กล้วยไม้มีข้อจำกัดด้านเวลาในการขนส่งสินค้าเนื่องจากการส่งออกกล้วยไม้ต้องอาศัยการขนส่งทางอากาศเท่านั้นซึ่งมีเนื้อที่ค่อนข้างจำกัดและไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิเพื่อรักษาความสดของกล้วยไม้ทำให้บางครั้งกล้วยไม้จากไทยไม่สดและอยู่ได้เพียงระยะเวลาอันสั้นขณะที่กล้วยไม้ที่ผลิตในประเทศจีนมีการขนส่งภายในประเทศที่สะดวกรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ
- การส่งออกกล้วยไม้มายังจีนยังมีปัญหาคุณภาพของสินค้าเนื่องจากระยะเวลาในการขนส่ง ราคา วิธีการและรูปแบบการขนส่งที่ค่อนข้างจำกัด เช่นการบรรจุลงลังกระดาษที่บีบอัดมากเกินไปเพื่อลดต้นทุนการขนส่งทำให้คุณภาพของสินค้าด้อยลงส่งผลให้ราคาสินค้าตกลง
- พันธุ์กล้วยไม้ไทยที่นำเข้าของไทยมีจำนวนหลายพันธุ์ยังไม่เป็นที่รู้จักของตลาดจีนนอกจากนี้ ความต้องการของตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ประเทศคู่แข่งขันมีโอกาสทางการค้ามากขึ้น
- การขาดการพัฒนาเทคโนโลยีกล้วยไม้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้าได้ดีทำให้ไทยมีโอกาสเสียส่วนแบ่งตลาดกล้วยไม้ไทย
3. กลยุทธ์การส่งออกกล้วยไม้ไทยให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- ควรพัฒนาเทคนลยีการผลิตตั้งแต่ระดับต้นน้ำการให้ความสำคัญกับคุณภาพ การปรับปรุงสายพันธุ์ การควบคุมคุณภาพป้องกันกำจัดแมลงอย่างมีประสิทธิภาพและมาตรฐานของสินค้า การบรรจุภัณฑ์รวมไปถึงการพัฒนาระบบขนส่งให้สามารถรักษาคุณภาพความสดได้ยาวนาน
- ควรช่วยลดภาระของผู้ส่งออกในด้านภาษีและต้นทุนการขนส่ง
- เพิ่มประเภทกล้วยไม้ที่ส่งออกมายังประเทศจีนให้มากขึ้น เนื่องจากพันธุ์กล้วยไม้ไทยที่ขายในตลาดจีนยังไม่หลากหลายและประชาสัมพันธ์กล้วยไม้ไทยพันธุ์กล้วยไม้ไทยที่เข้ามาจำหน่ายในตลาดจีนให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
- การเพิ่มมูลค่าสินค้ากล้วยไม้ไทย (Valued Added) ให้มีราคาสูงดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยไม้ไทยในรูปแบบอื่น นอกเหนือไปจากการจำหน่ายในรูปแบบเดิม
- การขยายความร่วมมือกับผู้นำเข้าจีนในการขยายตลาดในจีนบนพื้นฐานของประยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย
- ส่งเสริมการใช้กล้วยไม้ไทยในเทศกาลสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งในรงแรมและร้านอาหารไทย
สคร. กวางโจว
ที่มา: http://www.depthai.go.th