สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีประจำเดือนมกราคม

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 28, 2011 14:14 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาพรวมเศรษฐกิจประเทศอิตาลี

จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศแอฟริกาตอนเหนือได้แก่ ตูนีเซีย อียิปต์ ลีเบีย นั้น ซึ่งประเทศเหล่านี้ตั้งอยู่ใกล้กับประเทศอิตาลี โดยเฉพาะลีเบียที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของอิตาลีในอดีต ในปัจจุบันอิตาลีมีความสัมพันธ์ทางการค้าที่สำคัญกับลีเบีย ซึ่งลีเบียเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญอันดับ 10 ของอิตาลี โดยสินค้าที่อิตาลีนำเข้าหลักจากลีเบียคือ ก๊าซ น้ามันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ปีที่แล้วรัฐบาลอิตาลีได้มีการเซ็นต์สัญญาทางการค้ากับลีเบีย ทั้งนี้ รัฐบาลอิตาลีคาดว่าจะมีผู้อพยพจากลีเบียทะลักเข้าสู่อิตาลีไม่ต่ำกว่า 2 แสนคน

หน่วยงานต่าง ๆ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอิตาลีในปี 2554 จะเติบโตใกล้เคียงกับปี 2553 คืออยู่ที่ประมาณ 0.9-1.1% ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อิตาลีในไตรมาส 4 มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ แต่ภาพรวมของปี 2553 พบว่ามีสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เปรียบเทียบจากไตรมาส 3 ปี 2553 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เปรียบเทียบจากไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการเกษตรและการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่าลดลง

ธนาคารแห่งชาติอิตาลี เปิดเผยว่า ในปี 2553 หนี้สาธารณะอิตาลีมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เปรียบเทียบกับปี 2552 สำหรับเดือนธันวาคม 2553 หนี้สาธารณะมีมูลค่า 1,843.2 พันล้านยูโร (แต่ยังถือว่ามีมูลค่าต่ากว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 มูลค่า 1,868.7 พันล้านยูโร) นอกจากนี้ รายได้จากเก็บภาษีของรัฐบาลในปี 2553 มีมูลค่าทั้งหมด 397,541 พันล้านยูโร ซึ่งมีอัตราลดลงร้อยละ 0.97 เปรียบเทียบกับปี 2552 ที่มีมูลค่า 401,454 พันล้านยูโร ซึ่งเฉพาะเดือนธันวาคม 2553 รายได้จากเก็บภาษีมีมูลค่า 70,780 พันล้านยูโร (ลดลงร้อยละ 0.5 ) เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2552 มูลค่า 71,139 พันล้านยูโร

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

                              เทียบกับไตรมาส 4 ปี 52           เทียบกับไตรมาส 3 ปี 53
          ไตรมาส 4 ปี 53 (%)           +1.1                          +0.3

ที่มา : สถาบันสถิติแห่งชาติ (Istat)

สถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลีได้เปิดเผย ตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศอิตาลี (GDP) ไตรมาส 4 ของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เปรียบเทียบกับไตรมาส 3 (+0.3%) และมีอัตราเพิ่มขึ้น 1.3% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการเกษตรและภาคการบริการที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ภาคอุตสาหกรรมกลับมีมูลค่าลดลง โดย GDP ไตรมาส 4 ของปี 2553 ใน Euro Area และ Eu 27 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และ 2.1 ตามลาดับ เปรียบเทียบกับไตรมาส 3 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า

การผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production)

                              เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
          ธันวาคม ปี 53 (%)           +5.4                          +0.3

ที่มา : Istat

การผลิตภาคอุตสาหกรรมของเดือนธันวาคม 2553 มีแนวโน้มกลับมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการผลิตภาคอุตสาหกรรมใน Euro Area และ EU 27 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 และ 7.7 ตามลำดับ และการผลิตภาคอุตสาหกรรมอิตาลีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 แต่ใน Euro Area และ EU 27 กลับลดลงร้อยละ 0.1

สำหรับช่วงไตรมาส 4 ปี 2553 มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 0.2 เปรียบเทียบกับช่วงไตรมาส 3 ปี 2553 การผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2553 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เปรียบเทียบกับปี 2552 (โดยปี 2553 มีวันทำงานทั้งหมด 255 วัน ส่วนปี 52 มีวันทำงานทั้งหมด 254 วัน)

ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม

                              เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
          ธันวาคม ปี 53 (%)           +4.5                          +0.6

ที่มา : Istat

ดัชนีราคาผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรมของไตรมาส 4 ปี 53 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สำหรับราคาขายในตลาดภายในประเทศเดือนธันวาคม 2553 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2552

ดัชนีราคาผู้บริโภค

                              เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
          ธันวาคม ปี 53 (%)           +1.9                          +0.4

ที่มา : Istat

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2552

ผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรม

1. ผลประกอบการ

                              เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
          ธันวาคม ปี 53 (%)           +1.4                          -0.3

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี ได้เปิดเผยว่า ในเดือนธันวาคมผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมอิตาลีเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราลดลง 0.3% (-0.2% จากตลาดภายในประเทศและ -0.4% จากตลาดต่างประเทศ) และเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 1.4% (+9.5% จากตลาดภายในประเทศและ +17% จากตลาดต่างประเทศ) นอกจากนี้ ผลประกอบการปี 2553 มีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 10.1% เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2552 (-18.9%) ซึ่งอัตราที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวมีปัจจัยมาจากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น +16% และ +7.7% ตามลำดับ

ภาคอุตสาหกรรมที่ได้มีผลประกอบการเพิ่มขึ้นในปี 2553 ได้แก่

1) ภาคการผลิตโลหะ 20.8%

2) ภาคการผลิตไม้และกระดาษ 5.2%

3) ภาคการผลิตสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง 7.5%

4) ภาคการผลิตอุปกรณ์ส่วนประกอบไฟฟ้า 11.1%

5) ภาคการผลิตเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ 8.9%

2. คำสั่งซื้อ

                              เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
          ธันวาคม ปี 53 (%)           +7.4                          +5.4

ที่มา:Istat

เดือนธันวาคม 2553 คำสั่งซื้อของภาคอุตสาหกรรมเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 4.3 % (+5.9% จากตลาดภายในประเทศและ +4.6% จากตลาดต่างประเทศ) และเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ามีอัตราเพิ่มขึ้น 7.4% (+18.7% จากตลาดภายในประเทศและ +15.1% จากตลาดต่างประเทศ) สำหรับคำสั่งซื้อปี 2553 มีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 13.9% เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปี 2552 (-22.7%) ซึ่งอัตราที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวมีปัจจัยมาจากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น 21.2% และ 9.9% ตามลำดับ

จากข้อมูลของสถาบันสถิติแห่งชาติอิตาลี พบว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในปี 2553 ได้แก่

1) ภาคการผลิตโลหะ 24.1%

2) ภาคการผลิตไม้และกระดาษ 7.6%

3) ภาคการผลิตสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย และเครื่องหนัง 7.7%

4) ภาคการผลิตอุปกรณ์ส่วนประกอบไฟฟ้า 13%

5) ภาคการผลิตเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ 20.1%

เดือนธันวาคม 2553 พบว่าผลประกอบการและคำสั่งซื้อของภาคการผลิตรถยนต์ยังมีผลติดลบโดยมีอัตราลดลง 3.9% และ 11.2% ตามลำดับ เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

การบริโภค

                              เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายนปี 53
          ธันวาคม ปี 53 (%)           -0.5                          -0.9

ที่มา : สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ (Confcommercio)

เดือนธันวาคม 2553 การบริโภคของชาวอิตาเลียนมีการขยายตัวลดลง โดยสาเหตุมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์เศรษฐกิจส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนมกราคม 2554 ลดลงถึง 3.2 จุด

ปี 2553 สมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ ได้คาดการณ์ว่า การบริโภคของชาวอิตาเลียนมีอัตราลดลงร้อยละ 0.4 โดยการลดลงดังกล่าวอาจมีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนส่งผลให้ผู้บริโภครอดูสถานการณ์และมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น จากการเปิดเผยข้อมูลของสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติ (Fipe-Confcommercio) พบว่า ภายในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาชาวอิตาเลียนมีการรับประทานอาหารนอกบ้านมีมูลค่ารวม 21 พันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.2 โดย Euro Zone มีอัตราร้อยละ 25.6% ซึ่งถือว่าอิตาลีเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในประเทศสหภาพยุโรปในการรับประทานอาหารนอกบ้าน

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

1. ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี

                                           ธันวาคม ปี 53           มกราคม ปี 54           เปลี่ยนแปลง
          ดัชนีความเชื่อมั่น มกราคม ปี 54 (จุด)     109.1                 105.9                 -3.2 จุด

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอิตาลี เดือนมกราคม 2554 มีการขยายตัวลดลง สาเหตุมาจากความไม่แน่นอนทางสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศและครอบครัวอิตาลี

2. ความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี

                                           ธันวาคม ปี 53           มกราคม ปี 54           เปลี่ยนแปลง
          ดัชนีความเชื่อมั่น มกราคม ปี 54 (จุด)     103.1                 103.6                 +0.5 จุด

ที่มา : สถาบันเพื่อการวิเคราะห์และศึกษาเศรษฐกิจ (ISAE)

พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นของบริษัทผู้ผลิตอิตาลี เดือนมกราคม 2554 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5 จุด โดยมีปัจจัยมาจากการผลิตที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น

การค้าระหว่างประเทศ

          (%)                     เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53

การส่งออก

          ธันวาคม ปี 53                  +21.2                          +1.1

การนำเข้า

          ธันวาคม ปี 53                  +31.5                          +1.5
          ขาดดุลการค้า               2,7 พันล้านยูโร

สำหรับการส่งออกและนำเข้าของไตรมาส 4 ปี 2553 พบว่า มีตัวเลขเพิ่มขึ้น 3.7% (ส่งออกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป +5%) และ 5.3% (นำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป +7%) ตามลำดับ เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับการส่งออกและนำเข้า ปี 2553 พบว่ามีตัวเลขเพิ่มขึ้น 15.7% และ 22.6% เปรียบเทียบกับ ปี 2552

          (%)                                      เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53

การส่งออกสู่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป

          ธันวาคม ปี 53                                   +19.2                          +0.8

การนำเข้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรป

          ธันวาคม ปี 53                                   +48.4                          +3.1
          ขาดดุลการค้า                                  1,330 ล้านยูโร

ที่มา : Istat

ในไตรมาส 4 ปี 2553 พบว่าตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าของอิตาลีแก่ประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้น 1.9% และ 7% ตามลำดับเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สำหรับการส่งออกและนำเข้าปี 2553 พบว่า การส่งออกเพิ่มขึ้น 16.7% และการนำเข้าเพิ่มขึ้น 29.28% เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการนำเข้าของอิตาลีส่วนใหญ่เป็นสินค้าพลังงาน

1. การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2553 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 408,084 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 10.1

2. การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม- พฤศจิกายน 2553 อิตาลีมีการนำเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 440,896 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 16.4

3. การส่งออกมาไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2553 ไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 59 ของอิตาลี อิตาลีส่งออกมาไทยมีมูลค่า 1,068 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.3% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องจักร (+4.9%) เครื่องจักรไฟฟ้า (+2%) รัตนชาติ โลหะมีค่า (+24.9%) เป็นต้น สินค้าที่อิตาลีส่งออกมาไทยลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม (-9.4%) เหล็ก และเหล็กกล้า (-47%) เคมีภัณฑ์อินทรีย์ (-17.7%) เป็นต้น

4. การนำเข้าจากไทย

ในระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2553 ไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 48 ของอิตาลี ซึ่งอิตาลีนำเข้าจากไทยมีมูลค่า 1,574 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.3% เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งสินค้าที่อิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย ได้แก่ เครื่องจักร (+45.3%) ยาง (+67.3%) เครื่องจักรกลไฟฟ้า (+47.2%) เป็นต้น สินค้าทิ่อิตาลีนำเข้าลดลงจากไทย ได้แก่ ปลาและอาหารทะเล (-7.1%) ของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ปลา (-27.6%) เครื่องแต่งกายถักแบบนิต (-5.2%) เป็นต้น

อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate)

                              เทียบกับมกราคม ปี 53           เทียบกับธันวาคม ปี 53
          มกราคม ปี 54 (%)           +2.1                        +0.4

ที่มา: Istat

จากข้อมูลของ Istat พบว่าเดือนมกราคม 2554 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากราคาของพลังงานและสินค้าเพื่อการบริโภคที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ทาง Istat ได้คาดการณ์ว่าในปี 2553 อัตราเงินเฟ้ออิตาลีอาจมีอัตรา +1.5% (ปี 2552 มีอัตรา +0.8%) สำหรับอัตราเงินเฟ้อเดือนมกราคม 2554 ใน Euro Area ทาง Eurostat ได้คาดการณ์อยู่ที่ 2.4% เพิ่มขึ้นจาก 2.2% ในเดือนธันวาคม 2553

ตลาดแรงงาน

1. อัตราการว่างงาน

                                        ธันวาคม ปี 53           เทียบกับธันวาคม ปี 52
          อัตราการว่างงาน ธันวาคม 53 (%)      8.6                     +0.2 จุด

ที่มา : Istat

เดือนธันวาคม 2553 พบว่ามีอัตราการว่างงานเหมือนดือนพฤศจิกายน 2553 อัตราการว่างงานดังกล่าวยังถือว่ามีอัตราที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU27) ประมาณ 1 จุด โดยผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่คือวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-24 ปี อัตราการว่างงานร้อยละ 29 (+0.1 จุด เปรียบเทียบกับพฤศจิกายน 2553 และ +2.4 จุด เปรียบเทียบกับธันวาคม 2552) โดยอัตราการว่างงานของ EU 27 อยู่ที่ร้อยละ 9.6

2. อัตราการจ้างงาน

                                        เทียบกับธันวาคม ปี 52           เทียบกับพฤศจิกายน ปี 53
          อัตราการจ้างงาน ธันวาคม 53 (%)         -0.1 จุด                         57

ที่มา : Istat

จากข้อมูลสถาบันสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า อัตราการจ้างงานเดือนธันวาคม 2553 มีอัตราร้อยละ 57 (-0.1 จุด เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2552)จำนวนคนที่มองหางานในเดือนธันวาคม 2553 มีอัตราลดลงร้อยละ 0.5 เปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2552

สถานการณ์เศรษฐกิจอิตาลีในปี 2554 และ 2555 มีแนวโน้มค่อนข้างคงที่ โดยทางธนาคารแห่งชาติอิตาลีได้คาดการณ์ ดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะเพิ่มขึ้น 1% ในปี 2553 แต่สำหรับปี 2554 และ2555 GDP จะเติบโตประมาณ 1% แต่ช่วงสิ้นปี 2555 GDP อาจกลับมามีอัตราเติบโตที่ดีขึ้น (ครึ่งหนึ่งของอัตราในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลก) โดยมีปัจจัยมาจากการขยายตัวของการส่งออก แต่อย่างไรก็ดี แนวโน้มการบริโภคภายในประเทศยังคงอ่อนแอ บวกกับมาตรการการควบคุมรายจ่ายของภาครัฐบาลอาจทำให้การกลับมาฟื้นตัวทางระบบเศรษฐกิจชะลอตัว ในส่วนของการจ้างงานอาจมีอัตราเพิ่มขึ้นไม่มากนักโดยมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.5% ทั้งในปี 2554 และ 2555

2. การส่งออก ในปี 2554 และ 2555 อาจมีอัตราเพิ่มขึ้น 6% และ 5.3% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตาม อิตาลีประสบปัญหาการแข่งขันกับตลาดการค้าโลกเพราะอัตราการส่งออกของอิตาลีมีการขยายตัวน้อยกว่าอัตราของตลาดการค้าโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการอิตาลีสูญเสียการแข่งขันในด้านราคาในตลาดการค้าโลก

3. การลงทุน การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในปี 2554 และ 2555 จะมีอัตราขยายตัวประมาณ 3.5% แต่สาหรับการลงทุนในที่พักอาศัยจากที่มีอัตราลดลงถึง 15% ในช่วงปี 2551-2553 แต่ในปี 2554 ยังคงมีแนวโน้มคงที่แต่จะกลับมาเพิ่มขึ้นประมาณ 2% ในปี 2555 ในส่วนการลงทุนของภาครัฐบาลในปี 2554 และ 2555 ยังคงมีแนวโน้มคงที่

4. การบริโภคของประชาชน ยังคงมีแนวโน้มที่ดีโดยในปี 2554 และ 2555 อาจมีอัตราเพิ่มขึ้น 0.8% โดยการใช้จ่ายของประชาชนอาจเกิดการชะลอตัวอัน เนื่องมาจากดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินจากธนาคารมีอัตราสูง การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และประชาชนเกิดความไม่แน่ใจในสถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศส่งผลให้มีการออมเงินมากขึ้น

5. การนำเข้า อาจกลับมามีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยในปี 2554 และ 2555 จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 5% และ 4% ตามลำดับ

6. ภาวะเงินเฟ้อ โดยในปี 2554 และ 2555 ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้น 2.1% และ 2% ตามลำดับ (ปี 2553 เพิ่มขึ้น 1.6%)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ