อุตสาหกรรมในประเทศ
การใช้มาตรการกระตุ้นการซื้อรถยนต์นั่งในปี 2552 ที่ผ่านมาได้ทำให้การซื้อรถยนต์นั่งใหม่ในเยอรมนีในปี 2553 ลดลงโดยเฉพาะรถขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่สำหรับรถขนาดใหญ่ ระดับ Middle class ขึ้นไปสามารถขายได้มากขึ้น จึงทำให้ยอดการจดทะเบียนรถใหม่ในปี 2553 ลดลงเพียงร้อยละ 3 เป็นประมาณทั้งสิ้น 2.9 ล้านคัน ส่งผลให้ความต้องการยางรถยนต์มีมาก นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าอื่นๆ ทำด้วยยางจากตลาดในต่างประเทศยังคงมีปริมาณที่สูง จึงทำให้ในภาพรวมตลาดสินค้าทำด้วยยางยังคงมีแนวโน้มที่แจ่มใส
ยอดขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทำด้วยยางในเยอรมนีในช่วง 11 เดือนแรกปี 2553 (ม.ค.-พ.ย.) คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 13,227 ล้านยูโร มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 โดยเป็นยางรถยนต์มูลค่า 5,737 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ในจำนวนนี้เป็นการจำหน่ายในประเทศมูลค่า 3,364 ล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6 การขายในต่างประเทศมูลค่า 2,373 ล้านยูโรลดลงร้อยละ 11.9
สินค้าส่งออกของไทย
ตามที่ตลาดมีความต้องการสูงต่อเนื่องตลอดทั้งปี 2553 ที่ผ่านมา จึงทำให้สินค้ารายการนี้ของไทยสามารถส่งออกเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นทุกชนิด โดยในช่วง 1 เดือนแรกปี 2554 (ม.ค.-ม.ค.) มีผลิตภัณฑ์ทำด้วยยางของไทยส่งออกไปเยอรมนี ที่สำคัญๆ ได้แก่
- ยางใหม่สำหรับยานพาหนะ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 53.0 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนี ในตลาดเยอรมนีไทยมีส่วนแบ่งเล็กน้อยประมาณร้อยละ 1 แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ฝรั่งเศสมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 14 เช็คร้อยละ 10 สโลเวเกียร้อยละ 8 เนเธอร์แลนด์ ร้อยละ 7 โปแลนด์ร้อยละ 6
- ถุงมือยางใช้ในด้านการแพทย์ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 41.6 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนี ในตลาดเยอรมนีไทยมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 13 แหล่งนำเข้าสำคัญอื่นๆ ได้แก่ มาเลเชีย เนเธอร์แลนด์ และออสเตรีย มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 40, 10 และ 8 ตามลำดับ
- ยางรัดของ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 2 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ไปเยอรมนี ในตลาดเยอรมนีไทยมีส่วนแบ่งประมาณร้อยละ 0.5 แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่ โปแลนด์ 12% เช็ค 11% อิตาลี 10%
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th