รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้า ประเทศบังกลาเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 2, 2011 10:23 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาวะเศรษฐกิจบังกลาเทศ ดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ยังมีปัญหาในตลาดหุ้นราคาผันผวนมาก เนื่องจากการปรับเปลี่ยนมาตรการต่างๆของคณะกรรมการกำกับตลาดและกระทรวงการคลัง ทำให้นักลงทุนรายย่อยที่ขาดทุน ประท้วงเป็นระยะๆ ภาวะการขาดแคลนพลังงานและไฟฟ้าเลวลง เป็นลำดับเนื่องจากอากาศเริ่มร้อนขึ้น

2. รายงานข้อมูลทางเศรษฐกิจของธนาคารกลาง ณ 23 ก.พ.54 รายงานว่าค่าเงิน ตากาทรงตัว หลังจากอ่อนค่าลงเป็นลำดับ เงินสำรองเงินตราต่างประเทศดีขึ้น การโอนเงินจากแรงงานต่างประเทศทรงตัว การส่งออกดีขึ้น การนำเข้าเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ตามรายละเอียด ดังนี้

2.1 เงินสำรองเงินตราต่างประเทศ ณ 22 ก.พ. 54 มีจำนวน 10,996.27ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นจาก25 ม.ค.54 (10,391.17ล้าน) ร้อยละ 5.82 และใกล้เคียงกับธ.ค.53 (10,949.81 ล้าน) แต่ยังสูงกว่า 22 ก.พ.53 ซึ่งมี เพียง 10,441.55 ล้านUSD คิดเป็นสูงกว่า ร้อยละ5.31

2.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตากาต่อเงินUSD ณ 22 ก.พ.54 1 USD=71.18 ตากา ใกล้เคียงกับ 25 ม.ค.54 1 USD=71.15 อ่อนค่าลงจากธ.ค. 53 (70.7497) และพ.ย.53( 70.348ตากา) เล็กน้อย และเมื่อเทียบกับ 22 ก.พ.ปีก่อน 1 USD =69.3053 ตากา เงินตากาอ่อนค่าลงถึงร้อยละ 2.70 เป็นการอ่อนค่าลงเป็นลำดับตั้งแต่ก.ค..ปี2552 จากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก

2.3 เงินโอนจากแรงงานในต่างประเทศ เดือนม.คน.54 มีจำนวน 960.09 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับธ.ค.53 ( 963.53 ล้าน) และพ.ย.53(945.99 ล้านดอลลาร์) ยอดรวมช่วงก.ค.53.ม.ค.54 มีมูลค่ารวม 6,510.63 ล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันในปีก่อน(6,485.59ล้าน) เช่นกัน

2.4 มูลค่าส่งออกของบังกลาเทศเดือนธ.ค.53 รวม 1,988.35 ล้านดอลลาร์สูงสุดในรอบ 6 เดือนเช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นจากพ.ย.53 (1,553.88 ล้าน) ต.ค.53.(1,688.21ล้าน) ร้อยละ 27.96 และ 17.78 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นจาก ธ.ค.ปีก่อน (1,185.22 ล้าน)ถึงร้อยละ 67.76 สำหรับมูลค่าส่งออก ก.ค.-ธ.ค..53 รวม 10,263.64 ล้านดอลลาร์ฯ สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน(7,279.07 ล้าน) เช่นกันถึงร้อยละ 41.0

ในขณะที่มูลค่านำเข้า ธ.ค.53 มีมูลค่า 2,959.4ล้านดอลลาร์ สูงสุดในรอบ 6 เดือน โดยสูงขึ้นจากพ.ย.53 (2,699.60 ล้าน)และ ต.ค.53 (2,525.75 ล้านดอลลาร์) ก.ย.53 (2,429.70ล้าน)และส.ค.53( 2,427.50 ล้าน)ร้อยละ 9.62,17.17,21.8และ21.91.ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นจากธ.ค.ปีก่อน(2,180.50 ล้าน)ร้อยละ35.72 โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากนำเข้าข้าว ข้าวสาลี เครื่องจักร วัตถุดิบ และน้ำมันปิโตรเลียม เป็นผลให้บัญชีเดินสะพัด เดือนธ.ค.53เกินดุล15.0ล้านดอลลาร์ ลดลงจากพ.ย.53 ซึ่งเกินดุล244.0 ล้านดอลลาร์ แต่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับธ.ค.ปีก่อนซึ่งขาดดุล 112.0 ล้านดอลลาร์

2.5 อัตราเงินเฟ้อ เดือนธ.ค.53 = 8.28 สูงสุดในรอบ 6 เดือนตั้งแต่ก.ค.53 สูงขึ้นจากพ.ย.53 (7.54) ต.ค.53( = 6.86) ก.ย.53 ( 7.61) ส.ค.53(7.52 )และ ก.ค.53 (7.26 ) แต่ยังต่ำกว่าธ.ค.ปีก่อนซึ่งเท่ากับ 8.51 สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย12เดือน ณ ธ.ค.53 =8.13 สูงกว่าธ.ค.52 ซึ่งเท่ากับ 5.42 เท่านั้น

3. ภาวะการค้าในประเทศ การค้าในประเทศ ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากระหว่าง 19 ก.พ.-26 มี.ค.54 บังกลาเทศจะร่วมเป็นเจ้าภาพแข่งขันคริกเก็ต กีฬายอดนิยมในเอเชียใต้ ร่วมกับอินเดียและศรีลังกา โรงแรมและเกสต์เฮ้าส์ในธากาและจิตตะกองซึ่งเป็นเมืองที่มีการแข่งขัน ถูกจองเต็ม ตลอด เดือนกพ.-มี.ค.54 ราคาสินค้าจำเป็นโดยทั่วไปปรับตัวสูงขึ้น

3.1 ภาวะการค้าข้าว ราคาข้าวก.พ.54 สูงขึ้นเล็กน้อยจากม.ค.54 เนื่องจากคาดว่าราคาข้าวตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น แม้ว่าคาดการณ์ปริมาณข้าวฤดูใหม่จะมีปริมาณสูงกว่าเป้า ราคาข้าวคุณภาพดีเดือนก.พ.25-28บาท/กก.สูงขึ้นจากม.ค.54 (24-26 บาท/กก.)และจากธ.ค.23-25 บาท/กก.และ พ.ย.=22-24 บาท/กก.และต.คและก.ย.ซึ่งเท่ากับ 20-24 บาท/กก. แต่สำหรับข้าวคุณภาพต่ำก.พ.54 ราคาค่อนข้างทรงตัว.ใกล้เคียงกับม.ค.54 ราคา 20-22 บาท/กก.แต่สูงขึ้นจากธ.ค.53 ซึ่งมีราคา 19-21 บาท/กก.พ.ย.ราคา 18-20 บาท/กก.และจากต.ค.=ก.ย..ซึ่งมีราคา16-19บาท/กก เนื่องจากรัฐบาลเพิ่มจุดเปิดoutlet จำหน่ายข้าวราคาถูกในราคา 12 บาท/กก.เพื่อลดภาวะค่าครองชีพของประชาชนคนจน และเตรียมหาแหล่งนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้น

3.2 สถานการณ์ราคาน้ำตาล ราคาน้ำตาลก.พ.54 ราคา30-31 บาท/กก.สูงขึ้นจากม.ค.54 (28-29 บาท/กก)และธ.ค.53 ซึ่งเท่ากับ 27-28 บาท/กก. และพ.ย.53ซึ่ง ทรงตัวเท่ากับราคาเดือนต.คและก.ย.(26-27.5 บาท/กก).เนื่องจากคาดการณ์ว่าราคาตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น

4. ภาวะการส่งออกสินค้าจากไทยไปบังกลาเทศ ปริมาณการส่งออกรวมเดือนม.ค.54 มีมูลค่า 85.43 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก ธ.ค.53 (84.53 ล้าน)ร้อยละ1.07 และเพิ่มขึ้นจากม.ค.ปีก่อน(62.51 ล้าน)ร้อยละ36.66 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ0.51 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย จากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นของสินค้าข้าว รถยนต์และอะไหล่ เม็ดพลาสติก ผ้าผืน ด้าย เส้นใยประดิษฐ์ เครื่องปรับอากาศ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องสำอาง และส่วนผสมของอาหารสัตว์ เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงธากา บังกลาเทศ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ