แนวความคิดของดีไซน์เนอร์ชื่อดังกับแฟชั่นของชาวฮังการี

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 2, 2011 11:00 —กรมส่งเสริมการส่งออก

คำว่า “Design” นั้น มีความหมาย ระหว่าง วัฒนธรรม และธุรกิจ Nemeth Aniko ผู้ก่อตั้งแบร์นด์ Manier Haute Couture ได้กล่าวไว้กับหนังสือพิมพ์ The Budapest Time เกี่ยวกับงานปรัชญาการดีไซน์แฟชั่นเครื่องแต่งตัว และแฟชั่นของชาวฮังการีในอนาคต

Nemeth Aniko

เป็นดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงของฮังการี เรียนจบทางด้านการออกแบบตกแต่งภายในจาก Hungarian University of Arts and Design (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อ Moholy-Nagy University of Arts and Design) จากปี 1986 ก่อนที่จะมาเป็นดีไซน์เนอร์เสื้อผ้า ต่อมาในปี 1990 ได้จัดแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งแรกที่เวียนนา และบูดาเปสต์

จากนั้นได้มีการแสดงแฟชั่นโชว์ที่เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ และออสเตรีย หลังจากนั้นก็ได้มีธุรกิจห้องเสื้อ Manier Haute Couture ในปี 1992

Nemeth Aniko เป็นนักออกแบบเสื้อผ้าให้กับโรงละคร ชุดราตรีสำหรับดารานักแสดง และนักดนตรี และจัดแสดงเสื้อผ้างานแฟชั่นโชว์ต่างๆ ในฮังการี

เริ่มต้นของการเป็นดีไซน์เนอร์

จากเดิม Nemeth Aniko ได้เรียนการออกแบบตกแต่งภายใน และเริ่มออกแบบเสื้อผ้า โดยส่วนใหญ่แล้วโดยบังเอิญ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยการออกแบบเสื้อผ้า ซึ่งในขณะนั้นไม่มีเสื้อผ้าที่ดูดี และประชาชนต่างมีแนวโน้มที่จะซื้อเสื้อผ้าที่ดูดี มากกว่าที่จะจับจ่ายซื้ออย่างอื่นเข้าบ้าน เหตุผลอีกประการ คือ ความสัมพันธ์กับบุคคลที่จะออกแบบให้นั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งการเป็นสถาปนิกตกแต่งภายใน จะทำโดยการวาดรูปบนกระดาษแล้วก็จบ ส่วนการเป็นนักออกแบบเสื้อผ้า ทำให้มีอิสระ และสามารถปรับให้เข้ากับอุดมคติได้ดีกว่า และสามารถปรับให้เข้ากับบุคคลนั้นได้

สิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างการออกแบบตกแต่งภายใน และการออกแบบเสื้อผ้า

ทั้งสองสิ่งนั้นมีความเกี่ยวข้องกับคนที่อยู่กับสิ่งนั้น และก็เชื่อมโยงกัน ไม่ว่าจะเป็น เมือง อำเภอ และบ้าน คนจะปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการของตน สำหรับ Nemeth Aniko แล้ว เสื้อผ้าคือสิ่งที่เล็กที่สุดที่อยู่รอบตัวบุคคล ทุกคนสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบุคลิกภาพของตนได้ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุด และแสดงความเป็นตัวตนของตนเองได้

นักออกแบบ หรือ ศิลปิน ที่มีอิทธิพลกับงาน

Nemeth Aniko ชื่นชมในบุคลิกภาพ และชีวิตของ Frieda Kahlo และ Antoni Gaudi ส่วน Jean-Paul Gaultire , Vivienne Westwood , John Gallianno และบุคคลอื่นๆ ก็มีอิทธิพลต่องานของเธอ แต่ไม่มีใครที่โดดเด่น

ความชื่นชอบในผลงาน

Nemeth Aniko ชื่นชอบวัสดุ รูปแบบ และวิธีการออกแบบสร้างสรรงานที่ได้ผลออกมาแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้จึงชอบการออกแบบเครื่องแต่งกายของตัวละคร เธอชอบออกแบบจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ผ้าลินิน ผ้าฝ้าย ขนสัตว์ ผ้าไหม และหนังสัตว์ แต่ก็ไม่ได้รังเกียจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ อย่างเช่น การทอเส้นโลหะ ที่สามารถปรับเข้าได้อย่างลงตัวกับรูปร่าง และการเคลื่อนไหวของผู้สวมใส่ เธอได้ทำวัสดุขึ้นมาใหม่ และถักทอ หรือตกแต่งปักลูกไม้ หรือออกแบบด้วยงานปะผ้าแบบ Applique

การประสบความสำเร็จในต่างประเทศ

ในปี 1994 ได้รับรางวัล “Youngest Talent of the Year” ที่ International IGEDO fashion market และในปี 1996 ได้รับเชิญร่วมงาน Paris Fashion Week อย่างไรก็ตาม ยังไม่เคยเข้าร่วมการประกวด หลังจากที่ระบบของฮังการีมีการเปลี่ยนแปลง มีความคาดหวังว่าฮังการีจะมีการเปิดตลาดแฟชั่นในทั่วโลก แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้น และตอนนี้จึงได้เปิดห้องเสื้อ และร้านขายที่เป็นของตน

ลูกค้าที่เข้าร้านส่วนใหญ่

จำนวน 80%-90% ที่เข้ามาห้องเสื้อ และร้านขาย เป็นชาวต่างชาติ โดยตัวเลขของลูกค้าที่เดินเข้ามานั้นไม่คงที่ แต่สัดส่วนของชาวต่างชาตินั้นยังคงค่อนข้างคงที่ ร้านค่อนข้างเป็นที่นิยมของชาวสวิส ชาวอเมริกัน ชาวเนเธอร์แลนด์ และชาวเยอรมัน สำหรับประเทศแถบเอเชียจะมีเพียงประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นที่เข้ามาเยี่ยมชม แน่นอนว่าเป็นธุรกิจที่ดี แต่น่าละอายยิ่งที่ชาวฮังการีมียอดสั่งซื้อสินค้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ความนิยมของลูกค้าชาวฮังการีและชาวต่างชาติ

ชาวฮังการีผู้ที่สามารถจ่ายได้นั้น ชอบที่จะซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ตะวันตกมากกว่าเสื้อผ้าที่ทำโดยนักออกแบบชาวฮังการี ความสัมพันธ์กับเสื้อผ้า ก็ค่อนข้างแตกต่างเช่นกัน ส่วนประชาชนที่มาจากตะวันตกจะมีความกล้าที่จะชอบเสื้อผ้าของตน โดยใช้ให้เข้ากับบุคลิกภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ และความมั่นใจ ซึ่งการแต่งตัวเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อสื่อสาร ที่ต้องการความแตกต่าง และพอใจในผลงานที่มีเพียงหนึ่งเดียว ในฮังการีชาวต่างชาติสามารถหาซื้อเสื้อผ้าพื้นเมืองได้ในราคาที่ไม่สูงนัก

ความแตกต่างระหว่างห้องเสื้อ และร้านขาย

ห้องเสื้อ คือ ลูกค้าที่เยี่ยมชมต้องการเสื้อผ้าที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ ที่แตกต่างด้วยการออกแบบ และการตัดเย็บ ด้วยการออกแบบพิเศษ และพอดีกับรูปร่าง และเป็นงานที่ใช้ฝีมือมากๆ ส่วนร้านขายนั้น ลูกค้าผู้เยี่ยมชมสามารถหาเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้ ขนาด 38 และ 42 (UK ขนาดประมาณ 10 ถึง 14) ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคลได้ ถ้าเสื้อผ้าชิ้นนั้นลองใส่แล้วไม่พอดี จะจ่ายเพิ่มเพียง 20% สำหรับการปรับขนาด

ขนาดเสื้อผ้า

ทุกคนแตกต่างกัน และการที่ไม่ได้มีรูปร่างผอมเพรียว นั่นไม่ได้หมายความว่ามีรูปร่างอ้วน ซึ่งในการจัดแฟชั่นโชว์ทุกครั้ง Nemeth Aniko พยายามที่จะจัดให้มีนางแบบรูปร่างขนาด 40 ถึง 44 อย่างน้อย 10 คน แต่ปัญหาก็คือ ตัวแทนจัดหานางแบบ ได้ฝึกหัดเดินแบบให้กับนางแบบรูปร่างขนาด 36 หรือ 38 เท่านั้น (UK ขนาดประมาณ 8 หรือ 10) นางแบบที่ไม่ได้ทำการฝึกหัดมาจึงมีการเดินสะดุดบ่อยๆ หรือทำการแสดงเสื้อผ้าได้ไม่ดีเท่าที่ควร

การออกแบบผลงานชิ้นใหม่

Nemeth Aniko มีความคิดที่หลากหลาย และใหม่ๆ เสมอ เช่น งานแสดงแฟชั่นโชว์ “Let’s Misbehave” เธอพยายามที่จะแสดงถึงการพัฒนาของผู้หญิงที่มีบทบาทในสังคม และต่อสู้ดิ้นรนให้มีสิทธิเท่าเทียมกัน โดยการผลิตเสื้อผ้าชั้นสูง (Haute Couture) ที่ต้องใช้ฝีมือความประณีต และเธอก็มีความสุขกับการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวในชีวิตประจำวันเช่นกัน เป็นชุดที่สวมใส่ได้จริง และสะดวกสบาย แต่มีคุณภาพดี และทำเครื่องแต่งกายที่สวมใส่แล้วรู้สึกดี นั่นคือ การออกแบบควรเข้าได้กับทุกคน

ความคาดหวังในอนาคต

Nemeth Aniko ต้องการให้การออกแบบเสื้อผ้าในฮังการีเป็นที่ยอมรับทั่วไป และเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและสังคม

ที่มา: หนังสือพิมพ์ Budapest Times (21 — 27 February 2011)

สคร. ณ กรุงบูดาเปสต์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ปรัชญา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ