โครงการส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชาที่ได้รับอนุมัติจาก Cambodia Investment Board
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2553
(แยกตามวัตถุประสงค์ของกิจการ)
ลำดับที่ ประเภท จำนวนโครงการที่อนุมัติ ทุนจดทะเบียน
(ล้าน USD)
1 Garment 40 41,800,000 2 Agro-Industry 13 38,700,000 3 Rubber 9 28,300,000 4 Shoes 8 11,000,000 5 Energy 4 20,000,000 6 Food Processing 4 7,500,000 7 Transportation 2 3,000,000 8 Tourism 2 2,000,000 9 Mining 2 2,000,000 10 Plastic 2 2,000,000 11 Animal Meal 1 1,000,000 12 Animal Farming 1 1,000,000 13 Hotel 1 1,000,000 14 Metal 1 1,000,000 15 Car 1 1,000,000 16 Drinking Water 1 1,000,000 17 Sock 1 1,000,000 18 Wood Processing 1 1,000,000 19 Household Goods 1 500,000 20 Others 7 8,000,000 Total 102 172,800,000 ที่มา : Cambodia Investment Board หมายเหตุ : ลำดับตามจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติ
มูลค่าการลงทุนของประเทศต่างๆในโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2553
ลำดับที่ ประเทศ จำนวนโครงการที่มีส่วนถือหุ้น มูลค่าจดทะเบียนในส่วนที่ถือหุ้น
(USD)
1 Cambodia 34 33,352,300 2 Taiwan 21 24,900,000 3 China 18 26,750,000 4 Korea 11 16,910,000 5 Hong Kong 9 11,500,000 6 Vietnam 8 17,330,000 7 Malaysia 5 15,815,000 8 Singapore 5 6,385,000 9 United State 5 3,340,000 10 England 3 1,592,700 11 Australia 2 1,800,000 12 Canada 2 1,500,000 13 Denmark 1 9,200,000 14 Israel 1 1,000,000 15 Thailand 1 1,000,000 16 Belgique 1 425,000 TOTAL 172,800,000 ที่มา : Cambodia Investment Board หมายเหตุ : ลำดับตามจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติ
รายงานภาวะการลงทุนในประเทศกัมพูชา
(เฉพาะส่วนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน)
1 มกราคม — 31 ธันวาคม 2553
______________________________
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (Cambodian Investment Board : CIB) ได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการลงทุนในกัมพูชา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำนวน 1,830 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 8,470.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
การลงทุนที่ได้รับอนุมัติจาก CIB ปี 2549 — 2553
รายการ หน่วย 2549 2550 2551 2552 2553 2553/2552
อัตราการเพิ่ม(ลด) %
มูลค่าเงินลงทุน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 207.7 480.7 259.9 149 172.8 +23.80 ล้าน USD
15.97%
จำนวนโครงการ โครงการ 99 130 101 100 102 +2 โครงการ
2% ที่มา : Cambodia Investment Board
ในปี 2553 CIB อนุมัติโครงการลงทุนทั้งสิ้น 102 โครงการ เงินลงทุน 172.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2552 พบว่า มีการอนุมัติเพิ่มจากปีก่อน 2 โครงการ หรือเพิ่มร้อยละ 15.97 และมีเงินลงทุนเพิ่ม 23.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มร้อยละ 2 โครงการที่ CIB อนุมัติ ได้แก่
- อุตสาหกรรม Garment 40 โครงการ เงินลงทุนรวม 41.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวนโคงการและเงินลงทุนเพิ่มร้อยละ 73.91 และร้อยละ 81.74 จากปี 2552 ที่อนุมัติ 23 โครงการ และเงินลงทุนรวม 23.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนรายใหญ่ คือ ไต้หวัน จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ กัมพูชา อังกฤษ มาเลเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และไทย ซึ่งต่างเห็นถึงศักยภาพของกัมพูชาในการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าเพื่อส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปในภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าจากไทยเข้ามาตั้งโรงงานจำนวน 2โรง คือบริษัท Bangkok Garment และ Lim Line International ส่วนโรงงานผลิตรองเท้ามีจำนวน 2 โรง คือ Dance Supply และ Cambo Shoes
- อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร 13 โครงการ เงินลงทุนรวม 38.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวนโครงการลดลงร้อยละ 31.57 แต่เงินลงทุนเพิ่มร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 ที่อนุมัติ 19 โครงการ เงินลงทุนรวม 35.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการลงทุนปลูกอ้อยและสร้างโรงงานน้ำตาลของนักลงทุนจีน จำนวน 2 โครงการ คือ ในนามบริษัท Yellow Field (Cambodia) International จำกัด และบริษัท Great Field (Cambodia) International จำกัด โครงการแปรรูปมันสำปะหลัง และโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร เน้นเรื่องโรงสีข้าวเพื่อส่งออก และโรงงานแปรรูปยางพารา ซึ่งพบว่ามีมากถึง 9 โครงการ โดยนักลงทุนส่วนใหญ่จากมาเลเซีย เวียดนาม และจีน
- อุตสาหกรรมปลูกและแปรรูปยางพารา 9 โครงการ เงินลงทุนรวม 28.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างสูงเมื่อเทียบกับปี 2552 เนื่องจากแนวโน้มราคายางพาราที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นการลงทุนของนักลงทุนจากกัมพูชา เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
- อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า 8 โครงการ เงินลงทุนรวม 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากต่างชาติอย่างต่อเนื่องจากปี 2552 ที่อนุมัติ 7 โครงการ เงินลงทุนรวม 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนักลงทุนไต้หวัน จีน กัมพูชา และสิงคโปร์
- อุตสาหกรรมด้านพลังงาน 4 โครงการ เงินลงทุนรวม 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ การลงทุนในระบบสายส่งไฟฟ้า โรงงานผลิตไฟฟ้าขนาด 338 กิโลวัตต์ โรงงานบรรจุแก๊ส และการผลิตไบโอดีเซล โดยนักลงทุน จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา
- อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป 4 โครงการ เงินลงทุนรวม 7.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ โครงการผลิตเครื่องดื่มชา 1 โครงการ โรงงานผลิตเบียร์ 2 โครงการ และผลิตน้ำผลไม้ 1 โครงการ โดยนักลงทุนกัมพูชา ไต้หวัน และแคนานดา
- การขนส่ง 2 โครงการ เงินลงทุนรวม 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โครงการที่น่าสนใจคือโครงการก่อสร้างสนามบินเสียมเรียบแห่งใหม่ มูลค่าเงินลงทุนเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของนักลงทุนเกาหลีใต้ และการพัฒนารถไฟ โดยนักลงทุนกัมพูชาร่วมกับออสเตรเลีย
- การท่องเที่ยว 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการสร้างที่พัก และพัฒนาพื้นที่บนเกาะปูเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยนักลงทุนกัมพูชา
- อุตสาหกรรมเหมืองแร่ 2 โครงการ เงินลงทุน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการสำรวจแร่ทองแดงของนักลงทุนกัมพูชา และโครงการผลิตถ่านหิน โดยนักลงทุน กัมพูชา และจีน
- อื่นๆ 16 โครงการ เงินลงทุนรวม 16.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก การผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การผลิตถุงเท้า โรงงานผลิตเหล็ก น้ำดื่ม โรงแรม และของใช้ในบ้าน เป็นต้น
การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติในกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2553 ไต้หวันลงทุนมากที่สุด จำนวน 21 โครงการ (ร้อยละ 20.58 ของโครงการที่ได้รับอนุมัติ) รองลงมา คือ จีน 18 โครงการ เกาหลีใต้ 11 โครงการ ฮ่องกง 9 โครงการ เวียดนาม 8 โครงการ มาเลเซีย 5 โครงการ สิงคโปร์ 5 โครงการ และสหรัฐอเมริกา 5 โครงการ
ตารางเปรียบเทียบการลงทุน ปี 2553 และ2552 (แยกตามหมวด)
ลำดับที่ ปี 2553 ปี 2552 อุตสาหกรรม มูลค่า (พันดอลลาร์สหรัฐฯ) อุตสาหกรรม มูลค่า (ดอลลาร์สหรัฐฯ) 1 เกษตรอุตสาหกรรม 75.5 อุตสาหกรรม 50.5 2 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 53.8 เกษตรอุตสาหกรรม 39.5 3 อุตสาหกรรม 7.5 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 31 4 การขนส่ง 3 การท่องเที่ยว 17 5 การท่องเที่ยว 3 โทรคมนาคม 2 รวม 5 หมวด 142.8 รวม 5 หมวด 140 รวมทั้งหมด 172.8 รวมทั้งหมด 149.01
ตารางเปรียบเทียบการลงทุน ปี 2553 และ2552 (แยกตามรายประเทศ)
ลำดับที่ ปี 2553 ปี 2552 ประเทศ มูลค่า (พันดอลลาร์สหรัฐฯ) ประเทศ มูลค่า (พันดอลลาร์สหรัฐฯ) 1 จีน 38.25 จีน 44.33 2 กัมพูชา 33.35 กัมพูชา 26.99 3 ไต้หวัน 24.9 เวียดนาม 24.7 4 เวียดนาม 17.33 ไทย 15.5 5 เกาหลีใต้ 16.91 เกาหลีใต้ 9.21 รวม 5 ประเทศ 130.74 รวม 5 ประเทศ 120.73 รวมทั้งสิ้น 172.8 รวมทั้งสิ้น 149.01
สรุปการลงทุนของไทยในกัมพูชา
1 สิงหาคม 2537 - 31 ธันวาคม 2553
---------------------------------------
โครงการลงทุนของธุรกิจไทยในกัมพูชาที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2537 ถึง 31 ธันวาคม 2553 รวม 82 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 363.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นเงินลงทุนเฉพาะในส่วนของนักธุรกิจไทย 227.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 62.63 ของมูลค่าเงินลงทุนรวมในโครงการ โดยมีการลงทุนในแต่ละประเภทดังนี้
ประเภท จำนวน (โครงการ) จำนวนเงินทุน (ล้าน USD)
รวม ไทย
Food Processing 9 20.56 17.54 Wood Processing 2 27.5 23.62 Chemical 2 1.4 0.89 Media 2 1.16 1.07 Petroleum 2 1.05 0.3 Assembly Plant 1 2 2 Electricity Plant 2 11.2 8 Hospital 1 0.49 0.24 Medical 1 10 10 Gas 2 1 0.54 Mining 6 7.36 5.98 Construction 1 1.33 1.33 Hotel 9 138.4 63.15 Telecom 2 17.6 16.4 Textile 2 1.5 0.74 Garment 7 5.65 6.65 Agro-Industry 11 75.7 40.44 Industry 14 18.75 13.65 Services 4 18.5 13.55 Shoes 2 2 1.5 TOTAL 82 363.35 227.59 โครงการที่ดำเนินการ
นักลงทุนไทยเข้ามาลงทุนและทำการค้าในกัมพูชาตั้งแต่ก่อนเปิดประเทศเริ่มจากเข้ามาตัดไม้ ร้านอาหาร โรงแรม นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายและซื้อของเก่า (เศษเหล็ก กระดาษ ฯลฯ) เพื่อส่งกลับเข้าไปไทย
จากสถิติของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชา (CIB) ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2537 ถึง 31 ธันวาคม 2553 นั้น พบว่าโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้ดำเนินการจริงบางโครงการ และจำนวนเงินลงทุนที่แท้จริงก็ไม่เป็นดังที่แจ้งขอไว้
โครงการลงทุนของไทยซึ่งดำเนินการ ได้แก่
1. สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ในนามบริษัท K.C.S Cambodia (ลำดับที่ 5 และ 22)
2. สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ลงทุนร่วมระหว่างกลุ่มกันตนาและกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา ในนามบริษัท Mica Media (ลำดับที่ 8 และ 21)
3. โรงงานจำหน่ายก๊าซ LPG จำนวน 2 โครงการ คือ บริษัท Khmer Unique Gas (ลำดับที่ 6) และ World Gas (ลำดับที่ 31)
4. บริษัทรับเหมาก่อสร้างนพวงศ์ (ลำดับที่ 9)
5. โรงแรมจำนวน 8 แห่ง คือ Inter Continental (ในนามบริษัท Regency ลำดับที่ 10) โรงแรม Royal Angkor ใน จ. เสียมราฐ (ลำดับที่ 24 ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา) โรงแรม Imperial Angkor Palace ใน จ. เสียมราฐ (ลำดับที่ 36 ของกลุ่มบริษัท TCCC) โรงแรม Phokeethra Resort & Spa (Cambodia) ในกรุงพนมเปญ (ลำดับที่ 60 ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา สร้างแทนโรงแรม Royal Phnom Penh ซึ่งถูกเผาในเหตุการณ์จราจลเมื่อ 29 มกราคม 2546) โรงแรมของบริษัท V&V ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา เพื่อสร้างโรงแรมและสนามกอล์ฟในกรุงพนมเปญ (ลำดับที่ 63)
โรงแรมในอำเภอปอยเปต จ. บันเตียเมียนจัย ได้แก่โรงแรม Poi Pet International Club (ลำดับที่ 49) โรงแรม Star Vegas Resort & Club (ลำดับที่ 51) โรงแรม Angkor Plaza (ลำดับที่ 54)
6. โรงพยาบาลจำนวน 1 โครงการ(ลำดับที่ 64) ลงทุนโดยโรงพยาบาลกรุงเทพ ในนาม Royal Angkor International Hospital ในจ.เสียมเรียบ เปิดให้บริการเมื่อปลายปี 2549 และ Royal Rattanak ในกรุงพนมเปญ เปิดให้บริการเมื่อปลายปี 2550 และกำลังก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลแห่งใหม่ อีก 1 แห่ง ในกรุงพนมเปญขนาด 250 เตียง
7. การลงทุนของบริษัทซีเมนต์ไทย จำกัด และบริษัทในเครือรวม 5 โครงการ ได้แก่ โรงงานปูนซีเมนต์ Kampot Cement (K. Cement Brand) ในจังหวัดกัมปอต (ลำดับที่ 50) โรงงานผลิตซีเมนต์ผสมสำเร็จรูป (Mixed Cement Plant ลำดับที่ 57) โรงงานผลิตซีเมนต์บล๊อก CPAC Monier (ลำดับที่ 58)การปลูกยูคาลิปตัสเพื่อทำกระดาษในนามบริษัท CPAC Agro Industry (ลำดับที่ 58) และบริษัท CPAC Monier เพื่อผลิตกระเบื้องมุงหลังคา (ลำดับที่ 47)
8. การให้บริการโทรคมนาคม — จำนวน 1 โครงการ คือ Cambodia Shinawatra ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น Mfone ให้บริการคลื่นโทรศัพท์ไร้สายแบบ Fixed Phone และ Mobile Phone (ลำดับที่ 45)
9. โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ Honda (ลำดับที่ 40)
10. โรงงานพลาสติก จำนวน 2 โรงงาน ได้แก่ โรงงาน Modern Plastic Packaging (MPP ลำดับที่ 23) และโรงงาน Modern Development (ลำดับที่ 62)
11. โรงงานผลิตน้ำดื่มยี่ห้อ LYYON ของกลุ่มบริษัทไทยนครพัฒนา ในนามบริษัท Cambodia Development (ลำดับที่ 56)
12. โครงการปลูกอ้อยบนพื้นที่สัมปทานจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลขอนแก่นในนามบริษัท Koh Kong Plantation (ลำดับที่ 18), Koh Kong Sugar Industry (ลำดับที่ 71) ของกลุ่มบริษัท TCCC ได้แก่ MRT-TCC Sugar Investment (ลำดับที่ 72) ของกลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล ได้แก่ (Cambodia) Cane and Sugar Valley (ลำดับที่ 76) Angkor Sugar (ลำดับที่ 77) และ Tonle Sugar Cane (ลำดับที่ 78)
13. โครงการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชไร่ของกลุ่มบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในนาม C.P. (Cambodia) (ลำดับที่ 20)
14. การลงทุนของบริษัทสามารถเทเลคอม จำนวน 3 โครงการได้แก่ การให้บริการวิทยุการบินในนาม Cambodia Air Traffic Service (ลำดับที่ 52) การสร้างโรงงานไฟฟ้า Kampot Power Plant เพื่อขายไฟให้แก่โรงงานกัมปอตซีเมนต์ (ลำดับที่ 65) และโครงการพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ จ. เสียมเรียบ (ลำดับที่ 55)
15. โครงการโรงไฟฟ้าขนาด 10 MKW ของกลุ่มบริษัท TCCC 1 โครงการ ในนาม Suvannaphum Investment (ลำดับที่ 75)
16. โรงงานผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของกลุ่มบริษัทบางกอกการ์เม้นท์ ในนามบริษัท Baxter Brenton (Cambodia) Clothing Manufacturing และ Lim Line International (Cambodia) Garment จำกัด(ลำดับที่ 79 และ 81)
17. โรงงานผลิตรองเท้า 2 โครงการ คือ Dance Supply (Cambodia) (ลำดับที่ 72) และ Cambo Shoes (ลำดับที่ 80) เหตุการณ์สำคัญในปี 2553 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนของไทยในกัมพูชา ได้แก่
1. การลงนามร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ระหว่าง Chip Mong Group Limited กับบริษัท Siam City Cement (มหาชน) จำกัด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553
2. การเปิดให้บริการของโรงแรม Sofitel Pokeathra Phnom Penh เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ ณ กรุงพนมเปญ
ที่มา: http://www.depthai.go.th