ในสหภาพยุโรป อิตาลีเป็นประเทศที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศสเปน ปัจจุบันมีใช้ในกว่า 9 ล้านครัวเรือนและในปี 2020 คาดว่าจะเพิ่มอีกเป็น 17-18 ล้านครัวเรือน ทั้งนี้ จากฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนและยาวนานคือในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 30- 40 องศา กอปรกับทางตอนเหนือมีความชื้นมากกว่าและจะมีอากาศร้อนขึ้นทุกปี ทำให้ความต้องการเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งที่ใช้ในบ้านเรือน สำนักงานหรือในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร
จากวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทำให้เครื่องปรับอากาศที่เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาตลอดจนถึงปี 2006(+22.6%) ได้ชะลอตัวลง บวกกับคลื่นวิกฤติการเงินจากสหรัฐในปี 2008 อีกระลอก ธุรกิจต่างๆ จึงชะงัก ส่งผลให้มีการบริโภคสินค้ากลุ่มดังกล่าวลดลงไปอีกตามลำดับ
ปี การผลิต (พันล้านยูโร) การบริโภค (พันล้านยูโร) 2007 1.00 1.62 2008 1.03 1.36 2009 0.75 1.07
ที่มา www.coaer.it
นับเป็นครั้งแรกในรอบสิบปีที่ตลาดสินค้าเครื่องปรับอากาศมีอัตราการขยายตัวลดลง โดยในปี 2009 มูลค่าการค้าในตลาดมีอัตราการขยายตัวลดลงถึงร้อยละ 22 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ลดลงต่อเนื่องกันมา 2 ปีแล้ว ทั้งนี้ ช่วง 3 ปีที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยของเครื่องปรับอากาศได้ปรับตัวลดลงเช่นกัน เครื่องปรับอากาศแบบตั้งพื้นหรือติดผนังและเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ราคาเฉลี่ยลดลงร้อยละ 13 จาก 500 ยูโรเป็น 432 ยูโร ส่วนแบบพกพาซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายลดลงร้อยละ 30 มีราคาเฉลี่ยลดลงร้อยละ 22 จากราคา 439 ยูโรเป็น 342 ยูโร
อย่างไรก็ตาม นาย Sandro Bonomi ประธานสมาพันธ์อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและวิศวกรรมเครื่องกลอิตาลี ได้กล่าวไว้ว่าแนวโน้มเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน(Green technology products)ได้กลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2010 ด้วยอัตราร้อยละ 2.9 และคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวอีกร้อยละ 5.1 ในปี 2011 ซึ่งรวมไปถึงสินค้ากลุ่มเครื่องปรับอากาศ/เครื่องทำความเย็นด้วย ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจในการซื้อของรัฐและนโยบายสิ่งแวดล้อมของสภายุโรป ที่มีเป้าหมายกระตุ้นให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสีเขียวทั่วทั้งยุโรป กอรปกับในช่วงปีหลังที่มีอากาศร้อนผิดปกติและร้อนเป็นเวลายาวนานขึ้น จึงคาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดีขึ้นต่อไป
ปัจจุบันบริษัทผลิตเครื่องปรับอากาศในอิตาลีและเครื่องปรับอากาศยี่ห้อดัง ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานมาก ดังนั้นราคาจึงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง แต่หากมีเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยและประหยัดพลังงานก็จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้นำเข้าหันมานำเข้ามากขึ้น นอกจากนี้แล้วผู้นำเข้าในอิตาลียังมีความต้องการที่จะรวมกลุ่มกันเพื่อนำเข้าร่วมกัน เพื่อจะได้ต่อรองราคาสินค้าและเพิ่มปริมาณการสั่งซื้อ รวมทั้งสามารถลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นลง
เครื่องปรับอากาศที่ขายกันในท้องตลาดอิตาลีมีจำนวนกว่าร้อยยี่ห้อ ที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่
- DE LONGHI(Italy) - HONEYWELL(U.S.A)
- MITSUBISHI(Japan นำเข้าจากญี่ปุ่น และ - TRANE(France)
ไทย ปัจจุบันมีโรงงานผลิตใหญ่อยู่ใน - SANYO(Japan) ประเทศเบลเยี่ยม) - CARRIER(U.S.A)
- DAIKIN(Japan นำเข้าจากญี่ปุ่นและไทย - PANASONIC(Japan แต่สินค้าที่นำเข้าส่งมา
ปัจจุบันมีโรงงานผลิตใหญ่อยู่ในประเทศเบล จากประเทศไทย)
เยี่ยม) - FERROLI(Italy) - SAMSUNG(Korea) - RIELLO(Italy) - TOCHIBA(Japan) - LAMBORGHINI(Italy) - LG(Korea) - AIRWELL(Israel) - BOSCH(German) - DELCHI(Italy-Monza) - ARGO(Italy-Varese) - DAEWOO(Korea) - ARIAGEL(Italy-Torino) - AERMEC(Italy-Veneto) - SAECO (Italy-Florence) - FUJISU (Japan)
- AMSTRAD(Taiwan)
ในตลาดอิตาลี ส่วนใหญ่เป็นเครื่องปรับอากาศเป็นแบบตั้งพื้นหรือติดผนังและเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ ส่วนแบบพกพามีส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ทั้งนี้ เครื่องปรับอากาศที่ผลิตในประเทศอิตาลีเอง มีส่วนแบ่งการตลาดเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่เหลือเป็นเครื่องปรับอากาศยี่ห้อชั้นนำของโลกที่อิตาลีนำเข้าหรือมีโรงงานผลิตในยุโรป/เอเซีย
ในอิตาลีเครื่องปรับอากาศยี่ห้อ Mitsubishi และ Daikin มีส่วนแบ่งการตลาดกว่าร้อยละ 65 นอกนั้นได้แก่ De Longhi ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศของอิตาลีเอง และยี่ห้ออื่นๆ ถ้าเป็นเครื่องปรับอากาศระดับกลาง-ถูกที่ขายในซุปเปอร์มาเกต หรือ Hyper Market ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศจีนและเกาหลี
ภาษี ภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มเครื่องปรับอากาศ(หมวด 8415) ร้อยละ 0-2.7
HS code Description Tariff Tariff
preference
8415 10 Window or wall types, self-contained or 'split- 2.2-2.7% 0%
system'
8415 20 Of a kind used for persons, in motor vehicles 2.7% 0% 8415 81 Incorporating a refrigerating unit and a valve for 0-2.7% 0%
reversal of the cooling/heat cycle
(reversible heat pumps)
8415 82 Other, incorporating a refrigerating unit 0-2.7% 0% 8415 83 Not incorporating a refrigerating unit 0-2.7% 0% 8415 90 Parts 0-2.7% 0% ที่มา EUcommission . ช่องทางการจำหน่าย
1. ร้านค้าเฉพาะอย่าง ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน
2. ห้างสรรพสินค้า หรือ Hypermarket เน้นเป็นสินค้าทั่วไประดับกลางถึงล่าง และสินค้า โปรโมชั่น
3. ผู้นำเข้าและกระจายสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะขายให้กับอุตสาหกรรม เช่นโรงงาน หรือตาม อาคารสถานที่ต่างๆ
การนำเข้าและการส่งออก
1. การนำเข้า
ปี 2010(ม.ค.-พ.ย.) อิตาลีนำเข้าสินค้าประเภท Air Condition 945.5 พันล้านยูโร มีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.8 ซึ่งส่วนใหญ่อิตาลีจะนำเข้าจากประเทศจีน (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27) จากประเทศเชคร้อยละ 18 สำหรับประเทศไทย อิตาลีนำเข้าเป็นอันดับ 3 มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 12
2. การส่งออก
อิตาลีผลิตเครื่องปรับอากาศปริมาณมากเป็นอันดับสามของโลกและส่งออกกว่าหนึ่งในสามของปริมาณการผลิตทั้งประเทศ โดยในปี 2010(ม.ค.-พ.ย.)มีมูลค่าการส่งออกกว่าหนึ่งพันล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 โดยประเทศคู่ค้าหลักอยู่ในยุโรปได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อังกฤษ ซึ่งรวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนถึง 32%
สรุป
ตลาดเครื่องปรับอากาศอิตาลียังสามารถรองรับสินค้าได้อีก โดยเฉพาะสินค้าประหยัดพลังงาน ซึ่งในปี 2020 สินค้าที่จำหน่ายในสหภาพยุโรปในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าใช้ในบ้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้/ปล่อยพลังงาน ได้ถูกตั้งเป้าหมายให้พัฒนาไปสู่ระดับการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง(สูงกว่าระดับ A ขึ้นไป)
ปัจจุบันการผลิตสินค้าในอิตาลีมีแนวโน้มลดลง มีการย้ายฐานการผลิตไปยังจีนและเกาหลีมากในปีหลัง ลดการผลิตในประเทศลงเกือบร้อยละ 50 เนื่องจากค่าจ้างแรงงานในประเทศค่อนข้างสูง สินค้าที่ผลิตในอิตาลีจะเน้นสินค้าที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงและรูปแบบดี ถ้าเป็นสินค้าระดับกลางและล่าง มักจะไปจ้างผลิตในประเทศต่างๆ และติดเครื่องหมายการค้าของอิตาลีเองหรือนำอะหลั่ยข้างในมาประกอบโครงนอกที่เป็นหน้ากากในอิตาลี
สิ่งที่สำคัญนอกเหนือจากราคา ฟังชั่นการใช้ประโยชน์และคุณภาพแล้ว ก็คือเทคโนโลยีการประหยัดพลังงาน ที่ปัจจุบันผู้ผลิตอิตาลีให้ความสำคัญอย่างมากเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม หากผู้ผลิตไทยสามารถนำเสนอเครื่องปรับอากาศที่ประหยัดพลังงานได้สูงหรือเทคโนโลยีใหม่ๆในด้านการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม แม้ว่าราคาจะแพงกว่า ผู้นำเข้าอิตาลีก็ยินดีที่จะสนับสนุนการนำเข้าจากประเทศไทย
ปัจจุบันสภายุโรปได้อนุมัติกฏหมายล่าสุดเพื่อกระตุ้นการใช้สินค้าพลังงานสีเขียวพร้อมกันทั่วทั้งยุโรป เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการลดการใช้พลังงานกว่าร้อยละ 20 และทำให้ยุโรปเป็นโซนสีเขียวในปี 2020 โดยในวันที่ 20 ธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา สภายุโรปได้ประกาศปรับเปลี่ยนรายละเอียดใน Energy label โดยมีเป้าหมายหลักในการจัดระเบียบการให้ข้อมูลการใช้พลังงานของสินค้าต่อผู้บริโภคโดยการใช้ตราสัญลักษณ์หรือฉลากประหยัดพลังงาน (Energy labelling Directive 2010/30/EU) ที่มีมาตรฐานเดียวกันในหมู่ประเทศสมาชิก (EU27) โดยเพิ่มระดับการใช้พลังงานขึ้นไปอีก 3 ระดับได้แก่ A+ A++ และ A+++ พร้อมกับให้ข้อมูลด้านการใช้พลังงาน ซึ่งปัจจุบันบังคับใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ได้แก่ เครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า โทรทัศน์และตู้เย็น/ตู้แช่แข็ง รายละเอียดในฉลากประหยัดพลังงานใหม่ได้แก่
- ชื่อหรือแบรนด์ของ Supplier
- ชื่อรุ่น
- ระดับการประหยัดพลังงาน
- พลังงานที่ใช้ต่อปี (AEC) หน่วย kWh/year
- Performance / Characteristics ของสินค้า
ความตื่นตัวในประเด็นสิ่งแวดล้อมส่งผลให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างออกมามีบทบาทในการออกระเบียบมาตรฐาน ตลอดจนผลิตสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะต้องติดตามความคืบหน้าในประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
ในอิตาลีจะมีการจัดงาน Mostra Convegno Expo Comfort ขึ้นทุก 2 ปี โดยในปีนี้จะจัดขึ้น ในระหว่างวันที่ 27-30 มีนาคม 2554 ธีมของงานฯ ครั้งนี้คือ "Zero Energy to Intergration 2020" จะโฟกัสไปยังนโยบายประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายหลักของสภายุโรป ผู้ที่สนใจจะร่วมเข้าแสดงในงานฯ ควรตระหนักในประเด็นดังกล่าว และสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน (ttomilan@thaitradeitaly.com www.thaitradeitaly.com ) หรือสำนักกิจกรรมงานแสดงสินค้าระหว่างต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์
สถิติงานฯ MCE ครั้งที่ 37
พื้นที่แสดงงานฯ 325,000 ตารางเมตร Visitors 157,447 ราย (21% มาจากต่างประเทศ) Exhibitors 2,138 ราย จาก 54 ประเทศ สื่อมวลชน 800 ราย
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th