กฎ ระเบียบ การนำเข้าสินค้า Cosmetics ของซาอุดีอาระเบีย

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 17, 2011 11:06 —กรมส่งเสริมการส่งออก

หน่วยงานที่ดูแลการนำเข้าสินค้า Cosmetics ในปัจจุบัน คือ Saudi Food & Drug Authority (SFDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ ดูแลการนำเข้าสินค้าอาหาร ยา และเครื่องมือแพทย์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นมา การที่เป็นหน่วยงานใหม่ จึงมีการออกกฏ ระเบียบใหม่ๆ หรือปรับเปลี่ยนกฎ ระเบียบ การนำเข้าสินค้าในกลุ่มนี้เป็นระยะๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ส่งออกไทย ต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการส่งสินค้ามายังซาอุฯ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินการสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น

เอกสารประกอบการนำเข้าซาอุฯ

1) หนังสือจดทะเบียนธุรกิจของผู้นำเข้าซาอุฯ ที่ระบุประเภทของธุรกิจไว้กับทาง Ministry of Commerce and Industry (MOCI) ของซาอุฯ (ต้องทำธุรกิจเกี่ยวกับ perfumes & cosmetics)

2) Certificate of Conformity (CoC) ที่ได้รับการรับรอง 3) Invoice ที่ออกโดยผู้ผลิต/ผู้ส่งออก 4) Certificate of Origin ที่ได้รับการรับรองโดยหอการค้าไทย 5) สำเนาหนังสือการเป็นผู้แทนจำหน่าย (Agency Registration) จาก MOCI หรือ หนังสือต้นฉบับจากผู้ผลิต ระบุให้ผู้นำเข้าเป็นผู้นำเข้าสินค้าและผู้แทนจำหน่ายสินค้านั้นๆ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

6) Bill of Lading อนึ่ง CoC คือเอกสารที่ใช้เพื่อยืนยันว่าสินค้าที่นำเข้ามีมาตรฐาน ส่วนผสม สารเคมี ตามที่หน่วยงานของซาอุฯ SASO (Saudi Standards, Metrology and Quality Organization) กำหนดหรือไม่ ผู้ส่งออกไทยสามารถขอ CoC จากบริษัทตรวจสอบสินค้า/ห้องปฏิบัติการเอกชน เช่น Intertek, SGS เป็นต้น

การนำเข้าตัวอย่างสินค้าสำหรับใช้ส่วนตัว

เงื่อนไขสำหรับการนำเข้า Cosmetics เพื่อใช้ส่วนตัว คือ

1) ตัวอย่างสินค้าที่นำเข้าต้องไม่เกิน 10 ชุด หรือน้ำหนักไม่เกิน 8 กิโลกรัม

2) ผู้นำเข้าต้องลงนามในเอกสารแสดงความรับผิดชอบการเป็นผู้ใช้สินค้า โดยที่จะไม่มีการร้องเรียนกับ SFDA

การนำเข้าตัวอย่างสินค้าสำหรับใช้ในการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

ตัวอย่างสินค้านั้นๆ จะต้องมีหนังสือรับรองจากห้องปฏิบัติการเอกชนในประเทศ ระบุว่าใช้ในการทดสอบ พร้อมระบุจำนวนด้วย ตามปกติไม่เกิน 3 ตัวอย่างต่อ 1 สินค้า

การนำเข้าตัวอย่างสินค้าสำหรับใช้ในการโฆษณาและการตลาด

การนำเข้าดังกล่าวอยู่ภายใต้เงื่อนไขของการนำเข้าปกติเพื่อทำการค้า หากจำนวนเกินกว่าการนำไปใช้ส่วนตัว หรือหากสินค้านั้นๆ ระบุว่าเป็นการใช้เพื่อรักษาโรคทางการแพทย์ จะต้องส่งเรื่องให้กับคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่าเป็น Cosmetics หรือ Medicine/Drug ขั้นตอนและเงื่อนไขการนำสินค้าออกจากท่าเรือ

ขั้นตอนที่ 1 กรณีที่สินค้ามีเอกสาร Certifcate of Conformity ประกอบการนำเข้า สินค้าสามารถนำออกจากท่าเรือได้ทันที หลังการตรวจสอบดังนี้

ตรา สัญญลักษณ์ รายละเอียดที่อยู่บนฉลาก

1) มีชื่อ ตรา เครื่องหมายการค้า ของสินค้า

2) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้แทนจำหน่าย/ผู้นำเข้า ในซาอุฯ

3) รายละเอียดส่วนผสมของสินค้าที่มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนักสินค้า โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย โดยสอดคล้องกับ International Nomenclature System (INCI)

4) หน้าที่/ผล ของการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ (Functions)

5) เงื่อนไขการเก็บรักษา

6) Batch number, วันที่ผลิต วันหมดอายุ

7) ข้อควรระมัดระวัง คำเตือน

8) วิธีการใช้

ต้องไม่มีการระบุว่าสินค้านั้นๆ สามารถรักษาโรคได้ ทั้งนี้สินค้า Cosmetics หมายถึง

"Any substance or preparation intended to be placed in contact with the various external parts of human body (epidermis, hair system, nails, lips, and external genital organs) or with the teeth and the mucous membranes of the oral cavity with a view exclusively or mainly to cleaning them, perfuming them, changing their appearance and/or correcting body odors and/or protecting them or keeping them in good condition."

จากนิยามข้างต้น Cosmetics จึงหมายรวมถึงสินค้า ดังนี้:

Creams, emulsions, lotions, gels and oils for the skin (hands, face, feet, etc.)

Face masks (with the exception of peeling products)

Tinted bases (liquids, pastes, powders).

Make-up powders, after-bath powders, hygienic powders, etc.

Toilet soaps, deodorant soaps, etc.

Perfumes, toilet waters and eau de cologne

Bath and shower preparations (salts, foams, oils, gels, etc.)

Depilatories

Deodorants and antiperspirant

Hair care products:

  • Hair tints and bleaches
  • Products for waving, straightening and fixing
  • Setting products
  • Cleansing products (lotions, powders, shampoos)
  • Conditioning products (lotions, creams, oils)
  • Hairdressing products (lotions, lacquers, brilliantines)

Shaving products (creams, foams, lotions, etc.)

Products for making up and removing make-up from the face and eyes.

Products intended for application to lips.

Products for care of teeth and mouth.

Products for nail care and make-up.

Products for external intimate hygiene.

Sunbathing products.

Products for tanning without sun.

Skin-whitening products.

Anti-wrinkle products.

Eye decorative cosmetics products (eye shadow, mascara, brows, lids, pencil, lasheds, cream and athmad)

ที่สำคัญคือ ฉลากสินค้าต้องไม่ระบุว่า สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ มิฉะนั้นสินค้าจะไม่ถูกตรวจปล่อยจนกว่าสินค้านั้นๆ จะขึ้นทะเบียนกับ SFDA ว่าเป็นยารักษาโรค (Medicine)

ตัวอย่าง การระบุคุณประโยชน์สินค้าที่มีนัยเป็นยารักษาโรค ที่ไม่อนุญาตให้ทำ

  • Baldness treatment
  • Pressure and diabetes treatment
  • Sexual weakness treatment

ตัวอย่าง การระบุคุณประโยชน์ของสินค้า Cosmetics ที่สามารถทำได้

  • Preserving hair smoothness
  • Nails strengthen
  • Skin smoothing

ขั้นตอนที่ 2 กรณีสินค้าไม่มี Certificate of Conformity แนบมาด้วยประกอบการนำเข้า

เจ้าหน้าที่จะนำตัวอย่างสินค้าที่นำเข้า ส่งไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์ส่วนผสม ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ทางการกำหนดหรือไม่ และมีข้อมูลสอดคล้องกับที่ระบุบนฉลากสินค้าหรือไม่ ทั้งนี้ผู้นำเข้า/ผู้แทนจำหน่าย จะเป็นผู้จ่ายค่าตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว

ขั้นตอนที่ 3 กรณี มีคำเตือนหรือจดหมายเวียนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับสินค้าที่นำเข้า

เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบสินค้านั้นๆ ไม่ว่าจะมี Certificate of Conformity ประกอบการนำเข้าหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนที่ 4 ในขั้นตอนการปล่อยสินค้า หากเจ้าหน้าพบเห็นสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ผิวของสินค้าภายนอก หรือสารประกอบเสื่อมอายุ

เจ้าหน้าที่จะไม่มีการปล่อยสินค้าออก จะกว่าสินค้านั้นๆ จะได้รับการตรวจสอบอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 5 ในขั้นตอนการตรวจปล่อยสินค้า หากเจ้าหน้าที่พบสินค้าที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

1)มีการระบุว่าใช้ในการรักษาโรค

2)สินค้าอยู่ในรูปของยา (pharmaceutical form eg. Capsule, ampoule, tablet, drops)

3)มีผลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าสินค้านั้นๆ มีส่วนผสมที่เป็นยา หรือรักษาโรคได้ (เช่น มี วิตามิน เอ, Salicylic acid, zinc oxide, hydroquinone ในส่วนผสม)

เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบสินค้าที่มีข้อสังเกตดังกล่าว จะมีการส่งตัวอย่างสินค้าไปตรวจสอบ และยื่นเรื่องให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณาว่า สินค้านั้นๆ เป็นสินค้ากลุ่มยารักษาโรคหรือไม่ กรณีที่เป็นยาจะต้องมีการจดทะเบียนกับ SFDA ก่อนการนำเข้า

ขั้นตอนที่ 6 เมื่อมีปัญหาที่จะต้องตรวจสอบวิเคราะห์สินค้า

ผู้นำเข้า/ผู้แทนจำหน่าย สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าไปเก็บรักษาไว้ได้ แต่ต้องมีเอกสารรับรองว่าจะไม่มีการจำหน่ายสินค้า จนกว่าสินค้านั้นๆ จะตรวจสอบเสร็จ และได้รับการแจ้งทางจดหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ว่าสามารถจำหน่ายสินค้าในซาอุฯ ได้

Website ที่น่าสนใจ

www.sfda.gov.sa

www.export2saudi.com/resourcecentre/

www.saso.org.sa

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองเจดดาห์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ