1. พานาโซนิกส์ หยุดการผลิตที่โรงงานหลายแห่ง รวมทั้งโรงงานที่ผลิตกล้องถ่ายรูปดิจิตอล เครื่องเสียง ในบริเวณภาคเหนือของญี่ปุ่น โรงงานที่ผลิตแบตเตอรี่ EV ในเมืองเซ็นได ได้ถูกทำลายลงด้วยคลื่นสึนามิด้วย และจากผลจาการขาดแคลนแบตเตอรี่แห้งทำให้บริษัทต้องเพิ่มการผลิตแบตเตอรี่ที่โรงงานในโมริกูจิ จังหวัดโอซากา รวมทั้งนำเข้าแบตเตอรี่จากโรงงานที่ประเทศไทย และอินโดนีเซีย ปัจจุบันโรงงานโมริกูจิ มีปริมาณการผลิต 600 ล้านหน่วยต่อปี
2. โซนี่ได้รับผลกระทบจากภัยภิบัติ ดังกล่าวจนต้องปิดโรงงานถึง 8แห่ง ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ รวมถึงโรงงานที่ผลิตแบตเตอรี่ ชิพ และสมาร์ทการ์ด ในจังหวัดฟูกูชิม่า และมิยาซากิ ส่วนโรงงานในจังหวัดมิยากิ ที่ผลิตเทปแม่เหล็กได้รับความเสียหาย
3. โตชิบา ได้หยุดการผลิตที่โรงงานผลิตชิพที่จังหวัดอิวาเตะ และ NEC ปิดที่ทำการที่โตเกียว รวมทั้งโรงงานที่คานากาว่า
4. การผลิต Hard disk drive หยุดนิ่ง บริษัท Kobe Steel ได้หยุดการผลิตที่โรงงานในจังหวัดโตชิกิ เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า
5. ฮิตาชิ หยุดการผลิตที่โรงงาน 6 แห่ง รวมทั้งโรงงานหลักที่เมืองฮิตาชิ จังหวัดอิบารากิ โรงงานบางแห่งได้รับความเสียหายจากเพดานที่ร่วงลงมา
6. แคนนอน หยุดการผลิตที่โรงงาน 3 แห่ง รวมทั้ง โรงงานที่ผลิต ส่วนประกอบ พริ้นเตอร์อิงค์เจ็ทที่ฟูกูชิม่า และโรงงาน ผลิตเลนส์สายตาที่ อุตซุโนมิยะ รวมทั้งหยุดการผลิตกล้องดิจิตอลที่โรงงานในจังหวัดโออิตะภาคตะวันตกของญี่ปุ่น เนื่องจากขาดแคลนส่วนประกอบ ตัวเก็บประจุ
7. เรเนซัส หยุดการผลิตที่โรงงาน 5 แห่งในเขตโตโฮกุ รวมทั้งโรงงานที่เมืองฮิตาชิ จังหวัดอิบารากิ ที่ผลิตแผ่นวงจรรวม
8. แอลป์ส อิเล็คทริค ผู้ผลิตแบตเตอรี่ หยุดการผลิต เซนเซอร์ พริ้นเตอร์ที่โรงงาน 8 แห่ง รวมทั้งส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในรถยนต์
1. บริษัทที่ผลิต Chip ในประเทศญี่ปุ่นทำรายได้ประมาณ 63.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2010 หรือ 1 ใน 5 ของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ของโลก ผลกระทบจากแผ่นดินไหวส่งผลกับการผลิต NAND flash memory ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ iPhone และ iPad โดยโรงงานของโตชิบา ทางตอนใต้ของโตเกียวประสบกับปัญหาต่างๆ เช่น การขนส่งสินค้าภายในประเทศทั้งทางรถ รถไฟ เรือ และเครื่องบิน การล่าช้าในการส่งของไปบรรจุ และตรวจสอบในต่างประเทศ รวมทั้งการที่พนักงานไม่สามารถเดินทางไปโรงงานได้ ส่วนปัญหาการขาดแคลนสินค้าน่าจะเป็นระยะสั้น ปัจจุบันโตชิบาครองตลาด NAND flash memory ร้อยละ 35
2.การหยุดการผลิตของ 2 บริษัทผู้ผลิต อลูมิเนี่ยมดิสค์ คือ Kobe Steel (ครองตลาดร้อยละ 60) และ Furukawa Electric (ครองตลาดร้อยละ 40) เนื่องจากโรงงานที่จังหวัดโตชิกิเสียหาย ส่งผลต่อปริมาณ Hard disk ที่จะตอบสนองความต้องการของตลาด และจากการงดจ่ายไฟฟ้าเป็นช่วงๆ เป็นอุปสรรคต่อการผลิตสินค้าที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก
3. ผลกระทบในระยะยาวต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จากการหยุดการผลิตของบริษัท มิยากิ นิคคอน ซึ่งผลิตส่วนประกอบของอุปกรณ์เปิดรับแสง (exposure equipment ) ที่จำเป็นในการผลิต LCD ใช้ในโทรทัศน์จอแบน และสมาร์ทโฟน ปัจจุบัน นิคคอนครองตลาดอุปกรณ์เปิดรับแสงร้อยละ 50 ที่ใช้ผลิต LCD ขนาดใหญ่สำหรับโทรทัศน์ และร้อยละ 90 ของอุปกรณ์เปิดรับแสง ที่ใช้ผลิต LCD ขนาดเล็ก ขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า นิคคอนจะสร้างโรงงานใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการใช้สมาร์ทโฟนหรือไม่
4. การแข็งค่าของเงินเยน จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้า เช่น รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัทโซนี่ ที่จำหน่ายโทรทัศน์จอแบน เครื่องเล่นเกมส์ หากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเพียง 1 เยน จะส่งผลให้บริษัทมีกำไรลดลงปีละ 2,000 ล้านเยน ส่วน ฮิตาชิ และโตชิบา น่าจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก โดยได้เพิ่มการรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การผลิตสินค้าที่ต่างประเทศ การใช้ชิ้นส่วนภายในท้องถิ่น และสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ นครโอซากา
ที่มา: http://www.depthai.go.th