สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-สเปน ช่วง ม.ค.-ก.พ. ปี 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 22, 2011 13:57 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตารางแสดงมูลค่าการค้าไทย-สเปน ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554

                                 ก.พ. 2554                          ม.ค.-ก.พ. 2554
                                         เพิ่ม/ลด (%)                         เพิ่ม/ลด (%) จาก
                    มูลค่า (Mil. US$)      จากเดือนก่อน        มูลค่า (Mil. US$)   ช่วงเดียวกันปีก่อน
ส่งออก                  110.18              +6.58              213.56            +31.93
นำเข้า                   48.41             +24.75               87.21            +27.43
การค้ารวม               158.59             +11.54              300.77            +30.59
ดุลการค้า                +61.77              -4.35             +126.35            +35.22
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไทยกับสเปนมีมูลค่าการค้ารวม 158.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยเป็นฝ่ายส่งออกไปสเปน 110.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.58 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีหมวดสินค้าสำคัญที่ปรับตัวเพิ่ม คือ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+68.14%) เม็ดพลาสติก (+77.29%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+23.31%) และกุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง (+62.83%) แต่ก็มีสินค้าหลักหลายรายการที่ปรับตัวลดลง ไดแก่ ยางพารา (-6.66%) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-13.14%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-17.82%) และผลไม้กระป๋องและแปรรูป (-9.64%) ขณะที่นำเข้าจากสเปน มูลค่า 48.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.75 ทั้งนี้ ไทยได้ดุลการค้าในเดือนนี้เพิ่มขึ้นอีก 61.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ในช่วง 2 เดือนแรก ปี 2554 ไทย-สเปน มียอดการค้ารวม 213.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยไทยมียอดส่งออกมาสเปนรวม 213.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.93 ซึ่งสามารถแบ่งโครงสร้างสินค้าส่งออก ได้ดังนี้

ตารางแสดงโครงสร้างสินคาส่งออกไทยมายังสเปน ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554

ที่             ประเภทสินค้า                   มูลค่า (Mil. USD)       สัดส่วน (%)       เปลี่ยนแปลง (%)
1 เกษตรกรรม(กสิกรรม+ปศุสัตว์+ประมง)                 55.5                25.99              +68.38
2 อุตสาหกรรมการเกษตร                             11.9                 5.56              +59.11
3 อุตสาหกรรม                                    146.2                68.45              +20.36
                                    รวม        213.6                100.0              +31.93
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

เมื่อเทียบกับช่วง 2 เดือนแรกของปีที่ผ่านมา พบว่าประเภทสินคาเกษตรกรรม มีอัตราการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 68.38 และสามารถเพิ่มสัดส่วนมาอยู่ในระดับกว่าร้อยละ 25 อันเนื่องมาจากตลาดมีความต้องการยางพาราเพิ่มสูงมาก เช่นเดียวกับความต้องการบริโภคสินค้ากุ้งแช่สด/แช่แข็งที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ประเภทสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 59.11 โดยเฉพาะจากสินค้าอาหารกระป๋องและแปรรูปที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่หมวดนี้ก็มีสัดส่วนโดยรวมเพียงร้อยละ 5.56 ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมมีสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 68.45 ของสินค้าส่งออกไทยโดยรวม จากเดิมที่เคยมีสัดส่วนเฉลี่ยประมาณ 3 ใน 4 มาโดยตลอด แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถเติบโตได้ร้อยละ 20.36

สรุปสถานการณ์การค้าไทย-สเปน ช่วง ม.ค.-ก.พ. ปี 2554

ตารางแสดงมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยมายังสเปน 10 อันดับแรก ช่วง 2 เดือนแรกของปี 2554

 ที่                สินค้า                       มูลค่า (Mil. USD)          สัดส่วน (%)       เปลี่ยนแปลง (%)
 1 ยางพารา                                        44.6                20.90              +76.89
 2 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ                      31.0                14.50               +0.78
 3 เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                   28.5                13.35               +8.30
 4 รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ                        9.0                 4.21              +27.25
 5 ผลิตภัณฑ์ยาง                                       7.5                 3.52              +39.78
 6 เม็ดพลาสติก                                       7.0                 3.30             +406.64
 7 กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง                                 6.4                 3.00              +50.15
 8 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                      5.9                 2.75              +49.32
 9 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                              5.8                 2.74              +23.89
10 เลนส์                                            5.8                 2.69               +5.87
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

จากโครงสร้างสินค้าส่งออกของไทย พบว่าสินค้า 5 อันดับแรก มีสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 56 ของยอดส่งออกทั้งหมด โดยมียางพารา เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ครองสัดส่วนสูงเกินร้อยละ 10 ทั้ง 3 รายการ แต่ถ้านับรวมสินค้า 10 อันดับแรก ก็จะมีสัดส่วนการส่งออกกว่าร้อยละ 70 จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของสินค้าที่เหลือไม่ค่อยมีผลกระทบกับยอดการส่งออกมากนัก

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของสเปนในปี 2553 ที่ผ่านมาจะยังไม่สามารถก้าวพ้นภาวะถดถอยที่กินเวลายาวนานต่อเนื่องกว่า 2 ปีก็ตาม แต่สินค้าไทยก็สามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 40 และต่อเนื่องมาถึงตอนต้นปี 2554 ก็ยังเติบโตต่อไปได้อีกร้อย 30 ท่ามกลางปัญหาการว่างงานที่เป็นอุปสรรคใหญ่ที่ยังเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับร้อยละ 20 กอปรกับปัญหาการขาดดุลการคลังที่รัฐบาลยังต้องยึดนโยบายรัดเข็มขัดและปัญหาเงินเฟ้อที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ อันจะส่งผลให้ผู้บริโภคยังต้องระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของปนี้จะสามารถปรับตัวเป็นบวกได้ร้อยละ 0.8

ทั้งนี้ ในปี 2554 สินค้าที่จะมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าการส่งออกของไทยในตลาดสเปน คือ ยางพารา ที่จะต้องจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากภาวะความต้องการและระดับราคาของตลาดโลกที่อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือผันผวนได้

ขณะเดียวกันไทยนำเข้าสินค้าจากสเปนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 27.43 ซึ่งสินค้าส่วนมากเป็นสินค้าที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตและสินคากึ่งสำเร็จรูป ไดแก เคมีภัณฑ เหล็ก โลหะ และสัตวน้ำสด เปนตน รองลงมาเปนสินคาประเภททุน ไดแก เครื่องจักรตางๆและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑที่ทำจากโลหะและเหล็ก เป็นต้น ทั้งนี้ มีข้อน่าสังเกตว่าช่วงต้นปีนี้ไทยนำเข้าเครื่องบินเพื่อการเกษตรจากสเปน ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยมีรายละเอียดการนำเข้าสินค้า 5 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด ดังนี้

สรุปสถานการณ์การค้าไทย-สเปน ช่วง ม.ค.-ก.พ. ปี 2554

ตารางแสดงมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากสเปน 5 อันดับแรก ช่วง 2 เดือนแรก ปี 2554

                   สินค้า                    มูลค่า (Mil. USD)          สัดส่วน (%)       เปลี่ยนแปลง (%)
เคมีภัณฑ์                                          11.1                12.69              -11.01
เครื่องบิน เครื่องร้อน อุปกรณ์การบินและส่วน                8.5                 9.77                 n/a
ประกอบ
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                           8.3                 9.49              -15.02
ผลิตภัณฑเวชกรรมและเภสัชกรรม                         6.8                 7.79               -4.16
เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ                         6.7                 7.66             +107.62
ที่มา: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของราชอาณาจักรสเปนที่มีผลกระทบกับการส่งออกของไทย

จากแนวโน้มราคาน้ำมันและอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก จะเป็นตัวที่ส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสเปนเป็นไปได้อย่างจำกัด โดยเฉพาะข้อกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองทางตอนเหนือของแอฟริกา รวมทั้งระดับราคาสินค้าเกษตรที่มีราคาสูงกว่าระดับสูงสุดในช่วงวิกฤติด้านราคาอาหารเมื่อปี 2551 ตลอดจนสินค้าวัตถุดิบอื่นๆ อาทิเช่น ทอง เงิน ทองแดง และน้ำตาล แต่ก็มีสินค้าบางตัวที่ยังไม่ได้ปรับราคาขึ้นอย่างน้อยในช่วงนี้รวมทั้งสินค้าข้าว

นอกจากนั้น ธนาคารกลางของสหภาพยุโรปได้ปรับนโยบายการเงิน ซึ่งส่วนหนึ่งจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงฤดูใบไมผลินี้ เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาเงินเฟ้อและผลกระทบอื่นๆที่จะตามมา โดยธนาคารกลางฯได้พยากรณ์ปรับอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 ถึง 2.6 ขณะที่คณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรปประมาณการไว้ที่ร้อยละ 2.2 ซึ่งประมาณการทั้งสองตัวนับว่าสูงกว่าเป้าหมายความเสถียรภาพด้านราคา ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารได้ปรับขึ้นไปแล้วอีกร้อยละ 0.5 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา แตะระดับร้อยละ 1.9 ในช่วงต้นเดือนมีนาคม จึงส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯหรือประมาณอัตรา 1.4 รวมทั้งได้เปรียบเงินสกุลหลักอื่นๆอย่างเงินเยนและเงินปอนด์ด้วย

จากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อ GDP อย่างไรนั้นยังยากที่จะคาดเดาในขณะนี้ ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในตอนเหนือของแอฟริกาจะยาวนานจะลุกลามไปประเทศอื่นๆมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะประเทศซาอุดิอาระเบียที่ถือว่าเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันที่สำคัญที่สุดของโลก อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญของประเทศพัฒนาแล้วต่างก็พยายามลดการพึ่งพาน้ำมันลงเป็นลำดับ

การคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรได้ปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.1 เป็นร้อยละ 1.6 โดยหวังว่าประเทศสมาชิกหลักๆจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีขึ้นได้รวมทั้งสเปนด้วยที่หวังว่าจะเติบโตได้ร้อยละ 0.8 ในปี 2554 ซึ่งเป็นอัตราเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรโดยรวม ส่วนปัจจัยลบที่อาจจะส่งผลกระทบให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของสเปนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ได้แก่ การเป็นประเทศที่พึ่งพาพลังงานจากน้ำมันมาก ระดับหนี้สาธารณะที่สูง และอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น

หากเศรษฐกิจสเปนขยายตัวไปไม่ถึงระดับที่คาดหวัง จะทำให้การลดระดับการขาดดุลการคลังไม่บรรลุเป้าหมายไปด้วย ในปี 2553 สามารถลดการขาดดุลการคลังลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ -9.24 ของ GDP ซึ่งเป็นผลงานสำคัญของรัฐบาลกลางที่สามารถตัดลดรายจยลงได้จำนวนมาก แต่ยังมีรัฐบาลระดับแคว้นอีก 9 แห่งที่ยังไม่สามารถควบคุมรายจ่ายลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะแคว้น Castile-La Mancha, Murcia, La Rioja และ Catalonia ที่มียอดขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ ทั้งนี้ รัฐบาลของแคว้นต่างๆมีเป้าหมายที่จะต้องลดระดับขาดดุลการคลังรวมลงให้ได้ในสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของ GDP ในปี 2554

ดังนั้น ความพยายามควบคุมรายจ่ายและการเพิ่มประสิทธิภาพอย่างจริงจังจึงเป็นสิ่งจำเป็นในลำดับต้นๆ ส่วนสถานการณ์ของปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับการว่างงานก็ยังไม่ทราบว่าจะสิ้นสุดลงได้เมื่อใดเฉพาะสองเดือนแรกของปี 2554 กลับมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นอีก 200,000 ราย ทั้งๆที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้นเมื่อตอนปลายปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน จำนวนผู้ที่จ่ายค่าประกันสังคมก็ลดจำนวนลง 237,000 ราย มากกว่า ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ อัตราการว่างงานในไตรมาสแรกนี้จะทำลายสถิติอีกต่อไป และไม่ต้องคาดหวังว่าระดับความเชื่อมั่นและการจับจ่ายใช้สอยของภาคครัวเรือนจะปรับตัวสูงขึ้น

คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ได้ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีของสเปนขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 ซึ่งเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมา มาจากปัจจัยภายนอกที่สำคัญสองประการ ได้แก่ ระดับราคาของพลังงานและอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามทฤษฏีแล้วหวังว่าจะเป็นเพียงภาวการณ์ชั่วคราวเท่านั้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมาดริด

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ