สถานการณ์การค้าวัสดุก่อสร้างในแคนาดา มีนาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 24, 2011 11:16 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สินค้า

วัสดุก่อสร้าง

(สถิติมูลค่านำเข้าจากไทย ม.ค. — ม.ค. 54 )

1) อุปกรณ์ติดตั้งของหลอดหรือท่อ (HS 7307): 1.394 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+242.50%)

2) ตะปูควง สลักเกลียว แป้นเกลียว (HS 7318): 1.200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+21.70%)

3) เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้า(HS 8536): 0.368 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-37.73 %)

4) อุปกรณ์สำหรับยึด อุปกรณ์ติดตั้ง-ฟิตติ้ง (HS 8302): 0.371 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-37.85%)

5) พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ อะลูมินัสซีเมนต์ สแลกซีเมนต์ (HS 2523): 0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+/- 0 %)

6) กระเบื้องปูพื้นและทางเดิน (HS 6908): 0.381 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+1.330 %)

ขนาดของตลาด

การผลิต/การบริโภค

  • ในการวางงบประมาณปี 2553 (Budget 2010) นั้น รัฐบาลกลางแคนาดาเพิ่มงบประมาณการพัฒนาระบบเศรษฐกิจระหว่างปี 2553-2554 ขึ้นอีก 1.9 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา (ประมาณ 6 แสนล้านบาท) โดยได้สำรอง 4.156 ล้านเหรียญเพื่อการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคโดยเฉพาะ
  • จากผลการสำรวจล่าสุดของหน่วยงานรัฐฯ Industry Canada (ธค 2551) นั้น ปัจจุบันแคนาดามีผู้ประกอบการด้านงาน/ วัสดุก่อสร้าง ทั้งสิ้น 226,352 ราย โดยมากที่สุดในมณฑล Ontario 99,123 ราย รองลงมาได้แก่ British Columbia 48,435 ราย

การนำเข้าส่งออก

นำเข้า (วัสดุก่อสร้าง)

  • จากทั่วโลก: เดือน ม.ค.-ม.ค. 2554 มูลค่า 435.778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+18.00 %)
  • จากไทย: เดือน ม.ค.-ม.ค. 2554 มูลค่า 3.714 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+25.60%)

ส่งออก (วัสดุก่อสร้าง)

  • ไปยังทั่วโลก: เดือน ม.ค.-ม.ค. 2554 มูลค่า 148.435 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+11.81 %)
  • ไปยังไทย : เดือน ม.ค.-ม.ค. 2554 มูลค่า 1.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (+43.35%)

ช่องทางการจำหน่าย

  • ชาวแคนาดามักเลือกที่จะทำการก่อสร้าง/ ต่อเติมอาคารบ้านเรือนเอง เนื่องจากอัตราค่าแรงในแคนาดาสูงมาก จึงมักเลือกซื้อสินค้าเองโดยตรงจากร้านค้าปลีก
  • ผู้นำเข้าวัสดุก่อสร้างจำนวนมาก อาทิ Home Depot/ Rona และ The Brick มีร้านค้าประเภท Super Center ขนาดใหญ่ของตน โดยไม่มีการค้าส่ง แต่ค้าปลีกผ่านร้านค้าของตนเท่านั้น
  • ผู้นำเข้าวัสดุก่อสร้างมักสั่งซื้อสินค้าหลังจากได้รับ Building Permit จาก รัฐบาลแล้วเท่านั้น

พฤติกรรมผู้บริโภค

จากผลการสำรวจล่าสุดของหน่วยงานรัฐฯ Industry Canada นั้น แคนาดามีผู้ประกอบการด้านงาน/ วัสดุก่อสร้างแบ่งตามขนาดการจ้างงาน ดังนี้

  • ขนาด Micro (จ้างงาน 1-4 คน) 58.9% มากที่สุดในมณฑล Ontario
  • ขนาดเล็ก (จ้างงาน 5-99 คน) 40.2% มากที่สุดในมณฑล Ontario
  • ขนาดกลาง (จ้างงาน 100-499 คน) 0.9% มากที่สุดในมณฑล Ontario
  • ขนาดใหญ่ (จ้างงาน 500+ คน) 0.1% มากที่สุดในมณฑล Alberta
  • การที่แคนาดามีผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก ไม่มีศักยภาพในการนำเข้าตรง ผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่เป็นส่วนน้อยจึงมีอิทธิพลต่อการนำเข้า/ การตั้งราคา และการทำการตลาดในธุรกิจนี้มาก

การค้าในประเทศ

ราคาขายส่ง/ปลีก

ราคาปลีกในนครแวนคูเวอร์มี.ค. 54 (เหรียญแคนาดา)

  • Scheider Electric — Federal Pioneer (Double Pole 40 8302 Amp) ราคา 276.70$
  • 1/8 in steel washer (Arrow) 40 ชิ้น ราคา 1.94$
  • Screwdriver 7 Piece ราคา 70$
  • ท่อ Tundra Seal ? in x 6 EPDM Rubber Pipe Insulation (48 ชิ้น) ราคา 399$
  • Exhaust Fan 200 CFM (Nu Tone) ราคา 199$
  • Normal Portland Cement 40 Kg. (St. Mary)ราคา 12.79$

คู่แข่ง

ตามสถิติการนำเข้า ม.ค.-ม.ค. 2554 (% จากสัดส่วนนำเข้าทั้งหมด)

สหรัฐฯ (47.39%)

จีน (17.03%)

เม็กซิโก (6.32%)

ไต้หวัน (6.43%)

ญี่ปุ่น (3.21%)

อิตาลี (2.79%)

เยอรมนี (3.36%)

ไทย (1.00%)

มาตรการการค้า

ด้านภาษี/NTB

  • กฏหมาย Occupational Health and Safety Act
  • กฏหมาย Biological or Chemical Exposure Regulation
  • กฏหมาย Import Export Act
  • มาตรการ Bid Depository (สำหรับการประมูลโครงการก่อสร้างสำคัญ)
  • มาตรการ Product Safety Standards
  • Exporters from Least Developed Countries (LCDs)
  • General Preferential Treatment (GPT)
  • Canada Building Codes

แหล่งข้อมูล:

  • “Canada Budget 2010 Summary”- Canadian Construction Association - http://www.cca-acc.com/documents/electronic/budget2010.pdf
  • “Investment in non-residential building construction”- Statistic Canada 4th Quarter 2009- http://www.statcan.gc.ca/daily-quotidien/100115/dq100115a-eng.htm
  • “Canadian Industry Statistics: Construction”- Industry Canada- http://www.ic.gc.ca/cis-sic/cis-sic.nsf/IDE/cis-sic23etbe.html
  • “Construction Industry”- The Canadian Encyclopedia-http://www.thecanadianencyclopedia.com/index.cfm?PgNm=TCE&Params=A1ARTA0001876
  • “Canadian Construction Industry Forecast 2007-2012”: Canadian Construction Association- http://www.cca-acc.com/news/stats/industry_stats_e.pdf
  • เปรียบเทียบราคาปลีก ณ ร้านค้า Home Depot ในนครแวนคูเวอร์ ณ. มี.ค. 2554 www.homedepot.ca
  • “Online Resources to the use of Bid Depository” Canadian Construction Association http://www.cca-acc.com/biddepository/introduction/index.html
  • “Importing Construction Materials into Canada” Association of the Wall and Ceiling Industry http://www.awci.org
  • “Export to Canada: Duty Free”: A Guide to Canada’s Market Access Initiative for Least Developed Countries- http://www.intracen.org/pact/programme/AAGuide_En.pdf

SWOT

1. จุดแข็ง (Strength)

  • ผู้ผลิต/ ผู้ออกแบบสินค้าวัสดุก่อสร้างไทยเริ่มหันมาผลิตสินค้าตามกระแสนิยมโลก ด้านสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ประกอบการ/ ผู้บริโภคแคนาดาให้ความสำคัญมาก
  • ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ผลิตวัสดุก่อสร้างได้หลายประเภท และมีบริษัทส่งออกที่มีตราสินค้าไทยที่เป็นที่ยอมรับในสากลโลก (อาทิ ปูนและสีทาบ้าน)
  • ประเทศไทยมีทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นแรงงานรากฐานการการผลิต ที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นทุกปี และมีการฝึกอบรม ทั้งจากรัฐฯ และเอกชนอย่างต่อเนื่อง

2. จุดอ่อน (Weakness)

  • แคนาดาเป็นผู้ผลิต/ส่งออก Softwood Lumber (เพื่อการก่อสร้าง) รายใหญ่ โดยคู่ค้าที่สำคัญที่สุดคือ สหรัฐฯ
  • สินค้าไทยโดยมากเป็นสินค้าที่ผลิตตามใบสั่ง มีลักษณะตรงตามที่ผู้สั่งทำกำหนดเท่านั้น ประเทศไทยยังขาดสินค้า และเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมไทยแท้เพื่อการส่งออกอย่างแท้จริงอยู่มาก
  • ค่าขนส่งสินค้าจากไทยไปแคนาดาสูงกว่าคู่แข่งอื่นๆ ทำให้เพิ่มต้นทุนในการผลิต และราคาสินค้าสูงขึ้น
  • ต้นทุนสินค้าสูงกว่าคู่แข่ง เนื่องจาก ค่าจ้างแรงงานไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ ในภูมิภาคเช่น จีนและอินเดีย
  • สินค้าของไทยบางประเภทมีคุณภาพ รูปแบบไม่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศและการใช้งานในประเทศแคนาดา

3. โอกาส(Opportunity)

  • รัฐบาลกลางแคนาดา (Federal government) มีการตั้งโครงการ Federal Infrastructure Program ซึ่งมีงบประมาณ มากถึง 3.3 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา ส่งเสริมธุรกิจก่อสร้างทั่วประเทศ ระหว่างปี 2550-2557 โดยแบ่งเป็นงบประมาณย่อยส่งเสริมเฉพาะปี 2553-2554 ประมาณ 1.2 หมื่นล้านเหรียญแคนาดา ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการก่อสร้างด้าน Knowledge Infrastructure Program มากที่สุด (2 พันล้านเหรียญ) จึงคาดการณ์ได้ว่า แคนาดาจะมีการก่อสร้างสถานศึกษา โรงเรียน สถานวิจัยมากระหว่างปีดังกล่าว
  • รัฐบาลแคนาดามีนโยบายต่อเนื่อง ส่งเสริมการบูรณะ/ ตกแต่งต่อเติมสถานที่อยู่อาศัย หลายเขตในแคนาดา โดยการให้ Tax Break หรือการลดเงินภาษีบางส่วนให้กับผู้ที่ดำเนินการดังกล่าว
  • แคนาดามีชื่อเสียงด้านโครงการพัฒนาพลังงาน Hydroelectric Power (อาทิโครงการ Churchill Falls และ James Bay) ขนาดใหญ่ ซึ่งมักมีการก่อสร้างต่อเติม ดัดแปลงเสมอๆ จำเป็นต้องใช้ทั้งวัสดุก่อสร้าง และแรงงานจำนวนมาก ทุกปี
  • ผู้ประกอบการแคนาดาส่วนใหญ่เป็นขนาดกลาง-เล็ก จึงมีการรวมตัวเป็นสมาคม Canadian Construction Association (CCA-www.cca-acc.com) มีสมาชิกประมาณ 200 บริษัท ซึ่งมีการติดต่อ เวียนส่งข่าวสารอยู่เสมอ จึงมักมีการเลือกใช้ เลือกสั่งซื้อสินค้าในแนวทางเดียวกัน หากสินค้าไทยสามารถเจาะตลาดกลุ่มนี้ได้ โดยใช้ปัจจัยด้านคุณภาพ และราคา จะมีการแนะนำต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่
  • แคนาดามีค่าแรงในการผลิตสูงทำให้สินค้าที่ผลิตในแคนาดาไม่สามารถแข่งขันได้ จำเป็นต้องนำเข้าสินค้าจากแหล่งอื่นที่มีราคาถูกว่า อาทิ ไทย จีน ฯลฯ

4. ภัยคุกคาม (Threat)

  • นับแต่ปี 2543 นั้น แคนาดากำหนดให้มีโครงการ Exporters from Least Developed Countries (LDCs) โดยลดภาษีนำเข้าจากกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาทั้งสิ้น 48 ประเทศ ซึ่งไทยไม่อยู่ในรายชื่อประเทศดังกล่าว ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอาทิ พม่า กัมพูชา และลาวได้รับสิทธิดังกล่าว
  • การก่อสร้าง/ ต่อเติม/ ดัดแปลงอาคารในแคนาดานั้น จำเป็นจะต้องได้รับ Building Permit ก่อน ซึ่งรัฐบาลจะอนุญาตตามเกณฑ์กำหนดที่ตั้งเป้าไว้ในแต่ละปีเท่านั้น (มูลค่า Building Permit ระหว่างปี 2548-2552 แบ่งตามเขตมณฑล ดังเอกสารแนบ) ดังนั้น มูลค่าและจำนวน Building Permit ในแต่ละปี จึงเป็นตัวชี้วัดการเติบโตภาคการก่อสร้างแคนาดาได้อย่างเที่ยงตรง
  • คู่แข่งจากประเทศค่าแรงที่ถูกกว่า ไทย อาทิ จีน อินเดีย
  • การรับจ้างการผลิตภายใต้สินค้า OEM โดยไม่มีแบรนด์สินค้าเป็นของตนเอง ทำให้ผู้ผลิต/ส่งออก เสียเปรียบอำนาจในการต่อรองเรื่องของราคา และทำให้ผู้นำเข้าพร้อมที่จะเปลี่ยนแหล่งนำเข้าไปยังประเทศที่มีราคา/ ค่าแรงที่ถูกกว่า

มูลค่าอาคาร/สิ่งก่อสร้างที่รับใบอนุญาตก่อสร้าง (Building Permit) ระหว่างปี 2548-2552 ในแคนาดา (แยกตามเขตมณฑล)

มูลค่าอาคาร/สิ่งก่อสร้างที่รับใบอนุญาตก่อสร้าง (Building Permit) แยกตามเขตมณฑล

                                      2005         2006         2007         2008         2009

$ millions

Canada                           60,750.70    66,265.80    74,379.70    70,437.40    61,049.40
Newfoundland and Labrador            494.1        538.4        660.1        802.5        766.4
Prince Edward Island                   244          207        163.8        216.9        178.6
Nova Scotia                       1,188.00     1,291.40     1,288.90     1,326.70     1,368.70
New Brunswick                          829        933.3        965.2     1,113.80     1,148.20
Quebec                           11,288.00    11,878.30    12,973.40    13,806.70    12,929.70
Ontario                          24,129.60    23,292.20    26,710.40    25,414.60    21,880.50
Manitoba                          1,128.50     1,378.80     1,480.10     1,636.70     1,560.70
Saskatchewan                         905.7     1,138.60     1,646.40     2,185.80     1,890.30
Alberta                          10,201.70    13,875.70    15,729.70    13,141.20    11,276.90
British Columbia                 10,182.90    11,541.50    12,544.70    10,577.20     7,629.90
Yukon                                 77.3         95.6         79.6           70        157.6
Northwest Territories                 68.7         37.7           74         87.4        164.7
Nunavut                               13.2         57.4         63.5           58         97.2
ที่มา : Statistics Canada ณ วันที่ 8 พ.ย. 2553

เกณฑ์การวิเคราะห์สถิติการค้ารายเดือนในสินค้า 10 หมวดของสคร. แวนคูเวอร์

เนื่องด้วยสินค้าในแต่ละ 10 หมวดสำคัญสามารถตีความได้กว้าง ครอบคลุมได้หลายพิกัดสินค้า (ตาม Harmonized System Code) ดังนั้น เพื่อความชัดเจน เที่ยงตรงของการรายงานข้อมูล สคร. มีเกณฑ์การคัดเลือกพิกัดสินค้าเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์รายหมวดสินค้าสำคัญ ดังนี้

1. พิกัดสินค้าดังกล่าว ประเทศแคนาดามีการนำเข้าจากไทยในปัจจุบันจริง

2. พิกัดสินค้าดังกล่าว มีมูลค่านำเข้าสูง ในหมวดสินค้านั้นๆ เพื่อสามารถแสดงถึงภาพรวมภาวะการค้าระหว่างไทย-แคนาดาได้อย่างเที่ยงตรงมากขึ้น

ในกรณีสินค้าวัสดุก่อสร้างนี้ สคร. พิจารณาใช้พิกัดสินค้า ดังนี้

  • 7307 อุปกรณ์ติดตั้งของหลอดหรือท่อ (เช่น ข้อต่อ ข้องอ ปลอกเลื่อน) ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า
  • 7318 ตะปูควง สลักเกลียว แป้นเกลียว ตะปูเกลียวหัวเหลี่ยม ตะปูเกลียว หัวตะขอ หมุดย้ำ สลัก สลักผ่า แหวนรอง (รวมถึงแหวนสปริง) และของที่คล้ายกัน ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า
  • 8536 "เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อหรือป้องกันวงจรไฟฟ้าหรือสำหรับต่อกับวงจรไฟฟ้าหรือต่อภายในวงจรไฟฟ้า (เช่น สวิตช์ รีเลย์ ฟิวส์ เครื่องกำจัดกระแสเซอร์จ ปลั๊ก เต้ารับ กระจุ๊บหลอดไฟฟ้า กล่องชุมสายไฟฟ้า) สำหรับแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลต์"
  • 8302 อุปกรณ์สำหรับยึด อุปกรณ์ติดตั้ง (ฟิตติ้ง) และของที่คล้ายกัน ทำด้วยโลหะสามัญ เหมาะสำหรับใช้กับเฟอร์นิเจอร์ ประตู บันได หน้าต่าง มู่ลี่ ตัวถังรถ เครื่องอาน หีบเดินทางขนาดใหญ่ หีบเก็บของ กล่องเก็บของมีค่า หรือใช้กับของที่คล้ายกัน ที่วางหรือแขวนหมวก เท้าแขน และสิ่งติดตั้งถาวรที่คล้ายกันทำด้วยโลหะสามัญ ลูกล้อพร้อมอุปกรณ์สำหรับยึดทำด้วยโลหะสามัญ อุปกรณ์ปิดเปิดประตูอัตโนมัติทำด้วยโลหะสามัญ
  • 2523 พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ อะลูมินัสซีเมนต์ สแลกซีเมนต์ ซูเปอร์ซัลเฟต-ซีเมนต์และไฮดรอลิกซีเมนต์ที่คล้ายกัน จะแต่งสีหรือเป็นซีเมนต์เม็ด(คลิงเกอร์) หรือไม่ก็ตาม
  • 6908 กระเบื้องปูพื้นและทางเดิน กระเบื้องปูพื้นเตาหรือติดผนัง ที่เป็นเซรามิกเคลือบแล้ว รวมทั้งหินโมเสกและของที่คล้ายกันที่เป็นเซรามิกเคลือบแล้ว จะมีสิ่งรองรับหรือไม่ก็ตาม

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ