แนวคิดเรื่องคาร์บอนฟุตพริ๊นท์ (Carbon Footprint)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 25, 2011 15:18 —กรมส่งเสริมการส่งออก

คาร์บอนฟุตพริ๊นท์ (Carbon Footprint) หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คือ การวัดผลกระทบของกิจกรรมที่มนุษย์กระทำซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศซึ่งเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในชีวิตประจำวันโดยผ่านการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงสำหรับพลังงาน การไฟฟ้า และการขนส่ง

          แหล่งที่มาของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์           ปริมาณ (%)
          การใช้บริการทางสาธารณะร่วมกัน                      12%
          ก๊าซ น้ำมันและถ่านหินจากครัวเรือน                     15%
          ไฟฟ้าจากครัวเรือน                                 12%
          การขนส่งเอกชน                                   10%
          การขนส่งสาธารณะ                                  3%
          เที่ยวบินวันหยุด                                     6%
          อาหารและเครื่องดื่ม                                 5%
          เสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัว                              4%
          อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และการจัดส่งสินค้า              7%
          การสร้างและการตกแต่งบ้าน                           9%
          กิจกรรมนันทนาการ                                 14%
          การบริการทางการเงิน                               3%

ที่มา http://www.eoearth.org/article/Carbon_footprint

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีแหล่งที่มา 2 แหล่งคือ แหล่งที่มาหลัก (Primary Footprint) และแหล่งที่มารอง (Secondary Footprint)

1. Primary Footprint (แหล่งที่มาหลัก) สามารถวัดได้จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยตรงจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งเป็นการรวมถึงการใช้พลังงานและการขนส่งภายใน ประเทศ เช่น การเดินทาง/ ขนส่งทางรถยนต์ หรือ เครื่องบิน

2. Secondary Footprint (แหล่งที่มารอง) สามารถวัดได้จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยทางอ้อมจากกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เราบริโภคในกิจวัตรประจำวัน กล่าวคือ เมื่อผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น จะทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น

10 วิธีที่สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

1. นโยบายที่เป็นรูปธรรมของผู้บริหารประเทศ ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าการต่อสู้กับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนั้นต้องอาศัยการลงมือที่เฉียบขาดและเร่งด่วนในด้านการตัดสินใจทางการเมือง รวมถึงการความกล้าในการตัดสินใจในเรื่องที่ยาก ดังนั้นการออกกฎ/ระเบียบในการแก้ปัญหาเรื่องสภาพภูมิอากาศและการประเมินผลอย่างโปร่งใสในการเลือกตั้งนั้นเป็นหนทางที่จะช่วยแก้ปัญหาสำหรับโลกได้ทันเวลา

2. การลดการบริโภคเนื้อแดง (Red Meat) เนื่องจากแหล่งที่มาเนื้อแดงนั้น ได้มาจากสัตว์ ประเภทเคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย และ แกะ ซึ่งสัตว์เหล่านั้นมีการผลิตสารมีเทน (Methane) ในปริมาณมากเทียบกับก๊าซเรือนกระจกที่รวมตัวกัน 72 เท่าในระยะเวลา 20 ปีซึ่งต่างจากสัตว์ประเภทอื่น เช่น ไก่หรือสุกร โดยผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับสัตว์เคี้ยวเอื้อง ทั้งนี้อัตราการบริโภคเฉลี่ยในครัวเรือนหรือการปล่อยก๊าซของครัวเรือนนั้นมาจากการบริโภคเนื้อวัวเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าการสร้างและค่าใช้จ่ายสำหรับรถขับเคลื่อนสี่ล้อขนาดใหญ่ในช่วงเวลา 5 ปี ดังนั้นเพื่อเป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผู้บริโภคควรลดปริมาณบริโภคสเต๊กหรือขนมขบเคี้ยวให้น้อยลง

3. การเลือกซื้อสินค้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสีเขียว (Green Electricity) หรือพลังงานธรรมชาติ พลังงานในอนาคตหรือที่เรียกว่าพลังงานแหล่งใหม่นี้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานคลื่นและหินร้อน พลังงานสีเขียวเหล่านี้จะมีการส่งถึงครัวเรือนในทางเดียวกันกับพลังงานสกปรก (dirty power) ทั่วไปจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล ครัวเรือนสามารถเลือกซื้อและทดแทนการใช้พลังงานทั้งหมดหรือบางอัตราส่วนได้พอเพียงกับความต้องการ (ต้นทุนนั้นต่ำกว่ากันเพียงไม่กี่เซนต์ต่อกิโลวัตต์ในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อชั่วโมง) ซึ่งเมื่อผู้คนให้ความสนใจในสิ่งเหล่านี้ มันสามารถนำไปสู่การลงทุนที่เพิ่มขึ้นและการพัฒนาสู่อนาคตที่เร็วขึ้นอีกด้วย

4. ใช้พลังงานในบ้านและในครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่เราเปิดไฟทิ้งไว้โดยที่ไม่ได้อยู่ในห้อง หรือการปิดทีวีโดยใช้รีโมตคอนโทรลแทนที่การกดปุ่มที่ตัวเครื่อง การเปิดเครื่องทำความร้อนแทนที่จะใส่เสื้อหลายชั้น หรือการเปิดเครื่องทำความเย็นเมื่อเราสามารถเปิดหน้าต่างหรือเปิดพัดลมแทน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เราติดเป็นนิสัยจนเคยตัวซึ่งเราสามารถแก้ไขโดยการคิดสักนิดเกี่ยวกับการใช้พลังงานในครัวเรือนหรือติดตั้งสิ่งที่ช่วยกันความร้อนในบ้าน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และยังรวมถึงการประหยัดเงินและพลังงาน

5. การเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดน้ำและพลังงาน นอกเหนือจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแล้ว เราสามารถลงทุนกับเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยให้เราประหยัดได้ เมื่อใดก็ตามที่เราซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องล้างจานใหม่ เราสามารถสังเกตุการใช้พลังงานและน้ำของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ว่ามีประสืทธิภาพมากน้อยเพียงใด ยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากก็จะยิ่งช่วยให้เราประหยัดเงินและพลังงานในระยะยาวแถมยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สำคัญไปกว่านั้นความแตกต่างในการลงทุนที่สูงขึ้น เพื่อให้ได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับการลงทุนที่ต่ำแต่ได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพต่ำลงไปด้วยนั้นเป็นเรื่องที่เราควรทำการตัดสินใจเพื่อการลดการใช้พลังงานในระยะยาวซึ่งอาจจะยังไม่เห็นผลในตอนนี้แต่จะเห็นผลได้ในอีกหลายๆเดือนหรือหลายๆปีข้างหน้า

6. การเดินเท้า การปั่นจักรยาน หรือการเดินทางโดยขนส่งมวลชน รถยนต์เป็นเป็นสิ่งที่ใช้ปริมาณน้ำมันสูงและการจ่ายภาษีจำนวนมากสำหรับผู้ขับขี่และที่สำคัญนั้นยังรวมถึงการสร้างถนนและการปรับปรุงดูแดของรัฐ การที่จะทำให้ผู้คนเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น การโดยสารรถไฟ รถจักรยาน หรือการเดินเท้าเป็นสิ่งที่ช่วยสิ่งแวดล้อมและการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าแถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าอีกด้วย ปัญหาหลักของขนส่งมวลชนในขณะนี้คือการไม่มีผู้โดยสารเพียงพอหรือผู้คนใช้บริการขนส่งสาธารณะน้อยดังนั้น การลงทุนของรัฐบาลที่จะปรับปรุงและพัฒนาการบริการและการเปลี่ยนแปลงเรื่องเครื่องมือจำนวนมากที่ช่วยประหยัดพลังงาน

7. รีไซเคิล การนำสิ่งต่างๆกลับมาใช้ใหม่ และหลีกเลี่ยงการซื้อของที่ไม่จำเป็น เราทิ้งสิ่งของต่างๆไปมากกว่าการที่เรานำสิ่งเหล่านั้นมารีไซเคิล น้ำและพลังงานถูกนำไปใช้อย่างมหาศาลเพื่อผลิตสิ่งของต่างๆที่เราอาจไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งที่เราทำได้อีกอย่างก็คือการใช้บริการรีไซเคิลโดยการแยกพลาสติก โลหะและกระดาษ เรายังสามารถช่วยได้โดยการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า แทนที่จะซื้อใหม่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการซ่อมแซมนั้นน้อยกว่าการผลิตเป็นอย่างมากดังนั้นเราจึงควรคิดให้รอบคอบ

8. การสื่อสารโทรคมนาคมและการประชุมทางไกล การประชุมโดยใช้ระบบโทรคมนาคมนั้น เป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำให้เราไม่ต้องขับรถเพื่อไปทำงานแต่สามารถทำงานและประชุม จากทางบ้านได้ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังหมายถึงการลดการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย

9. อุดหนุนผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น การขนส่งอาหารและผลิตภัณฑ์สามารถบ่งถึงการเดินทางของสิ่งต่างๆซึ่งต้องใช้พลังงานและการขนส่งสินค้าที่ต้องผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทางหนึ่งคือน้ำและพลังงานที่ใช้ในการผลิตนั้นสามารถก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย ดังนั้นการซื้อผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นจะช่วยลดการเกิดก๊าซได้ ดังนั้นเราสามารถเริ่มต้นในการซื้อของท้องถิ่นจากในเมืองที่เราอยู่ หรือผลิตภัณฑ์ในประเทศ เพราะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศ (กรณีประเทศแคนาดา) ส่วนมากนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแถมยังช่วยในเรื่องเศรษฐกิจในท้องถิ่นด้วย

10. ทดแทนในสิ่งที่เราไม่สามารถประหยัดได้ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดในเบื้องต้นนี้เป็นการช่วยลดหรือหยุดพฤติกรรมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยตรงแต่บางสิ่งบางอย่างนั้นเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การชดเชยพลังงานสิ่งแวดล้อมนั้นอาจทำได้โดยการซื้อหรืออุดหนุน Carbon Credits จากองค์กรที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการพลังงานทดแทน หรือโครงการปลูกต้นไม้ทดแทนซึ่งองค์กรจะนำเงินที่เราลงทุนส่วนนี้ไปใช้จ่ายในโครงการต่างๆ แต่การทดแทนพลังงานนี้เราไม่ควรจะนำมาเป็นการแก้ปัญหาโดยหลัก เพราะสิ่งที่สูญเสียไปเหล่านี้และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากประชากรโลกนั้นไม่สามารถนำมาหักลบกับพลังงานทดแทนได้เลย

สคร.แวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก ภูมิอากาศ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ