๑. สถานการณ์ส่งออก
ในช่วง ๒ เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๔ ไทยส่งออกสินค้ามายังอิตาลีทั้งสิ้น ๓๒๖.๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๓๑๔.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ ๓.๙๐ โดยมีสินค้าส่งออก ๕ อันดับแรก ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ๔๙.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๕.๘๙%) ยางพารา ๓๖.๗ ล้าน-เหรียญสหรัฐฯ (๘๕.๕๕%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ๒๘.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (-๒๙.๔๔%) ปลาหมึกสด แช่เย็นแช่แข็ง ๑๗.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (๒๖.๐๕%) และเหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ๑๓.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ (๖๔.๙๘%)
๒. การวิเคราะห์สถานการณ์โดยรวม
การส่งออกมาอิตาลีในช่วง ๒ เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๔ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๙๐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน วิเคราะห์ได้ดังนี้
๒.๑ เป็นการเปรียบเทียบ กับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีได้ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว ประกอบกับเป็นช่วงที่รัฐบาลอิตาลีได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มความต้องการบริโภคภายในประเทศให้มากขึ้น
๒.๒ อย่างไรก็ดี สภาวะเศรษฐกิจการค้าโดยรวมยังมีความไม่แน่นอน อันเนื่องมาจากปัญหาการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานหนุ่มสาวที่มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ๒๙.๔% ) การลดเงินเดือนที่ทำให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลงโดยสมาพันธ์ผู้บริโภค (confcommercio) ได้รายงานผลสำรวจว่าในปี ๒๕๕๓ อำนาจซื้อของครอบครัวอิตาเลี่ยนได้ลดลง ๕๗๐ ยูโร เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๐ นอกจากนี้ศูนย์วิจัยด้านการลงทุนภาคสังคมแห่งชาติ (National Study Center on Social Investments - CENSIS) ก็ได้รายงานว่าสัดส่วนของการไม่สามารถจับจ่ายใช้สอยเพื่อบริโภคของครอบครัวอิตาเลี่ยนต่อการซื้อทั้งหมดได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี ๒๕๑๓ ที่เท่ากับ ๑๘.๙% เป็น ๓๐% ในปี ๒๕๕๓ (พิจารณาจากสินค้าที่จำเป็นหลักๆ ๓ รายการคือ บ้านที่อยู่อาศัย การคมนาคม และสุขภาพ
๒.๓ นอกจากนี้ยังมีปัญหาความกังวลของประชาชนที่มีต่อภาวะเงินเฟ์อที่เพิ่มสูงขึ้น (เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ อัตราเงินเฟ์อเพิ่มขึ้น +๒.๔% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ +๐.๓% เมื่อเทียบกับมกราคม ๒๕๕๔) อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันและราคาต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในกลุ่มประเทศอาฟริกาเหนือทำให้ประชาชนอิตาลีมีการออมมากขึ้น
๒.๔ จากการรายงานของสมาพันธ์อุตสาหกรรมแห่งอิตาลี (COFINDUSTRIA) แจ้งว่าต้นทุนวัตถุดิบในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เพิ่มขึ้นถึง +๓๙% สูงสุดนับแต่ ๒ ปีที่ผ่านมาและเพิ่มขึ้น+๔.๒% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ๒๕๕๔ โดยมีคำสั่งซื้อและการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ เพิ่มสูงขึ้น +๒% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ และเพิ่มขึ้น +๔.๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยสินค้าหลักๆที่มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นได้แก่ เหล็กและเครื่องจักร ในขณะที่สินค้าที่มีคำสั่งซื้อลดลงได้แก่ เครื่องมือ/อุปกรณ์ไฟฟ์าและคอมพิวเตอร์
๒.๕ ISTAT ได้รายงานการค้าของอิตาลีกับประเทศนอกสหภาพยุโรป ในช่วง ๒ เดือน (มกราคมกุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๔ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
มูลค่า: ล้านยูโร
กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ % เปลี่ยนแปลง มกราคม-กุมภาพันธ์ %เปลี่ยนแปลง(เทียบ (เทียบกับก.พ. ๒๕๕๔ กับม.ค.-ก.พ. ๒๕๕๓)
๒๕๕๓)
๑. การส่งออก ๑๒,๔๕๐ ๒๑.๒% ๒๓,๒๗๕ ๒๗.๓% ๒ .การนำเข้า ๑๕,๑๙๕ ๒๕.๖% ๓๑,๗๘๗ ๓๕.๕% ๓ .ดุลการค้า -๒,๗๔๕ -๘,๕๑๓
สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สินค้าขั้นกลาง ประเภทชิ้นส่วน,ส่วนประกอบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอิตาลีนำเข้ามาเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกต่อ (๖๘% ของการนำเข้าทั้งหมด) พลังงาน (๓๐% ของการนำเข้าทั้งหมด) และสินค้าอุปโภคบริโภค (๑๘.๖% ของการนำเข้าทั้งหมด)
๒.๖ ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก EUROSTAT (มกราคม-ธันวาคม ๒๕๕๓) ปรากฎว่าอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้น ๑๖.๗๓% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับแรก ใด้แก่ เยอรมัน (สัดส่วน ๑๕.๙๔%)ฝรั่งเศส (๘.๓๑%) จีน (๗.๘๑%) เนเธอร์แลนด์ (๕.๓๓%) และสเปน (๔.๔๗%)
ประเทศที่นำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ อิหร่าน (+๑๒๑.๓๘%) คาซัคสถาน (+๖๘.๒๒%)ยูเครน (+๙๐.๑๖%) และจีน (+๔๐.๘๐%)
ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย ได้แก่ ญี่ปุ่น (อันดับที่ ๒๐ มูลค่านำเข้า ๕,๖๖๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯอินเดีย (อันดับที่ ๒๑ มูลค่า ๕,๐๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เกาหลีใต้ (อันดับที่ ๒๘ มูลค่า ๓,๙๔๔ ล้านเหรียญสหรัฐฯ) อินโดนีเซีย (อันดับที่ ๓๕ มูลค่า ๒,๗๒๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ) และไต้หวัน (อันดับที่ ๓๖ มูลค่า ๒,๖๘๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยไทยอยู่ในอันดับที่ ๔๘ มูลค่า ๑,๗๐๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ
๒.๗ ISTAT ได้คาดการณ์การค้าระหว่างอิตาลีและประเทศนอกสหภาพยุโรปในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ว่าอิตาลีจะนำเข้าเพิ่มขึ้น +๔๖.๒% (ร้อยละ ๗๕ เป็นการนำเข้าพลังงาน) และส่งออกเพิ่มขึ้น +๓๔.๙% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทำให้อิตาลีขาดดุลการค้า ๕.๘ พันล้านยูโร
๓. ทั้งนี้ วิเคราะห์แยกรายสินค้าที่มีการส่งออกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ได้ดังนี้
๓.๑ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง ๒ เดือน (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๔ มีมูลค่า ๒๘.๑ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๓๙.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๒๙.๔๔ เนื่องจาก
(๑) ห้างสรรพสินค้าและเชนสโตร์ต่างๆ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายโดยลดราคา (pre-season sales) ถึง ๓๐% ซึ่งโดยปกติจะอยู่ระหว่าง ตค.-มกราคม สำหรับผู้บริโภคไปก่อนหน้าแล้ว
(๒) ผู้ประกอบการแจ้งว่าในปี ๒๕๕๓ ตลาดของเครื่องปรับอากาศค่อนข้างไม่สดใส โดยมียอดจำหน่ายลดลงถึง ๔๐% ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องลดมาร์จินลงถึง ๑๐ - ๑๕% เพื่อให้ขายสินค้าได้
(๓) ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศจากจีนรายใหญ่ ๒ ราย ได้เข้ามาจัดตั้งสำนักงานตัวแทนเพื่อนำเข้าและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศในแบรนด์ของตนเองในอิตาลีแล้ว คือ บริษัท MIDEA ITALIA ในเมืองมิลาน และบริษัท HISENSE ITALIA ในเมืองตูริน โดยสินค้าของทั้งสองบริษัทจะขายในราคาที่ต่ำกว่าแบรนด์อื่นๆ เช่น Ariston, De Longhi, Mitsubishi และ Daikin ถึงร้อยละ ๕๐ (ราคาเครื่องปรับอากาศขนาด ๙,๐๐๐ และ ๑๒,๐๐๐ บีทียู สำหรับ แบรนด์ระดับกลางของอิตาลีดังกล่าวราคาจะอยู่ประมาณ ๒๒๙ ยูโร และ ๒๔๙ ยูโร ในขณะที่ราคาสินค้าจากจีนจะอยู่ที่ ๑๔๙ ยูโร และ ๑๖๙ ยูโร ตามลำดับ)
(๔) คาดว่าในช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปซึ่งเป็นระยะเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิต่อเนื่องฤดูร้อน(กรกฎาคม กันยายน) ความต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศในอิตาลีจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากการที่ผู้ประกอบการโดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าและเชนสโตร์ต่างๆ จะเริ่มจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสำหรับช่วงฤดูร้อน
(๕) ผู้ประกอบการอิตาลีได้ให้ข้อสังเกตว่า สินค้าเครื่องปรับอากาศจากไทยยังคงมีศักยภาพและสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้อีก (ขณะนี้มีสัดส่วนตลาด ๑๒%) โดยจะต้องผลิตและส่งออกสินค้าที่มีคุณภาพดีและต้องมีการรับประกันการหลังการขาย และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในด้านการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการประหยัดพลังงานและมีระบบความปลอดภัยที่ดี
(๖) สินค้าที่มีแนวโน้มที่ดีในตลาดอิตาลี ได้แก่ เครื่องปรับอากาศชนิดที่มี invertor เพื่อปรับอุณหภูมิให้คงที่และเครื่องปรับอากาศที่ใช้ได้ทั้งระบบความเย็นและความร้อน (Multi-funtion) ซึ่งใช้สะดวกและประหยัดกว่าเครื่องปรับอากาศแบบปกติ
(๗) จากข้อมูลการนำเข้าเครื่องปรับอากาศ (พิกัด ๘๔๑๕) ของEUROSTAT ในปี ๒๕๕๓ ปรากฏว่าไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ ๓ โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับแรก ได้แก่ จีน (สัดส่วน ๒๖.๗๓%) เชครีพับลิค (๑๘.๐๐%) ไทย (๑๒.๒๘%) ญี่ปุ่น (๗.๔๕%) และเบลเยี่ยม (๖.๙๕%)
ประเทศคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย (๒.๘๑%) เกาหลีใต้ (๒.๔๐%) และไต้หวัน (๐.๑๔%)
๓.๒ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง ๒ เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๔ มีมูลค่า ๑๓.๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๒๐.๘ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๓๗.๔๖ เนื่องจาก
(๑) ผู้นำเข้าได้มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้าแล้ว โดยในเดือน มกราคม ๒๕๕๔ ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นถึง ๕๖.๓๖% เนื่องจากผู้นำเข้าคาดว่า รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือทางการเงินให้ครอบคลุมถึงรถยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมและการเกษตรด้วย
(๒) ในปี ๒๕๕๔ รัฐบาลอิตาลีไม่ใด้ออกมาตรการช่วยเหลือทางการเงินตามที่ภาคเอกชนร้องขอ ทำให้ตลาดรถยนต์ในช่วงต้นปี ๒๕๕๔ ค่อนข้างหดตัว โดยข้อมูลจากการสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอิตาลี (Italian Association Automotive Industries-ANFIA) รายงานว่าในช่วง มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ มียอดรถยนต์จดทะเบียนจำนวน ๓๒๕,๒๗๙ คัน ลดลง- ๒๐.๔% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลอิตาลีได้ออกมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน) ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดค่อนข้างหดตัวอย่างมาก (การซื้อของผู้บริโภครายบุคคลลดลง -๓๓.๒% ส่วนการซื้อของผู้ประกอบบริษัทเพิ่มขึ้น ๒๑.๒%)
(๓) ปัญหาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อันเป็นผลจากปัญหาความไม่สงบในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนและประเทศในแถบอาฟริกาเหนือซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันที่อิตาลีนำเข้ารายใหญ่ ทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น ๐.๘% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและเพิ่มขึ้น+๑๑.๘% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น+๑.๑% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น+๑๘% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน
(๔) อย่างไรก็ดี ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มีเสถียรภาพและอำนาจซื้อที่ลดลงของประชาชน ทำให้ตลาดรถยนต์มือสอง (second hand car) กลับมีแนวโน้มที่ดี โดยในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ มียอดการจดทะเบียนรถมือสองจำนวน ๗๗๓,๒๒๕ คัน เพิ่มขึ้น ๑๑.๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
(๕) สินค้าหลักที่อิตาลีนำเข้าจากไทย (๔๗% ของการนำเข้ารถยนต์ทั้งหมดจากไทย) เป็นรถบรรทุก(เครื่องดีเซลและมีขนาดเครื่องยนต์เท่ากับหรือน้อยกว่า ๕ เมตริกตัน) และ ๒๔.๕% เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (เครื่องดีเซลและขนาดเครื่องยนต์มากกว่า ๑,๕๐๐ ซีซี) และ ๒๔% เป็นชิ้นส่วนมอเตอร์ไซค์
ส่วนการนำเข้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ ได้แก่ จีน ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ทั้งรถบรรทุกรถนั่งส่วนบุคคล และรถมอเตอร์ไซค์ ส่วนอินเดียเป็นการนำเข้ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลและชิ้นส่วน (FIAT เป็น joint venture กับ TATA) ส่วนการนำเข้าจากเกาหลีใต้เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (แบรนด์ฮุนได) และการนำเข้าจากใต้หวันเป็นรถมอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วน
(๖) ตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลในอิตาลีในช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ปรากฎว่าเป็นรถยนต์ดีเซล ๕๕% รถยนต์ที่ไร้เบนซิน ๔๐% และรถที่ใช้ไร้พลังงานทางเลือกอื่นๆ ๕% ในส่วนของขนาดรถยนต์ ปรากฎว่ารถที่มีขนาดกลางและขนาดเล็กครองตลาด ๘๓.๔% และรถที่มีขนาดใหญ่ ๑๖.๒๘% โดยเป็นรถยนต์ทีมีแบรนด์ต่างประเทศเพียง ๒๙.๑%
ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติ (National Automotive Industries AssociationANFIA) ได้คาดการณ์ว่าในปี ๒๕๕๔ ตลาดรถยนต์ยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัวลง โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจะลดลง -๕.๖%และรถบรรทุกที่ใช้ในการพานิชย์จะลดลง -๒.๗% เนื่องจากรัฐบาลไม่ได้มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจสำหรับกลุ่มนี้
(๗) มีรายงานข่าวว่าในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๕๔ สมาพันธ์อุสาหกรรมแห่งอิตาลี (CONFINDUSTRIA) และ ICE ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจอิตาลีจะจัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปเยือนอินเดีย เพื่อขยายความร่วมมือทั้งด้านการค้าและการลงทุนของอุตสาหกรรมยานยนต์อิตาลีในอินเดียต่อไป
(๘) ข้อมูลการนำเข้าล่าสุดจาก EUROSTAT (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๓ ไทยครองตลาดอันดับที่ ๒๑ (สัดส่วน ๐.๑๓%) โดยประเทศที่อิตาลีนำเข้าได้แก่ เยอรมัน (สัดส่วน ๓๙.๔๕%) ฝรั่งเศส (๑๑.๖๔%) สเปน (๑๑.๒๕%) โปแลนด์ (๘.๙๘%) และสหราชอาณาจักร (๕.๖๒%)
ประเทศคู่แข่งได้แก่ ญี่ปุ่น (สัดส่วน ๓.๖๑%) จีน (๐.๔๗%) อินเดีย (๑.๐๕%) เกาหลีใต้ (๑.๔๕%) และไต้หวัน (๐.๐๓%)
๓.๓ อัญมณีและเครื่องประดับ
การส่งออกช่วง ๒ เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๔ มีมูลค่า ๔๙.๒ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๕๒.๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๕.๘๙ และหากพิจารณาเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ไทยส่งออกมาอิตาลีลดลง-๘๕.๔๗% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเนื่องจาก
(๑) เป็นสินค้าที่มีราคาแพงและถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งผู้บริโภคอิตาลีนิยมซื้อในโอกาสพิเศษและเทศกาล เช่น คริสต์มาส วันวาเลนไทน์ และการฉลองทางศาสนาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ โดยเห็นได้จากการส่งออกของไทยในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ที่สูงขึ้นถึง ๗๒๗.๑๔% ในขณะที่การส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ลดลง -๘๕.๔๗%
(๒) ภาควัตถุดิบได้แก่ทองคำและเงินเพิ่มสูงขึ้น(ออนซ์ละ ๑,๔๓๗ เหรียญสหรัฐฯ และ๓๖.๖เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ) ส่งผลให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อลง
(๓) การสอบถามผู้ประกอบการได้รับแจ้งว่ายอดการจำหน่ายในช่วงต้นปี ๒๕๕๔ ลดลงราว ๑๑-๓๐% โดยลดลงมากในเครื่องประดับเงินและทอง ในขณะที่เครื่องประดับที่ไม่มีแบรนด์ลดลงไม่มาก และเครื่องประดับที่มีแบรนด์ยอดจำหน่ายคงที่ นอกจากนี้ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในอิตาลีในปัจจุบันค่อนข้างลำบาก เนื่องจากมีร้านจำหน่ายที่เรียกว่า "๑ buy Gold" ที่ให้ผู้บริโภคสามารถนำเครื่องประดับทองเก่าไปขายแลกเป็นเงินสด ได้กระจายอยู่ทั่วไปในอิตาลี ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ
(๔) การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของอิตาลีประมาณร้อยละ ๗๕ เป็นการนำเข้าประเภทกึ่งสำเร็จรูปและกระจุกอยู่เมืองหลัก ๔ เมืองได้แก่ มิลาน(๓๐%) อะเล็ซซานเดรีย(๓๐%) โรม(๘%) และวิเชนซ่า(๘%) ประเทศที่อิตาลีนำเข้าสำคัญคือ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะสวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยมและฝรั่งเศส
(๕) ข้อมูลสถิติการนำเข้าจาก EUROSTAT ในปี ๒๕๕๓ (พิกัด ๗๑) ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ ๑๔ (สัดส่วนนำเข้า ๑.๐๘%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับแรกได้แก่ สวิสเซอร์แลนด์ (สัดส่วนนำเข้า ๒๖.๓๘%) แอฟริกาใต้ (๑๐.๖๒%) ฝรั่งเศส (๑๐.๓๑%) สหรัฐอเมริกา (๙.๓๔%) และเยอรมัน (๗.๑๐%)
ประเทศคู่แข็งสำคัญ ได้แก่ จีน (อันดับที่ ๘ สัดส่วนนำเข้า ๒.๗๗%) อินเดีย (๑.๐๘%) ฮ่องกง (๐.๙๖%)
ประเทศอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ สเปน (+๓๕๗.๕๔%) โคลัมเบีย (+๓๒๘.๐๘%) มอลต้า (+๓๗๗.๐๔%) รัสเซีย (+๑๘๒.๐๑%) ฮังการี (๑๕๕.๐๙%) เช็ครีพับลิค (+๑๐๘.๙๘%) และโรมาเนีย (+๑๐๔.๐๗%)
๓.๔ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
การส่งออกในช่วง ๒ เดือนแรก (มกราคม - กุมภาพันธ์) ของปี ๒๕๕๔ มีมูลค่า ๕.๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งส่งออกมูลค่า ๘.๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ -๓๒.๑๑ แต่หากพิจารณาเฉพาะเดือน ก.พ. ๒๕๕๔ ไทยส่งออกมาอิตาลีเพิ่มขึ้น ๑๐๕.๘๐% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
๑. การส่งออกในช่วงก่อนหน้าโดยเฉพาะในเดือน มกราคม ๒๕๕๔ ที่ส่งออกลดลงถึง ๔๑.๑๕% ซึ่งเป็นผลจากยอดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ลดลงทั้งในด้านปริมาณ (-๗.๖%) และมูลค่า (-๒.๑%) เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึง ๑๐๕.๘๐% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม ๒๕๕๓ อันเนื่องมาจากความจำเป็นของผู้ประกอบการที่จะซื้อสินค้าเพื่อเก็บสต็อกหลังจากการลดลงของคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่องถึง ๒ เดือน
๒. ภาวะการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ ลดลง -๑๑.๑% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
๓. คนอิตาลีนิยมซื้อสินค้าเทคโนโลยีเพื่อให้เป็นของขวัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลคริสต์มาสซึ่งได้ผ่านพ้นมาแล้ว ประกอบกับสินค้าที่คงทนและมีอายุการใช้งานนาน ผู้บริโภคทั้งฝ่ายบุคคลและบริษัทผู้ประกอบการจะไม่ซื้อสินค้าบ่อยครั้ง แต่จะเปลี่ยนใหม่เมื่อเครื่องเสียหายใช้งานไม่ได้มากกว่า
๔. ผู้บริโภคอิตาเลียนหันไปซื้อสินค้าเทคโนโลยีอื่นแทน เช่น สมาร์ทโฟน และมัลติมิเดียอื่นๆ (I-PAD) ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายประเภทในเครื่องเดียวและสะดวกในการพกพา โดยผลการสำรวจของสถาบันวิจัย ACCENTURE คาดว่า ในปี ๒๕๕๔ สัดส่วนตลาดของผู้ซื้อคอมพิวเตอร์จะลดลงจาก ๒๘% ในปี ๒๕๕๓ เหลือเพียง ๑๗% ในขณะที่สัดส่วนตลาดของผู้ซื้อมัลติมีเดียอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นจาก ๓% ในปี ๒๕๕๓ เป็น ๘% ในปี ๒๕๕๔
๕. รายงานล่าสุดจากสมาคมผู้ประกอบการสินค้าเทคโนโลยีแห่งอิตาลี (Italian Association of IT companies) ปรากฎว่าในปี ๒๕๕๓ ตลาดหดตัวลง -๑.๔% และคาดว่าในปี ๒๕๕๔ ตลาดจะขยายตัวเพียงเล็กน้อยคือ +๑.๓% โดยยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ (ทั้งบุคคลและบริษัท) ในปี ๒๕๕๓ เพิ่มขึ้น +๑๕% ในขณะที่ยอดจำหน่าย มัลติมิเดียอื่นๆ เพิ่มขึ้น +๕๐%
๖. สินค้าที่ไทยส่งออกมาอิตาลีส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะหน่วยเก็บความจำ (Storage unit) โดยราคานำเข้า (CIF) จากไทยมีราคาสูงกว่าสินค้านำเข้าจากประเทศคู่แข่งอื่นๆ โดยราคานำเข้าเฉลี่ยต่อหน่วย เท่ากับ ๖๐.๕๐ เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ราคานำเข้าจากจีน และไต้หวันเท่ากับ ๑๓.๕ เหรียญสหรัฐฯ และ ๒๑ เหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ส่วนราคานำเข้าจากฮ่องกงเท่ากับ ๙ เหรียญสหรัฐฯ และเกาหลีใต้เท่ากับ ๓๗ เหรียญสหรัฐฯ
๗. ข้อมูลสถิติการนำเข้าคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (พิกัด ๘๔๗๑) จาก EUROSTAT ในปี ๒๕๕๓ ไทยครองตลาดเป็นอันดับที่ ๒๗ (สัดส่วนนำเข้า ๐.๐๘%) โดยมีประเทศที่อิตาลีนำเข้า ๕ อันดับแรกได้แก่ เนเธอร์แลนด์ (สัดส่วน ๓๓.๑๐%) จีน (สัดส่วน ๒๘.๐๘%) เยอรมัน (๙.๘๔%) เช็ครีพับลิก (๖.๕๓%) และไอร์แลนด์ (๓.๙๖%)
ประเทศที่เป็นคู่แข็งสำคัญของไทยได้แก่ ไต้หวัน (สัดส่วนนำเข้า ๑.๐๑%) ญี่ปุ่น (๐.๕๖%) มาเลเซีย (๐.๑๗%) สิงคโปร์ (๐.๑๖%) เกาหลีใต้ (๐.๑๔%) ฮ่องกง (๐.๐๗%) อินเดีย (๐.๐๗%) และกรีซ (๐.๑๙%) ซึ่งอิตาลีนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง ๔,๕๑๑.๘๙%
๔ ข้อคิดเห็น
๔.๑ คาดว่าเศรษฐกิจของอิตาลีในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๔ ยังคงชะลอตัว โดย ISATAT ได้รายงานผลการสำรวจในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ ว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคลดลง ในทุกๆด้าน ทั้งในด้านภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ในด้านสถานะรายบุคคล ด้านภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งความกังวลอย่างมากต่อการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ
๔.๒ นอกจากนี้ CONFCOMMERCIO ได้เปิดเผยว่า เศรษฐกิจอิตาลีจะขึ้นอยู่กับความต้องการจากต่างประเทศ ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศค่อนข้างอ่อนแอ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศคิดเป็นร้อยละ ๖๐ ของ GDP ซึ่ง ๗๙% มาจากการผลิต/บริโภคภายในประเทศ ส่วนอีก ๒๑% มาจากสินค้านำเข้า และคาดว่า GDP ของอิตาลี ในปี ๒๕๕๔ จะขยายตัวเพียง ๑% และช่วงปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖ จะขยายตัว ๑.๒%
๔.๓ มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการคลังและเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลได้ออกมาตรการเมื่อกลางเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ วงเงิน ๕.๗ พันล้านยูโร (สำหรับปี ๒๕๕๔) ได้แก่ การช่วยเหลือค่าประกันสังคมให้แก่นายจ้างเพื่อมิให้เลิกจ้าง การขยายเวลาไม่เก็บภาษีเงินโบนัส แต่พบว่ายังไม่ได้เริ่มมีส่งผลในทางบวกแต่อย่างใด
๔.๔ สินค้าที่คาดว่ายังแนวโน้มที่ดีในตลาดอิตาลี ได้แก่รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องนุ่งหุ่ม และอาหารสัตว์เลี้ยง
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม
ที่มา: http://www.depthai.go.th