ด้วย หน่วยงาน CFIA (Canadian Food Inspection Agency) ได้ประกาศเมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ เรื่องมาตรการควบคุมการนำเข้าสินค้าอาหาร จากพื้นที่เสี่ยงของการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ เมือง Fukushima, Gunma, Ibraki และ Tochigi โดยสินค้าที่มีการควบคุมได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม (Milk) ผลไม้ (Fruits) และ ผัก (Vegetables) ซึ่งการนำเข้าสินค้าจากแหล่งดังกล่าวจะต้องปลอดจากสารกัมมันตภาพรังสี และจะต้องมีใบรับรองความปลอดภัยของสินค้า ตามมาตรฐาน Canadian Nuclear Safety Commission
1. ภาวะการนำเข้าสินค้าของแคนาดา
ในปี ๒๕๕๓ แคนาดามีการนำเข้าสินค้า นม (HS๐๔) ผัก (HS๐๗) และผลไม้ (HS๐๘) จากทั่วโลกมูลค่า ๖,๔๓๕.๓๔ ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๑๒.๖๙% โดยนำเข้าหลักจาก สหรัฐฯ มูลค่า ๓๕๑๑.๗๕ (สัดส่วน ๕๔.๕๗%) เม็กซิโก ๘๗๕.๔๘ ล้านเหรียญฯ (สัดส่วน ๑๓.๖๐%) ชิลี ๓๔๕.๐๓ ล้านเหรียญฯ (สัดส่วน ๕.๓๖%) โดยนำเข้าจากญี่ปุ่นเป็นอันดับที่ ๕๒ มูลค่า ๒.๓๑ ล้านเหรียญฯ สัดส่วน ๐.๐๔% ในขณะที่นำเข้าจากไทยเป็นอันดับ ๒๔ มูลค่า ๒๒.๙๔ ล้านเหรียญฯ สัดส่วน ๐.๓๖%
อันดับ ประเทศ มูลค่านำเข้า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) % สัดส่วน % อัตราขยายตัว ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ -๕๑/๕๒- -๕๒/๕๓- โลก ๕,๙๑๑.๙ ๕,๗๑๐.๕ ๖,๔๓๕.๓ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ -๓.๔๑% ๑๒.๖๙% ๑ สหรัฐฯ ๓,๓๔๑.๙ ๓,๒๓๖.๙ ๓,๕๑๑.๘ ๕๖.๕๓ ๕๖.๖๘ ๕๔.๕๗ -๓.๑๔% ๘.๔๙% ๒ เม็กซิโก ๖๔๒.๐ ๖๕๓.๐ ๘๗๕.๕ ๑๐.๘๖ ๑๑.๔๓ ๑๓.๖ ๑.๗๐% ๓๔.๐๘% ๓ ชิลี ๓๑๖.๖ ๒๘๐.๔ ๓๔๕.๐ ๕.๓๖ ๔.๙๑ ๕.๓๖ -๑๑.๔๔% ๒๓.๐๗% ๔ คอสตาริก้า ๑๗๙.๘ ๑๔๒.๑ ๑๗๖.๙ ๓.๐๔ ๒.๔๙ ๒.๗๕ -๒๐.๙๗% ๒๔.๔๖% ๕ จีน ๑๕๑.๒ ๑๕๒.๙ ๑๖๘.๙ ๒.๕๖ ๒.๖๘ ๒.๖๓ ๑.๑๑% ๑๐.๕๐% ๒๔ ไทย ๒๓.๒ ๑๙.๙ ๒๒.๙ ๐.๓๙ ๐.๓๕ ๐.๓๖ -๑๔.๔๖% ๑๕.๕๕% ๕๒ ญี่ปุ่น ๓.๕ ๒.๗ ๒.๓ ๐.๐๖ ๐.๐๕ ๐.๐๔ -๒๒.๗๔% -๑๔.๖๗% แหล่งข้อมูล: Statistics Canada
สำหรับในปี ๒๕๕๔ (มค) แคนาดามีการนำเข้าจากทั่วโลก มูลค่า ๖๐๗.๓๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ๑๕.๓๖% โดยนำเข้าจากญี่ปุ่น ๐.๐๓ ล้านเหรียญฯ ลดลง -๓๗.๓๒% และนำเข้าจากไทย ในช่วงเดียวกันมี มูลค่า ๑.๘๑ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น ๑๘.๑๘% (ดังเอกสารแนบ ๑)
มูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่น (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
มูลค่านำเข้า % สัดส่วน % อัตราขยายตัว HS กลุ่มสินค้า ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ -๕๑/๕๒- -๕๒/๕๓- ๐๘ ผลไม้สด ๓.๐๒ ๒.๐๔ ๑.๗๒ ๘๕.๙๘ ๗๕.๑ ๗๔.๔๒ -๓๒.๕๒% -๑๕.๔๔% ๐๗ ผักสด ๐.๔๙ ๐.๖๘ ๐.๕๙ ๑๔ ๒๔.๘๙ ๒๕.๕๗ ๓๗.๔๒% -๑๒.๓๔% ๐๔ ผลิตภัณฑ์นม ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๒ ๐ ๐.๐๑ ๘๕.๒๘% ๑๓๖.๗๙% รวม ๓.๕๒ ๒.๗๒ ๒.๓๒ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ -๒๒.๗๔% -๑๔.๖๗% แหล่งข้อมูล: Statistics Canada
มูลค่าการนำเข้าจากไทย(ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
มูลค่านำเข้า % สัดส่วน % อัตราขยายตัว HS กลุ่มสินค้า ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๑ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ -๕๑/๕๒- -๕๒/๕๓- ๐๘ ผลไม้สด ๑๕.๙๒ ๑๔.๐๔ ๑๕.๑๔ ๖๘.๖ ๗๐.๗๑ ๖๖ -๑๑.๘๐% ๗.๘๒% ๐๗ ผักสด ๖.๗๘ ๕.๓๙ ๗.๓๓ ๒๙.๒ ๒๗.๑๒ ๓๑.๙ -๒๐.๕๖% ๓๖.๐๐% ๐๔ ผลิตภัณฑ์นม ๐.๕๑ ๐.๔๓ ๐.๔๘ ๒.๒๒ ๒.๑๗ ๒.๑ -๑๖.๓๐% ๑๑.๙๑% รวม ๒๓.๒๒ ๑๙.๘๖ ๒๒.๙๕ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ -๑๔.๔๖% ๑๕.๕๕% แหล่งข้อมูล: Statistics Canada 2. ผลกระทบต่อการนำเข้าแคนาดา
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต มีความเห็นว่าการควบคุมการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่นครั้งนี้ ไม่น่าจะมีผลต่อการส่งออกของสินค้าไทยมายังแคนาดาเนื่องจาก
- สินค้าของญี่ปุ่นครองสัดส่วนตลาดในแคนาดาเพียง ๐.๐๔% และในช่วง ๓ ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นส่งออกมายังแคนาดาลดลงโดยในปี ๒๕๕๒ ลดลง ๒๒.๗๔% ในปี ๕๓ ลดลง ๑๔.๖๗% และในเดือน มค ๕๔ ลดลง ๓๗.๑๒%
- ปัจจุบัน สินค้าอาหารที่ญี่ปุ่นส่งออกมายังแคนาดา ส่วนใหญ่จะเป็น ผัก ผลไม้ ที่เป็นสายพันธุ์ปลูกได้เฉพาะในประเทศเมืองหนาว อาทิ สาลี่ ลูกพลับ ฯลฯ ในขณะที่สินค้าส่งออกของไทย เป็นผลไม้เมืองร้อน ได้แก่ มังคุด ทุเรียน เงาะ มะม่วง ฯลฯ
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต
ที่มา: http://www.depthai.go.th