ความเป็นมา
ห้างวอลมาร์ทเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกของสหรัฐฯ ที่ให้ความสำคัญต่อด้านความยั่งยืน (Sustainability) ในระดับสูง ทั้งในการการบริหารจัดการ (Corporate Management) ห่วงโซ่อุปทานสินค้าและโลจิสติกส์ (Logistics & Supply Chain) และ การเสาะแสวงหาสินค้า (Product Sourcing) เพื่อแสดงให้เห็นว่าห้างวอลมาร์ทมีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งนโยบายดังกล่าวนี้ ส่งผลกระทบต่อคู่ค้า ในด้านการจัดซื้อสินค้าของห้างวอลมาร์ททั่วโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม
ปัจจุบัน ห้างวอลมาร์ทเสาะแสวงหาสินค้า (Product Sourcing) โดยเน้นด้านความยั่งยืน (Sustainability) ต่อสินค้า 5 กลุ่ม คือ อาหารทะเล เครื่องประดับ สินค้าเกษตรกรรม สิ่งทอ และ กระดาษและผลิตภัณฑ์ไม้
ความยั่งยืนการซื้อสินค้าอาหารทะเล
ห้างวอลมาร์ทประกาศใช้นโยบายความยั่งยืน (Seafood Sustainability) ของสินค้าอาหารทะเลนับตั้งแต่ปี 2548 โดยเริ่มจากการจัดซื้อสินค้าปลาเพื่อจำหน่ายในตลาดภูมิภาคอเมริกาเหนือ โดยเน้นเฉพาะปลาที่จับในทะลหลวง (Wild-caught) เท่านั้น ไม่รวมปลาเลี้ยงจากฟาร์ม (Farm Raised) โดยซื้อสินค้าปลาจากผู้ขายที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากความยั่งยืนจากองค์กร Marine Stewardship
Council (MSC) และต่อมาได้ร่วมมือกับ Global Aquaculture Alliance (GAA) และ Aquaculture Certification Council (ACC) ในการรับรองสินค้าการซื้อสินค้ากุ้ง การดำเนินการดังกล่าว เป็นผลให้สินค้าอาหารทะเลที่ผ่านรับรองด้านความยั่งยืนมีสัดส่วนการจำหน่ายมากขึ้นเป็นลำดับ หรือคิดเป็นประมาณร้อย 49 ของปริมาณอาหารทะเลที่จำหน่ายของห้างฯ ในปี 2552
ห้างวอลมาร์ทและห้างแซมคลับ (ร้านในเครือ) ได้ประกาศการปรับปรุงนโยบายความยั่งยืนการซื้อสินค้าอาหารทะเล (Sustainable Seafood Sourcing) ใหม่ และมีสาระสรุปได้ ดังนี้
1.กำหนดให้การซื้ออาหารทะเลจากฟาร์มเลี้ยงที่ได้รับการรับรองความยั่งยืนจาก ฃองค์กรรับรองมาตรฐานความยั่งยืนอาหารทะเล ซึ่งตามนโยบายเดิมเน้นเฉพาะปลาในทะเลหลวงเท่านั้น
2.ให้เพิ่มประเภทอาหารทะเลที่ต้องได้รับการรับรองความยั่งยืนจากองค์กรรับรอง มาตรฐานความยั่งยืนอาหารทะเล ได้แก่ สินค้า Lobster, Crab และ อาหารทะเลชนิดอื่นๆ
3.มอบให้องค์กร Global Aquaculture Alliance (GAA) และ Marine Stewardship Council (MSC) เป็นผู้รับรอง (Certified) สินค้าอาหารทะเลที่จะนำมาจำหน่ายให้แก่ห้างวอลมาร์ท เพื่อให้สินค้าได้ตรงตามมาตรฐานที่ห้างวอลมาร์ทกำหนดไว้
4.ห้างวอลมาร์ทยอมรับการรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารทะเลที่เทียบเท่ากับ มาตรฐานของ FAO ในส่วนความรับผิดชอบการประมง (Responsible Fisheries)
5.ห้างวอลมาร์ทคาดว่าจะผลักดันให้นโยบายมีผลบังคับเต็มรูปแบบภายในเดือน มิถุนายน 2555 ซึ่งหมายถึงว่า สินค้าอาหารทะเลทุกชนิดที่จำหน่ายในห้างฯ ต้องผ่านการรับรองด้าน Sustainability มีเครื่องหมายขององค์กรที่รับรอง
ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ
1. ปัจจุบัน ผู้นำตลาดซูเปอร์มาร์เก็ตรายอื่นๆ ที่สำคัญของสหรัฐฯ เช่น Safeway, Kroger, Delhaize, Supervalu, Giant Eagle ได้ดำเนินการในด้าน Sustainable Seafood ไปแล้ว ซึ่งจะเป็นแนวโน้มและปัจจัยผลักดันให้ผู้ประกอบการอาหารทะเลในสหรัฐฯ ดำเนินการในด้านความยั่งยืน และจะส่งผลต่อผู้ผลิต/ส่งออกอาหารทะเลในต่างประเทศที่ส่งสินค้าอาหารทะเลไปสหรัฐฯ ต้องขอใบรับรองด้านความยั่งยืน
2. ปัจจุบัน ผู้ผลิต/ส่งออกอาหารทะเลหลายรายของไทยได้ดำเนินการขอใบรับรองด้านความยั่งยืนจากองค์กรรับรองมาตรฐานสากลแล้ว ภาครัฐ สมาคมสินค้า และ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรแนะนำหรือผลักดันให้ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่ส่งสินค้าอาหารทะเลไปยังสหรัฐฯ ซึ่งยังไม่ได้ดำเนินการในด้านความยั่งยืน
3. ผู้ผลิต/ส่งออกไทยที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวนโยบายความยั่งยืนของห้างวอลมาร์ท ได้จาก http://walmartstores.com/Sustainability/9173.aspx และข้อมูลการรับรองด้านความยั่งยืน สามารถติดต่อหน่วยงานการรับรองได้จาก Website ดังต่อไปนี้
- Marine Stewardship Council (MSC) www.msc.org
- Global Aquaculture Alliance (GAA) www.gaalliance.org
- Aquaculture Certification Council www.aquaculturecertification.org
อนึ่ง ห้างวอลมอร์ทเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกของสหรัฐฯ และของโลก มียอดจำหน่าย ประมาณ 419 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ มีร้านค้าทั่วโลกใน 15 ประเทศ จำนวน 8,400 สาขา และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Bentonville รัฐ Arkansas สหรัฐอเมริกา
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th