รายงานตลาดสินค้าของประดับตกแต่งบ้านในแคนาดา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 11, 2011 10:54 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. สถานการณ์ตลาด

สินค้าของประดับตกแต่งบ้านในแคนาดามีมูลค่าตลาดค้าปลีกประมาณ ๑๐ พันล้านเหรียญฯ และการนำเข้าในช่วง ๑๐ ปีผ่านมาขยายตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ ๖% ปี ๒๕๕๒ นำเข้า ๒,๕๑๖.๕๒ ลดลง -๑๔.๘๗% ปี ๒๕๕๓ นำเข้า ๒,๙๒๔.๓๗ ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น ๑๖.๒๑% แหล่งนำเข้าหลักมาจาก จีน (ปี ๕๓ มูลค่า ๑,๖๑๘.๔๖ ล้านเหรียญฯ สัดส่วน ๕๕.๓๔%) สหรัฐฯ (๗๗๗.๘๓ ล้านเหรียญฯ สัดส่วน ๒๖.๖๐% เม็กซิโก (๑๐๓.๑๐ ล้านเหรียญฯ สัดส่วน ๓.๕๓%) ไทยมูลค่า ๒๒.๒๕ ล้านเหรียญฯ สัดส่วน ๐.๗๖% เพิ่มขึ้น ๑.๗๗% อันดับที่ ๑๐ ในตลาดแคนาดา

สินค้าของประดับตกแต่งบ้านที่แคนาดานำเข้าจากทั่วโลก ที่สำคัญ ได้แก่ โคมไฟ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร/เครื่องครัวพลาสติก เครื่องแก้ว เครื่องครัวเหล็ก/เหล็กกล้า เครื่องครัวอลูมิเนียม อุปกรณ์ไฟฟ้าในห้องครัว ผลิตภัณฑ์เซรามิค อุปกรณ์มีด จานชาม Porcelain

สินค้าที่นำเข้าจากไทยเป็นหลักได้แก่ เครื่องครัวเหล็ก/เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เซรามิค เครื่องครัวอลูมิเนียม เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร/เครื่องครัวพลาสติก เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารที่ทำจากไม้ เครื่องแก้ว จานชาม Porcelain ไม้แกะสลัก โคมไฟ ดอกไม้ประดิษฐ์ ตามลำดับ

๒. ประเภทของสินค้าที่จำหน่ายในแคนาดา

สมาคม Canadian Gift and Tableware Association ได้จัดแบ่งประเภทสินค้าของประดับตกแต่งบ้านในแคนาดา ออกเป็น ๓ กลุ่มหลักได้แก่

๒.๑ สินค้ากลุ่ม Houseware (ของประดับตกแต่งบ้าน/เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร/เครื่องครัว) มีมูลค่าตลาด ๗ พันล้านเหรียญฯ (สัดส่วน ๗๐%)

๒.๒ สินค้ากลุ่ม Giftware (ของขวัญของชำร่วย) มีมูลค่าตลาด ๒.๕ พันล้านเหรียญฯ (๒๕%)

๒.๓ สินค้ากลุ่ม Handicraft (สินค้าหัตถกรรม) มีมูลค่าตลาด ๐.๕ พันล้านเหรียญฯ (๕%)

๒.๑ สินค้ากลุ่ม Houseware

สินค้ากลุ่ม Houseware ประกอบด้วย ของประดับตกแต่งบ้าน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องครัวเป็นกลุ่มสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยปีละ ๑.๕% มูลค่าตลาดปีละประมาณ ๗ พันล้านเหรียญฯ สรุปได้ดังนี้

  • สินค้าของประดับตกแต่งบ้าน ได้แก่ โคมไฟ กรอบรูป ของวางตกแต่ง อาทิ แจกัน ดอกไม้ประดิษฐ์ Wall Art ฯลฯ สินค้าที่ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายในแคนาดาจะมี ๓ ปัจจัยหลัก ได้แก่ การออกแบบดีไซน์สวยงาม (Good Design) มีประโยชน์การใช้สอย (Good Function) และราคาที่แข่งขันได้ (Competitive Price) สินค้าที่มีประโยชน์ใข้สอยได้แก่ สินค้าที่มี Value Added ใช้แบบอเนกประสงค์จัดเก็บได้ง่าย และใช้พื้นที่น้อย อาทิ Foldable Pet Chateau เก้าอี้นั่งที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเก้าอี้ได้
  • เทียนหอม (Scented Candle) ชาวแคนาดานิยมจุดใช้เทียนหอมภายในบ้าน ในห้องนอน ห้องรับแขก และห้องน้ำ โดยฤดู

กาลที่จำหน่ายสินค้าเทียนหอมได้ดี ได้แก่ ฤุดูหนาว และเทศกาลคริสตมาส์

  • กรอบรูป (Picture Frame) และ รูปภาพ (Wall Art) ผู้บริโภคส่วนใหญ่ นิยมตกแต่งบ้านด้วยกรอบรูปที่ผลิตจากไม้

กรอบสีเข้ม อาทิ สีน้ำตาล สีดำ หรือ กรอบที่ทำจากวัสดุโลหะ โดยขนาดที่นิยมได้แก่ ๔x๖ นิ้ว, ๕X๗ นิ้ว, ๘X ๑๐ นิ้ว

  • หมอนอิง (Decorative Pillow) ที่นิยมส่วนใหญ่ได้แก่หมอนอิงสำหรับโซฟา ที่นั่ง โดยจะเน้นลวดลายสีสรร ที่ตัดกับสีของ

โซฟา โดยไซด์ ที่นิยมได้แก่ ๒๐X ๒๐ นิ้ว และ ๑๒X๒๐ นิ้ว

  • ดอกไม้ประดิษฐ์ (Artificial Flowers) ที่นิยมส่วนใหญ่จะเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ที่ผลิตจากพลาสติกและเรซิน ที่จัดอยู่ใน

กระถางหรือแจกัน ทั้งนี้ชาวแคนาดายังนิยมนำต้นไม้จริงมาปลูกภายในบ้านด้วย

  • Kitchenware (เครื่องครัว) ปัจจุบัน สินค้า หม้อ กะทะ ที่จำหน่ายในแคนาดาส่วนใหญ่จะนิยม สินค้าที่ผลิตจากวัสดุ สแตนเล็สเคลือบ (Coated Stainless Steel), แก้ว (Glass), แก้วเซรามิค (Glass-Ceramic), โลหะเคลือบ (Enamel-On-Steel), ทองแดง (Copper: ที่ตัวภาชนะทำจากวัสดุทองแดงที่มีคุณสมบัติเก็บความร้อนได้ดี) ฯลฯ สินค้าที่ได้ความนิยมมากสุดได้แก่สินค้าที่ผลิตจาก สแตนเลส เนื่องมีความทนทาน ร้อนเร็ว (กะทะ/หม้อ) และสะดวกง่ายต่อการล้างทำความสะอาด เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ
  • สินค้าหม้อ กะทะ จะจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นชุด ๗-๘ ชิ้น ที่ประกอบไปด้วย กะทะและหม้อหลายขนาด ตามการใช้สอย โดย

ปรกติจะต้องประกอบไปด้วย หม้อขนาดเล็ก (Saucepan) ที่มีขนาด ๒-๒.๘ ลิตร หม้อขนาด ๕ ลิตร และกะทะมีมีขนาด

๒๐-๒๔ เซนติมิเตอร์

  • เครื่องครัวชุดจานชาม ช้อน ซ้อม ที่จำหน่ายในแคนาดาส่วนใหญ่จะเป็นชุดสำหรับ ๑,๒ หรือ ๔ ที่มีราคาแตกต่างกันไปตาม

วัสดุ และ คุณภาพสินค้า

  • ผู้บริโภคยินดีที่จะจับจ่ายสินค้าที่แพงถ้ามีคุณภาพที่ดี ภาชนะ หม้อ กะทะ ที่มีน้ำหนักมาก ถูกมองว่าเป็นสินค้าคุณภาพดีกว่าสินค้า

ประเภทเดียวกันที่มีน้ำหนักเบากว่า

  • กะทะที่เคลือบสาร Non-Stick ที่ใช้เป็น Skillets หรือ Frying Pan ยังคงได้รับความนิยมเนื่องจากสะดวกง่ายต่อการ

ล้าง ทั้งนี้ ผู้บริโภคบางกลุ่มได้เริ่มหันไปใช้ กะทะสแตนเลสที่ปลอดสารเคลือบบนพื้นผิวกะทะเนื่องจากมีความห่วงใยต่อสุขภาพ

ที่อาจมีผลจากสารตกค้างที่ใช้บนกะทะที่มีการเคลือบสาร Non-Stick

  • ผลิตภัณฑ์เครื่องครัว อาทิ ตะหลิ่ว ช้อนคน (Whisks) ไม้พาย (Spatula) แปรงทาซอส ( Basting Brush) ที่ผลิตจาก

ยางสังเคราะห์ ประเภท Silicone เป็นที่นิยมและยอมรับ เนื่องจากสามารถทนความร้อนได้สูงถึง ๒๐๐-๓๐๐ องศา

เซลเซียส หรือสามารถใช้ในเตาอบได้ และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากไม้ยังได้รับความนิยม

Glassware (เครื่องแก้ว)

  • ชุดเครื่องแก้ว ที่จำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นชุดเดี่ยว หรือชุดรวม (Set) ที่ประกอบไปด้วยแก้ว ๑๘ ชิ้น ที่มีขนาดแตกต่างกัน ที่มี

ขนาดตั้งแต่ ๒๐-๓๓ มิลลิลิตร เครื่องแก้วสีที่นำเข้าจากเม็กซิโก ที่เป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือชุดเครื่องแก้วที่มีลวยลายก็เป็นที่

นิยม ที่เข้ากับ ชุดเหยือกเบียร์ (Pitcher) หรือแก้วไวน์

Plasticware/Acrylic (ผลิตภัณฑ์พลาสติก/อาครีลิก)

  • ผลิตภัณฑ์พลาสติก/อาครีลิก ยังคงเป็นที่นิยมในแคนาดา ที่มีรูปแบบของสินค้าที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ ช้อน ซ้อม จาน ชาม แก้ว

น้ำ รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ เขียง ที่คั้นน้ำมะนาว ขวดใส่ซอส น้ำมัน น้ำสลัด ที่สามารถบีบได้

  • ช่วงฤดูกาลที่จำหน่ายสินค้า Plastic/Acrylic ที่ดีที่สุดได้แก่ช่วงหน้าร้อน ที่เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน จนถึง กันยายนของ

แต่ละปี ที่ชาวแคนาดาส่วนใหญ่จะออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน อาทิ พักร้อน ปิกนิก กิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องการสินค้าที่มีความ

คงทนไม่แตกหักเสียหายได้ง่าย

  • สินค้าภาชนะพลาสติกที่จำหน่ายในแคนาดาจะต้องปลอดสาร BPA (Bisphenol A) ซึ่งสารดังกล่าวอ้างว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้

เกิดโรงมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • ภาชนะพลาสติกที่ใส่อาหาร ส่วนจะต้องสามารถเข้าตู้อบไมโครเวฟ และเครื่องล้างจาน Dishwasher Safe ซึ่งผลิตภัณฑ์จะ

ต้องทนต่อความร้อนสูงได้ โดยไม่มีการเปลี่ยนรูปทรง หรือสีที่เปลียนไป (Discoloration)

Tableware (เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร)

  • ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ที่ได้รับความนิยม จะเน้นสินค้าที่การออกแบบที่ให้อารมณ์ สนุกสนาน (Fun Factor) ผสม

ผสานโดยการใช้สีสรรที่แตกต่างจากสินค้าในรูปแบบเดิม รวมทั้งรูปทรงที่แตกต่าง

  • ชุดจานชามที่จำหน่าย ส่วนใหญ่จะเป็นชุดสำหรับ ๔ คน โดยแบ่งเป็น ถ้วยซุป ๔ ใบ จานสลัด ๔ ใบ จานอาหาร ๔ ใบ

และ แก้วกาแฟที่มีหูถือ ๔ ใบ

  • ชุดเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารต้องใช้ได้ในไมโครเวฟ หรือเตาอบ ที่มีความร้อนสูงได้ และควรใช้วัสดุที่คงทนหรือทนทานต่อการ

ปรับเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างกะทันหัน หรือใช้ได้กับเครื่องล้างจาน

Knives (มีด)

  • วัสดุ Hi-Carbon Stainless Steel เป็นที่นิยมในการเลือกซื้อของผู้บริโภคเนื่องจากมีความทนทาน และไม่ต้องลับมีด

บ่อย (เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ)

  • ขนาดความยาวของมีดที่นิยมได้แก่ ขนาดใบมีดยาว ๓-๔ นิ้ว (Parking Knife) และ ๖ นิ้ว (Utility Knife) และ

๘ นิ้ว (Chef's Knife)

  • ด้ามจับมีดส่วนใหญ่ที่จำหน่ายจะผลิตจาก วัสดุ Polyproylene หรือไม้เนื้อแข็ง ที่ทนทานต่อความเปียก ไม่ขึ้นราง่าย และจะ

ต้องสามารถใช้ในเครื่องล้างจานได้

  • ลักษณะการจำหน่ายมีดส่วนใหญ่จะมีทั้งจำหน่ายเป็นชิ้น หรือเป็นชุด หรือจำหน่ายพร้อมที่เสียบมีด ที่ส่วนใหญ่ผลิตจากไม้เนื้อแข็ง
  • ประเภทของมีดที่ไม่ต้องการลับมีด (Self-Sharpening Knife) หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Never-NeedsSharpening

(NN) เป็นที่นิยมในแคนาดา ที่ได้รับความนิยมได้แก่ Wiltshire , StaySharp และ Wilkinson Sword

Kitchen Electrics (เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว)

  • ในธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว สินค้าที่เป็นประเภท Gadget หรือ Gimmick (ที่มีลูกเล่น เทคโนโลยีพิเศษ อาทิเครื่องปอก

เปลือกแอปเปิ้ล ฯลฯ) เริ่มไม่ได้รับความสนใจ โดยชาวแคนาดาหันไปมองสินค้าที่เป็นพื้น ฐาน ตามการใช้งาน (Basic &

Practical Products) อาทิ เครื่องต้มน้ำ เครื่องปิ้งขนมปัง เครื่องทำกาแฟ เครื่องปั่นน้ำผลไม้ ฯลฯ

  • ชาวแคนาดานิยมกาต้มน้ำไฟฟ้า (Electric Kettle) และไม่นิยมกาต้มน้ำที่ตั้งบนเตา (Stovetop Kettle)
  • ผู้บริโภคทุกวันนี้ให้ความใส่ใจในสุขภาพมากขึ้นจึงหันมานิยมซื้อเครื่องครัวประเภทที่สามารถผสมวัตถุดิบทำอาหารเองที่บ้านได้

อาทิ เครื่องทำขนมปัง เครื่องทำเส้นพาสต้า เครื่องทำน้ำถั่วเหลือง

2.2 สินค้ากลุ่ม Giftware (ของขวัญของชำร่วย)

ตลาดสินค้าของขวัญของชำร่วยเป็นตลาด มีมูลค่าตลาด ๒.๕ พันล้านเหรียญฯ ที่ส่วนใหญ่จะอิงกับเทศกาล ฤดูกาลต่างๆ ของแคนาดา อาทิ วันพ่อ วันปีใหม่ เทศกาลคริสตมาส อีสเตอร์ การฉลองวันขอบคุณพระเจ้า (Thank Giving) รวมถึงสินค้าของที่ระลึก (Souvenir) อาทิของขวัญ สำหรับผู้ที่จบการศึกษา งานแต่งงาน งานหมั้น ฯลฯ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่ ควรจะให้ความสำคัญของการตั้งราคา อาทิ การรวมของกระเช้าของขวัญ การห่อรวมของขวัญเป็นแพ็กเก็จ ในระดับราคาที่แตกต่างๆ กัน

  • เทศกาลคริสต์มาสเป็นช่วงที่ชาวแคนาดาจะจับจ่ายใช้สอย ซื้อของขวัญมอบให้กับ ครอบครัว เพื่อนฝูง ซึ่งการสั่งสินค้าในเทศกาล

ดังกล่าว สำหรับผู้นำเข้านั้นจะต้องมีการเตรียมการอย่างน้อย ๖-๘ เดือน

  • การออกแบบแพ็กเก็จ สีสรร หีบห่อของของขวัญเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อของชาวแคนาดา
  • ของขวัญที่ทำจากกระดาษ (Gift Paper and Stationary) ที่เป็นสินค้าระดับสูง Premium Quality เริ่มเป็นที่นิยม

อาทิ กระดาษพิมพ์การ์ด จดหมาย บัตรเชิญ ต่างๆ ซึ่งเป็นการแสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้ให้

  • กระดาษที่ใช้พิมพ์ บัตรเชิญ จดหมาย การ์ด ต่างๆ นั้นส่วนใหญ่จะมีคุณภาพความหนาของกระดาษที่ ๒๐-๒๘ ปอนด์
  • การใช้กระดาษรีไซเคิล (Recycled Paper) ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของผู้ให้ที่แสดงถึงความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งชาว

แคนาดาส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม

  • ถุงกระดาษของขวัญ ชาวแคนาดานิยมใช้ถุงของขวัญแทนการห่อของขวัญเนื่องจากสะดวกและไม่ต้องเสียเวลาในการห่อของ

ขวัญ โดยถุงของขวัญมีขนาดไซด์ที่ต่างกัน และการใช้งานเฉพาะ อาทิ ถุงของขวัญที่ไว้ใส่ไวน์โดยเฉพาะ

  • สินค้าไทยที่น่ามีโอกาส ได้แก่ กระดาษสา กระดาษที่ผลิตจากเยื่อใบสับปะรด
  • ของขวัญที่ทำจากผ้า เช่น ถุงผ้า กระเป๋าใส่อาหารกลางวัน กระเป๋าใส่ชุดกีฬา กระเป๋าใส่คอมพิวเตอร์
  • ของขวัญที่ทำจากหนังสัตว์ อาทิ กระเป๋าหนัง ซองใส่โทรศัพท์ Smartphone อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

2.3 สินค้ากลุ่ม Handicraft (สินค้าหัตถกรรม)

ตลาดสินค้าหัตถกรรมมีมูลค่าปีละ ๕๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยชาวแคนาดานิยมสินค้าประเภทหัตถกรรมที่เป็นงานฝีมือ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวแคนาดา อาทิ ศิลปะของชาว First Nation ได้แก่ไม้แกะสลัก Totem Pole ไม้แกะสลักใบเมเปิ้ล (Maple Leaf) Dream Catcher (ตาข่ายที่ดักความฝันดี ที่เป็นความเชื่อของชาวอินเดียนของแคนาดา ซึ่งปัจจุบันนำมาแขวนตามผนัง ประตู เพื่อประดับตกแต่งบ้าน และจากการที่ แคนาดาเป็นสังคมมาจากการรวมของหลายชนชาติ (Multicultural Society) และชาวแคนาดานิยมเดินทางออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น ทำให้สินค้าหัตถกรรมของต่างประเทศเริ่มเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยสินค้าเหล่านั้นจะต้องมีการออกแบบ สีสรร ที่เข้ากับลักษณะการแต่งบ้านของชาวแคนาดา สินค้าสินค้าของประดับตกแต่งบ้านงานฝีมือที่ได้รับความนิยมในแคนาดา ได้แก่ เครื่องเซรามิค เครื่องแก้ว งานไม้/แกะสลัก รูปปั้น อาทิ เสื้อผ้าท้องถิ่น (Ethnic Clothing) อาทิเสื้อผ้าไหมไทย อัญมณีของประดับที่มีการออกแบบตามถิ่นกำเนิดแหล่งที่มาของสินค้า (Ethnic Jewelry) อาทิ เครื่องเงินจากเม็กซิโก ชิลี ของประดับหินสี (Turquoise, Amber, Coral ฯลฯ) รวมไปถึงของประดับตกแต่งบ้าน เช่น แจกันไม้มะม่วง ไม้แกะสลักรูปช้าง น้ำตกจำลอง

๓. ช่องทางการจัดจำหน่ายในแคนาดา

รูปแบบช่องทางการจัดหน่ายสินค้าของประดับตกแต่งบ้านในปัจจุบันสามารถจัดแบ่งเป็น ๔ ช่องทางหลักๆ ได้ดังนี้

๓.๑ ร้านค้าปลีก (Independent Retail Store) เป็นลักษณะการนำเข้าโดยผ่านผู้นำเข้าและจำหน่ายไปยังร้านค้าปลีกในแคนาดาอีกทอด อาทิ ร้าน Gift Shop ร้านขายของที่ระลึก ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าระดับ กลาง-สูง สินค้าของประดับตกแต่งบ้าน

          ผู้ส่งออก   ------>   ผู้นำเข้า    ------>    ร้านค้าปลีกทั่วไป    ------>    ผู้บริโภค

(Independent Retail Store)

๓.๒ ห้างสรรพสินค้าที่มีเครือข่าย (General Chain Store) มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วประเทศ โดยสินค้าของประดับตกแต่งบ้าน เครื่องครัว ที่วางจำหน่ายจะเป็นสินค้าที่มีรูปแบบเน้นดีไซน์สวยงาม มีแบรนด์สินค้าทั้งของผู้ผลิตเอง หรือแบรนด์ของห้างฯ (OEM) โดยส่วนใหญ่บรรจุภัณฑ์จะเป็นกล่องกระดาษลูกฟูกที่สามารถวางทับซ้อนเรียงได้เพื่อประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและต้นทุนค่าขนส่งที่ต่ำกว่า ห้างร้านจะไม่นิยมสั่งนำเข้าโดยตรงเองเนื่องจากความยุ่งยากและความหลากหลายของสินค้า และยังมีข้อประเด็นในเรื่องการรับประกันสินค้าจากผู้ผลิตและการเคลมสินค้าเสียหายในกรณีที่สินค้ามีปัญหา โดยห้างลักษณะดังกล่าวในแคนาดาได้แก่ Canadian Tire, Wal-Mart, Zeller, Targets, Sears, Home Outfitters, Lowe, Home Depot, Winners, Home Sense

ผู้ส่งออก ------> ผู้นำเข้า/ตัวแทน ------> ห้าง General Chain Store ------> ผู้บริโภค

อาทิ Zellers, Sears, Wal-Mart

๓.๓ ห้างร้านเครือข่ายเฉพาะของประดับตกแต่งบ้าน/ของขวัญ/เฟอร์นิเจอร์ (Specialty Home Decor/Gifts/Furniture Chain Store) โดยส่วนใหญ่ของตกแต่งบ้านที่วางจำหน่ายในห้างร้านเหล่านี้ จะวางตกแต่งให้เข้าชุดกับเฟอร์นิเจอร์ ผู้บริโภคนิยมซื้อจากห้างร้านประเภทดังกล่าว เนื่องจากห้างร้านเหล่านี้จะจำหน่ายสินค้าของประดับตกแต่งบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ที่ครบเกือบทุกประเภท โดยแต่ละห้างร้านจะมีกลุ่มลูกค้าเฉพาะที่ชัดเจน อาทิ Bowring, IKEA (ลูกค้าระดับล่าง-กลาง) Pier One, Leon's, Urban Barn (ลูกค้าระดับกลาง-บน) Pottery Barn, Crate & Barrel (ลูกค้าระดับบน) ห้างร้านดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำเข้าโดยตรงเอง สำหรับสินค้าของขวัญที่จำหน่ายผ่านร้านประเภท Specialty ที่จำหน่ายการ์ดของขวัญ อาทิ Hallmark, Carlton Card ๑๐๐๐ Villages ที่จำหน่าย สินค้าของประดับตกแต่งบ้านนำเข้าจากทั่วโลก ที่มีลักษณะ Ethnic Design

Specialty Home Dcor/Furniture

          ผู้ส่งออก     ------------->              Chain Store           ------------->     ผู้บริโภค

อาทิ Pottery Barn, Crate & Barrel

Kitchen & Stuff, Bowring

๓.๔ ผ่านอินเตอร์เน็ตหรือแม็กกาซีน (Online Store หรือ Online Shopping) ช่องทางนี้เริ่มได้รับความนิยมในสินค้าของประดับตกแต่งบ้าน ของขวัญของชำร่วย โดยการสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต การสั่งซื้อทางทีวีช็อปปิ้ง เนื่องจากรูปแบบสินค้าที่มีความหลากหลายและง่ายสะดวกต่อการสั่งซื้อ โดยห้างเครือข่ายและร้านค้าส่วนใหญ่ในแคนาดาจะมี Online Catalogue ที่ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตได้ ทั้งนี้กุญแจแห่งความสำเร็จของการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตได้แก่ การให้ข้อมูลสินค้าที่ชัดเจนครบถ้วน อาทิ สัดส่วนของสินค้า (Dimension) รูปภาพถ่ายที่สวยงามชัดเจน และราคาจำหน่ายที่ดึงดูดน่าสนใจ (อาทิ ราคาสินค้าที่รวมการบริการค่าขนส่ง) อีกทั้งการจำหน่ายสินค้าผ่าน Website หรือ Ebay ก็เป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากขึ้น

ปัจจุบัน ห้างร้านค้าที่จำหน่ายสินค้าทั้งในห้าง (Offline Store) ของตนเองและผ่านอินเตอร์เน็ต (Online Store) ได้แก่ IKEA, Bowring, Pottery Barn, Sears

          ผู้ส่งออก    ------------->    Offline/Online Store    ------------->    ผู้บริโภค

ผู้ส่งออก -------> ผู้นำเข้า -------> Offline/Online Store -------> ผู้บริโภค

๔.กลุ่มผู้บริโภคชาวแคนาดา

๔.๑ กลุ่มผู้บริโภคแบ่งตาม Demographic มี ๓ กลุ่มดังนี้

  • กลุ่ม Baby Boomer (Aging Society) ที่มีอายุระหว่าง ๔๔ ขึ้นไป โดยชาวแคนาดาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมมีบุตรจำนวนมาก อัตราการเกิดลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงคาดการณ์ว่า ภายในปี ๒๕๗๔ (๒๐ ปีข้างหน้า) แคนาดาจะมีผู้สูงอายุประมาณ ๒๐% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุนั้นจะเป็นกลุ่มที่รายได้สูง ต้องการสินค้าอุปกรณ์อำนวยความสะดวก สินค้าที่มีคุณภาพ น้ำหนักเบา ขนาดเหมาะสม ที่เหมาะบ้านหลังที่มีขนาดเล็กลง หรือบ้านผู้สูงอายุ Retirement Residence
  • กลุ่ม Generation Y ชาวแคนาดาที่มีอายุระหว่าง ๑๔-๓๓ ปี จะคุ้นเคยกับการใช้อินเตอร์เน็ต การค้นหาข้อมูลสินค้า ผลิตภัณฑ์ กระแสแฟชั่น ฯลฯ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าจะต้องปรับตัวให้เข้ากับผู้บริโภคกลุ่มนี้ โดยการจัดทำเว็ปไซด์สินค้า การให้ข้อมูล การรีวิวสินค้า (Product Review) รวมทั้งการใช้ Social Network ในการเชื่อมโยงสินค้า กับกลุ่มเป้าหมาย ควบคู่ไปกับการสร้างแบรนด์ ทัศนคติที่ดีต่อสินค้า ผู้บริโภคกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ได้มีเป็นบ้านเป็นของตนเอง (เช่าอยู่อาศัย) จะเน้นสินค้าที่มีการออกแบบทันสมัย ราคาไม่สูงมากนักและประโยชน์ใช้สอยหลายอย่าง (Multipurpose) รวมทั้งยังต้องเป็นสินค้าที่มี Value Added
  • กลุ่ม ๑.๕ Generation ในแต่ละปีแคนาดาจะมีชาวต่างประเทศย้ายถิ่นฐานมายังแคนาดาประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ คน/ปี (แคนาดามีจำนวนประชากร ณ ปัจจุบัน ๓๓ ล้านคน) ผู้บริโภคกลุ่มนี้ เกิดในต่างประเทศแต่ย้ายถิ่นมา หรือมาโตที่แคนาดา ยังคุ้นเคยกับสินค้า ลักษณะ รูปแบบ รสนิยม การตกแต่งบ้านในถิ่นบ้านเกิด อีกทั้งยังเปิดรับวัฒนธรรมของชาวแคนาดา Mainstream ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอาจต้องปรับเปลี่ยนสินค้าที่ตรงกับตลาดกลุ่มนี้ ทั้งนี้กลุ่มชาว Immigrants ที่สำคัญในแคนาดา ได้แก่ ชาวจีน อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา จาไมก้า ฯลฯ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีรสนิยมสินค้าที่แตกต่างกันออกไป อาทิ ชาวจีนจะนิยมความหรูหราแต่ราคาไม่แพง ชาวอินเดียจะเน้นสินค้าที่มีความเรียบง่ายและราคาถูก ชาวจาไมก้าให้ความสนใจกับการใช้ของประดับเล็กๆ น้อยๆ อาทิการใช้ ผ้าม่าน กรอบรูป ที่ดูหรูหราแต่ราคาไม่สูง เป็นต้น

๔.๒ กลุ่มผู้บริโภค Niche Market

  • ตลาดผู้บริโภคที่มีรายได้สูง (High Income Profile) คือกลุ่มที่มีรายได้สูง อาจจะเป็นคู่ไม่มีลูก หรือคู่ที่ลูกหลานได้ย้ายออกไปแล้ว รายได้ Disposable Income ในระดับที่สูง รสนิยมของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะนิยมสินค้าแบรนด์เนม หรูหรา สินค้าประเภทสั่งทำ Custom made อาทิ ผ้าม่าน หมอนอิง ภาพวาด รูปปั้น
  • ตลาดคู่หนุ่มสาวที่กำลังจะแต่งงาน (Bridal Market) ย้ายเข้าเรือนหอใหม่นั้น โดยชาวแคนาดาส่วนใหญ่จะนิยมจัดงานแต่งงานระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง กันยายนของแต่ละปี เนื่องจากเป็นช่วงที่มีอากาศอบอุ่น ซึ่งห้างสรรพสินค้า ห้างร้านต่างๆ จะนิยมจัดโปรโมชั่นสินค้า ที่มีการให้บริการส่งมอบสินค้าฟรี การห่อกระดาษของขวัญ (Gift Package) สินค้าที่ผู้บริโภคกลุ่มจะมองหาสินค้าที่มีดีไซน์ สวยงาม ทันสมัย แต่ราคาไม่สูงมากนัก
  • ตลาดเด็ก ชาวแคนาดาให้ความสนใจกับความปลอดภัยของสินค้าที่ใช้กับเด็ก ต้องปลอดสารพิษและสารต้องห้าม (สารตะกั่ว สาร BPA สาร Pathalates) ใช้วัสดุที่ไม่แตกหักง่าย ไม่มีเหลี่ยมคม สินค้าประเภท Edutainment Gift&Toys

๕. แนวโน้มของสินค้าในตลาดแคนาดา (Trend & Opportunities)

๕.๑ ลักษณะสินค้า

  • สินค้าที่ให้คุณค่าเพิ่มมากขึ้น (Value Added Product) ในอดีตผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าจากปัจจัยการออกแบบดีไซน์ของสินค้า (Design) เป็นหลัก จากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคแคนาดาเริ่มหันมาระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น โดยทุกวันนี้ ผู้บริโภคให้ความสำคัญเรื่องของคุณค่า (Value) ของสินค้าที่เพิ่มขึ้น คุณภาพ (Quality) ราคา (Price) สินค้าที่เหมาะสม ความทนทานของสินค้า โดยผู้คนส่วนใหญ่จะอยู่ในบ้านมากขึ้น ระมัดระวังค่าใช้จ่าย จึงนิยมซื้อสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงของประดับตกแต่งบ้าน
  • สินค้าอเนกประสงค์ที่มีนวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้น (Innovative Multifunction Product) สินค้าของประดับตกแต่งบ้านทุกวันนี้ ได้มีการผสมผสานของการออกแบบดีไซน์ที่สวยงาม บวกกับนวัตกรรม (Innovation) เข้าไปโดยส่วนใหญ่จะเน้นให้มีคุณสมบัติการใช้งานได้หลายประเภท อาทิ พวงกุญแจที่ผนวก USB Thumb Drive เข้าไป เพื่อเพิ่ม Function ให้กับสินค้า ที่มีความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย
  • สินค้าที่มีขนาดเล็กลง (Compact Size Product) ชาวแคนาดานิยมย้ายเข้ามาอยู่อาศัยในเมืองมากขึ้น ทำให้ขนาดของบ้านพักและ คอนโดมิเนียมมีขนาดเล็กลง ส่งผลให้ความต้องการขนาดของเครื่องใช้ตกแต่งบ้านเล็กลงตามขนาดของบ้านไปด้วย
  • สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly/Green Products) ชาวแคนาดาทุกวันนี้ได้เริ่มมองหาสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าที่มีทุกกระบวนขขั้นตอนการผลิตที่ไม่เป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม วัสดุที่ใช้ปลอดสารพิษ วัสดุที่ย่อยสลายได้ (Biodegradable Product)
  • สินค้าที่ผลิตจากบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคม (CSR Product) ชาวแคนาดาเริ่มให้ความสำคัญกับสินค้าที่ผลิตโดยผู้ผลิตที่รับผิดชอบต่อสังคม เช่น บริษัทที่จ่ายค่าแรงอย่างเป็นธรรม บริษัทที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม บริษัทที่มีการจัดการที่ดี เป็นต้น

๕.๒ ซื้อขายผ่านสื่อ Social Media หรือ Internet มากขึ้น

ทุกวันนี้กว่าครึ่งของประชากรแคนาดา (๑๖ ล้านคน จากทั้งหมด ๓๒ ล้านคน) ได้ลงทะเบียนกับ Facebook โดยกลุ่มผู้ใช้ที่มีอัตราขยายตัวมากที่สุดได้แก่ ผู้หญิงที่มีอายุกว่า ๕๕ ปี โดยบริษัทห้างร้านส่วนใหญ่ จะมีการโพสรูป หรือการแจ้งกิจกรรมส่งเสริมการขาย โปรโมชั่นลดราคาสินค้าผ่าน Facebook หรือ Twitter ซึ่งผู้บริโภคสามารถเช็คโปรโมชั่นผ่านอีเมลล์ทาง คอมพิวเตอร์ที่บ้าน/ที่ทำงาน หรือผ่านมือถือ ที่มีความสะดวกและมีการอัปเดท Real Time ทั้งนี้ ในแคนาดา การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญการตั้ง Web Page ของ Facebook หรือ Twitter จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ ๑๐๐-๕๐๐ เหรียญแคนาดา (๓,๐๐๐ - ๑๕,๐๐๐ บาท) และส่วนใหญ่จะจ้าง Outsource ในการปรับปรุง webpage ในสื่อ Social Media ต่างๆ ประมาณ ๑๐๐-๑๕๐ เหรียญฯ/ครั้ง

๕.๓ เทรนด์สีที่ได้รับความนิยมในแคนาดา ได้แก่ สี Lime Green, สี Fren Green, สี Sand, สี Soft Grey, สี Bohemian Brown, สี Hot Pink, สี Smoke, สี Dark Teal และ สี Lemon Yellow

๕.๔ รูปแบบสินค้าที่อยู่ในกระแสนิยม

สินค้าของขวัญของชำร่วย

  • Natural Scented Candle เทียนหอมที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ แทนการผลิตเทียนที่ส่วนผสมหลักจากพาราฟินแบบเดิม อาทิ เทียนหอมที่ผลิตจากถั่วเหลือง (Vegetable Soy) หรือ เทียนหอมที่ผลิตจากขึ้ผึ้งแท้ ๑๐๐% ซึ่งมีคุณสมบัติที่ลดการปล่อยควันดำในขณะการจุดเทียนภายในครัวเรือน
  • Purses & Lunch box สินค้าที่ได้รับความนิยม ได้แก่กระเป๋าที่ใช้สำหรับการไปออกกำลังกาย (Gym Bag/purse) และ กระเป๋าใส่อาหารกลางวันสำหรับสุภาพสตรีซึ่งชาวแคนาดาส่วนใหญ่จะเตรียมอาหารกลางวันไปรับประทานที่ทำงาน โดยในอดีต Lunch Bag จะมีการออกแบบที่น่าเบื่อและดูไม่ทันสมัย ทุกวันนี้การออกแบบกระเป๋าอาหารกลางวัน (Lunch Bag) ได้มีรูปแบบเหมือนกระเป๋าถือของสตรี และใช้ได้อเนกประสงค์
  • Wedding Accessories และของชำร่วยสำหรับงานแต่งงานมีดีไซน์แปลกใหม่ ที่หนุ่มสาวแคนาดาที่กำลังแต่งงานจะมองหาสินค้าของชำร่วย อุปกรณ์ที่ใช้งานแต่งงาน

สินค้า Houseware

  • Tea & Fondue อุปกรณ์ชงชา แก้วน้ำ รวมถึงอุปกรณ์การทำของหวาน ประเภท Fondue (ที่ใช้ Chocolate เป็นของหวาน) ซึ่งเป็นกระแสที่เปลี่ยนการดื่มกาแฟมาดื่มชากันมากขึ้น
  • Computer & Mobile Phone Accessories ชาวแคนาดานิยมใช้ Computer Notebook และสินค้าไฮเทคประเภท Smart Phone มากขึ้น โดยผู้บริโภคจะให้ความสนใจต่ออุปกรณ์เสริมสินค้าเหล่านี้ อาทิ กระเป๋าใส่ Notebook ซองมือถือ อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่เน้นการใช้งาน (Function) และ การออกแบบ (Design) ที่มีสีสรร สะดุดตา และใช้วัสดุที่หลากหลายประเภทมากขึ้น

๗. ข้อเสนอแนะในการส่งออก

๗.๑ ผู้ผลิต/ส่งออกควรติดตามแนวโน้มของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ รูปแบบผลิตภัณฑ์ หรือ กระแสแนวโน้มใหม่ในตลาดแคนาดา โดยสามารถค้นหาข้อมูลได้ที่ www.cgta.org, www.newswire.ca เพื่อให้ส่งออกสินค้าได้ตรงกับความต้องการของตลาด

๗.๒ Prompt Interaction การติดต่อเจรจาการค้ากับผู้นำเข้าในต่างประเทศ ควรให้ความสำคัญเรื่องของความรวดเร็วในการติดต่อกลับ การตอบคำถามให้ข้อมูลกับผู้นำเข้า อาทิ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ราคาสินค้า รวมทั้งการจัดตั้งเวปไซด์ที่มีข้อมูลครบถ้วน ทำให้ผู้นำเข้าสามารถค้นหาข้อมูลของบริษัท ผลิตภัณฑ์สินค้า ได้โดยสะดวก ซึ่งอีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการได้ลูกค้าใหม่จากการเข้าเยี่ยมชมผ่านเว็ปไซด์

๗.๓ การเลือกช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าที่เหมาะสม อาทิ สินค้าหัตถกรรม (Hand made) หรือสินค้า HiEnd ที่มีคุณภาพและราคาสูง ควรเลือกช่องทางผ่านห้างร้าน Specialty Store ที่มีระดับ Hi-End สินค้าที่อยู่ Medium-Low End ควร ใช้ช่องทางผ่านอินเตอร์เน็ต หรือห้างร้าน Mass Merchandise Chain Store

๗.๔ การยืดหยุ่นในการรับออเดอร์สินค้า ผู้นำเข้าส่วนใหญ่จะไม่นิยมสต็อกสินค้าเป็นจำนวนมาก หรือสั่งซื้อสินค้าในจำนวนมาก แต่จะนิยมจะสั่งคละสินค้า ในรูปแบบสินค้าที่แตกต่างต่างกัน สี ไซด์ ทั้งนี้หากผู้ส่งออกยินยอมให้มีการรวมตู้สินค้าจาก ผู้ผลิต/ส่งออกหลายๆ รายจะเป็นการเพิ่ม Value Added Service ให้กับผู้ส่งออก และจะทำให้ที่ตัดสินใจสั่งซื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเพิ่มความสะดวกให้กับผู้นำเข้า

๗.๕ การรักษาฐานลูกค้าเดิม (Customer Retention) มีความสำคัญเท่ากับการแสวงหาลูกค้าใหม่ (New Customer Acquisition) โดยควรมีการติดต่อสอบถาม รักษาความสัมพันธ์ จะทำให้กลุ่มผู้นำเข้ารายเดิม เหล่านี้จะยังคงซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้สินค้าของผู้ส่งออกไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี รูปแบบและการออกแบบดี และมีราคาที่แข่งขันได้ ๗

๗.๖ การส่งออกสินค้าที่ตรงกับรสนิยมของชาวแคนาดาที่นิยมแต่งบ้านหรือเลือกซื้อสินค้าตามฤดูกาล/อยู่ในกระแสนิยม เช่น การปรับเปลี่ยนผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ของใช้ตกแต่งบ้าน หรือ การเลือกใช้จานชาม สีสรร ตามเทศกาล อาทิ Easter Day, Thank Giving Day, Halloween Day, Christmas Day ซึ่งโดยปรกติ Cycle ของการสั่งซื้อจะมีการเตรียมการล่วงหน้าอย่างน้อยประมาณ ๖-๙ เดือน ก่อนเทศกาล

๗.๗ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในตลาดต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสในการพบลูกค้ารายใหม่ๆ ได้รับรู้ถึงความต้องการของตลาดลักษณะสินค้า สีสรร รูปแบบดีไซน์ ไซด์ของสินค้า รวมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมการติดต่อซื้อขายของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาสินค้าต่อไป อย่างไรก็ตาม การเข้ามงานแสดงสินค้าในต่างประเทศนั้นมีข้อจำกัดเรื่อง ค่าใช้จ่ายที่สูง อาทิ ราคาค่าเช่าคูหา ค่าขนส่ง ค่าเช่าห้อง Storage ค่าตกแต่ง และบริษัทที่จะเข้าร่วมออกแสดงสินค้านั้นจะต้องสมัครเป็นสมาชิกขององค์กร หรือสมาคมผู้จัดงานก่อน ที่จะมีสิทธิเข้าร่วมงานได้ อาทิ งานที่จัดโดยสมาคม Canadian Gift & Tableware Association

งานแสดงสินค้าของขวัญของชำร่วยและของประดับตกแต่งบ้านที่สำคัญในแคนาดา มี ๓ งาน ได้แก่

  • Toronto Canadian Gift & Tableware Show เป็นงานจัดแสดงสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดาโดยมีเนื้อที่กว่า ๑.๓ ล้านตารางฟุต มีผู้ออกคูหากว่า ๑,๐๐๐ ราย โดยมีการจัดปีละ ๒ ครั้ง ในเดือน กุมภาพันธ์ และสิงหาคม ของทุกปี (http://www.cgta.org/Giftshow/TR/Home.aspx)
  • Alberta Gift Show เป็นงานแสดงสินค้าที่มีการกว่า ๓๐ ปี ที่มณฑล Alberta ที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ โดยมีเนื้อที่กว่า ๓๕๐,๐๐๐ ตารางฟุต มีห้างร้านออกคูหากว่า ๕๐๐ ราย โดยมีการจัด ๒ ครั้งต่อปีในเดือน กุมภาพันธ์ และเดือน สิงหาคม ของทุกปี (http://www.cgta.org/Giftshow/AB/Home.aspx) -Montreal Gift Show เป็นงานที่จัดโดยเจาะตลาดชาว Quebec ที่มีเชื้อสายฝรั่งเศส โดยขนาดของตลาดมีประชากรกว่า ๗ ล้านคนในมณฑล Quebec ทั้งนี้งานมีขนาดเนื้อที่ ๑๐๐,๐๐๐ ตารางฟุต มีห้างร้านเข้าร่วมกว่า ๓๕๐ ร้าน โดยมีการจัด ๒ ครั้งต่อปีในเดือน มีนาคม และสิงหาคม ของทุกปี (http://www.cgta.org/Giftshow/MT/Main.aspx?pid=General)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ