สหรัฐฯ ยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้า (Duty Free) ให้แก่ประเทศด้อยพัฒนาและกำลังพัฒนาทั่วโลกกว่า 120 ประเทศ ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือเรียกกันว่า GSP: Generalize System of Preference โครงการเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 และได้ต่ออายุมาโดยต่อเนื่อง โครงการ GSP ต่ออายุครั้งสุดท้ายในปี 2552 ได้หมดอายุลงเมื่อวันที่ 31ธันวาคม 2553 ที่ผ่าน และสหรัฐฯ ยังไม่ดำเนินการต่ออายุจนปัจจุบัน
GSP ที่ผ่านและจนถึงปัจจุบัน
1.สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าภายใต้โครงการ GSP เป็นมูลค่า 22,553.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าภาษีศุลกากรที่ได้รับยกเว้นจำนวน 668.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 โดยมีสินค้าสำคัญภายใต้โครงการ GSP ที่ได้รับการยกเว้นภาษีในอัตราสูง ได้แก่ สินค้าเครื่องประดับและชิ้นส่วน สินค้าเกษตรกรรมและอาหาร สินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
สินค้าภายใต้โครงการ GSP ที่ได้รับการยกเว้นภาษีในอัตราสูง 10 รายการแรก ในปี 2553
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้า มูลค่าภาษีที่ มูลค่านำเข้า สัดส่วน GSP/ ได้รับยกเว้น สินค้า GSP การนำเข้า (%) 1.เครื่องประดับและส่วนประกอบ 79.7 1,359.1 6.0 2.เกษตรกรรมและอาหาร 73.3 1,660.1 7.4 3.อุปกรกรณ์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน 52.1 1,579.8 7.0 4.พลาสติกและผลิตภัณฑ์ 46.0 968.2 4.3 5.เคมีภัณฑ์อินทรีย์ 44.1 921.6 4.1 6.ผลิตภัณฑ์ยาง 43.6 1,221.6 5.4 7.ยานพาหนะและส่วนประกอบ 31.6 1,231.7 5.5 8.คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ 28.7 1,003.6 4.4 9.อลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์ 26.3 748.9 3.3 10.เหล็กและผลิตภัณฑ์ 24.6 938.5 4.2 สินค้าอื่นๆ 218.8 11,633.1 51.6 รวมการนำเข้าสินค้า GSP 668.8 22,553.9 100.0 ที่มา: The Trade Partnership
2.สินค้าไทยเป็นได้รับการยกเว้นภาษีภายใต้โครงการ GSP มากที่สุด คิดเป็นมูลค่า 3,611.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ15.9 ของสินค้าที่สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยในปี 2553 ประเทศ อังโกล่า อินเดีย และ บราซิลเป็นผู้ที่รับ GSP มากเป็นอันดับที่ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าที่ได้รับผลประโยชน์จากโครงการมากที่สุด 5 อันดับแรก
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้า มูลค่าภาษีที่ มูลค่านำเข้า สัดส่วน GSP/ ได้รับยกเว้น สินค้า GSP การนำเข้า (%) 1. ไทย 3,611.7 22,653.0 15.9 2. อังโกล่า 3,543.8 11,778.5 30.1 3. อินเดีย 3,481.7 29,614.3 11.8 4. บราซิล 2,124.0 23,401.8 9.1 5. อินโดนิเซีย 1,856.5 16329.9 11.4 ที่มา: The Trade Partnership
3.ในเดือนมกราคม 2554 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ นำเข้าสินค้าในกลุ่ม GSP ซึ่งหมดอายุลง เป็นมูลค่าประมาณ 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสามารถเรียกเก็บภาษีจากสินค้าดังกล่าวได้เป็นมูลค่า 54.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
4.ผู้ผลิตสินค้า (Manufacturers) สหรัฐฯ ต้องนำเข้าวัตถุดิบและส่วนประกอบกว่า ร้อยละ 60 เพื่อใช้ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อไม่มี GSP เป็นผลให้ผู้ผลิตสหรัฐฯ ต้องเสียภาษีนำเข้าวัตถุดิบและส่วนประกอบประมาณร้อยละ 2-15 ซึ่งยังผลต่อการเพิ่มต้นทุนการผลิตสินค้าของสหรัฐฯ
ทางตันการต่ออายุ GSP
สภาผู้แทนสหรัฐฯ (U.S. House of Representatives) ภายใต้การนำของ John Boehner, House Majority Leader ได้เปลี่ยนแปลงเรื่องระเบียบการใช้จ่ายงบประมาณของภาครัฐฯ จาก PAYGO เป็น CUTGO ซึ่งหมายถึงว่า แหล่งเงินของการใช้จ่ายในโครงการใหม่หรือโปรแกรมใหม่ของภาครัฐ จะต้องมาจากการลดหรือตัดการใช้จ่ายโครงการหรือโปรแกรมในปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการควบคุมและลดการขาดดุลย์งบประมาณ ซึ่งที่ปรึกษาทางกฎหมายหลายคนให้ความเห็นว่า ระเบียบการใช้จ่ายแบบ CUTGO จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการต่ออายุ GSP เพราะว่า การยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าภายใต้โครงการ GSP สหรัฐฯ จะเป็นผลให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีไป และในทางปฏิบัติในปัจจุบัน เป็นการยากที่จะตัดงบประมาณการใช้จ่ายของหน่วยงานรัฐ เพื่อนำมาชดเชยในการให้ GSP
ปัจจุบัน วุฒิสมาชิก Jeff Sessions พรรครีพับริกัน รัฐอลาบาม่า ซึ่งเป็นผู้คัดค้านการต่ออายุ GSP เมื่อปลายปี 2553 และเป็นผลให้ GSP ไม่ได้รับการต่ออายุ ยังยืนกรานคัดค้านการต่ออายุ GSP เนื่องจาก การต่ออายุ GSP จะส่งผลเสียต่อการผู้ผลิตสินค้าถุงนอน (Sleeping Bags) ในรัฐอลาบาม่า ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าถุงนอนนำเข้าจากต่างประเทศได้
นอกจากนั้นแล้ว ปัญหาความขัดแย้งเรื่องการตัดงบประมาณแผ่นดินปี 2554 ระหว่าง พรรคดีโมแครท และ พรรครีพับริกัน ในสภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ซึ่งเป็นผลให้งบประมาณแผ่นดินประจำปี 2554 ยังไม่ผ่านสภาฯ และอาจจะส่งผลต่อการหยุดการทำงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (Government Shutdown) เนื่องจากพรรครีพับริกัน ซึ่งเป็นผู้นำเสียงข้างมากในสภาฯ ต้องการตัดงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐฯ จำนวน65,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่พรรคดีโมแครตซึ่งเป็นรัฐบาลแต่มีเสียงข้างน้อย ต้องการลดลงเพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีความแตกต่างกันถึง 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น การยืนหยัดในการตัดงบประมาณของพรรคริพับริกัน จะมีผลเสียต่อการต่ออายุ GSP เนื่องจาก หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ จะต้องตัดงบประมาณลง เพื่อให้งบประมาณผ่านสภาฯ ดังนั้น ภาครัฐจะไม่สามารถตัดงบประมาณโปรแกรม/โครงการเพื่อสนับสนุนการต่ออายุ GSP
ปัจจุบัน จะมีการเรียกร้องจากผู้นำเข้า ร้านค้าปลีกผู้นำของสหรัฐฯ โรงงาน ผลิตสินค้าที่ต้องนำเข้าวัตถุดิบ และ สมาคมสินค้าต่างๆ ในสหรัฐฯ จำนวนมาก รวมไปถึงรัฐบาลของประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ GSP แต่สหรัฐฯ มีภาระกิจที่สำคัญยิ่งกว่า คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการค้า ได้แก่การเจรจาความตกลงทางการค้า FTA การเพิ่มการส่งออกสินค้าสหรัฐฯ และ การเพิ่มการจ้างงานในประเทศ ดังนั้น จึงให้ความสนใจต่อการต่ออายุ GSP ในระดับต่ำ
แนวโน้ม GSP ในอนาคต
ปัจจุบัน การแก้ไขปัญหาเรื่องไม่ต่ออายุ GSP กระทำโดยการเสนอพระราชบัญญัติขอยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าเฉพาะรายการ วุฒิสมาชิก Ron Wyden พรรคดีโมแครท รัฐโอรีกอน เสนอพระราชบัญญัติขอยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้า The U.S. Outdoor Act (S.704) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2554 ซึ่ง GSP หมดอายุ เป็นผลให้สินค้าต้องเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 25 สินค้าดังกล่าว ได้แก่ เสื้อผ้าสวมใส่ในการเล่นกีฬา เช่น Hiking, Biking, Skiing, Snowboarding, Hunting และ Fishing ทั้งนี้ ไม่รวมเสื้อแจ็คเก็ตกันหนาว โดยให้เหตุผลว่า เป็นสินค้าที่ไม่มีการผลิตในสหรัฐฯ การนำเข้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มการจ้างงานในสหรัฐฯ
ผู้นำเข้าเชื่อว่า การต่ออายุ GSP จะยืดเยื้อและใช้เวลาอีกนาน ประกอบกับ ปัจจุบัน สินค้าจากแหล่งผลิตในเอเซียต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเป็นลำดับ จึงต้องปรับแผนรองรับการนำเข้าสินค้าในอนาคต โดยให้เหตุผลว่า ในช่วงเวลาที่สินค้านำเข้าจากแหล่งผลิต/ส่งออก GSP ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้านำเข้า แต่สินค้าจากจีนหรือเวียดนามต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ หรือ MFN (Most Favorite Nation) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สินค้าของผู้ผลิต/ส่งออก GSP ดำรงการแข่งขันได้ แต่เมื่อ GSP หมดอายุลง สินค้านำเข้าจากแหล่งผลิต/ส่งออก GSP ต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ในอัตราปกติเช่นเดียวกันกับสินค้านำเข้าจากจีน หรือ เวียดนาม จึงเป็นผลให้สินค้าของแหล่งผลิต/ส่งออก GSP เสียเปรียบต่อสินค้าจากจีนหรือเวียดนามในแง่ของต้นทุนนำเข้ารวม (Total Import Cost) ของผู้นำเข้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยผลักดันให้ผู้นำเข้าสหรัฐฯ หันไปนำเข้าสินค้าเพิ่มจากจีน หรือ เวียดนาม หรือแหล่งผลิต/ส่งออก GSP ที่มีต้นทุนการผลิตสินค้าต่ำ หรือ แหล่งผลิตที่มีความตกลงทางการค้ากับสหรัฐฯ
ผู้ผลิต/ผู้ส่งออกที่ต้องการให้การสนับสนุนและติดตามความเคลื่อนไหวของการต่ออายุ GSP ของสหรัฐฯ ได้จาก Website: http://tradepartnership.com/site/gsp.html และ http://renewgsptoday.com
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th