ตลาด และ ผลิตภัณฑ์ อาหารในฮังการี

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 11, 2011 11:28 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป

  • ในปี 2010 ส่วนแบ่งเงินทุนจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น (สูงสุดในปี 2543 ร้อยละ 63 แต่ในปี 2552 ลดลงเหลือร้อยละ 47) โดยมีบริษัทจากสาธารณรัฐเช็ก และสโลวาเกียมาลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารฮังการี
  • ใน 10 เดือนแรกของปี 2553 ยอดจำหน่ายของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกอาหาร ลดลงร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าประมาณ 10 พันล้านยูโร
  • การขาดแคลนวัตถุดิบทางการเกษตร ทำให้เกิดปัญหารุนแรงกับอุตสาหกรรมพืชผัก และผลไม้ ในขณะที่การเก็บเกี่ยวพืชผลลดลงร้อยละ 30 แต่ปริมาณข้าวสาลีเพิ่มขึ้นมาก จนส่งผลให้อุตสาหกรรมโรงสีต้องขึ้นราคา เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมนมที่เกิดปัญหาคล้ายๆกัน
  • เป้าหมายสำหรับปี 2011 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมอาจจะไม่ลดลงมากนัก การขายในประเทศจะยังคงอยู่ที่ระดับเดียวกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่การส่งออก จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แผนภูมิแสดงพฤติกรรม และปริมาณการบริโภคอาหารของประชากร และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง

กิโลกรัม/ปี/คน

ค่าเฉลี่ย

    ผลิตภัณฑ์     ปี 2539-    ปี 2545     ปี 2546     ปี 2547     ปี 2548

2543

เนื้อสัตว์           61.8       72.3       68.6       60.9       63.5
ปลา               2.8        3.1        3.3        3.4        3.6
นม              150.9      143.1      138.3      155.2      166.8
ไข่                 15       16.7       16.5       16.7         16
แป้ง              83.2       81.7         82       83.3       91.2
ข้าว               5.1        6.1        6.3        6.1          6
น้ำตาล            38.3       32.6       32.8       32.7       31.2
มันฝรั่ง            66.2       65.3       64.5        68        66.8
กาแฟ              2.5        2.8       2.89        2.7        2.7

การค้าต่างประเทศของผลิตภัณฑ์การเกษตรฮังการี ปี 2552

จากปี 2550 อาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่ม บุหรี่ และวัตุดิบทางการเกษตร (เช่น น้ำมันจากเมล็ดพืช น้ำมันพืช เป็นต้น) มีสัดส่วนการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจากยอดส่งออกโดยรวมของประเทศ และการส่งออกที่เกินดุลของผลิตภัณฑ์เกษตร มีส่วนช่วยสนับสนุนดุลการค้าต่างประเทศ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การนำเข้าและส่งออกมีทิศทางที่ต่างกัน ในขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (โดยเฉพาะหลังจากฮังการีเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป) ส่วนการส่งออกนั้นมีอัตราที่ลดลง กลุ่มสินค้าหลักที่มีผลประกอบการในแนวบวกคือ ธัญพืช และน้ำมันพืช

การค้าต่างประเทศของผลิตภัณฑ์การเกษตร

         กลุ่มผลิตภัณฑ์     ปี 2549     ปี 2550     ปี 2551     ปี 2552     ปี 2549     ปี 2550     ปี 2551     ปี 2552
                                 การส่งออก (พันล้านโฟรินท์)                        การส่งออก (พันล้านยูโร)
อาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่         858      1,086      1,235      1,209       3.18       4.02       4.57       4.48
วัตถุดิบ                     112        131        203        211       0.41       0.49       0.75       0.78
รวม                       970      1,217      1,438      1,420       3.59       4.51       5.33       5.26
                                 การนำเข้า (พันล้านโฟรินท์)                        การนำเข้า (พันล้านยูโร)
อาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่         643        725        861        861       2.38       2.69       3.19       3.19
วัตถุดิบ                      63         67         94         81       0.23       0.25       0.35        0.3
รวม                       706        792        955        942       2.61       2.93       3.54       3.49

ส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์การเกษตรของการค้าต่างประเทศ (%)

การส่งออก                  6.2          7        7.8        8.5
การนำเข้า                  4.4        4.6        5.2        6.1

เป็นที่น่าสังเกตุว่า โครงสร้างทางภูมิศาสตร์ของการค้าผลิตภัณฑ์เกษตรฮังการี มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป การส่งออกไปยังภูมิภาคยุโรปมีอัตราเพิ่มขึ้น น้อยกว่าการนำเข้า

ในปี 2552 ผลิตภัณฑ์การเกษตรของฮังการี มีการค้าขายกับประเทศทั่วโลกจำนวน 150 ประเทศ เป็นการค้าแบบทวิภาคีจำนวน 97 ประเทศ เฉพาะการส่งออก 33 ประเทศ และเฉพาะการนำเข้า 20 ประเทศ การส่งออกส่วนใหญ่มีความสมดุลทางการค้า ในขณะที่การนำเข้าแม้จะมาจากเพียงไม่กี่ประเทศแต่มีปริมาณและมูลค่ามากกว่า

ร้อยละ 80 ของการส่งออก (จากทั้งหมด 13 ประเทศ) เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปจำนวน 11 ประเทศ ขณะที่การนำเข้าร้อยละ 80 มาจากสมาชิกสหภาพยุโรปจำนวน 10 ประเทศ

                              การส่งออกของฮังการี                               การนำเข้าของฮังการี
         ประเทศ        พันล้าน      ล้านยูโร    ส่วนแบ่ง%     ประเทศ        พันล้าน      ล้านยูโร    ส่วนแบ่ง%
                       โฟรินท์                                          โฟรินท์
  1      เยอรมนี        217.6       80.59       15.3     เยอรมนี        210.8       78.07       22.4
  2      โรมาเนีย       192.7       71.37       13.6     โปแลนด์        117.8       43.63       12.5
  3      อิตาลี          161.6       59.85       11.4     เนเธอร์แลนด์    114.8       42.52       12.2
  4      ออสเตรีย       111.8       41.41        7.9     ออสเตรีย        78.5       29.07        8.3
  5      สโลวาเกีย       94.9       35.15        6.7     สโลวาเกีย       63.9       23.67        6.8
  6      เนเธอร์แลนด์       71        26.3          5     อิตาลี           52.9       19.59        5.6
  7      สาธารณรัฐเช็ก    52.5       19.44        3.7     สาธารณรัฐเช็ก    51.8       19.19        5.5
  8      โปแลนด์           50       18.52        3.5     ฝรั่งเศส         34.8       12.89        3.7
  9      ฝรั่งเศส         47.1       17.44        3.3     เบลเยียม        24.2        8.96        2.6
  10     สหราชอาณาจักร   41.3        15.3        2.9     สเปน           21.6           8        2.3
                   รวม                         73.3             รวม                           81.9

จะเห็นได้ว่า ประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของฮังการีทั้งด้านนำเข้าและส่งออก คือประเทศเยอรมนี

ด้านการส่งออกของฮังการี ประเทศส่งออกอันดับสอง คือประเทศโรมาเนีย โดยส่วนใหญ่เป็นการส่งออก สุกร เมล็ดทานตะวัน น้ำตาล ผลไม้แปรรูป เครื่องดื่ม เป็นต้น ส่วนประเทศอิตาลีเป็นอันดับสาม ส่วนใหญ่ส่งออก แกะ สุกร สัตว์ปีก นม ข้าวสาลี และข้าวโพด เป็นต้น

ด้านการนำเข้าของฮังการี ประเทศนำเข้าอันดับสองคือประเทศโปแลนด์ และเนเธอร์แลนด์เป็นอันดับสาม โดยส่วนใหญ่จะนำเข้า สุกร ผลิตภัณฑ์นม ไข่ และอาหารแปรรูป เป็นต้น

จากตารางแสดงให้เห็นถึงดุลการค้าของผลิตภัณฑ์เกษตร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนค่า GDP และส่งผลต่อดุลการค้าเกินดุลของประเทศเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันแสดงถึงระดับและศักยภาพในการผลิตและจำหน่ายของแต่ละประเทศ

                        ได้ดุลการส่งออก                                      ได้ดุลการนำเข้า
                ประเทศ              ส่วนแบ่งการส่งออก %             ประเทศ        ส่วนแบ่งการนำเข้า %
  1   โรมาเนีย                                       27.6    โปแลนด์                             42.9
  2   อิตาลี                                          17.1    เนเธอร์แลนด์                         27.7
  3   รัสเซีย                                          6.5    ไอร์แลนด์                             5.9
  4   ออสเตรีย                                        5.2    สหรัฐอเมริกา                          4.2
  5   สโลวาเกีย                                       4.9    เซอร์เบีย                               3
  6   โครเอเชีย                                       3.3    บราซิล                               2.9
  7   ยูเครน                                          3.2    สเปน                                2.4
  8   บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา                             3    เดนมาร์ก                             2.3
  9   บัลแกเรีย                                        2.7    อินเดีย                               1.7
  10  กรีซ                                            2.6    จีน                                  1.3
  11  สหราชอาณาจักร                                   2.4    ไทย                                   1
  12  สวิสเซอร์แลนด์                                    2.2    อาร์เจนตินา                           0.9

กลยุทธ์สำคัญของอุตสาหกรรมอาหารฮังการี

กลยุทธ์การผลิต และการแปรรูปอาหาร เป็นสิ่งที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อจำกัดทางนิเวศวิทยา และข้อจำกัดของพื้นที่เพาะปลูก ที่ใกล้จะขาดแคลนไปทั่วโลก

ในหลายปีที่ผ่านมา การผลิตอาหารมีมากเกินความต้องการ ดังนั้น ในปัจจุบัน การจัดจำหน่ายสินค้าอาหารที่มีความเหมาะสมทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ จึงกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อสังคมและการเมืองเป็นอย่างมาก สำหรับบางประเทศที่พึ่งพาการนำเข้า อาจก่อให้เกิดปัญหาความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยและคุณภาพของอาหาร ซึ่งเป็นผลจากการค้าเสรีของสินค้าอาหารทั่วโลก ดังนั้น ผู้บริโภคจึงหันไปให้ความสนใจต่อเกษตรกรผู้ปลูกในท้องถิ่นมากขึ้น เพราะสามารถรับประกันความปลอดภัยในอาหารได้

กรณีประเทศที่มีข้อได้เปรียบทางการผลิต เช่น ฮังการี ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์ดังกล่าว นโยบายพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ สนับสนุนการใช้ทักษะความสามารถที่เป็นมรดกตกทอดอย่างเต็มที่ อุตสาหกรรมอาหารฮังการีอาจจะพลิกฟื้นกลับมามีความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มปริมาณการจำหน่ายที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศ พัฒนาการส่งออก และเพิ่ม GDP ของประเทศให้สูงขึ้น อุตสาหกรรมอาหารของฮังการี มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานเป็นอย่างมาก จากข้อสนับสนุนที่ว่า ประมาณร้อยละ 65 ของผลิตภัณฑ์การเกษตร จะถูกซื้อเพื่อการแปรรูป นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารยังสามารถสร้างงานกว่า 126,000 ตำแหน่ง และประชากรจำนวน 100,000 คนเป็นเกษตรกร เพาะปลูกพืชวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อใช้สำหรับการแปรรูปอาหาร

หลังจากเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของฮังการี ไม่สามารถหาผลกำไรจากตลาดยุโรปได้เท่าที่ควร ในทางตรงกันข้าม การนำเข้าจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปใหม่ กลับมีส่วนแบ่งทางการตลาดของฮังการีมากขึ้น ทิศทางการส่งออกนั้น ยังอยู่ในเกณฑ์ดี และยอดดุลการค้าต่างประเทศยังคงเป็นบวก

สิ่งกระตุ้นจากรัฐบาล

รัฐบาล และกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท ได้ออกแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

  • เพื่อรักษาความมั่นคงของเกษตรกร และโรงงานอุตสาหกรรมในด้านการเงิน จึงมีการจัดเตรียมแผนพัฒนาทางการเงินฉบับพิเศษขึ้น
  • ให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง ความตั้งใจและเอาใจใส่ และความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพ
  • จะสนับสนุนผู้ที่ให้ความร่วมมือในการทำตลาด
  • การแปรรูป และการผลิตที่มีคุณภาพสูง จนสามารถเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ ควรจะได้รับสิทธิพิเศษที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับการผลิตทั่วไปใน

ปริมาณมาก

  • กิจการที่มีการดำเนินงานอย่างเข้าใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ควรจะได้รับการสนับสนุน และจัดสรรกองทุนวิจัยและพัฒนาทาง

การตลาด

  • ความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมการบริการอาหาร (HoReCa) จะต้องได้รับการสนับสนุน โดยเสริมสร้าง

ความแข็งแกร่งให้กับผู้ค้ารายย่อย

  • สนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรของฮังการี มากกว่าสินค้านำเข้า โดยการสนับสนุนด้านการตลาด (ให้ใช้ตราสินค้า “แบรนด์

ฮังการี”) และการกำกับดูแลการจัดสินค้าของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกอาหารในเครือ เพื่อป้องกันการเลือกสรรสินค้า ดังนั้น บนชั้นวาง

จำหน่ายสินค้าแต่ละประเภท จะต้องมีผลิตภัณฑ์จากฮังการีจัดวางไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม

ที่มา : KSH, Ministry of Agriculture and Rural Development, VG, Food Magazine

สคร. ณ กรุงบูดาเปสต์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ