รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะการค้าภูมิภาคอเมริกาเหนือ ประเทศแคนาดา

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 11, 2011 15:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศแคนาดา

สคร. แวนคูเวอร์

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้า (มีนาคม 2554)

หน่วยงาน Statistic Canada ได้ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจแคนาดาในภาพรวมล่าสุด ดังนี้

1. Real GDP: + 0.5 % (ม.ค. 2554) — เทียบกับ + 0.8% เมื่อเดือน ธ.ค. 2553

2. Unemployment Rate: 7.8 % (ก.พ. 2554) - เทียบกับ 7.8 % ในเดือนม.ค. 2554

3. Merchandise Export: + 0.8% (ม.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ ธ.ค. 2553

4. Merchandise Import: + 5.3 % (ม.ค. 2554) เมื่อเทียบกับ ธ.ค. 2553

5. Inflation Rate: 2.2 % (ก.พ.2554) — เทียบกับ 2.3 % ในเดือนม.ค. 2554

ความเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของเศรษฐกิจประเทศแคนาดา

ปัจจัยหลักที่มีผลขับเคลื่อนต่อเศรษฐกิจในเดือนม.ค. 2554 (+ 0.5 %):

  • ปัจจัยบวกเป็นผลจาก : ภาพรวมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เพิ่มขึ้น โดยเนื่องมาจากภาคการผลิตสินค้า , การขนส่ง , ธุรกิจค้าส่ง รวมทั้งธุรกิจภาคการเงินและการประกันภัย , ธุรกิจก่อสร้างและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
  • ด้าน Manufacturing (โรงงาน และการผลิต): เพิ่มขึ้น 2.8% ซึ่งเป็นการผลิตทั้งสินค้า Durable และ Non-Durable โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กกล้า, รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบ , อาหาร เครื่องดื่ม, กลุ่มบุหรี่และยาสูบ
  • ด้านธุรกิจค้าส่ง : เพิ่มขึ้น 0.7% (เป็นเดือนที่4 อย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ
  • ด้านธุรกิจภาคการเงินและการประกันภัย : เติบโต 0.6% เนื่องมาจากปริมาณซื้อ-ขายหุ้นมากขนึ้ รวมทั้งการปล่อยกู้สำหรับบุคคลและธุรกิจที่มากขึ้น
  • ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง : เพิ่มขึ้น 0.4% ในทุกๆ ภาคของการก่อสร้าง อาทิ อาคารสำหรับที่พักอาศัยและสำนักงาน งานวิศวกรรม และงานต่อเติม-ซ่อมแซมอาคาร
  • ปัจจัยลบเป็นผลจาก : ภาคอุตสาหกรรมการขุดเจาะเหมืองแร่ และพลังงาน (Mining & Oil and Gas Extraction) และ ภาคธุรกิจค้าปลีก
  • ภาคอุตสาหกรรมการขุดเจาะเหมืองแร่ และพลังงาน : ลดลง 0.5% อันเป็นผลเนื่องมาจากความยากลำบากในการผลิตน้ำมันสังเคราะห์(Synthetic Oil)
  • ด้านธุรกิจค้าปลีก: ลดลง 0.1% ในกลุ่มสินค้าทั่วไปในห้างสรรพสินค้า , อาหารและเครื่องดื่ม , ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และร้านค้าจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทย-แคนาดา: ตัวเลขฝ่ายไทย

             มูลค่า(ล้านเหรียญสรัฐ)              มูลค่า(ล้านเหรียญสหรัฐ)             อัตราการขยายตัว(%)
                                   ม.ค. — ก.พ. 53      ม.ค. — ก.พ. 54      ม.ค. — ก.พ.53/54
          มูลค่าการค้า                     375.4               500.2               33.24
          ไทยส่งออก                      214.2               253.0               18.12
          ไทยนำเข้า                      161.2               247.2               53.39
          ดุลการค้า                        53.0                 5.8

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น (ม.ค.-ก.พ.54) เมื่อพิจารณาสินค้าส่งออก 20 อันดับแรก ได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 14 รายการ ได้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ (+1.85%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(+16.49 %) ยางพารา (+104.39%) เครื่องนุ่งห่ม (+18.60%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ (+35.56%) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (+25.54%)

ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน (+409.01%) ผลิตภัณฑ์ยาง (+56.78%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัฌฑ์(+45.14%) อัญมณีและเครื่องประดับ (+46.32%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+55.19%) เครื่องกีฬาและเครื่องเกมส์(+51.90%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (+36.77%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+483.87%)

สินค้าส่งออกไทยไปแคนาดาที่มีอัตราขยายตัวลดลง (ม.ค.-ก.พ.54) ตามลำดับจากมูลค่าสูงสุด (20 อันดับแรก) มี 6 รายการ ได้แก่กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (-3.59%) ข้าว (-49.20%) เครื่องยนต์ สันดาปแบบภายในและลูกสูบ (-32.30%) เตาอบไมโครเวฟ (-17.45%) เลนซ์(-20.72%) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่อง (-0.17%)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ