สถานการณ์การค้าภาพรวมสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 18, 2011 11:24 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศบราซิล มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางทั่วโลก ปี 2553 (ม.ค.) รวมมูลค่า 261 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากไทย 24 ล้านเหรียญสหรัฐ บราซิลส่งออกผลิตภัณฑ์ยางไปทั่วโลก 152 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งมาประเทศไทย 1 ล้านเหรียญสหรัฐ

บราซิลนำเข้ายางจากไทย ยางแผ่นไปผลิตยางรถยนต์ และนำเข้าถุงยางอนามัย และถุงมือยาง วงแหวนยาง บราซิลมีโรงงานผลิตรถยนต์ใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ มีโรงงานผลิตยางรถยนต์ใหญ่ 4 โรงงาน เพื่อใช้กับรถยนต์ที่ผลิตในบราซิลปีละ 3.5 ล้านคัน และชิ้นส่วนยางที่ใช้ในรถยนต์จำนวนมาก ทำให้มีความต้องการการนำเข้ายางผลิตภัณฑ์จากยางจำนวนมาก และบราซิลการต้องการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์จึงมีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งถุงมือยางและถุงยางอนามัย ยังมีความต้องการใช้ในประเทศจำนวนมากเนื่องจากบราซิลเป็นประเทศใหญ่มีประชากร 190 ล้านคน ปริมาณการใช้สูงมากเช่นกัน

การคิดภาษีนำเข้าสินค้าผลิตภัณฑ์ยาง

          IPI              Tax on Industrialized Products                                 0%
          ICMS            (Tax on Good and Service Circulation)                          18% ( VAT)
          PIS/Cofins      (Tax on Industrialized Products)                                0%
          II               Imports Tax          5.5% (ยางธรรมชาติ)                      17.5%  (ผลิตภัณฑ์ยาง)
          รวมภาษีทุกประเภทประมาณ                 23.5% (ยางธรรมชาติ)                      35.5%  (ผลิตภัณฑ์ยาง)

การวิเคราะห์สภาพของสภาพผลิตภัณฑ์ยาง ในประเทศบราซิล

Strengths ประเทศไทยปลูกยางส่งออกน้ำยางได้จำนวนมาก เป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ของโลก ผลผลิตมีมากเพียงพอสำหรับการส่งออก มีการผลิตอุตสาหกรรมจากยางมากมาย สามารถส่งออกได้ในราคาที่แข่งขันและเป็นที่รู้จักในตลาดบราซิลได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ

Weakness โรงงานผู้ผลิตผลิตภัณฑ์จากยางขนาดกลางเล็ก มีปัญหาเรื่องยางแผ่น ในราคาเปลี่ยนแปลง และการแข่งขันราคากัน

Opportunities ยางเป็นวัตถุจากธรรมชาติ ที่เป็นผลผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และสามารถพัฒนา ไปใช้ทดแทนวัตถุอื่นๆ เช่นกระดาษ พลาสติก เหล็ก ในอนาคต และด้านการแพทย์ สุขอนามัย โอกาสที่ยางของไทยที่ผลิตได้ ยังคงเป็นที่ต้องการต่อไป บราซิลเป็นประเทศใหญ่มีอุปสงค์ในสินค้ายางมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่นในทุกครัวเรือนของบราซิลมีการใช้ถุงมือยางสำหรับการล้างจาน และถุงมือทำความสะอาดบ้านและห้องน้ำ ในแต่ละบ้านจะมีถุงมือ 2 คู่ ประจำทุกบ้าน อายุการใช้งาน 2-4 เดือนต่อคู่ ราคาคู่ละประมาณ 7 เฮอัล หรือประมาณ 140 บาท บราซิลมีประชากร 190 ล้านคน เป็นโอกาสที่ดีต่อสินค้ายางจากไทย

Threats สินค้าจากจีนและมาเลเซีย เข้ามาแข่งขันในตลาดบราซิลเช่นกัน ผู้ผลิตไทยต้องเปลี่ยนมาหาตลาดด้วยตนเอง ทำสินค้าให้มีรูปแบบที่แตกต่าง สวยงาม ลงทุนในการออกแบบ พัฒนาคุณภาพ ให้เป็นที่สนใจของลูกค้าบราซิล

สถานการณ์การค้าภาพรวมสินค้ายานยนต์ อุปกรณ์ส่วนประกอบอะไหล่ยนต์

ประเทศบราซิล มีการนำเข้ายานยนต์ชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์ทั่วโลก ปี 2553 ( ม.ค.) รวมมูลค่า 1,467 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยนำเข้าจากไทย 42 ล้านเหรียญสหรัฐ บราซิลนำเข้า และส่งออกไปทั่วโลก 836 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งมาประเทศไทยมูลค่า 86,771 เหรียญสหรัฐ

บราซิลนำเข้าชิ้นส่วนอะไหล่ยนต์จากไทย เพื่อนำไปประกอบเครื่องยนต์ และส่วนประกอบตัวถังรถยนต์ โดยในปีที่ผ่านมาไม่มีนำเข้ารถประกอบสำเร็จจากประเทศไทย บราซิลเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในอเมริกาใต้ ผลิตได้ปีละ 4.5 ล้านคัน ประกอบด้วยรถยนต์ค่ายยุโรป อเมริกา รวมทั้งญี่ปุ่น เกาหลีที่เข้ามาในภายหลังและได้รับความนิยม อย่างรวดเร็วจากเดิมที่นำเข้าทั้งคัน ปัจจุบันประกอบในประเทศบราซิลหลายรุ่น และรถยนต์จากเกาหลีได้รับความนิยมสูงขึ้นต่อจากรถญี่ปุ่น

สำหรับชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ของไทยนำเข้ามาประกอบมากสุดรถยนต์ ฮอนด้า ( ใช้ชิ้นส่วนประมาณ 30%จากประเทศไทย) รวมทั้งโตโยต้า และจีเอ็ม อย่างไรก็ตามส่วนอะไหล่ที่ไม่ได้ผลิตสำหรับส่งโรงงาน (REM) ในประเทศบราซิลยังไม่สนใจจากผู้ใช้รถยนต์ เนื่องจากนิยมการซ่อมรถผ่านทางศูนย์ซ่อมของบริษัทรถยนต์ จะใช้อะไหล่จากบริษัทที่รับรองโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ส่วนการซ่อมในอู่นอกเครือข่ายของบริษัท ก็มีค่าแรงงานช่างซ่อมสูงเช่นกัน จึงไม่นิยมใช้อะไหล่ที่ไม่ได้รับรองจากบริษัท อย่างไรก็ตาม ในอนาคตคาดว่าอะไหล่นอกบริษัท (REM) จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาอะไหล่จากบริษัทรถยนต์รวมค่าแรงสูงมากในการซ่อมแต่ละครั้ง และรถยนต์เก่าในบราซิลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การซ่อมบำรุงเปลี่ยนชิ้นส่วนจะไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคารถเก่า เจ้าของรถจะหาอู่ภายนอก ซ่อมกันเองในราคาที่ถูกกว่า จะเป็นโอกาสของอะไหล่นอกบริษัท ที่จะได้รับความนิยมใช้เพิ่มขึ้น

การคิดภาษีนำเข้าสินค้าอุปกรณ์ส่วนประกอบอะไหล่ยนต์

          IPI             Tax on Industrialized Products                                  10%
          ICMS           (Tax on Good and Service Circulation)                            18% ( VAT)
          PIS/Cofins     (Tax on Industrialized Products)                               5-30%
          II              Imports Tax                                                     20%
          รวมภาษีทุกประเภทประมาณ                                                       53 - 78%

การวิเคราะห์สภาพของสภาพอุปกรณ์ส่วนประกอบอะไหล่ยนต์ ในประเทศบราซิล

Strengths ประเทศไทยอุปกรณ์ส่วนประกอบอะไหล่ยนต์ ของรถญี่ปุ่นและเกาหลี เกือบทุกรุ่นได้ ในราคาถูก และคุณภาพที่ดีกว่าจีน เนื่องจากมีการใช้รถยนต์ญี่ปุ่นรุ่นที่ประกอบในประเทศไทยจำนวนหลายรุ่น และเป็นที่นิยมใช้ในบราซิลเช่นเดียวกัน

Weakness ปัญหาของอะไหล่ยนต์ ผลิตภัณฑ์มีหลายระดับของคุณภาพ ทำให้ขาดความเชื่อถือของผู้ใช้ อะไหล่บางอย่างไม่ได้รับการรับรองจากบริษัท หรือสินค้า OEM ที่ไม่สามารถติดตราบริษัทรถยนต์ได้ทำให้ดูเหมือนสินค้าปลอมไม่ได้มาตรฐาน ประกอบกับคู่มือระบุรหัสของชิ้นส่วนรถยนต์ในแต่ละรุ่นแต่ละยี่ฮ้อและหมายเลขเทียบเคียงของอะไหล่ OEM และ REM ไม่แพร่หลายทำให้ รุ่นที่ใช้กับรถยนต์ ไม่สะดวกต่อผู้ที่ต้องการซื้อไปซ่อมเอง

Opportunities โอกาสที่อุปกรณ์ส่วนประกอบอะไหล่ยนต์ สามารถขยายตัวการส่งออกต่อไปได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ผลิตรถยนต์จากญี่ปุ่นและอเมริกา ในเอเชีย มีความเชี่ยวชาญเทคโนโลยี ทันสมัยตลอดเวลา ประกอบกับรถยนต์ญี่ปุ่นได้รับความนิยมในบราซิลมากขึ้น ทำให้ อะไหล่ยนต์ผลิตในไทย สามารถใช้ได้กับรถยนต์ญี่ปุ่นและอเมริกาที่ผลิตในบราซิลเช่นกัน

Threats รถยนต์จากเกาหลีและจีน เริ่มบุกตลาดนี้ และรถเกาหลีได้รับความนิยมมาก รถยนต์เกาหลีและจีนมีราคาถูก การบริการซ่อมหลังการขาย ยังไม่เพียงพอและทั่วถึง ต่อรถยนต์ที่จำหน่ายและประกอบค่าแรงงานช่องซ่อมที่สูง รวมอะไหล่ จากบริษัทผู้จำหน่ายรถ เจ้าของรถอาจหาอู่ซ่อมนอกบริษัทที่ค่าแรงถูกกว่า และหาอะไหล่ที่ถูกกว่า จึงเป็นที่น่าสนใจที่ผู้ผลิตไทยเตรียมการล่วงหน้าสำหรับ supply อะไหล่รถยนต์จีนและเกาหลี สำหรับผู้ให้บริการอู่ซ่อมรถทั่วไปได้

ข้อเสนอแนะ บราซิลและไทยต่างเป็นฐานประกอบรถยนต์ของรถยนต์รายใหญ่ ทั่วโลก และเพื่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ของแต่ละประเทศเป็นไปอย่างมั่นคงและประหยัดในเรื่องขนาดของการผลิตและทักษะความร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนที่แตกต่างกัน เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายไปประกอบรถยนต์ เป็นธุรกรรมข้ามประเทศมากขึ้น

สคร .เซาเปาโล

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ