1. ข้อมูลประเทศทั่วไป
1.1 รูปภาพ ทำเลที่ตั้งของประเทศ
ประเทศนิการากัวเป็นประเทศมีพื้นที่มากที่สุดในอเมริกากลาง แต่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศฮอนดูรัส ทางใต้จรดประเทศคอสตาริกา ชายฝั่งตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนชายฝั่งตะวันออกจรดทะเลแคริบเบียน
1.2 ชื่อเป็นทางการ สาธารณรัฐนิการากัว (ภาษาสเปน: Repblica de Nicaragua)
1.3 เมืองหลวง กรุงมานากัว (Managua) มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน 1.4 ขนาดพื้นที่ 130,370 ตารางกิโลเมตร (ใกล้เคียงกับขนาดของประเทศกรีซ) 1.5 ประชากร 5.67 ล้านคน
1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ ทองคำ เงิน ทองแดง ทังเสตน ตะกั่ว สังกะสี ป่าไม้ และประมง
1.7 ประวัติศาสตร์ ได้ประกาศอิสรภาพจากสเปนในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1821 แต่ได้รับการ
ยอมรับในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1850
เชื้อชาติ เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียน) ร้อยละ 69 ผิวขาว ร้อยละ 17 ผิวดำร้อยละ 9
และอเมริกัน-อินเดียน ร้อยละ 5
ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 58.5 คริสต์นิกายอื่นๆ ร้อยละ 24 และมี
ชาวพุทธอยู่ร้อยละ 0.1
ภาษา ภาษาทางการคือภาษาสเปน มีภาษาพื้นบ้านคือ Creole Miskito Sumo และ Rama
1.8 ระบอบการปกครอง
นิการากัวมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐและผู้นำรัฐบาล นายแดนเนียน ออร์เตกา ซาเวดรา Daniel ORTEGA Saavedra ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2007 วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติมีสภาเดี่ยว ตำแหน่งผู้แทนสภา 92 ตำแหน่ง ระบบการเมืองเป็นระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (multiparty) และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 จังหวัด (departamentos) กับ 2 เขตปกครองตนเอง
1.9 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ
มีเส้นทางถนนจำนวน 19,137 กิโลเมตร สนามบิน 143 แห่ง สนามบินระหว่างประเทศ คือ Augusto C. Sandino International Airport ที่กรุงมานากัว มีความสามารถรับผู้โดยสารได้ 1.1 ล้านคนต่อปี สายการบินสำคัญคือ สายการบิน Nicaragense de Aviacin (NICA) เส้นทางน้ำ 2,220 กิโลเมตร มีทะเลสาบใหญ่ 2 แห่ง คือ ทะเลสาบมานากัว และทะเลสาบนิการากัว มีท่าเรือทั้งหมด 7 แห่ง แต่ท่าเรือที่สำคัญคือท่าเรือ Bluefields ฝั่งทะเลแคริเบียน และท่าเรือ Corinto ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนี้แล้ว ยังมีระบบท่อส่งน้ำมันความยาว 54 กิโลเมตร
2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศนิการากัว
ประเทศนิการากัวเป็นประเทศที่มีฐานะยากจนที่สุดในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอัตราการว่างงานและความยากจนสูง เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองแบบผูกขาดเป็นระยะเวลาร่วม 30 กว่าปี ตามด้วยปัญหาการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในระยะต่อมา การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีคาฟต้ากับประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2006 ได้ช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่ม โดยเฉพาะสิ่งทอและเสื้อผ้า แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี Ortega ซึ่งมีความคิดเห็นโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย และมีความใกล้ชิดกับผู้นำของประเทศเวเนซุเอลา ได้เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำและส่งเสริมการร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจจากประเทศเวเนซูเอลาเพิ่มขึ้น ทำให้บรรยากาศการลงทุนเสื่อมสภาพลง ชาวนิการากัวได้ย้ายถิ่นฐานหนีปัญหาการเมืองและสภาวะความยากจนเป็นล้านคน นิการากัวจึงพึ่งการส่งเงินกลับจากแรงงานในต่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของนิการากัวคือภาระหนี้ระหว่างประเทศที่สูงซึ่งทำให้งบดุลขาดดุลมาโดยตลอด ซึ่งในปี ค.ศ. 2004 ได้รับความช่วยเหลือในการปรับลดหนี้และเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของ IMF นิการากัวได้เริ่มฟื้นฟูจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ และคาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 3 ในปี ค.ศ. 2011
สรุปข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจนิการากัว
GDP-PPP GDP GDP per จำนวน อัตราเงิน อัตรา อัตรา อัตราแลก ปี (mil. Growth Cap ประชา เฟ้อ การว่าง ดอกเบี้ย เปลี่ยนต่อ USD) (%) (USD) กร (%) งาน เงินดอลล่าร์ (ล้าน (%) สหรัฐ
คน)
2008 16,698 3.8 2,946 5.79 11.1 4.9 13.04 19.374 2009 16,607 3.2 2,892 5.89 19.8 5.6 13.04 20.34 2010 17,269 -1.5 2,969 5.99 3.7 8.2 13.17 21.35 ที่มา: indexmundi.com
2.2 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ
ประเทศนิการากัวมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในปลายปี ค.ศ. 2010 ประมาณ 1.58 พันล้านเหรียญสหรัฐ
2.3 โครงสร้างการผลิตภายในประเทศนิการากัว
ภาคบริการมีสัดส่วนความสำคัญในผลผลิตแห่งชาติร้อยละ 56 ภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 26.5 และภาคเกษตรกรรมร้อยละ 17.6 สินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ กาแฟ ฝ้ายและกล้วย กิจกรรมด้านเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ การก่อสร้าง เหมืองแร่ ประมง และการพาณิชย์ ส่วนการท่องเที่ยวได้เติบโตเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2007 เป็นภาคเศรษฐกิจที่ให้รายได้ต่างประเทศอันดับสองรองจากการรับเงินโอนกลับจากต่างประเทศ
2.4 ข้อมูลด้านการลงทุน
การลงทุนจากภาคเอกชนจะมีสภาพขึ้นกับกับปัจจัยทางการเมือง ในปี ค.ศ. 1999 ได้มีเงินลงทุนจากต่างชาติเข้าประเทศนิการากัวจำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ได้ลดลงเป็นเพียง 100 ล้านเหรียญฯ ในปี 2001 การเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศภายใต้โครงการปรับโครงสร้างของ IMF รวมกับการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2002 ได้ช่วยเพิ่มมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศเป็น 508 ล้านเหรียญฯ ในปี 2010
3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของนิการากัว
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศนิการากัว
ในปี ค.ศ. 2010 นิการากัวมีมูลค่าการส่งออกรวม 8.47 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2009 ร้อยละ 17 คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ ประเทศสหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 61.9 เอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 7.7 และคอสตาริกา ร้อยละ 3.7 สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กาแฟ เนื้อวัว กุ้งและกุ้งกาม ยาสูบ น้ำตาล ทองคำ ถั่ว สิ่งทอและเสื้อผ้า
การนำเข้าในปี 2010 มีมูลค่า 12.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นร้อยละ 9.8 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 22.6 เวเนซุเอลา ร้อยละ 12.3 เม็กซิโก ร้อยละ 9 คอสตาริกา ร้อยละ 8.7 จีน ร้อยละ 7.2 กัวเตมาลา ร้อยละ 7 และเอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 5.6 โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญคือ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรและอุปกรณ์ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์น้ำมัน
3.2 ความร่วมมือทางการค้ากับต่างประเทศ
ประเทศนิการากัวได้เข้าร่วมองค์การค้าโลกในปี ค.ศ. 1995 เป็นประเทศสมาชิกกลุ่ม Central American Common Market-CACM เมื่อปี ค.ศ. 1960 มีความตกลงเขตการค้าเสรีพหุภาคีกับประเทศสหรัฐฯ ภายใต้กรอบของกลุ่ม DR-CAFTA ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 และความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกลุ่มอเมริกากลางกับปานามา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002 สำหรับในระดับทวิภาคี ประเทศนิการากัวได้ลงนามในความตกลงการค้าเสรีกับเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1997 สาธารณรัฐโดมินิกันในปี ค.ศ. 1998 และกับไต้หวันในปี ค.ศ. 2006 นอกจากนี้แล้ว ยังมีความตกลงให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับประเทศโคลัมเบียตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 และเวเนซุเอลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986
4. ข้อมูลทางการค้ากับประเทศไทย
4.1 ภาพรวมสถานการณ์/ ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างนิการากัวกับไทย
มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975โดยรัฐบาลไทยมอบหมายให้เอกอัครราชทูตไทยประจำ กรุงเม็กซิโก ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำนิการากัวอีกตำแหน่งหนึ่ง ในขณะที่นิการากัวได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น มีอำนาจในเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย และแต่งตั้งนายอาณัฐชัย รัตตกุล เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์นิการากัวประจำประเทศไทย เมื่อปี ค.ศ. 1994
ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญระหว่างกันในระหว่างวันที่ 20-25 มีนาคม ค.ศ. 2000 โดยเป็นเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการโดยประธานาธิบดีของนิการากัว นาย Arnoldo Aleman Lacayo
4.2 มูลค่าการค้าของไทยกับนิการากัว
ในปี ค.ศ. 2010 การค้าสองฝ่ายระหว่างไทยกับนิการากัวมีมูลค่ารวม 31.326 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 74.5 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 30.712 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยส่งออกไปยังนิการากัวในปี 2010 มูลค่า 31.019 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2009 เทียบเท่ากับเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.0 การนำเข้าจากนิการากัวในปี 2010 มีมูลค่า 306,847 เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2009 ร้อยละ 49
การค้าระหว่างไทยกับนิคารากัว
มูลค่า: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ปี ดุลการค้า ส่งออก นำเข้า ปริมาณการค้ารวม 2008 37.151 38.563 1.411 39.974 2009 17.542 17.742 0.206 17.948 2010 30.712 31.019 0.307 31.326 แหล่งข้อมูล: Thailand Trading Report, MOC.
4.3 สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศนิการากัว และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว
สินค้าที่ไทยส่งออกไปนิการากัว คือ รถยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอและสินค้าตกแต่งเสื้อผ้า สินค้าอาหารทะเลแปรรูป เครื่องซักผ้า/อบผ้าและชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ สินค้ายาง และชิ้นส่วนเครื่องจักร ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว ได้แก่ หนังสัตว์ เสื้อยืด เสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื้อ ผักผลไม้ มอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วน กาแฟ ยาและผลิตภัณฑ์เภสัช และเส้นลวด
สินค้าส่งออก/นำเข้าสำคัญระหว่างไทยกับนิการากัว
มูลค่า: เหรียญสหรัฐฯ
อันดับ รายการสินค้าส่งออก มูลค่าส่งออก รายการสินค้านำเข้า มูลค่านำเข้า 1 Motor cars, parts, 25,621,032 Animal, products 234,826 accessories 2 Woven fabrics 1,892,478 Garments 54,870 3 Prepared/preserved fish, 1,865,357 Edible meat 12,238 crustaceans, 4 Washing/dry clean 342,379 Vegetable, products 3,833 machines, parts 5 Apparel & clothing, 180,292 Motorcycle, bicycle parts, 388 accessories accessories 6 Spark-ignition 175,792 Coffee, tea and spices 285 reciprocating internal 7 Chemical products 170,091 Machinery, parts 146 8 Refrigerators, parts 151,712 Medicinal and 145
pharmaceutical products
9 Rubber products 148,897 Electrical machinery and 52
parts
10 Machinery, pars 119,543 Stranded wire and cable 49 แหล่งข้อมูล: Thailand Trading Report, MOC.
4.4 สินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทยสำหรับประเทศนิการากัว
โอกาสในการขยายปริมาณสินค้าที่ส่งออกเดิม ซึ่งได้แก่ รถยนต์ อะไหล่ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ตกแต่ง สิ่งทอและสินค้าตกแต่ง เสื้อผ้าสำเร็จรูปและผ้าผืน สินค้าอาหารทะเลแปรรูป เคมีภัณฑ์ สินค้ายาง และชิ้นส่วนเครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
4.7 ลู่ทางการค้าและการลงทุน
บริษัทที่ทำการผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าไทยที่กำลังแสวงหาฐานการผลิตต้นทุนค่าแรงงานต่ำ อาจจะพิจารณาย้ายฐานการผลิตสิ่งทอในส่วนที่มีเป้าหมายการส่งออกไปสู่ตลาดในประเทศสหรัฐฯ ไปยังประเทศนิการากัว ทั้งนี้ ค่าแรงงานขั้นต่ำของนิการากัวมีมูลค่าประมาณ 1,392 คอร์โดบา หรือเฉลี่ยประมาณ 63.00 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ซึ่งเป็นค่าแรงงานที่ถูกที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง เทียบกับค่าแรงของฮอนดูรัสประมาณ 5,500 เล็มปิรี หรือเฉลี่ย 291.00 เหรียญสหรัฐต่อเดือน ค่าแรงงานในคอสตาริกาเฉลี่ย 217.0 เหรียญสหรัฐต่อเดือน และค่าแรงงานในเอลซัลวาดอร์เฉลี่ยประมาณ 187.0 เหรียญต่อเดือน ค่าแรงงานในนิการากัวเป็นอัตราค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าแรงของเวียดนามซึ่งเท่ากับ 72.0 เหรียญต่อเดือน (อ้างอิงข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_minimum_wages_by_country และhttp://www.centralamericadata.com/en/article/home/Textiles_Leave_Honduras_for_Nicaragua)
4.8 การท่องเที่ยวในนิการากัว
การท่องเที่ยวในนิการากัวได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2005 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวนิการากัวจำนวน 803,933 คน เพิ่มจากจำนวน 579,165 คนในปี 2002 ในปีเดียวกันนั้น นิการากัวได้มีรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่า 240.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากประเทศสหรัฐฯ ยุโรป และกลุ่มประเทศในลาตินอเมริกา ในปี 2010 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังนิการากัวประมาณ 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 8.7 และได้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2011 จะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปนิการากัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 หรือเป็นจำนวนรวม 1.1 ล้านคน นิการากัวมีจำนวนห้องพักรวมประมาณ 9,000 ห้อง อัตราการเข้าพัก ประมาณร้อยละ 80 และกลุ่มโรงแรมของเสปน NH Hoteles ได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนสร้างโรงแรมห้องพักเพิ่มเติมในนิการากัว
5. SWOT Analysis
Strength Weakness - ตลาดจะขยายตัวได้ในระยะยาว - ห่างไกลจากประเทศไทย - ค่าแรงงานต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศอเมริกากลาง - ตลาดภายในประเทศไม่ใหญ่ ระดับรายได้ต่ำ และมี
ความยากจนอยู่มาก
- โครงสร้างพื้นฐานยังต้องมีการพัฒนาอีกมาก
- ปัจจัยด้านความปลอดภัย
Opportunities Threat - เป็นประตูหลังเพื่อทำการผลิตต้นทุนต่ำเพื่อการ - มีภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว พายุฮอร์ริเคน และ ส่งออกไปยังสหรัฐฯ และในภูมิภาค น้ำท่วมเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว 6. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยราชการ/ รัฐวิสาหกิจไทย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางการค้าของประเทศ
6.1 หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุน:
ProNicaragua
Km 4 1/2 Carretera a Masayu, Edificio Cesar, Managua, Nicaragua. C.A.
Tel.: + (505) 2270-6400
Fax: + (505) 2278-733
Website: info@pronicaragua.org
6.2 หอการค้าแหน่งนิการากัว
CACONIC (Cmara de Comercio de Nicaragua)
Rotonda Gegense 400 metros al Sur 20 varas al este,
Tel: +(505) 2268-3505, Fax: +(505) 2268-3600
E-mail:comercio@caconic.org.ni , comunicacion@caconic.org.ni
Website: www.caconic.org.ni
7. รายชื่อ ที่ติดต่อหน่วยงานส่งเสริมการค้าของประเทศนั้นๆ ในประเทศไทย
7.1 Embassy of Nicaragua
Kowa Bldg. 38, Rm. 9034 - 12-24, Nishi - Azabu, Minato-Ku
Tokyo 106, Japan
Tel: 00813 - 34990400. Fax: 00813 34993800
E-mail: nicjapan@gol.com
สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก
ที่มา: http://www.depthai.go.th